OR – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 19 Aug 2024 07:13:11 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 OR สร้างจุดยืนสุดกรีนอยู่รอบตัว เพราะโอกาสเพื่อสังคมสะอาดเป็นของทุกคน https://positioningmag.com/1486343 Mon, 19 Aug 2024 10:40:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1486343

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ เทรนด์การสื่อสารเรื่องสิ่งแวดล้อมกลายเป็นประเด็นใหญ่ที่มีการพูดถึงกันในวงกว้าง ภาคเอกชน หรือแบรนด์ยักษ์ใหญ่ต่างชูเป็นกลยุทธ์หลัก หรือเป็นวิสัยทัศน์ขององค์กรเลยทีเดียว แต่ก็มีคำถามที่ตามมาว่า สุดท้ายแล้วการช่วยเหลือโลก หรือช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม เป็นหน้าที่ของใครกันแน่ รัฐบาล องค์กร หรือประชาชนทุกคน

OR หรือ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในองค์กรยักษ์ใหญ่ของไทย ที่ได้ถ่ายทอดแนวคิดเรื่อง “สังคมสะอาด” มาตลอดช่วงระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา พร้อมกับการพัฒนาธุรกิจที่ไม่ใช่เน้นแค่คุณภาพ หรือความเชื่อมั่นเพียงอย่างเดียว แต่จะต้อง “กรีน” ควบคู่ไปด้วย ความกรีนที่ว่านั้นคือเน้นทำให้สังคมไทยสะอาดขึ้นในทุก ๆ วัน และทุก ๆ มิติ โดยผ่านธุรกิจเครือข่ายของ OR ที่อยากขับเคลื่อนทั้งธุรกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมชุมชนให้เดินหน้าไปพร้อมกัน

ในปีนี้ OR จึงเปิดตัวแคมเปญใหม่ “โออาร์ โอกาสเพื่อสังคมสะอาด” พร้อมกับภาพยนตร์โฆษณาที่ถ่ายทอดเรื่องราวน่ารัก ๆ เปิดด้วยการตั้งคำถามที่ว่า “ใครกันที่จะช่วยทำให้สังคมสะอาดขึ้นได้ในทุก ๆ วัน?” ซึ่งเป็นคำถามที่หลายคนสงสัยว่าเป็นหน้าที่ของใครกันแน่

จริง ๆ แล้วเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน ซึ่ง OR ได้ช่วยให้คนไทยช่วยทำให้สังคมสะอาดมากขึ้นผ่านสิ่งที่อยู่รอบตัวแบบง่าย ๆ ผ่าน Ecosystem ของ OR เพราะธุรกิจและโครงการต่าง ๆ ของ OR  ล้วนสนับสนุนความกรีนทั้งสิ้น ด้วยแนวคิดที่อยากเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยทำให้สังคมสะอาดขึ้น ดีขึ้น ทำให้เกิดความยั่งยืนในทุก ๆ มิติชีวิต

ที่จริงแล้วทุกคนมีส่วนร่วมในการช่วยให้สังคมสะอาดขึ้นได้ผ่านสิ่งที่อยู่รอบตัว หรือการใช้บริการต่าง ๆ ของ OR ก็มีส่วนช่วยเหลือโลกได้แล้ว

ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัดที่สุดก็คือ การเปิด “PTT Station Flagship วิภาวดี 62” เมื่อปลายปี 2566 ที่ผ่านมา โดยสถานีบริการนี้จะเป็นอาณาจักรของสถานีต้นแบบแห่งอนาคตที่สมบูรณ์แบบที่สุดของ PTT Station ที่จะสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดในการดำเนินธุรกิจของ OR ที่พร้อมสร้างโอกาสให้ผู้คน ชุมชน สิ่งแวดล้อม เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการใช้พื้นที่สร้างส่วนร่วมกับชุมชน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้คน ชุมชน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีจัดการสถานีบริการให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

PTT Station แห่งนี้ได้ใช้แนวคิดการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน OR SDG ที่เป็นแนวคิดในการดำเนินธุรกิจ โดยเน้นที่ตัว ‘G’ เป็นเรื่องของความ GREEN สร้างสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ (Healthy Environment) กับเป้าหมายเรื่อง Carbon Neutrality ของ OR ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนจากการออกแบบอาคารสอดแทรกเข้าไปในพื้นที่ธรรมชาติในรูปแบบ Green Station ร่วมกับเทคโนโลยีการติดตั้ง Solar Rooftop เพื่อใช้ภายในสถานีบริการและร้านค้าที่ OR ดำเนินการ พร้อมทั้งได้ติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานผ่านแบตเตอรี่ (G-Box) เพื่อจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งอยู่ระหว่างการพัฒนาการนำเทคโนโลยี AI-CCTV for Customer Carbon ที่สามารถตรวจจับระยะเคลื่อนรถและยี่ห้อรถ เพื่อคำนวณก๊าซ CO2 ที่เกิดขึ้นของผู้บริโภค

ที่นี่ยังมี EV Station PluZ ที่เป็นจุดชาร์จรถ EV ที่สามารถใช้บริการได้ 6 หัวชาร์จพร้อมกัน และได้ขยายจุดชาร์จไปให้ไกลครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด

เรียกได้ว่าการใช้ชีวิตประจำวันของเราทุกคน มีส่วนช่วยโลกให้สะอาดมากขึ้นได้ เช่น การดื่มกาแฟในร้าน Café Amazon ที่ใช้หลักการคิดแบบ Circular Economy ที่ทำให้ Café Amazon เป็นมากกว่าแค่ร้านกาแฟ แต่คือจุดศูนย์รวมของความกรีนที่กระจายตัวอยู่ในทุก ๆ พื้นที่

โครงการเล็ก ๆ อย่าง “โครงการ แยก แลก ยิ้ม” ที่ชวนทุกคนมาร่วมสร้างจิตสำนึก และพฤติกรรมในการแยกขยะ เพื่อขยายเป็นโอกาสนำรายได้จากการขายขยะเหล่านั้นมาสร้างรอยยิ้มให้ชุมชน แม้จะเป็นพฤติกรรมเล็ก ๆ ก็มีส่วนช่วยสังคมได้มากมายเลยทีเดียว

รวมไปถึงโครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน ช่วยตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ตั้งแต่ลงพื้นที่ให้ความรู้ในการปลูกกาแฟ ยันรับซื้อเมล็ดกาแฟในราคาที่เป็นธรรม และนำมาเป็นผ่านกระบวนการเป็นกาแฟที่เราดื่มทุกวันนี้ โดยทาง OR จะเปิดจุดรับซื้อกาแฟ ณ โรงแปรรูปเมล็ดกาแฟ Café Amazon อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ มุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือเกษตรชาวเหนือให้หันมาปลูกกาแฟที่มีคุณภาพ เพื่อลดปัญหามลภาวะฝุ่น PM 2.5 ให้กับประเทศไทย

OR ยังมีโครงการดี ๆ อีกมากมายที่มีแนวคิดและวิธีการที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม อย่าง PTT Lubricants ได้เปิดตัวโครงการ “เซฟโลก เซฟรถ เพื่ออนาคตน้อง ๆ โดยสามารถลดขยะพลาสติกจากแกลลอนใช้แล้วถึง 980 แกลลอน น้ำหนักรวมกว่า 240 กิโลกรัม จากการนำมาแปรรูปเป็นชุดโต๊ะเรียนและเก้าอี้รักษ์โลก และได้ส่งมอบให้โรงเรียนบ้านผานัง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมานี่เอง

นอกจากนี้แล้ว OR ได้ร่วมมือกับไทยเวียตเจ็ท นำร่องการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (SAF) โดยน้ำมันที่ผลิตจากน้ำมันทำอาหารที่ใช้แล้วหรือที่เรียกว่า UCO (Used Cooking Oil) ที่มีคุณสมบัติทางเคมีที่คล้ายคลึงกับน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน (Jet A-1) และสามารถผสมเข้ากับน้ำมัน Jet A-1 เพื่อให้ใช้ในเครื่องบินได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนหรือปรับปรุงเครื่องยนต์ใด ๆ  ซึ่งการร่วมมือครั้งนี้ถือว่าสอดคล้องวิสัยทัศน์ OR SDG  ซึ่งจะอยู่ใน  “G” หรือ “GREEN” ซึ่งมุ่งสร้างโอกาสเพื่อสังคมสะอาด ที่ OR มุ่งเน้นในปีนี้อีกด้วย

จะเห็นได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ OR ได้วางระบบไว้ ล้วนเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวคนไทยจริง ๆ ตั้งแต่ตื่นนอน ดื่มกาแฟ เดินทาง ล้วนมีส่วนร่วมช่วยทำให้สังคมสะอาดได้จริง ๆ เพราะวันนี้ OR เชื่อว่าสังคมสะอาดไม่ใช่แค่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่คือการช่วยกันคนละไม้ คนละมือ ในทุก ๆ วันต่างหากคือหัวใจหลักของความยั่งยืน

เพราะโอกาสเพื่อสังคมสะอาด คือโอกาสของพวกเราทุกคน

รับชมโฆษณา https://www.youtube.com/watch?v=2xM2vszkjp0


]]>
1486343
โออาร์ = โอกาส โอกาสของใคร?… ทุนใหญ่ (ผู้บริหาร)!? https://positioningmag.com/1398458 Thu, 01 Sep 2022 03:08:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1398458 บทความโดย ibusiness
วิกฤตพลังงาน เศรษฐกิจถดถอย ประชาชนสาหัส แต่ OR กลับพร้อมเปย์เทหน้าตัก 200,000 ล้าน เดินหน้าลุยซื้อกิจการร่วมลงทุน ด้วยนโยบายโออาร์เท่ากับโอกาสสร้างโอกาสให้ทุนใหญ่ครอบงำตลาด เพิ่มอำนาจเหนือคู่แข่งสู่ธุรกิจผูกขาด? ขณะที่ความเหลื่อมล้ำทำลายโอกาสของรายเล็กสวนทางพันธกิจที่ประกาศจะช่วยเหลือชุมชน

เริ่มต้น ปี 2565 บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ ได้ประกาศ วิสัยทัศน์และทิศทางการดำเนินธุรกิจ ภายใต้คอนเซ็ปต์เติมเต็มโอกาส เพื่อทุกการเติบโต ร่วมกันหรือ “Empowering All toward Inclusive Growth” หรือโออาร์=โอกาสซึ่งจะเห็นได้ว่า โออาร์ได้เข้าไปซื้อกิจการ และ ร่วมลงทุนในหลากหลายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดย นางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ ประกาศตั้งงบลงทุนไว้ 2 แสนล้านบาท ใน 10 ปี (ปี 2563-2573) ที่จะหว่านเงินลงให้ผู้ประกอบการทุกขนาด

ทว่า ตลอดปีนี้ ท่ามกลางภาวะวิกฤติพลังงานราคาน้ำมัน และ แก๊ส ปรับตัวพุ่งสูง ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน ต้นทุนสินค้าของผู้ประกอบการ เกิดภาวะเงินเฟ้อ และ ฉุดเศรษฐกิจที่บอบช้ำจากพิษโควิดอยู่แล้วให้เลวร้ายมากขึ้น การทุ่มเงินลงทุนที่มาจาก ผลกำไรจากการค้าน้ำมันและแก๊ส ไปในกิจการหลายกิจการที่บ้างก็เป็นกิจการที่อาจจะมีมูลค่าสูงกว่าความเป็นจริง และ บางธุรกิจเป็นของ นายทุนผู้ประกอบการรายใหญ่ ก็นำมาซึ่งคำถามในขณะนี้ว่า โออาร์ = โอกาส โอกาสนั้นเป็นของใครกันแน่?

ประเด็นสำคัญ หากพิจารณาพันธกิจของโออาร์ที่เคยระบุว่า จะมุ่งสร้างความมั่นคงทางพลังงาน และสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ผ่านการดำเนินธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจค้าปลีก และจะเป็นองค์กรที่ดีของสังคม ดำเนินธุรกิจที่มีการบริหารจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีแก่สังคม ชุมชน แต่เพราะเพื่อแสดงให้ผู้ถือหุ้นรวมไปถึงพันธมิตร เห็นว่าวิสัยทัศน์ โออาร์=โอกาส ดังกล่าวสามารถจับต้องได้จริง ดูเหมือนจะไปสวนทางกับ พันธกิจที่โออาร์ได้ประกาศหรือไม่?

OR – สิงห์ดุสิต โอกาสทุนใหญ่สู่ธุรกิจผูกขาด?

ภายใต้ โออาร์=โอกาส มีตัวอย่างของการร่วมทุนที่เป็นประเด็นคำถามว่า ท้ายที่สุดการร่วมลงทุนในธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ใช่น้ำมันของโออาร์ต้องการผลลัพธ์อะไรกันแน่

กรณีโออาร์ได้ร่วมกับ ภูริต ภิรมย์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจเครื่องดื่มภายใต้แบรนด์ตราสิงห์ที่มีส่วนแบ่งตลาดเครื่องดื่มในสัดส่วนที่เรียกได้ว่าเป็นเจ้าตลาดลงนามในสัญญาจัดตั้งบริษัทร่วมทุน วงเงินรวม 400 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มสำเร็จรูปพร้อมดื่ม ระหว่างบริษัท มอดูลัส เวนเจอร์ จำกัด (Modulus) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่โออาร์ถือหุ้นในสัดส่วน 100% และบริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด

นักวิเคราะห์ต่างมองว่า การร่วมลงทุนกันของ โออาร์ และ บุญรอดฯ ซึ่งถือเป็นทุนใหญ่ด้วยกันทั้งคู่ ย่อมสร้างโอกาส WIN-WIN เพิ่มขีดความสามารถในการแสวงหากำไรให้แก่ธุรกิจของตัวเอง ในสมรภูมิตลาดเครื่องดื่มกลุ่มบุญรอดฯ เป็นหนึ่งในยักษ์ใหญ่แต่ละปีมีรายได้นับแสนล้านบาท ขณะที่โออาร์ ณ 30 มิ.. 65 บริษัทมีจำนวนสถานีบริการน้ำมันทั้งในและต่างประเทศรวม 2,473 แห่ง ร้าน Café Amazon ทั้งในและต่างประเทศรวม 4,051 สาขา ถือเป็นจุดแข็งในการกระจายสินค้าและช่องทางจำหน่ายที่ได้เปรียบคู่แข่งขันรายอื่นๆ

แน่นอนว่า เมื่อโออาร์หยิบยื่นโอกาสให้บุญรอดฯ ทุนใหญ่+ทุนใหญ่ ที่มาพร้อมการตลาดที่พร้อมเปย์หนัก นั่นหมายถึง อำนาจผูกขาดอยู่เหนือคู่แข่ง ตลาดเครื่องดื่มที่มีมูลค่ากว่าแสนล้านน่าจะได้รับผลกระทบอย่างไม่ต้องสงสัย โดยเฉพาะเครื่องดื่มสำเร็จรูปพร้อมดื่มทั้งการผลิต การจำหน่าย อยู่ในมือของทั้งคู่ โอกาสที่จะนำไปสู่ธุรกิจผูกขาดในตลาดนี้ก็ย่อมมีสูง ขณะเดียวกันโอกาสของ SME ผู้ประกอบการรายย่อย ที่คาดหวังจะเข้าสู่ตลาดเครื่องดื่มสำเร็จรูปพร้อมดื่มก็แทบจะปิดประตูลั่นดาลการเติบโตไปได้เลย

ต่อจากการร่วมทุนกับบุญรอดฯ เมื่อเร็วๆ นี้ จิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ยังได้ร่วมลงนามในสัญญาการร่วมลงทุนใน บริษัท ดุสิต ฟู้ดส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของกลุ่มดุสิตธานี ทุนใหญ่อีกราย โดยบริษัท มอดูลัส เวนเจอร์ จำกัด หรือ Modulus ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ OR เข้าลงทุนในสัดส่วน 25% ใช้ลงทุน 300 ล้าน โดยระบุเหตุผลการลงทุน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจอาหาร ทั้งในและต่างประเทศ

การร่วมลงทุนระหว่าง โออาร์กับดุสิต ก็ไม่ต่างจากโมเดลการร่วมลงทุนกับสิงห์ ขณะที่กลุ่มดุสิตธานี เป็นเบอร์ต้นๆ ในธุรกิจการให้บริการของประเทศ และที่ผ่านมาได้เดินหน้าขยายการลงทุนในธุรกิจอาหารที่เชื่อมโยงกับธุรกิจหลัก มีแนวโน้มการเติบโตสูง และครอบคลุมทุกห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งความร่วมมือกับ OR ในครั้งนี้ ดุสิต จะได้โอกาสเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับการเติบโตของธุรกิจอาหารขยายไปในตลาดหน้าร้านของโออาร์

ขณะที่โอกาสกลายเป็นของทุนใหญ่อย่างดุสิต จากการเอื้อประโยชน์ของโออาร์ บรรดานักวิเคราะห์ต่างกังวลว่า ผลลัพธ์ M&A ของทุนยักษ์จะก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างรายใหญ่กับ SME หรือผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดเล็กมากขึ้นไปอีก ทุนใหญ่สามารถที่จะครองส่วนแบ่งตลาด และสะสมกำไรจากการผูกขาดได้โดยง่าย เพิ่มอำนาจอยู่เหนือตลาดที่ทำให้คู่แข่งไม่มีโอกาสที่จะแม้แต่จะแข่งขันได้

Venture Capital ลงทุนกวาดดะ

นอกจากทุนใหญ่อย่างสิงห์ และดุสิตที่ผ่านมา จากแคมเปญ โออาร์=โอกาส โออาร์ ยังแปลงร่างเป็น “Venture Capital” ได้ประกาศเข้าลงทุนในหลายกิจการ อาทิ บริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด เจ้าของร้านอาหารสุขภาพชื่อดังโอ้กะจู๋ซึ่งเหตุผลฟังดูดีว่าโอ้กะจู๋ปลูกผักเองด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ และส่งตรงจากฟาร์มผักขนาดใหญ่ที่จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทฯ ในแง่ธุรกิจ โออาร์ ตั้งเป้าขยายสาขาร้านโอ้กะจู๋เพิ่มเติมในสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น รวมถึงการจำหน่ายอาหารแบบ Grab & Go ผ่านร้าน Café Amazon ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และภาคเหนือ

ขณะที่ในแง่สังคมชุมชน คาดหวังเอาไว้ว่า การเข้าลงทุนดังกล่าว จะเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการ SME และเกษตรกรผู้ปลูกผักในรูปแบบเกษตรอินทรีย์ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการที่มีโอกาสเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านทางสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น และร้าน Café Amazon

คำถามคือ ณ วันนี้ มีผลในทางปฎิบัติเช่นนี้จริงหรือไม่ เพราะในความเป็นไปมีเพียงฟาร์มผักของ โอ้กะจู๋ เพียงเท่านั้นที่ได้โอกาส ใช่หรือไม่?

ไม่เพียงแต่ธุรกิจด้านอาหารซึ่งเข้าใจได้ว่า โอ้กะจู๋ มีร้านอาหาร โออาร์มีหน้าร้านและพื้นที่ แต่ โออาร์ ที่ขยายการลงทุนไปในกิจการถูกตั้งคำถามว่า เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องอย่างไรกับโออาร์? สนับสนุนพันธกิจของโออาร์อย่างไร?

ดังกรณีตัวอย่าง โออาร์ได้เข้าลงทุน “GoWabi” แอปพลิเคชัน จองบริการความสวยความงามผ่านกองทุน “ORZON Ventures” ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพ กรณี OR ควักเงินถึง 480 ล้านบาท เพียงแลกกับการเข้าลงทุนร้อยละ 25 ใน บริษัท คามุ คามุ จำกัด เจ้าของแบรนด์คามุ ที” (Kamu Tea)

กรณี ลงนามสัญญาจองซื้อหุ้นและสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น ระหว่าง บริษัท มอดูลัส เวนเจอร์ จำกัด หรือ Modulus ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ OR และ บริษัท เคเน็กซ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (KNX) ผู้ดำเนินธุรกิจจำหน่ายเครื่องซักผ้า และเครื่องอบผ้าแบบอุตสาหกรรม รวมถึงประกอบกิจการร้านสะดวกซัก ภายใต้แบรนด์อ๊อตเทริ วอชแอนด์ดรายโดยเข้าลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 40 ในวงเงินประมาณ 1,105 ล้านบาท

ทั้งนี้ 6 เดือนแรกของปี 2565 โออาร์ใช้เงินลงทุนไปประมาณ 2,433 ล้านบาท ผ่านการให้ บริษัท มอดูลัส เวนเจอร์ จำกัด (Modulus) บริษัทย่อยที่ OR ถือหุ้น 100% เข้าไปลงทุนเรียกว่า Venture Capital พร้อมเปย์ทุกกิจการ ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้ว่า ธุรกิจเหล่านั้นมีอนาคตแค่ไหนอย่างไร จากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ เพียงเพราะ โออาร์ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ขอเพียงแค่ธุรกิจไหนที่โออาร์ หรือ ผู้บริหาร คิดว่ามีเคมีทางธุรกิจตรงกัน โออาร์ ก็พร้อมที่จะสร้างโอกาสกับทุกธุรกิจกระนั้นหรือ?

โจทย์ใหญ่ของ ปตท.

OR เป็นบริษัทเรือธงของกลุ่ม ปตท. ในธุรกิจน้ำมัน (Mobility) และธุรกิจค้าปลีก (Lifestyle) โดยเป็นผู้นำในธุรกิจน้ำมัน ด้วยส่วนแบ่งการตลาดเกือบ 44%

ปตท.นั้นถือหุ้นใหญ่ใน OR แต่ก็ทราบกันดีว่า วิสัยทัศน์โออาร์ = โอกาสคนขับเคลื่อนผลักดันสำคัญคือ จิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR โดยในครึ่งปีหลัง 2565 นี้ คาดว่าโออาร์ = โอกาสจะเดินหน้าต่อไม่หยุดยั้ง ซึ่งปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรอีกหลายราย เพื่อลงทุนทั้งในรูปแบบการเข้าซื้อกิจการ (M&A) และการร่วมลงทุน (JV) ในธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน

ขณะเดียวกัน ผลประกอบการงวด 6 เดือนของปีนี้ (30 มิ..) โออาร์มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 229,552 ล้านบาท รายได้รวม 390,512 ล้านบาท กำไรสุทธิ 10,412 ล้านบาท ซึ่งหากเทียบกับปีที่แล้วทั้งปีกำไรอยู่ที่ 11,474 ล้านบาท งบปีนี้เหลืออีก 6 เดือนนักวิเคราะห์คาดว่า โออาร์จะทำกำไรเพิ่มจากปีที่แล้วมากกว่าเท่าตัว

นั่นหมายความว่า การรับรู้รายได้จากธุรกิจน้ำมันที่ยังเป็นธุรกิจหลัก รวมกับธุรกิจที่ให้ดอกออกผลที่ไปลงทุนในกิจการอื่นๆ ที่ไม่ใช้น้ำมัน หรือ การค้าปลีกมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม โออาร์ = โอกาส เป็นวิสัยทัศน์การลงทุนที่วันนี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า โออาร์นั้น มุ่งหากำไรมากกว่าจะตอบแทนสังคม ชุมชน ตามพันธะกิจที่ควรจะเป็นองค์กรที่ผ่องถ่ายกำไรจากธุรกิจค้าน้ำมันและแก๊ส คืนกลับหรือบรรเทาค่าครองชีพให้ประชาชน

ละทิ้งโมเดลคาเฟ่อะเมซอน?

ว่าไปแล้ว ปตท.เคยประสบความสำเร็จกับพันธะกิจการมีส่วนช่วยเหลือชุมชน และ คนตัวเล็ก จากการก่อตั้งและสร้างแบรนด์ คาเฟ่อะเมซอน ด้วยวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้เป็นร้านกาแฟ สถานที่นัดพบของผู้เดินทางขณะเดียวกัน รูปแบบแฟรนไซส์ที่เสนอให้ประชาชนทั่วไปสามารถเป็นเจ้าของด้วยทุนที่ไม่มากได้ให้โอกาสสร้างงานสร้างอาชีพเป็นผู้ประกอบการให้กับหลายคนจนถึงทุกวันนี้ ด้วยจำนวนสาขาที่มีมากกว่า 4 พันแห่งโดยที่ ปตท.เป็นเจ้าของเองไม่ถึง 10% หรือ ราว 400 สาขา จึงทำให้เป็นโมเดลที่สนับสนุนพันธกิจของปตท.อย่างน่าเสียดายหากโมเดลนี้จะถูกลืมเลือนไป

ภายใต้การบริหารและวิสัยทัศน์จองโออาร์วันนี้กลับเลือกที่จะเดินหน้าลงทุนกับผู้ประกอบการรายใหญ่ ให้โอกาสนายทุนที่มีธุรกิจอยู่ในมือได้โอกาสขยายกิจการมากขึ้น ซึ่งเมื่อหันหลังกลับไปมอง การก่อตั้งคาเฟ่อะเมซอน เปรียบเทียบกับการเข้าลงทุน กรณี OR ทุ่มเงิน 480 ล้านบาทเข้าถือหุ้น 25% ใน บริษัท คามุ คามุ จำกัด เจ้าของแบรนด์คามุ ที” (Kamu Tea) ตรงกันข้ามกันอย่างสิ้นเชิง ชาไข่มุก คามุที เปิดมากว่า 11 ปี หลังจากมีชื่อก็เปิดบริการขายแฟรนซ์ไซส์ให้กับคนทั่วไป โดยมีสาขามากกว่า 100 สาขาทั่วประเทศ แต่สำหรับการเข้าลงทุนของโออาร์ โอกาสของเจ้าของแฟรนซ์ไซส์ของคามุทีที่มีอยู่แล้วจะขยายกิจการเปิดสาขาในสถานีน้ำมันก็มากขึ้น ขณะที่คาเฟ่อะเมซอนมอบโอกาสให้คนทั้วไปและชุมชนโดยตรงมากกว่า

สิ่งที่เกิดขึ้นกับการลงทุนของโออาร์จึงทำให้ธุรกิจที่เป็นรายใหญ่จะสามารถมีอำนาจผูกขาดในตลาดเอาเปรียบคู่แข่งขันทางการค้ามากขึ้น ขณะเดียวกันกิจการเหล่านั้นมีศักยภาพเป็นผู้กำหนดราคาสินค้าและบริการจะให้ขึ้นหรือลงเพื่อครอบครองส่วนแบ่งตลาด มิหนำซ้ำ การถ่ายโอนกำไรจากธุรกิจหรือวิสาหกิจชุมชนที่โออาร์มีพื้นที่ตั้งอยู่น่าจะเป็นตัวกลางได้กลับมากระจุกตัวอยู่ในกลุ่มทุนรายใหญ่นำไปสู่การสะสมทุนของผู้ประกอบการรายใหญ่ และ กลายเป็นธุรกิจผูกขาดในที่สุด

นี่หรือการสร้างโอกาสให้วิสาหกิจชุมชน โออาร์ = โอกาส โอกาสของใคร? ทุนใหญ่ ผู้ถือหุ้น และ ผู้บริหาร ใช่หรือไม่? ที่แน่ๆ คนที่ได้โอกาสและได้ประโยชน์จากการลงทุนของโออาร์ ไม่ใช่ ประชาชนผู้บริโภค และ ผู้ประกอบการรายเล็กๆ แน่นอน

นี่เป็นโจทย์ใหญ่ของปตท.ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่โออาร์ คิดและจะแก้ไขอย่างไร รายได้บนคราบน้ำตาของประชาชนผู้ใช้น้ำมัน และก๊าซที่ถูกผ่องไปสู่มือทุนใหญ่ที่มีโอกาสทำกำไรและการผูกขาดทางธุรกิจ ใช่เป็นความต้องการของ ปตท.ด้วยหรือไม่? เป็น New-S-Curve ที่จะมุ่งไปแบบนี้หรือ?!

Source

]]>
1398458
OR รุกสู่ธุรกิจท่องเที่ยว ประกาศลงทุนใน Traveloka https://positioningmag.com/1394235 Wed, 27 Jul 2022 16:42:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1394235 OR ได้ประกาศลงทุนใน Traveloka แพลตฟอร์มด้านการท่องเที่ยวชื่อดังจากอินโดนีเซียที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นบริการค้นหา จอง และชำระเงินสำหรับที่พัก การเดินทาง ตั๋วเครื่องบิน รวมถึงไลฟ์สไตล์ประเภทต่างๆ 

จิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก (OR) ได้กล่าวว่า Traveloka เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มด้านการท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่เพียงเฉพาะแค่ด้านการท่องเที่ยว แต่ยังตอบโจทย์พฤติกรรม ไลฟ์สไตล์ และความต้องการของผู้บริโภคที่มีความเฉพาะตัวในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจของ OR ที่มุ่งเติบโตในแบบ Outside-In Growth โดยแสวงหาโอกาสการลงทุนใหม่ ๆ ร่วมกับพันธมิตร เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการสินค้าและบริการที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้น

ทาง OR นั้นได้ลงนามสัญญาความร่วมมือทางธุรกิจและลงทุนกับทาง Traveloka เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ทางบริษัทไม่ได้เปิดเผยมูลค่าการลงทุนแต่อย่างใด

ส่วนทางด้าน Traveloka นั้นสำนักข่าว Bloomberg ได้รายงานข่าวว่าบริษัทตั้งเป้าที่จะระดมทุนจำนวนกว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐจากนักลงทุนที่สนใจ หลังจากที่บริษัทยังไม่ต้องการจะเข้าตลาดหุ้น โดยมีผู้สนใจลงทุนอย่างเช่น BlackRock และกำลังระดมทุนจากผู้ที่สนใจรายอื่นๆ ด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้มีบริษัทที่ลงทุนใน Traveloka ไม่ว่าจะเป็น Global Founders Capital และ Expedia รวมถึงกองทุนความมั่งคั่งของสิงคโปร์อย่าง GIC ด้วย

ข้อมูลจาก CBInsights คาดว่าแพลตฟอร์มท่องเที่ยวจากอินโดนีเซียรายนี้จะมีมูลค่ากิจการจะอยู่ที่ราวๆ 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ดี มูลค่าในการระดมทุนครั้งนี้ยังไม่ได้รวมไปในมูลค่ากิจการ ซึ่งอาจมีมูลค่าที่สูงขึ้นมากกว่านี้ได้อีกมาก

]]>
1394235
OR เตรียมจัดอีเวนต์ใหญ่ ให้ธุรกิจใหญ่เล็กมาจับคู่กัน เตรียมทำ Superapp เปิดตัวเร็วๆ นี้ https://positioningmag.com/1392490 Tue, 12 Jul 2022 16:40:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1392490 OR เชิญชวนผู้ประกอบการธุรกิจทุกขนาด สตาร์ทอัพ และผู้สนใจร่วมเส้นทางเติมเต็มโอกาสเพื่อการเติบโตไปด้วยกันในงานเสวนาและโชว์เคสธุรกิจครั้งยิ่งใหญ่แห่งปี “Inclusive Growth Days empowered by OR” ขณะเดียวกันก็ได้เปิดเผยว่าทางบริษัทกำลังพัฒนา Superapp ซึ่งคาดว่าจะเปิดตัวได้ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้

จิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR กล่าวว่า ทางบริษัทได้จัดงาน “Inclusive Growth Days empowered by OR” ขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่จะขับเคลื่อนโอกาสและสร้างแรงบันดาลใจในการดำเนินธุรกิจสู่อนาคต

สำหรับในงานมีทั้ง การระดม 50 ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักธุรกิจชั้นนำ ร่วมเจาะลึกโมเดลธุรกิจแห่งอนาคตที่จะมาช่วยต่อยอดการลงทุน ผู้เชี่ยวชาญวงการสตาร์ตอัพมาไขรหัสแห่งความสำเร็จ พร้อมโอกาสในการสรรหาพันธมิตร สร้างเครือข่ายทางธุรกิจ เพื่อร่วมเติมเต็มศักยภาพและก้าวสู่ความสำเร็จไปด้วยกัน

จิราพร ยังได้กล่าวว่า ผู้ประกอบการธุรกิจทุกรูปแบบทุกขนาด ทั้งเล็ก กลาง ใหญ่ รวมถึงสตาร์ทอัพ จะได้รับประโยชน์โดยตรงเมื่อมาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมถึงมองหาพันธมิตรและช่องทางธุรกิจ ตลอดจนสร้างความร่วมมือซึ่งกันและกันระหว่างธุรกิจต่าง ๆ และเธอยังได้กล่าวว่าทาง OR ยินดีเป็นพื้นที่เปิด จะจับคู่ทางธุรกิจกันก็ได้ ไม่ใช่แค่ในงานที่จัด 3 วันเท่านั้น แต่ทางบริษัทเปิดส่วนงานสำหรับในการคุยธุรกิจ และจับคู่ธุรกิจด้วย

ขณะเดียวกันประธานเจ้าหน้าที่บริหารฯ ยังได้เล่าถึง บริษัทต่างๆ หลังจากที่ทาง OR ได้ลงทุนนั้นช่วยให้บริษัทต่างๆ เติบโตขึ้นมากกว่าเดิมโดยใช้ช่องทางของ OR ไม่ว่าจะเป็น Gowabi หลัง OR เข้ามาลงทุนและช่วยโปรโมต ก็มีธุรกิจต่างๆ อย่างคลินิก ฯลฯ เข้ามาในแพลตฟอร์มมากขึ้น หรือแม้แต่ Grab & Go ของโอ้กะจู๋ ซึ่งตอนแรก 8-10 สาขา ตอนนี้ 80 สาขาแล้ว จะเห็นได้ว่า OR ช่วยขยายสเกลเพิ่มขึ้นได้

นอกจากนี้จิราพร ยังกล่าวว่าทางบริษัทเตรียมที่จะเปิดตัว Superapp ของ OR โดยเธอได้เล่าว่าถ้าหากผู้บริโภคคนไหนต้องการสินค้าและบริการ หรือแม้แต่เรื่อง Mobility ก็เข้าแอพของ OR ได้ คาดว่าในเดือนพฤศจิกายนนี้จะเป็นช่วงเริ่มต้นของ Superapp นี้ และเธอยังกล่าวว่ายังให้แพลตฟอร์มอื่นๆ มาเชื่อมต่อกับ Superapp นี้ได้ 

โดยอีเวนต์ Inclusive Growth Days empowered by OR จะมีตั้งแต่ 22 – 24 กรกฎาคม 2565 ที่ บางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 22 

]]>
1392490
OR ทุ่ม 1,100 ล้านบาท ถือหุ้น 40% ร้านสะดวกซัก Otteri Wash & Dry https://positioningmag.com/1389136 Fri, 17 Jun 2022 04:51:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1389136 บมจ. ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก หรือ OR ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าบริษัทได้เข้าซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ บริษัท เค-เน็กซ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ KNEX  ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของร้านสะดวกซัก Otteri Wash & Dry ในวงเงินไม่เกิน 1,105 ล้านบาท โดยมีการลงนามซื้อขายหุ้นกันเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา

การลงทุนครั้งนี้ของ OR นั้นให้เหตุผลว่าต้องการที่จะขยายสู่ธุรกิจใหม่ รวมถึงเสริมสร้างศักยภาพธุรกิจค้าปลีกของ OR โดยเพิ่มความหลากหลายของสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภค

สัดส่วนในการถือหุ้นนั้น OR จะถือหุ้นสัดส่วน 40% ขณะที่ผู้ถือหุ้นเดิมของ KNEX จะยังถือหุ้นในสัดส่วน 60% 

สำหรับบริษัท เค-เน็กซ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2555 โดยเริ่มต้นธุรกิจด้วยการนำเข้าเครื่องจักรอุตสาหกรรม ซัก อบ รีด มาจำหน่ายให้แก่ โรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วประเทศ

ต่อมาบริษัทได้เข้ามาทำธุรกิจร้านสะดวกซัก Otteri Wash & Dry และเริ่มขยายสาขาในปี 2559 และแบรนด์ Otteri นั้นยังครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดเมื่อเทียบกับคู่แข่งรายอื่นๆ ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ OR เข้าลงทุนในเชนร้านสะดวกซักรายนี้

]]>
1389136
บุญรอดฯ ผนึกกำลังโออาร์ จัดตั้งบริษัทร่วมทุน บุกธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มสำเร็จรูปพร้อมดื่ม https://positioningmag.com/1388082 Wed, 08 Jun 2022 06:30:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1388082 บุญรอดเทรดดิ้งฯ ร่วมทุน บริษัท มอดูลัส เวนเจอร์ จำกัด โดย บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR จัดตั้งบริษัทผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มสำเร็จรูปพร้อมดื่ม โดยได้นำประสบการณ์และความเข้าใจในธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม รวมถึงช่องทางการจัดจำหน่ายครบวงจร มาพัฒนาต่อยอดโดยผนึกความเชี่ยวชาญ OR ในธุรกิจค้าปลีกเครื่องดื่ม ภายใต้แบรนด์ ‘คาเฟ่ อเมซอน’ ร่วมปั้นรูปแบบธุรกิจใหม่เพื่อสร้างการเติบโตร่วมกัน พร้อมตอบโจทย์ความต้องการทุกที่ทุกเวลา รับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่

นายภูริต ภิรมย์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า กลุ่มบริษัทบุญรอดฯ ดำเนินธุรกิจยาวนานกว่า 89 ปี เรามีความรู้ ความเข้าใจในพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้พัฒนาผลิตภัณฑ์หลากหลายครอบคลุม ทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และนอนแอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะเป็น เบียร์ น้ำดื่ม โซดา น้ำแร่ ฯลฯ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและเทรนด์ตลาดที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทำให้แบรนด์และผลิตภัณฑ์ในเครือบริษัทฯ สามารถครองใจกลุ่มเป้าหมายและก้าวเป็นผู้นำในตลาดอย่างแข็งแกร่ง

นอกจากนี้ ด้วยวิสัยทัศน์ของบริษัทที่ไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ ในกลุ่มเครื่องดื่มเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด บริษัทฯได้ร่วมลงนามในสัญญาจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับ บริษัท มอดูลัส เวนเจอร์ หรือ Modulus ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ OR ถือหุ้น 100% ซึ่งมีความแข็งแกร่งในการเป็นผู้ดำเนินธุรกิจร้านกาแฟ “คาเฟ่ อเมซอน” ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศ ส่วนบุญรอดฯ มีความชำนาญในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มครบวงจร , ทีมวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์แข็งแกร่ง รวมทั้งมีศักยภาพการกระจายสินค้าครอบคลุมทุกช่องทาง

นางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR เปิดเผยว่า การเพิ่มความแข็งแกร่งของธุรกิจค้าปลีกอาหารและเครื่องดื่มของ OR ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของ OR ตามพันธกิจในการสร้างทางเลือกสำหรับการดำเนินชีวิตแบบครบวงจรเพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตทุกรูปแบบ (All Lifestyle) สำหรับการร่วมมือกับบุญรอดฯ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม จะช่วยเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งช่องทางการจำหน่าย ให้ตอบโจทย์ความต้องการเครื่องดื่มของผู้บริโภคได้อย่างครบถ้วนและครอบคลุมยิ่งขึ้น

ดังนั้น การตั้งบริษัทร่วมทุน จึงเป็นการนำความเชี่ยวชาญของทั้ง 2 ฝ่าย มาต่อยอดเพิ่มโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ด้วยการเดินหน้าพัฒนาโครงการผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มสำเร็จรูปพร้อมดื่ม(Ready To Drink : RTD)  เพื่อตอบสนองทุกความต้องการและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น

]]>
1388082
OR แจงกำไรไตรมาส 1 ปี 65 แตะ 3,840 ล้าน โตขึ้น 63% จากไตรมาสก่อน https://positioningmag.com/1384779 Wed, 11 May 2022 04:06:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1384779 OR แจ้งผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2565 มีกำไรสุทธิ 3,845 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 63.3% จากไตรมาสก่อน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน พบว่า OR มีกำไรสุทธิลดลง 3.9% ลั่นเดินหน้าขยายธุรกิจใหม่ๆ ตอบโจทย์ผู้บริโภคและตอบรับเทรนด์ในอนาคต โดยลงทุนใน Start-up เพื่อสร้างความหลากหลายทางธุรกิจ

พิจินต์ อภิวันทนาพร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในไตรมาส 1 ปี 2565 OR และบริษัทในกลุ่มมีรายได้จากการขายและบริการ 177,291 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19,452 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 12.3% จากไตรมาสก่อนหน้า มาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกโดยเฉลี่ยปรับเพิ่มขึ้น ทำให้รายได้ขายของทั้งกลุ่มธุรกิจ Mobility และกลุ่มธุรกิจ Global เพิ่มขึ้น

สำหรับ EBITDA ในไตรมาส 1 อยู่ที่ 6,467 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,049 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 46.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยเพิ่มในทุกกลุ่มธุรกิจ ซึ่งกลุ่มธุรกิจ Mobility จากภาพรวมกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นจากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นจากทั้งธุรกิจตลาดพาณิชย์และธุรกิจขายปลีกน้ำมัน

ในขณะที่กำไรขั้นต้นของการขายน้ำมันดีเซลผ่านสถานีบริการชะลอตัวจากการลดภาระภาคประชาชนในการชะลอการปรับราคาหน้าสถานีบริการ ส่งผลให้ไตรมาส 1/2565 นี้ OR มีกำไรสุทธิจำนวน 3,845 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,491 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 63.3% คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 0.32 บาท สูงกว่าไตรมาสก่อน 0.12 บาท หรือเพิ่มขึ้น 60.0%

แต่เมื่อเปรียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนพบว่า ในไตรมาส 1/2565 OR มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 3,845 ล้านบาท ลดลง 3.9% จากไตรมาส 1/2564 ที่มีกำไรสุทธิ 4,003.20 ล้านบาท

ทั้งนี้ ในไตรมาสนี้ OR ได้เตรียมขยายการติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้า EV Station PluZ ที่ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ เดอะพรอมานาด และเทอร์มินอล 21 สาขาอโศก พระราม 3 พัทยา และโคราช รวม 24 จุดจ่าย ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้ใช้งานได้ในไตรมาส 3/2565 เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้รถไฟฟ้าสามารถเข้าถึงสถานีชาร์จไฟฟ้า EV Statoin PluZ ได้สะดวกยิ่งขึ้น

อีกทั้งยังสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่นิยมมาใช้บริการที่ห้างสรรพสินค้าและให้ความสำคัญต่อการใช้พลังงานสะอาด และได้รวมกับไปรษณีย์ไทยและมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ในการศึกษาการใช้รถไฟฟ้าในการขนส่งไปรษณีย์และพัสดุ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ที่จะขยายการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย และเป็นอีกก้าวสู่การเป็นผู้นำในระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า (EV Ecosystem) ต่อไปในอนาคต

สำหรับธุรกิจ Lifestyle บริษัทได้เปิดตัวร้านค้า “Your Space” หรือร้านค้ามัลติแบรนด์ที่เปิดโอกาสให้เจ้าของร้านค้าออนไลน์เช่าพื้นที่เพื่อจัดแสดงสินค้าให้ผู้ซื้อได้สัมผัสสินค้าจริงก่อนตัดสินใจซื้อ ช่วยเพิ่มการรับรู้แบรนด์และสร้างยอดขาย ตอบโจทย์การขายสินค้าออนไลน์ยุคใหม่ ตอบโจทย์ผู้ขายเรื่องความคุ้มค่าเช่า ช่วยลดต้นทุนเจ้าของสินค้าไม่ต้องสต๊อกสินค้าที่ร้าน ปัจจุบัน OR ยังได้ลงทุนในสตาร์ทอัพ 6 รายผ่าน ORZON Ventures ได้แก่ Pomelo, GoWabi, Freshket, Carsome, Protomate และ Hangry เพื่อสร้าง New S-Curve ต่อยอดการดำเนินธุรกิจด้าน Mobility และ Lifestyle รวมทั้งมอบประสบการณ์ใหม่ๆ และความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภค

]]>
1384779
น้ำมันพุ่ง OR กำไรก็พุ่ง 30.5% แตะ 11,400 ล้านบาท! https://positioningmag.com/1374207 Wed, 16 Feb 2022 09:00:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374207 OR เผยกำไรปี 64 พุ่ง 30% แตะ 11,400 ล้านบาท แม้ว่าปริมาณการจำหน่ายธุรกิจน้ำมัน และธุรกิจนอนออยล์ปรับลดลงจากปีก่อนเล็กน้อย บอร์ด OR ไฟเขียวจ่ายเงินปันผลช่วงครึ่งหลังปี 64 อัตรา 0.19 บาท/หุ้น

จิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) เปิดเผยผลการดําเนินงานปี 2564

  • กําไรสุทธิ จํานวน 11,474.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 8,791.06 ล้านบาท
  • รายได้ขาย 511,799 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.4%
  • มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคา ต้นทุนทางการเงินและภาษี (EBITDA) 20,335 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.4%

โดยภาพรวมผลการดําเนินงาน กลุ่มธุรกิจน้ำมัน (กลุ่มธุรกิจ Mobility) ดีขึ้นจากกําไรขั้นต้นเฉลี่ยต่อลิตรที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าปริมาณการจําหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันจะปรับลดลง 5.1% ส่วนกลุ่มธุรกิจ Non-oil (ธุรกิจ Lifestyle) ปรับตัวลดลงเล็กน้อย โดยหลักมาจากการมาตรการในการควบคุมอย่างเข้มงวด มีการล็อกดาวน์ทั่วประเทศไทยในบางช่วงของปี 2564 ส่งผลต่อกําลังซื้อในประเทศ รวมทั้ง OR ได้ช่วยบรรเทาภาระของผู้ประกอบการ Franchisee ร้าน Cafe Amazon ทุกสาขาดังกล่าวข้างต้น

รวมทั้งการเพิ่มขึ้นในค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย สําหรับกลุ่มธุรกิจต่างประเทศ (ธุรกิจ Global) มีผลการดําเนินงานปรับตัวลดลง โดยหลักมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่มีการใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดในบางประเทศ เช่น กัมพูชา และ สปป.ลาว ทําให้ภาพรวมปริมาณขายลดลง ประกอบกับกําไรขั้นต้นเฉลี่ยต่อลิตรที่ลดลง

คณะกรรมการบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 2/2565 ได้มีมติเห็นชอบเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2565 เพื่ออนุมัติจ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงานของปี 2564 ที่อัตรา 0.46 บาทต่อหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 46.7% ของกำไรสุทธิ โดยบริษัทได้จ่ายปันผลระหว่างกาลครึ่งปีแรก 2564 ไปแล้วที่อัตรา 0.27 บาทต่อหุ้น คงเหลือเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานครึ่งปีหลังปี 2564 ที่อัตรา 0.19 บาทต่อหุ้น โดยกำหนดจ่ายปันผลในวันที่ 28 เมษายน 2565

]]>
1374207
OR ทุ่มทุน 192 ล้าน ซื้อหุ้น 25% ในบริษัทเเม่ของร้าน KOUEN เสริมพอร์ตธุรกิจอาหาร https://positioningmag.com/1358865 Wed, 27 Oct 2021 16:19:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1358865 OR ส่งบริษัทลูกลงทุน 192 ล้าน ซื้อหุ้น 25% ในบริษัทเจ้าของเเบรนด์ร้านอาหารญี่ปุ่น KOUEN เสริมพอร์ตธุรกิจอาหาร-เครื่องดื่ม 

วันนี้ (27 ต.ค.64) บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการจัดการ OR (ORMC) มีมติอนุมัติให้ บริษัท มอดูลัส เวนเจอร์ จำกัด (Modulus) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ OR เข้าลงทุนโดยการซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ บริษัท อิ่มทรัพย์โกลบอล คูซีน จำกัด (ISGC) ในวงเงินไม่เกิน 192 ล้านบาท

ภายหลังการเข้าลงทุนดังกล่าวจะทำให้ Modulus มีสัดส่วนการถือหุ้น 25% และกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมของ ISGC มีสัดส่วนการถือหุ้น 75% ของหุ้น

สำหรับ ISGC เป็นผู้ดำเนินธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นแบรนด์ KOUEN ที่มีสาขาทั่วกรุงเทพฯ 19 แห่ง และแบรนด์อื่นๆ

โดยเหตุผลที่ OR เข้าลงทุนในครั้งนี้ เป็นไปเพื่อเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เสริมสร้างศักยภาพในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มของ OR รวมทั้งสร้างโอกาสในการเติบโตร่วมกันทั้งในและต่างประเทศ

Modulus จะเข้าลงนามในสัญญาจองซื้อหุ้นและสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น ในวันที่ 28 ตุลาคม นี้

ก่อนหน้านี้ OR ได้เข้าซื้อหุ้น 20% ของ ‘โอ้กะจู๋’ ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อขยายสาขาผ่านสถานีบริการน้ำมัน ‘PTT Station’ เเละขายอาหาร Grab & Go ผ่าน Café Amazon รวมไปถึงการเข้าลงทุนในบริษัท พีเบอร์รี่ ไทย จำกัด เจ้าของร้านกาแฟชื่อดัง “พาคามาร่า” (Pacamara) สัดส่วน 65% เพื่อขยายขอบเขตธุรกิจกาแฟอย่างครบวงจรด้วย

นอกจากนี้ ธุรกิจสำคัญ Non-Oil ที่สำคัญในเครือ OR ยังมี Café Amazon (OR เป็นเจ้าของเอง) เท็กซัส ชิคเก้น (ได้รับอนุญาตแต่เพียงผู้เดียว) ฮั่งเซ่งฮงติ่มซำ (มาสเตอร์แฟรนไชส์) เเละอื่นๆ

 

ที่มา : SET

 

]]>
1358865
รู้จัก ‘Swap & Go’ สถานีสลับ ‘แบตเตอรี่’ มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ไม่ต้องรอชาร์จ จากปตท. https://positioningmag.com/1341031 Tue, 06 Jul 2021 12:51:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1341031 เจ้าเล็กเจ้าใหญ่ลงสนาม ‘มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า’ คึกคัก ล่าสุดบิ๊กพลังงานอย่าง ปตท. เเละ OR เปิดตัว ‘Swap & Go’ สถานีสลับ ‘แบตเตอรี่’ ไม่ต้องรอชาร์จ นำร่อง 22 แห่ง ทั่วกรุงเทพฯ จับลูกค้ากลุ่ม ‘ไรเดอร์’ ส่งของเดลิเวอรี่

Swap & Go (สวอพ แอนด์ โก) เป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม โครงสร้างพื้นฐาน และเครือข่าย Battery Swapping หรือการสลับแบตเตอรี่แก่ผู้ใช้งานรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาด โดยจะนำร่องในกลุ่มธุรกิจบริการรับ-ส่งอาหารหรือสิ่งของ (Delivery Service)

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การใช้รถมอเตอร์ไซค์กลายเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจ Delivery Service และแนวโน้มการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยก็เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง พร้อมเทรนด์การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อม

เหล่านี้ เป็นที่มาของแนวคิดการออกแบบธุรกิจ เพื่อเป็นต้นแบบนวัตกรรมด้านพลังงานให้กับประเทศ อย่าง ‘Swap & Go’ บริษัทในเครือ ปตท. ที่ให้บริการสลับแบตเตอรี่สำหรับผู้ใช้งานมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า แบบไม่ต้องรอชาร์จ

สำหรับปีนี้ ‘Swap & Go’ จะเปิดให้บริการสถานีสลับแบตเตอรี่ จำนวน 22 แห่งทั่วกรุงเทพฯ แบ่งเป็นภายในสถานีบริการน้ำมัน PTT Station จำนวน 19 แห่ง และพื้นที่ภายนอก PTT Station อีก 3 แห่ง เบื้องต้นจะเน้นเจาะลูกค้าในกลุ่ม Delivery Service และมีแผนขยายการให้บริการในกลุ่มลูกค้าอื่น ๆ ในระยะถัดไป

ทั้งนี้ ปัจจุบัน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ได้วางเครือข่ายสถานีชาร์จ EV Station ในพื้นที่สถานีบริการน้ำมัน PTT Station แล้วกว่า 30 แห่งทั่วประเทศ และมีแผนจะขยายเป็น 100 แห่งครอบคลุมทุกภาคทั่วประเทศ ภายในปี 2564 พร้อมตั้งเป้าเพิ่มเป็น 300 แห่งในปี 2565 เพื่อรองรับการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคล ตอบสนองความต้องการในการเดินทางทุกรูปแบบ

ที่ผ่านมา Swap & Go ได้ทำการสำรวจพฤติกรรมของผู้ขับขี่ให้บริการ Delivery หรือ ‘ไรเดอร์’ พบว่า พวกเขาต้องการใช้งานรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่สามารถรองรับการให้บริการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อทำรายได้สูงสุด

โดยปัญหาหลักๆ ที่ทำให้ยังไม่สามารถเปลี่ยนมาใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าได้ คือแบตเตอรี่ที่ต้องใช้เวลานานในการรอชาร์จ ซึ่งไม่สอดคล้องกับการใช้งานจริง

จากความคิดเห็นดังกล่าว Swap & Go จึงพัฒนารูปแบบธุรกิจการให้บริการสลับแบตเตอรี่ ที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานให้กับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นออกแบบกระบวนการใช้งานให้ ‘ง่าย สะดวก และทันสมัย’

 

สำหรับขั้นตอนการใช้งาน สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Swap & Go เเละเชื่อมต่อกับรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่รองรับ เพื่อตรวจสอบปริมาณแบตเตอรี่ ค้นหาตำแหน่งสถานีสลับแบตเตอรี่ จองแบตเตอรี่ใหม่ล่วงหน้า และมีระบบนำทางไปยังสถานี

เมื่อไปถึงสถานีแล้ว สามารถสแกน ‘QR code’ ซึ่งรองรับทั้งระบบ iOS และ Android ทำการสลับแบตเดิมที่หมดกับแบตใหม่ ที่พร้อมใช้งานภายในตู้ชาร์จด้วยตัวเอง ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

Swap & Go มีเป้าหมายมุ่งสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยนำร่องการพัฒนาตู้แบตเตอรี่ ระบบการชาร์จไฟ และการเชื่อมต่อเครือข่ายกับผู้ผลิตและให้บริการแบตเตอรี่สวอพชั้นนำจากประเทศจีน

รวมทั้งจัดหารถมอเตอร์ไฟฟ้าที่สามารถสลับแบตเตอรี่ได้ มาให้บริการในระบบด้วย โดยจะเป็นรถจักรยานยนต์ จากแบรนด์ Molinks รุ่น B-Swap ของค่าย Xiaomi และกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนามอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานในอนาคต

ตามรายงานจาก สำนักข่าวไทย ระบุว่า ปัจจุบัน Swap & Go มีมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่สามารถสลับแบตเตอรี่ได้ ซึ่งนำเข้าจากประเทศจีน 40 คัน และเตรียมนำเข้าเพิ่มอีก 40 คันภายในปีนี้ ในส่วนของค่าใช้จ่าย ‘เริ่มต้น’ 60 บาทต่อวัน ครอบคลุมค่าเช่ามอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าและการสวอพแบตเตอรี่

ก่อนหน้านี้ ‘โรบินฮู้ด’ เเอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ เพิ่งเปิดให้เช่า ‘มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า’ วันละ 120 บาท ประเดิม 200 คันเเรกทั่วกรุงเทพฯ เเละตั้งเป้าสิ้นปีนี้ให้บริการ 1,500 คัน จุดเปลี่ยนเเบตฯ 100 เเห่ง ตามสาขาใกล้ชุมชนของธนาคารไทยพาณิชย์ โดยร่วมมือกับ 2 เเบรนด์ไทย ให้เลือกเช่าตามใจชอบ ได้เเก่ ETRAN และ H SEM

]]>
1341031