NT – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 09 May 2022 09:34:47 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 6G AIS TRUE DTAC ปลดแอก SINGTEL สู่สมรภูมิอินเตอร์ https://positioningmag.com/1384330 Mon, 09 May 2022 07:06:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1384330 ข่าวเชิงวิเคราะห์ ควบรวมทรูดีแทค ความยาว 3 ตอนจบ โดย ibusiness
เทียบความพร้อมศักยภาพของบริษัทเทคโนโลยีไทย AIS ,NT, TRUE+DTAC ในสมรภูมิรบ 6G ยุค 5.0 ปลดแอกจากทุนต่างชาติ ระบุชัด เป้าหมายยกระดับแข่งขันภูมิภาค หรือ อาจจะไปถึงระดับโลก งานนี้อยู่ที่กสทช.จะออกแบบยุทธศาสตร์ผลงานโบแดงอย่างไร

จับตาสมรภูมิ 6G ยกระดับบริษัทคนไทย

เทคโนโลยี 6G เป็นเทคโนโลยีใหม่ต่อจากระบบ 5G ว่ากันว่า 6G จะเป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะพัฒนาต่อจากยุคเศรษฐกิจ 4.0 ไป 5.0 โดยความเร็วที่มากกว่า 5G กว่า 100 เท่าจะพลิกโฉมหน้าสิ่งต่างๆ อาทิ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ IoT เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ วิวัฒนาการทางการแพทย์ ให้เปลี่ยนแปลงเป็นประโยชน์มหาศาลต่อสังคมและเศรษฐกิจ

หากจะถามว่า ผู้ประกอบการสัญชาติไทยพร้อมกับการเข้าสู่สมรภูมิ 6G แค่ไหน? คงต้องเริ่มจาก การเคลื่อนไหวของ AIS ผู้นำในธุรกิจโทรคมนาคมของไทยที่การปรับโครงสร้างครั้งสำคัญเมื่อปีที่แล้วถือเป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจนว่า บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) ที่ก้าวเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทรานส์ฟอร์มธุรกิจจากโอเปอเรเตอร์ไปสู่บริษัทเทคโนโลยีเต็มที่

ล่าสุด GULF เพิ่งทุ่มเงินอีก 574 ล้านบาทเข้าซื้อหุ้น INTUCH หรือ บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์ (INTUCH) เจ้าของ เอไอเอส เพิ่มอีก 7.43 ล้านหุ้น ในวันที่ 4-8 เม..ที่ผ่านมา ทำให้ครองหุ้นทั้งหมด 1,411 ล้านหุ้น หรือรวมคิดเป็นสัดส่วนเพิ่มจากเดิม 42.52% เป็น 44.02 % ขณะที่ SINGTEL GLOBAL INVESTMENT PTE. LTD. ถือหุ้นเป็นอันดับสองจำนวน 680.17 ล้านหุ้น สัดส่วน 21.21%

นั่นหมายความว่า AIS ยุคใหม่ ได้ GULF ที่เป็นบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่สัญชาติไทยที่ว่ากันว่า มีความแข็งแกร่งด้านเงินทุนเข้ามาประสานกับความเชี่ยวชาญการทำธุรกิจของ AIS ที่มีอยู่แล้ว จะทำให้ศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ การลงทุนเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานประเภทโทรคมนาคมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในไทยและภูมิภาคได้ไม่ด้อยไปกว่าในระดับของ SINGTEL ของสิงคโปร์ที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

“AIS ไม่สนใจคู่แข่งเป็นอย่างไร สนใจลูกค้าต้องการอะไรเท่านั้น จากเดิมที่ AIS ได้ประกาศเคลื่อนธุรกิจ Telecom Operator สู่ Digital Life Service Provider เมื่อ 6 ปีก่อน และล่าสุดยกระดับสู่ Cognitive Telco (ค็อกนิทิฟ เทลโค่) หรือ องค์กรอัจฉริยะ ภายในระยะเวลา 3 ปี เพราะต้องมีการเปลี่ยนระบบใหม่ มีการสร้าง Intelligence Network ที่เป็น Zero Trusted Network สามารถจัดการตัวเองได้แบบอัตโนมัติ และต้องลงทุนเรื่องไอทีแพลตฟอร์มใหม่ที่จะต้องมีความอัจฉริยะเพิ่มขึ้นด้วยนายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ AIS เปิดเผยในงานแถลงข่าว Next Step 2022 เมื่อปลายปีที่ผ่านมา

ขณะที่ การควบรวมธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมรายใหญ่ของรัฐอย่างบริษัท ทีโอที (TOT) กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม ( CAT) เป็นบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ NT นั้น เห็นได้ว่า การควบรวมกิจการเป็นบริษัทเดียว เป็นการลดความซ้ำซ้อนในการลงทุนของกันและกันเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ทำให้มีทรัพยากรด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท

ความได้เปรียบของ NT นอกจากมีรัฐบาลหนุนหลัง ความแข็งแรงจากธุรกิจที่มีสายบรอดแบนด์หรืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง กับธุรกิจด้านไร้สายอย่างบริการ 5G ซึ่งหากยกระดับไป 6G ก็เชื่อกันว่า NT จะเป็นองค์กรที่สามารถให้บริการได้หลากหลายและมีศักยภาพที่เอกชนไม่สามารถมองข้ามได้

ด้าน ทรู และ ดีแทค อย่างที่ทราบกันดีว่า กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการตามแผนการควบรวมของสองบริษัท เพื่อก้าวไปสู่เทคคอมปะนี หรือ บริษัทเทคโนโลยี นอกจากต้องการยกระดับการแข่งขันที่เท่าเทียม ในการแข่งขันภายในประเทศ หากบริษัททั้งสองที่ต่างมีความเชี่ยวชาญต่างกันมาประสานพลังกัน (synergy) การควบรวมก็จะก่อประโยชน์จากจุดเด่นที่สุดของแต่ละฝ่ายมี หรือ ขณะที่กลุ่มทรูมีเครือข่ายแข็งแกร่ง เทเลนอร์ก็มีประสบการณ์เชี่ยวชาญในธุรกิจดิจิทัลในระดับภูมิภาคไม่ด้อยไปกว่ารายอื่นๆ

การควบรวมย่อมจะช่วยให้เทคคอมปะนีใหม่สัญชาติไทยนี้ สามารถเพิ่มการลงทุนโดยไม่ต้องก่อหนี้ที่ปัจจุบันเป็นภาระหนักอึ้ง ต้นทุนการทำธุรกิจลดลง ถึงแม้ว่า นักวิเคราะห์จะเห็นว่า การ synergy น่าจะใช้อยู่บ้าง

ชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร DTAC เคยกล่าวไว้ว่า การควบรวมกิจการระหว่าง DTAC และ TRUE ทำให้บริษัทมีขีดความสามารถแข่งขันสูงขึ้น บริษัทใหม่สามารถลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและนำคลื่นความถี่ของผู้ถือหุ้นทั้งสองฝ่านมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพให้มากที่สุด รวมทั้งจะมีการบริหารเงินลงทุนได้อย่างรวดเร็วขึ้น

บริษัทใหม่จะมีธรรมาภิบาลระดับสากล จะมีกำกับดูแลโดยกรรมการชุดใหม่ โครงสร้างของบริษัทจะดึงเอาทั้งจุดแข็งของ TRUE และ DTAC บวกกับแรงสนับสนุนของผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้งสองบริษัท อย่างน้อยๆ เมื่อมองถึงส่วนสินทรัพย์รวมที่จะทำให้มีอยู่ถึง 8.09 แสนล้านบาท จะเป็นแต้มต่อที่สำคัญในการแข่งขัน

ทั้งนี้ TRUE มีเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ส่วน DTAC มีกลุ่มเทเลนอร์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ หากควบรวมกิจการและจัดตั้งบริษัทใหม่แล้ว กลุ่มบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์จะถือหุ้น 28.98%, กลุ่มเทเลนอร์ 27.35% China Mobile International 10.43% และผู้ถือหุ้นรายอื่น 33.24% ทั้งนี้ ยังไม่รวมผลการทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์ด้วย

ปลดแอกจาก SINGTEL

เพราะฉะนั้น จะเห็นว่า ไม่ว่าจะเป็น AIS NT และ TURE ควบรวม DTAC โดยพื้นฐานขณะนี้ถือว่า ได้ปรับตัวรองรับเพื่อทำให้ตัวเองมีความแข็งแกร่ง และศักยภาพมากเพียงพอที่จะเข้าสู่การแข่งขันในระดับที่ใหญ่ขึ้นด้วยกันทั้งหมด

ประเด็นสำคัญ หากพิจารณาจากสัดส่วนการถือหุ้นของ AIS TRUE ควบรวมกับ DTAC ยิ่งเห็นได้ชัดว่า AIS เมื่อกลับมาอยู่ในมือของคนไทยในมือของ GULF ผู้ถือหุ้นใหญ่ที่มีอำนาจใน INTUCH เหนือบริษัทต่างชาติ ย่อมเป็นธงนำธุรกิจโทรคมนาคมของไทยไปสู่สากล

ขณะที่ TRUE ควบรวมกับ DTAC ก็เช่นเดียวกัน หากควบรวมสำเร็จย่อมสร้างความแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมตาม AIS มาติดๆ ซึ่งแบรนด์สัญชาติไทยทั้งสองค่ายจะกลายเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ SINGTEL หรือ เทมาเส็ก จากสิงคโปร์ที่เป็นบริษัทใหญ่ของภูมิภาคนี้ ซึ่งที่ผ่านมาปฎิเสธไม่ได้ว่า SINGTEL ใช้กลยุทธวางสนุ๊กตีกันไม่ให้แบรด์ไทยก้าวขึ้นมาแข่งขันในตลาดภูมิภาค ทั้งที่โดยศักยภาพมีความพร้อมและสามารถที่จะแข่งขันได้

ดังนั้น การที่ธุรกิจโทรคมนาคมไทยมีกลุ่มทุนไทยยกระดับตัวเองขึ้นมาจึงเท่ากับปลดแอกจากการถูก SINGTEL หรือ กลุ่มทุนต่างชาติครอบงำ

เป้าหมายที่ท้าทายยุค 5.0

แน่นอนว่า การปรับตัวของเทคคอมปานีแต่ละราย โดยเฉพาะ บริษัทสัญชาติไทยนี้ สิ่งที่จับต้องได้ทันทีคือการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน สร้างมูลค่าเพิ่ม มีนวัตกรรมการให้บริการดิจิตัลทรานส์ฟอร์มเมชั่น (Digital Transformation) ที่จะทำให้ผู้บริโภคและอุตสาหกรรมตลอดจนเศรษฐกิจไทยพัฒนา และ เป้าหมายที่ท้าทายในยุค 6G คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ บริษัทเหล่านี้จะต้องโกอินเตอร์

โอกาสที่บริษัทไทยจะสู้ศึกบนสังเวียนเทคโนโลยีใหม่ ย่อมต้องคำนึงศักยภาพในการแข่งขันที่สูสีกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มเทเลนอร์ หรือ สิงเทล หรืออาจจะมีมากกว่า

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย และประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เคยกล่าวถึงเรื่องนี้เอาไว้ว่า การควบรวมกิจการระหว่างทรูกับดีแทคครั้งนี้จะทำให้มีความพร้อมเข้าสู่ยุค 6G ยุค Space Technology ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสื่อสารผ่านดาวเทียมวงโคจรต่ำ (Low Earth Orbit) ที่จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ผสมผสานกับเสาโทรคมนาคมที่มีอยู่ทำให้เกิดการให้บริการที่ทั่วถึง

อย่างไรก็ตาม การแข่งขันในระดับภูมิภาคก็คงไม่มุ่งสร้างโครงสร้างพื้นฐาน แต่จะมุ่งเน้นดิจิทัลเทคโนโลยี คลาวด์ IoT นอกจากนี้เรายังมุ่งเน้น AI ที่มาจากข้อมูลมหาศาล นำไปใช้ในประเทศต่างๆ ระดับภูมิภาค และ อาจถึงระดับโลก

นอกจากนี้ ศุภชัย ยังกล่าวในเวทีสัมมนาของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยในหัวข้อ “Enhance the Dots” เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นเป็น 1 ในความท้าทายของทั้งโลก เป็นหนึ่งในความท้าทายที่คิดกันว่าจะเข้ามาคลี่คลายปัญหาทั้งหมดได้ ยกเว้นเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitics) โดยคาดว่าเทคโนโลยีจะเป็นตัวชี้วัดการเติบโตและความพร้อมในประเทศเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เป็นนิวโกลด์ของเศรษฐกิจ 5.0

ในยุค 4.0 คือข้อมูล แต่ 5.0 คือ เทคโนโลยี AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ที่เชื่อมโยงกับอุปกรณ์ทั้งหมดในโลก ผลักดันให้เกิดการแข่งขันด้านเทคโนโลยีในประเทศต่างๆ เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีมือถือของหัวเว่ยของจีน ที่เมื่อ 2 ปีที่แล้วกำลังจะแซงหน้าไอโฟน หรือเทคโนโลยีรถยนต์ EV ที่หลายประเทศนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจ

ประเทศต่างๆ แข่งขันกันเพื่อปกป้องทรัพย์สินที่มีค่าที่สุด คือเทคโนโลยี หันกลับมามองประเทศไทย ถ้าจะไป 5.0 ต้องสร้างระบบนิเวศ ซึ่งเป็นเรื่องในเชิงนโยบาย ประเทศจะเจริญก้าวหน้าต่อไป มีผลิตภาพที่ดี มีศักยภาพในการแข่งขันที่สูงพอเกิดความมั่งคั่งทั่วถึงได้ต้องทำให้ไทยเข้าสู่การเป็น technology hub ของภูมิภาค

ศุภชัย ย้ำว่า ดิจิทัลเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำระดับภูมิภาคได้ หนีไม่พ้นเรื่องคน ซึ่งการทรานส์ฟอร์มอุตสาหกรรมสร้างคนได้เร็วที่สุด ทำได้ด้วยการสนับสนุนให้เกิดสตาร์ตอัพในความเปลี่ยนแปลงทั้งหมด บริษัทที่ไม่ปรับตัวจะขาดทุน และปิดตัวลง บริษัทที่เสมอตัว คือบริษัทที่ทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์มสำเร็จ แต่ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 บริษัทที่เติบโตและมีกำไรเพิ่มพูนต่อเนื่อง คือบริษัทด้านเทคโนโลยีประเทศก็ไม่ต่างกัน จึงชัดเจนว่าเราควรทุ่มเทเวลาและความพยายามไปกับสิ่งใด

กสทช.เดินหน้าประชาพิจารณ์รอบด้าน

คำถามสำคัญมีว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะผู้กำกับดูแลจะวางโรดแมปมองป่าทั้งป่า สร้างมิติใหม่ หรือแนวคิดใหม่ให้หลุดออกจากกับดักก้าวข้ามข้อจำกัดทางกฎหมาย หรือ หลักเกณฑ์ดั้งเดิมเพื่อสนับสนุน หรือ มอบโอกาสของผู้ประกอบการไทยแค่ไหนเพียงใด เนื่องเพราะ ภารกิจสำคัญนี้จะส่งผลต่อทิศทางการพัฒนาตลาดโทรคมนาคมไทยยุคใหม่

ประการสำคัญ คือ 6G จะ ปลดแอกให้ผู้ประกอบการสัญชาติไทยได้ออกไปสู่เป้าหมายใหม่เพื่อการแข่งขันในระดับภูมิภาค และ ระดับโลก อย่างแท้จริง งานนี้จึงอยู่กับว่า กสทช.จะออกแบบยุทธศาสตร์ผลงานชิ้นโบแดงนี้อย่างไร

น่าสนใจว่า กรณีการควบรวมทรูดีแทคนั้น ขณะนี้กสทช.ชุดใหม่เริ่มเดินหน้าตามโรดแมป โดย เมื่อวันที่ 27 เม.. 2565 ที่ผ่านมาได้ให้เห็นชอบแผนงาน (Roadmap) โดยแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาและวิเคราะห์เรื่องดังกล่าวจำนวน 4 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการฯ ด้านกฎหมาย, คณะอนุกรรมการฯด้านคุ้มครองผู้บริโภคและสิทธิพลเมือง, คณะอนุกรรมการฯ ด้านเทคโนโลยีและคณะอนุกรรมการฯด้านเศรษฐศาสตร์ นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบให้จัดประชุม Focus Group เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง กลุ่มนักวิชาการ และกลุ่มผู้บริโภคและประชาชนทั่วไป ตลอดจนมอบหมายให้คณะทำงานของสำนักงาน กสทช. และที่ปรึกษาอิสระทั้งในและต่างประเทศศึกษาผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์และสังคมในระยะเวลาที่เร็วที่สุด โดยจะจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวงจำกัด (Focus Group) ต่อกรณีการรวมธุรกิจระหว่างทรูกับดีแทคครั้งที่ 1 สำหรับกลุ่มภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและประชาชนที่สนใจในวันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม 2565 นี้

นี่เรียกว่า ก้าวแรกที่แท้จริงของกสทช.ในการเดินเครื่องการควบรวมระหว่างทรูกับดีแทค เพื่อตอบโจทย์ในทุกมิติ อย่างครบถ้วน

หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีการประชุมร่วมกันระหว่างกสทช. ทรู ดีแทค เอไอเอส เพื่อร่วมให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงต่างๆ เกี่ยวกับกระบวนการและความคืบหน้าในการดำเนินการรวมธุรกิจระหว่างทรู และดีแทค กฎหมาย กฎ ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การเตรียมการและความคืบหน้าในการดำเนินการของหน่วยงานต่อการดำเนินการรวมธุรกิจดังกล่าว ใน 7 ประเด็น อาทิ ด้านผลกระทบต่อตลาดโทรคมนาคม ด้านข้อกฎหมาย แนวทางการกำหนดมาตรการของหน่วยงานกำกับดูแล และ ข้อกังวลของสังคมและองค์กรต่างๆ

โดยเฉพาะความกังวลรวมถึงความเห็นของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯชุดนาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ และ มีนักวิชาการ องค์กรผู้บริโภคที่ยื่นหนังสือถึงกสทช.เพื่อเสนอต่อกสทช.

ทั้งนี้ นักวิชาการบางราย เห็นว่า กสทช.ต้องเปิดประชาพิจารณ์ การควบรวมกิจการดังกล่าว กำลังเป็นบททดสอบว่าระบบกฎหมายไทยสามารถคุ้มครองการแข่งขันในตลาดได้หรือไม่ หากการควบรวมผ่านการพิจารณาได้โดยง่าย ผู้ตรวจสอบทำโดยเร่งรีบ ไม่มีความรอบด้านในการแสวงหาข้อเท็จจริงด้วยอคติที่ต้องการเอื้อประโยชน์แก่ผู้ประกอบการเหนือผลประโยชน์ของสังคม หรือไม่

แน่นอนว่ารีแอกชั่นของกสทช. ได้ตอบคำถามดังกล่าวแล้ว ทั้งการเปิดประชาพิจารณ์ และ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ประกอบการด้วยกัน ก่อนการควบรวมจะเสร็จสิ้น และ หากอาจจะรวมถึงการเผยแพร่คำวินิจฉัยต่อสาธารณะ ระบบกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของไทย ก็จะมีคำคอบให้สังคมในทุกด้าน ครบถ้วนในทุกมิติ ตามที่หลายฝ่ายต้องการ

ทั้งหมดทั้งมวลนี้ นี่คือ การเปิดฉากของแบรด์ไทยที่จะไปสู่สมรภูมิอินเตอร์ โดยมีกสทช. เป็นแรงผลักดัน

อ่านต่อ

]]>
1384330
กรณีศึกษา TOT ควบรวม CAT = NT พลิกสถานะสู้แข่งขัน https://positioningmag.com/1383620 Mon, 02 May 2022 15:36:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1383620 ข่าวเชิงวิเคราะห์ “ควบรวมทรู-ดีแทค” ความยาว 3 ตอนจบ โดย iBusiness

เปิดกรณีศึกษา TOT+CAT = NT บทพิสูจน์สมการ “ควบรวม=การแข่งขัน” รวมกันแล้วแกร่ง ลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน เสริมศักยภาพทรัพยากรด้านสื่อสารโทรคมนาคมกว่า 3 แสนล้านบาท แข่งขันสู้กับภาคเอกชนได้ทุกบริการ จับตา กสทช.เดินโรดแมปควบรวมทรู-ดีแทค

วันนี้หากตีความว่า การควบรวมกิจการเท่ากับความแข็งแรง ความแข็งแกร่ง และ การสร้างโอกาสในการแข่งขันก็คงไม่ผิดนัก พิสูจน์ทราบจากการควบรวมธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมรายใหญ่ของรัฐอย่างบริษัท ทีโอที (TOT) กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม ( CAT) ให้กลายเป็นบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ NT เพื่อลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อนของกันและกัน เสริมศักยภาพทรัพยากรด้านสื่อสารโทรคมนาคมกว่า 3 แสนล้านบาท จับมือร่วมกันแข่งขันสู้กับภาคเอกชนที่ยึดครองเป็นผู้นำเกือบทุกบริการของตลาด

หากพิจารณาย้อนหลังกลับไป ต้องบอกว่า ไม่ใช่การควบรวมทรูกับดีแทคจะเกิดขึ้นเป็นรายแรกภายใต้การกำกับดูแลของกสทช.ที่ผ่านมา เพราะภายใต้ประกาศแก้ไขการรวมกิจการปี 2561 ของกสทช.ที่แค่แจ้งให้ทราบ แต่ไม่สามารถปฏิเสธการควบรวมได้นั้นเกิดการควบรวมแล้วหลายราย ยกตัวอย่างเช่น

  • ALT Telecom กับ อินเตอร์เนชั่นแนล เกตเวย์ ในปี 2562
  • ALT Telecom กับ สมาร์ท อินฟราเนท ในปี 2563
  • TOT กับ CAT ในปี 2564
  • ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ตกับทริปเปิลที บรอดแบนด์ ในปี 2564

ถึงแม้บางกรณีจะเป็นเจ้าของเดียวกันหรือบางกรณีอาจจะเป็นรายเล็ก แต่ถ้ายึดตามกฎหมายก็จะต้องเท่าเทียมกันหมดไม่สามารถเลือกปฏิบัติรายเล็กหรือรายใหญ่ได้

TOT+CAT รวมกันเราอยู่

สมการหนึ่งที่สามารถหยิบยกกล่าวอ้างได้ว่า “การควบรวม=การแข่งขัน” เห็นได้ชัด คือ การควบรวม TOT กับ CAT

สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้ดีลการควบรวมกิจการของทั้งคู่เกิดขึ้นในสมัยที่นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เนื่องจากเล็งเห็นถึงความอยู่รอดของทั้ง 2 บริษัทเพราะหากไม่ควบรวมกัน ชะตากรรมที่ต้องประสบ คือ ภาวะการขาดทุนอย่างรุนแรง หรือ อาจถึงขั้นปิดบริษัทก็เป็นได้ เพราะรายได้วิ่งไม่ทันค่าใช้จ่าย ที่ยังพออยู่รอดเพราะการได้พาร์ตเนอร์เป็นค่ายมือถือมาหยิบยืมคลื่นความถี่ไปใช้และแบ่งปันรายได้มาให้ ซึ่งในปี 2568 สัญญาและสิทธิในการใช้คลื่นความถี่ต่างๆ ที่ใช้เป็นพาร์ตเนอร์กับค่ายมือถือเอกชนจะสิ้นสุดลงพร้อมกับสภาพเสือนอนกินซึ่งวาระสุดท้ายทั้ง 2 บริษัทก็จะไปไม่รอด ทั้งๆ ที่มีสินทรัพย์ด้านโทรคมนาคมมหาศาล

ดังนั้นจึงมีการส่งเรื่องถึงคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) และส่งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาและมีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2563

โดยที่การควบรวมกิจการเป็นบริษัทเดียว เป็นการลดความซ้ำซ้อนในการลงทุนของภาครัฐ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนนโยบายของรัฐในการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล และความมั่นคงของประเทศรวมทั้งบริการเพื่อสังคมอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมโดย NT ยังคงมีฐานะเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัดกระทรวงดีอีเอส และมีกระทรวงการคลัง ถือหุ้นทั้งหมด

ยืนยัน ควบรวม=แข่งขัน

น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ กรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ NT ยอมรับว่า หลังการควบรวมเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2564 สิ่งที่หนักใจที่สุดคือพนักงาน แต่เมื่อได้ควบรวมกันแล้วพบว่า พนักงานสามารถทำงานร่วมกันได้และรู้สึกพอใจกับแผนการควบรวม เมื่อมีการปรับแผนการควบรวมจากที่บริษัทที่ปรึกษาวางแผนไว้ให้เข้ากับวัฒนธรรมขององค์กร

รวมทั้งเห็นถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยกรร่วมกันทำให้ไม่ต้องลงทุนซ้ำซ้อน รวมถึงการเจรจายุติข้อพิพาทต่างๆ และการเป็นพันธมิตรกับบริษัทอื่นๆ ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาทำงานร่วมกับธุรกิจของ NT ทั้ง 5 กลุ่ม คือ กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม, กลุ่มบริการระหว่างประเทศ, กลุ่มโทรศัพท์ประจำที่ และบรอดแบนด์ , กลุ่มโทรศัพท์มือถือและกลุ่มบริการดิจิทัล

การควบรวมระหว่าง TOT กับ CAT ทำให้ทรัพยากรด้านการสื่อสารโทรคมนาคมของ NT มีมูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท ประกอบด้วย 1.เสาโทรคมนาคมรวมกันกว่า25,000 ต้นทั่วประเทศ 2.เคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ (ซับมารีน เคเบิล) 9 ระบบ 14 POP เชื่อมต่อไปยังทุกทวีป 3.การถือครองคลื่นความถี่หลักเพื่อให้บริการรวม 6 ย่านความถี่ มีจำนวน 600 MHz 4.ท่อร้อยสายใต้ดินมีระยะทางรวม 4,000 กิโลเมตร 5.สายเคเบิลใยแก้วนำแสง 4 ล้านคอร์กิโลเมตร ทั่วประเทศ 6.ดาต้า เซ็นเตอร์ 13 แห่งกระจายอยู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และ 7.ระบบโทรศัพท์ระหว่างประเทศที่เข้าถึงได้จากทุกเลขหมายในโลก รวมถึงมีศูนย์บริการทั่วประเทศกว่า 500 แห่ง

“ทั้งหมดนี้เป็นแต้มต่อสำคัญของ NT ในการใช้ทรัพยากรและบุคลากรร่วมกัน สิ่งที่มีอยู่แล้วหากซ้ำซ้อนกันก็ไม่ต้องสร้างใหม่ ให้นำมาใช้ร่วมกัน หรือในพื้นที่ไหนที่มีซ้ำซ้อนกันให้ใช้เป็นทรัพยากรสำรองซึ่งกันและกัน”

ความแข็งแรงของ NT เห็นได้จากธุรกิจด้านมีสายบรอดแบนด์หรืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง กับธุรกิจด้านไร้สายอย่างบริการ 5G NT เป็นองค์กรที่สามารถให้บริการได้หลากหลายและมีศักยภาพที่เอกชนไม่สามารถมองข้ามได้โดยเฉพาะบริการบรอดแบนด์ซึ่งข้อมูลปี 2564 พบว่า NT มีลูกค้าบรอดแบนด์ จำนวน 1,864,924 พอร์ต แบ่งเป็น NT1 คือ CAT เดิม 236,414 พอร์ต คิดเป็นสัดส่วน 12.68% และ NT2 คือ TOT เดิม 1,628,510 พอร์ต คิดเป็นสัดส่วน 87.32%

น.อ.สมศักดิ์ กล่าวว่า หลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายให้ 2 องค์กรรวมกันเป็นหนึ่ง ก็ได้เริ่มสำรวจทรัพย์สินร่วมกันและเริ่มทดลองทดสอบการใช้งานโครงข่ายบรอดแบนด์ร่วมกัน ตลอดจนนำมาทดลองใช้ทดแทนกัน

ดังนั้นเมื่อการควบรวมเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการก็เริ่มดำเนินการบูรณาการทรัพย์สินร่วมกันได้ทันที โดยเฉพาะบริการบรอดแบนด์ซึ่งเป็นบริการที่ NT มีความแข็งแกร่งที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสายไฟเบอร์ออปติก อุปกรณ์โครงข่าย ทีมช่าง ตลอดจนศูนย์บริการลูกค้า

NT จึงได้นำร่องเปิด ‘ราชบุรี โมเดล’ ในการผสานเน็ตเวิร์กของทั้ง 2 บริษัทเดิมมาให้บริการกับลูกค้าของ NT ในจังหวัดราชบุรีทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 30 แห่ง อาทิ รพ.ราชบุรี, ร.ร.ปากท่อพิทยาคม, บริษัท ราชาเซรามิค จำกัดและบริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด เป็นต้น โดยตั้งเป้าจะขยายการทำงานในรูปแบบนี้ไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศให้เร็วที่สุด

ทั้งนี้ ‘ราชบุรี โมเดล’ อยู่ภายใต้โครงการ ‘Dual Network Solution’ สำหรับลูกค้าเอกชนและราชการ ซึ่งเป็นการทำงานกันอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องของทีมบรอดแบนด์ของทั้ง 2 องค์กรเดิมที่เห็นพ้องต้องกันว่าต้องมีการเชื่อมต่อโครงข่ายร่วมกันเพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการ โดยการทำงานของคณะทำงานบรอดแบนด์นี้ได้ทำงานร่วมกันตั้งแต่ก่อนการควบรวมอย่างเป็นทางการแล้ว

ในการศึกษารูปแบบโครงข่ายและการให้บริการของกันและกันรวมถึงเรื่องมาตรฐานด้านโครงข่าย, อุปกรณ์ตลอดจนมาตรฐานงานติดตั้งและการแก้ไขเหตุเสีย ขัดข้องเพื่อให้มีมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งทีมช่างในพื้นที่จ.ราชบุรี ของทั้ง 2 องค์กรเดิมมีการสื่อสารและทำงานร่วมกันเป็นอย่างดีทำให้เกิดการออกแบบรูปแบบการทำงานร่วมกันว่าตรงส่วนไหนต้องใช้อุปกรณ์หรือโครงข่ายของใครในการเชื่อมต่อให้ลูกค้า เพื่อให้เป็นบริการเนื้อเดียวกันให้ลูกค้าใช้งานได้อย่างต่อเนื่องไม่สะดุด

‘ราชบุรี โมเดล’ จึงนับเป็นผลงานที่เป็นรูปธรรมแรกของ NT หลังจากควบรวมกิจการ และขยายโมเดลนี้ไปทั่วประเทศทำให้บรอดแบนด์ของ NT สามารถแข่งกับเอกชนได้ด้วยโครงข่ายที่มากกว่าแต่ต้นทุนต่ำกว่าคู่แข่ง

ด้านธุรกิจไร้สาย 5G นั้น NT มี 2 คลื่นความถี่ในมือ คือ คลื่นความถี่ 700 MHz และคลื่นความถี่ 26 GHz ซึ่ง NT ก็ไม่ได้นิ่งเฉยในการเดินหน้าแผน 5G แต่อย่างใด โดยคลื่นความถี่ 700 MHz ยังอยู่ในขั้นตอนการเจรจาหาพันธมิตร ซึ่งมีอยู่ 2 รายที่อยู่ระหว่างพิจารณาทั้งทรูและเอไอเอส ในขณะที่คลื่นที่สามารถทำ 5G ได้ทันทีคือคลื่น 26 GHz เพราะเป็นคลื่นความถี่ที่เหมาะสมในการให้บริการเฉพาะพื้นที่ที่ต้องการใช้งาน NT ได้เซ็นสัญญากับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ EEC เพื่อสร้างบ้านฉางโมเดล จ.ระยอง ให้เป็นเมืองต้นแบบอัจฉริยะสร้างชุมชนให้ปลอดภัยด้วยระบบ CCTV

ด้วยเทคโนโลยี 5G บนคลื่น 26 GHz ของ NT รวมถึงโครงข่ายด้านโทรคมนาคมที่มีครบและมากที่สุด ทำให้ NT มีความได้เปรียบในการผสานเทคโนโลยีเพื่อสร้างเมืองอัจฉริยะ รวมทั้ง NT ยังเซ็นสัญญากับ AJA หรือ บริษัท เอเจ แอดวานซ์ เทคโนโลยีจำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายของ ‘อาลีบาบา คลาวด์’ เป็นเวลา 3 ปี ในการนำโซลูชันหรือแพลตฟอร์ม 5G ของอาลีบาบาที่มีกว่า 200 โซลูชันและใช้งานจริงในประเทศจีนมาประยุกต์ให้เข้ากับประเทศไทย

กำไร 3 พันล้านบาทหลังควบรวม 1 ปี

ทั้งนี้ผลประกอบการน่าจะเป็นสิ่งพิสูจน์ว่าทิศทางที่เดินมาถูกต้องมากน้อยแค่ไหน หลังควบรวมเป็น NT เพียง 1 ปี NT มีกำไรสุทธิ 3,142 ล้านบาท โดยรายได้ 12 เดือน (7 ม.ค.-31 ธ.ค.2564) อยู่ที่ 98,254 ล้านบาท รายจ่ายปี 2564 อยู่ที่ 96,066 ล้านบาท ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายโครงการเกษียณก่อนกำหนดอีก 2,464 ล้านบาท ซึ่งทำให้ NT มีผลประกอบการขาดทุน 276 ล้านบาท แต่ NT รับรู้รายได้เพิ่มจากค่าธรรมเนียม USO (Universal Service Obligation หรือบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม) ปี 2554-2555 จำนวน 3,418 ล้านบาท ทำให้ปี 2564 NT มีกำไรสุทธิ 3,142 ล้านบาท

สำหรับรายได้ปี 2564 จำนวน 98,254 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้จากการให้บริการ 38,156 ล้านบาท รายได้จากพันธมิตร 52,610 ล้านบาท ผลตอบแทนทางการเงินและรายได้ 4,178 ล้านบาท รายได้ข้อพิพาท AIS DPC TRUE จำนวน 3,310 ล้านบาท ยังไม่รวมรายได้รับคืนค่าธรรมเนียม USO ปี 2554-2555 จำนวน 3,418 ล้านบาท ซึ่งหากรวมกันจะทำให้ NT มีรายรับอยู่ที่ 101,672 ล้านบาท

ขณะที่รายจ่ายปี 2564 อยู่ที่ 98,530 ล้านบาท ประกอบด้วย รายจ่ายจากการดำเนินการ 96,066 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายโครงการเกษียณก่อนกำหนด 2,464 ล้านบาท

โดยรายจ่ายจากการดำเนินงาน 96,066 ล้านบาท ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายจากการดำเนินการ 53,464 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายพันธมิตร 38,438 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายอื่นและภาษีเงินได้ 2,427 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายข้อพิพาท AIS DPC TRUE จำนวน 1,737 ล้านบาท

เมื่อมองกรณี NT แล้วย้อนกลับมาดู กรณีของดีลประวัติศาสตร์ทรูดีแทคแม้ยังมีความสุ่มเสี่ยงที่อาจไปได้ข้อสรุปที่ศาล เพราะต่างมีไทม์ไลน์ของตัวเอง กรณีทรูหากกสทช.ไม่มีมาตรการอะไรออกมาภายในเดือนพ.ค.ก็อาจฟ้องแน่ เพราะทรูถือว่าทำตามขั้นตอนการควบรวมตามกฎหมายในขณะฝ่ายที่เห็นต่างหาก กสทช.อนุมัติให้ควบรวม ก็อาจถูกฟ้องม.157 ฐานละเว้นปฎิบัติก็มีความเป็นไปได้สูง

แต่หากมองในเชิงการควบรวมเพื่อนำไปสู่การเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการ จุดที่เหมือนกันระหว่างกรณี TOT ควบรวม CAT กับ ทรู ควบรวม ดีแทค นั่นก็คือ สถานะก่อนที่จะควบรวมต่างมีภาวะการทำธุรกิจที่ยากลำบาก ต้นทุนสูง หรือ กระทั่งฐานะรายได้ขาดทุน (ดูอินโฟกราฟฟิกประกอบ)
เปรียบเทียบกับ ผู้นำตลาดที่แข็งแกร่งทุกด้าน ศักยภาพการแข่งขันเป็นที่เข้าใจได้ว่า หากไม่รวมกันจะยิ่งอ่อนแอลง และ ยิ่งมองไปถึงอนาคตอันใกล้ที่เข้าสู่ยุค 6G ธุรกิจโทรคมนาคมของไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีผู้ประกอบการไทยที่แข็งแกร่งมากกว่า1รายอย่างที่เป็นอยู่ ซึ่งต้องหมายความรวมไปถึง NT และ อาจจะหมายถึง True -Dtac หลังควบรวม

แน่นอนว่า แม้ทรูจะควบรวมกับดีแทคได้สำเร็จ ในแง่ของศักยภาพต้องยอมรับความจริงว่า ช่องว่างของผู้นำตลาดยังคงมีอยู่ ซี่งการจะไล่ตามให้ทันไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะถ้าจะวิเคราะห์กันถึงผู้นำตลาดอย่าง AIS วันนี้ หนึ่ง ความแข็งแกร่งในด้านการปฎิบัติการที่เป็น ”single command” สอง มีต้นทุนการทำธุรกิจที่ต่ำกว่า สาม สภาพคล่องดีกว่า สี่ ทรูและดีแทคต้องใช้เวลาหล่อหลอมปฏิบัติการที่กว่าจะเดินหน้าเต็มสูบก็ต้องใช้เวลา 1-2 ปี

เพราะฉะนั้น เป็นความได้เปรียบความด้านความพร้อม ทั้งในเรื่องต้นทุนการดำเนินงาน-ของผู้นำตลาดที่พร้อมจะโกอินเตอร์ ขณะที่ทรูและดีแทคต้องแบกรับภาระในการปรับตัวเพื่อก้าวตาม

ทว่า การแข่งขันเช่นนี้จะทำให้เกิดการพัฒนาซึ่งกันและกันทั้งผู้นำและผู้ตามในการก้าวไปสู่ การเพิ่มโอกาส เพิ่มศักยภาพเพื่อแข่งขันกับตลาดต่างประเทศในระดับที่ สิงเทล หรือ สิงคโปร์เทเลคอมมูนิเคชั่นส์ หรือแม้แต่ยักษ์ใหญ่อย่าง เทเลนอร์ ของนอร์เวย์ ทำอยู่

ในขณะที่อีกมุมหนึ่ง ที่มีการคัดค้านมองในแง่ของจำนวนผู้ใช้บริการของทั้งทรูและดีแทครวมกันส่งผลต่อสัดส่วนของตลาด และจำนวนของผู้ประกอบธุรกิจ

แม้แต่ทางการเมืองหากจะให้เกิดสมดุลยังต้องมีขั้วการเมืองรึพรรคขนาดใหญ่สองขั้วที่แข่งขันกันได้อย่างสูสี ไม่ใช่มีพรรคใหญ่เพียงพรรคเดียวส่วนพรรคเล็กๆ อื่นๆ แทบไม่มีความหมายอะไร ไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงอะไรได้

ดังนั้นโจทย์ที่ กสทช. จะต้องตีให้แตกนอกจากเรื่องของข้อกฏหมายแล้วจึงต้องเข้าใจป่าทั้งป่า เข้าใจธุรกิจโทรคมนาคมอย่างถ่องแท้ และต้องมองข้ามไปถึงเทคโนโลยีใหม่อย่าง 6G และที่สำคัญมีวิสัยทัศน์ต่อธุรกิจโทรคมนาคมของไทยไม่ใช่เพียง ณ ปัจจุบันนี้ หากแต่เชื่อมต่อไปถึงยุทธศาสตร์แห่งชาติอย่างไร
…….

(โปรดติดตาม ตอนต่อไปได้ในวันจันทร์หน้า)

Source

]]>
1383620
5 เรื่องน่ารู้ บิ๊กดีลควบรวม TOT-CAT สู่ NT พร้อมจับตาการขึ้นเป็น ‘Top 3’ ตลาดโทรคมนาคม https://positioningmag.com/1314137 Thu, 14 Jan 2021 06:04:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1314137 ปิดฉากมหากาพย์การควบรวมของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT สักทีหลังจากยืดเยื้อมานาน โดยจากนี้จะไม่มี TOT กับ CAT แต่เป็น ‘บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)’ หรือ ‘NT’ ดังนั้นลองไปย้อนรอยกันว่ากว่าจะเป็น NT นั้นผ่านอะไรมาบ้าง พอเป็น NT แล้วดีอย่างไร และเป้าหมายจากนี้ของ NT คืออะไร

จุดกำเนิด TOT และ CAT

ย้อนไปที่จุดกำเนิดของทั้ง 2 บริษัทกันดู โดยเริ่มจาก บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (TOT Public Company Limited) เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทสื่อสารโทรคมนาคมในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยทีโอทีนั้นได้แปรรูปมาจาก องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2497 ปัจจุบัน ทีโอที ได้ดำเนินกิจการเกี่ยวกับโทรศัพท์และการสื่อสารมาเป็นระยะเวลา 67 ปี โดยทำหน้าที่ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมทุกประเภททั้งในและระหว่างประเทศ ผ่านบริการต่าง ๆ ทั้งทางสายโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งประกอบด้วยใบอนุญาตแบบที่ 3 (ที่มีโครงข่ายของตนเองเพื่อให้เช่าใช้)

ส่วน ‘บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)’ หรือ ‘CAT Telecom Public Company Limited’ ก็เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในรูปบริษัทมหาชน โดยเกิดจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในกิจการโทรคมนาคมของการสื่อสารแห่งประเทศไทย (ก.ส.ท.) ที่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2519 ที่ดำเนินธุรกิจด้านการสื่อสารโทรคมนาคมทั้งในและระหว่างประเทศ และในอดีตยังทำหน้าที่ให้บริการกิจการไปรษณีย์เพิ่มด้วย แต่หลังจากที่แปรรูปรัฐวิสาหกิจจึงได้แยกกิจการไปรษณีย์ออกจากกัน โดยกิจการไปรษณีย์ได้จัดตั้งเป็นบริษัทใหม่ในชื่อ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ส่วนกิจการโทรคมนาคมได้แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดในชื่อ กสท โทรคมนาคมในปัจจุบัน

18 ปีแห่งความพยายามสู่ ‘NT’

จริง ๆ เรื่องการควบรวมของ TOT และ CAT เป็นอะไรที่ดำเนินการมานาน โดยนโยบายเริ่มต้นเมื่อปี 2545 แต่ที่ไม่สำเร็จเพราะถูกคัดค้านอย่างหนักจากสหภาพแรงงานของทั้ง 2 แห่ง อย่างไรก็ตาม หลังจากที่หารือร่วมระหว่างผู้บริหาร และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจของทั้ง 2 แห่ง เพื่อให้ได้ข้อสรุปใน 3 เรื่องสำคัญ คือ 1.แผนบริหารจัดการบุคลากร 2.สินทรัพย์และหนี้สิน และ 3.สัญญา และสัมปทานต่าง ๆ เพื่อให้มีความชัดเจนและไม่เกิดผลกระทบ จนในวันที่ 14 มกราคม 2563 ครม. ก็มีมติอนุมัติให้ TOT และ CAT ควบรวม โดยเปลี่ยนเป็น ‘บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)’ หรือ ‘NT’

แน่นอนว่าการควบรวม 2 บริษัทไม่ใช่เรื่องง่าย แถมยังมีการระบาดของ COVID-19 อีก ดังนั้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2563 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติขยายเวลาดำเนินการควบรวมให้อีก 6 เดือน จนมาควบรวมสำเร็จเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา ถือว่าสามารถดำเนินการได้ทันตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด โดยบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ยังคงมีฐานะเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีกระทรวงการคลังถือหุ้นทั้งหมด

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส)

ควบรวมแล้วได้อะไร ?

2 บริษัทให้บริการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมเหมือนกัน ซึ่งแปลว่ามีการทำงานที่ถือว่าทับซ้อนกันรวมไปถึงการลงทุน หากอ้างอิงจากข้อมูลปี 2562 TOT มีสินทรัพย์ที่สำคัญ ได้แก่ โครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสง 1.5 ล้านคอลต่อกิโมเลตร, โครงการเคเบิลใต้น้ำ 2 ระบบ, ท่อร้อยสายใต้ดิน 32,173 ไมโครดักส์ต่อกิโลเมตร, เสาโทรคมนาคม 13,445 ต้น, ศูนย์ข้อมูล 4 แห่ง และมีพนักงานทั้งหมด 13,026 คน

ส่วน CAT มีสินทรัพย์ที่สำคัญ ได้แก่ โครงการเคเบิลใต้น้ำ 6 ระบบ อยู่ระหว่างสร้าง 1 ระบบ, โครงการเคเบิลใยแแก้วนำแสง 0.7 ล้านคอลต่อกิโลเมตร, เสาโทรคมนาคม 18,159 ต้น, ท่อร้อยสาย 5,677 ไมโครดักส์ต่อกิโลเมตร และศูนย์ข้อมูล 9 แห่ง และพนักงาน 5,117 คน

จะเห็นว่ามีหลายส่วนที่ทั้ง 2 บริษัทลงทุนซ้ำซ้อนกันอยู่ ไม่ว่าจะท่อร้อยสายใต้ดิน, โครงการเคเบิลใต้น้ำ และศูนย์ข้อมูล ซึ่งถ้ารวมกันแล้ว ‘สังวรณ์ พุ่มเทียน’ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ CAT ได้เคยให้สัมภาษณ์กับประชาชาติว่า แผนที่เสนอมีความชัดเจนมากว่าการควบรวมจะช่วยให้รัฐประหยัดเงินลงทุนตั้งแต่ปี 2562-2570 ได้ถึง 1,137 ล้านบาท เพราะไม่ต้องลงทุนซ้ำซ้อน ก่อให้เกิดกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 33%

ขึ้นเบอร์ 3 แซง Dtac

หนึ่งในสิ่งที่น่าจับตาคือ การขึ้นเป็น ‘เบอร์ 3’ ในตลาดโทรคมนาคมไทย เพราะเมื่อนำผลประกอบการของทั้ง 2 บริษัท อ้างอิงจากข้อมูลปี 2562 พบว่า TOT มีทรัพย์สินรวม 142,352 ล้านบาท มีรายได้รวม 67,847 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,896 ล้านบาท ส่วน CAT มีสินทรัพย์รวม 132,915 ล้านบาท รายได้รวม 87,533 ล้านบาท กำไรสุทธิ 28,025 ล้านบาท เมื่อรวมกันแล้วมูลค่าบริษัทของ NT สามารทถทะยานสู่ระดับ 3 แสนล้าน โดยมีรายได้รวม 155,380 ล้านบาท และมีกำไร 30,921 ล้านบาทเลยทีเดียว ซึ่งเมื่อเทียบกับผู้เล่นเบอร์ 3 ในตลาดอย่าง Dtac ที่ในปี 2562 มีรายได้ 81,228 ล้านบาท กำไร 5,422 ล้านบาท นั่นแสดงให้เห็นว่ารายได้ของ NT ได้แซงผู้เล่นเบอร์ 3 ของตลาดไปแล้ว

Photo : Shutterstock

จับตากลยุทธ์โกยลูกค้า

ทั้งนี้ หากพิจารณาจากบริการด้านโทรคมนาคมเหมือนกับคู่แข่งในตลาดรายอื่น ๆ อย่างบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง, บริการโทรศัพท์มือถือของทั้ง TOT และ CAT รวมกันยังสู้ทั้ง 3 รายใหญ่ที่ทิ้งห่างไปไกลมากแล้ว โดยลูกค้าตลาดโมบายของ TOT Mobile มีอยู่ 1.8 แสนราย ส่วน My By CAT อยู่ที่ 2.5 ล้านราย เมื่อนำมาบริหารจัดการร่วมกันในฐานะ NT จะมีฐานลูกค้าอยู่ที่ 2.68 ล้านราย ส่วน อินเตอร์เน็ตบ้าน TOT มีลูกค้าประมาณ 1.5 ล้านราย ส่วน CAT มีเพียง 2 แสนราย รวมกันไม่ถึง 2 ล้านราย แม้ว่า TOT จะถือว่าเป็นผู้เล่นเบอร์ต้นในตลาดเน็ตบ้าน เเต่ผู้เล่นรายใหม่อย่าง ‘AIS’ ก็หายใจรดต้นคอมาเเล้ว

ดังนั้น ต้องจับตาดูว่าหลังจากควบรวมจนกลายเป็น NT โดยสมบูรณ์แล้วบริษัทจะนำคลื่นไปต่อยอดการรุกตลาดคอมเมอร์เชียลอย่างไรบ้าง เพราะการควบรวมทำให้มีคลื่นในมือถึง 600 MHz ได้แก่ จาก 6 ย่านความถี่ ได้แก่ 700 MHz, 26 GHz, 850 MHz, 2100 MHz, 2300 MHz และ 900 MHz เป็นรองเพียง AIS ที่มีรวม 1,450 MHz และ Truemove H 1020 MHz ส่วน Dtac ปัจจุบันมี 330 MHz และในส่วนของสาขาให้บริการเมื่อรวมกันทำให้มีถึง 536 แห่งทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตาม การเเข่งขันของโอเปอเรเตอร์ทั้ง 3 รายก็ไม่มีใครยอมใคร ทั้งด้านราคาแพ็กเกจ, ประสิทธิภาพของเครือข่าย, สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ แม้กระทั่งเรื่องของคอนเทนต์ก็ไม่มีใครยอมใคร ซึ่งคงเป็นโจทย์หนักของ NT ถ้าอยากจะขึ้นเป็นผู้เล่น Top3 อย่างแท้จริง

]]>
1314137