Paxlovid – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 29 May 2022 09:44:33 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ไฟเซอร์” เตรียมจำหน่ายยา-วัคซีน “ราคาต้นทุน” ให้แก่ 45 ประเทศยากจน https://positioningmag.com/1386771 Sat, 28 May 2022 15:11:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1386771 ไฟเซอร์ อิงค์ ประกาศจะจำหน่ายยาที่มีสิทธิบัตรทุกชนิดของบริษัท รวมถึงแพกซ์โลวิด (Paxlovid) ซึ่งเป็นยารักษาผู้ป่วย COVID-19 และไอแบรนซ์ (Ibrance) ซึ่งเป็นยาสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ให้แก่ 45 ประเทศยากจนที่สุดของโลกในรูปแบบไม่แสวงผลกำไร

ไฟเซอร์ แถลงว่า โครงการจำหน่ายยาในราคาต้นทุนจะครอบคลุมตัวยาและวัคซีนทั้งหมด 23 รายการที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อ มะเร็งบางชนิด และโรคจากการอักเสบที่พบได้ยาก โดยนอกจากแพกซ์โลวิดและไอแบรนซ์แล้ว ยังมีวัคซีน Prevnar 13 ที่ใช้ป้องกันโรคปอดอักเสบ ยา Xeljanz สำหรับรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ รวมถึงยา Xalkori และ Inlyta ที่ใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็ง

วัคซีน Comirnaty รักษา COVID-19 ที่ไฟเซอร์พัฒนาร่วมกับบริษัท ไบโอเอ็นเทค เอสอี ของเยอรมนี ก็อยู่ในลิสต์นี้ด้วยเช่นกัน

ตามข้อมูลจากมูลนิธิบิล แอนด์ เมลินดา เกตส์ (Bill & Melinda Gates Foundation) ประเทศยากจนเหล่านี้ยังขาดแคลนนวัตกรรมในการรักษาโรค และอาจเข้าถึงแนวทางการรักษาใหม่ๆ ล่าช้า 4-7 ปี

อัลเบิร์ต บัวร์ลา ซีอีโอไฟเซอร์ ให้สัมภาษณ์ว่า ตัวยาที่บริษัทผลิตออกมาทั้งหมดควรจะถูกใช้ให้เกิดประโยชน์

“แน่นอนว่าการเข้าถึงยาต้านไวรัส (แพกซ์โลวิด) อาจเป็นเรื่องยากสำหรับกลุ่มประเทศเหล่านี้ ถ้าพวกเขาจำเป็นต้องใช้มัน พวกเขาก็ควรจะได้รับทันที” บัวร์ลา กล่าว

โครงการ ‘Accord for a Healthier World’ ที่ไฟเซอร์ประกาศบนเวทีประชุมเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม ที่เมืองดาวอส จะครอบคลุม 27 ประเทศที่มีรายได้น้อย (low-income countries) และอีก 18 ประเทศที่มีรายได้ต่ำกว่า (lower-income countries) ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยขณะนี้รวันดา กานา มาลาวี เซเนกัล และยูกันดา ประกาศเข้าร่วมโครงการแล้ว

ไฟเซอร์ถูกวิพากษ์วิจารณ์มานานในเรื่องของการจัดสรรวัคซีนป้องกัน COVID-19 โดยวัคซีนล็อตแรกๆ ถูกส่งให้แก่บรรดาชาติร่ำรวยเสียเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ประเทศยากจนต้องตั้งตาคอยนานหลายเดือนกว่าจะได้วัคซีน

Source

]]>
1386771
สหรัฐฯ เร่งเพิ่มช่องทางเเจกฟรี ‘ยารักษาโควิด’ ตามร้านขายยาเป็น 2 เท่า ให้เข้าถึงง่ายขึ้น https://positioningmag.com/1382997 Tue, 26 Apr 2022 14:10:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1382997 รัฐบาลสหรัฐฯ เตรียมขยายช่องทางจ่ายยาต้านไวรัสโควิด-19 ผ่านการเพิ่มจำนวนร้านขายยาในโครงการเป็น 2 เท่าของปัจจุบัน ให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น

โดยร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการ จะสามารถสั่งยารักษาโควิดฟรีจากรัฐบาลกลางได้โดยตรง ตั้งแต่สัปดาห์นี้เป็นต้นไป

ปัจจุบันร้านขายยาต้องพึ่งพารัฐในการรับยา โดยรัฐบาลจะส่งยาไปให้ร้านขายยาที่ได้รับคัดเลือก รวมทั้งศูนย์ชุมชนโดยตรง ตั้งเป้าจะเพิ่มจำนวนร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการจาก 20,000  แห่งในปัจจุบันให้เป็น 40,000 แห่งในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

ที่ผ่านมาพบว่าจำนวนผู้รับยา Paxlovid ฟรีนั้นต่ำกว่าที่คาด เนื่องจากมีข้อกำหนดเเละขั้นตอนที่ยุ่งยาก ประกอบการตรวจหาเชื้อเริ่มลดลงและหลายคนก็กังวลผลข้างเคียงของยา

อย่างไรก็ดี ยา Paxlovid ถือจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการรักษาโรคโควิด-19 จากผลการทดลองทางคลินิกพบว่า ยาดังกล่าวช่วยให้กลุ่มเสี่ยงสูง มีอัตราการเข้าโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตลงได้ถึง 90% ขณะที่ยาขนานอื่นอย่าง molnupiravir และ Remdesivir มีประสิทธิภาพน้อยกว่า

โดยรัฐบาลสหรัฐฯ ทำการสั่งซื้อยาก Paxlovid มากถึง 20 ล้านเม็ดสำหรับรักษาผู้ป่วยในราคา 530 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 18,147 บาท) ต่อคอร์ส ซึ่งบริษัทผู้ผลิตอย่างไฟเซอร์ ได้ตั้งเป้าผลิตให้รัฐบาลได้ 3.5 ล้านคอร์สภายในสิ้นเดือนเมษายนนี้

แต่นับจนถึงกลางเดือนนี้ รัฐบาลเพิ่งแจกจ่ายไปเพียง 1.5 ล้านคอร์สเท่านั้น และร้านขายยายังมียาเหลือมากกว่า 500,000 คอร์ส

สหรัฐฯ เตรียมจะเพิ่มสถานที่ตรวจหาเชื้อในโครงการ ‘Test to Treat’ เพื่อให้สามารถรับการตรวจหาเชื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป แล้วรับยารักษาฟรีทันทีหากมีผลตรวจเป็นบวก ปัจจุบันมีร้านขายยาเข้าร่วมในโครงการ 2,200 แห่ง เเละจะมีร้านเข้าร่วมทางออนไลน์เพิ่มอีก 10,000 แห่งในเร็วๆนี้

 

ที่มา : Reuters 

]]>
1382997
ยาเม็ด Paxlovid ต้านโควิดของ Pfizer ประสิทธิภาพ 89% คาดราคาคอร์สละ 2.3 หมื่น https://positioningmag.com/1360699 Sat, 06 Nov 2021 10:39:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1360699 การทดลองยาเม็ดต้านไวรัสสำหรับรักษา COVID-19 ของไฟเซอร์ อิงค์ ลดโอกาสที่ผู้ป่วยเสี่ยงติดเชื้ออาการรุนแรงจะเข้าโรงพยาบาล หรือเสียชีวิตได้ 89% ขณะที่ซีอีโอของบริษัทระบุว่า จะทำให้อาวุธใหม่ในการต่อสู้กับโรคระบาดใหญ่เข้าถึงได้ทั่วโลกอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ผลการทดลองดังกล่าวบ่งชี้ว่ายาเม็ดของไฟเซอร์มีประสิทธิภาพเหนือกว่ายาโมลนูพิราเวียร์ ของบริษัทเมอร์คแอนด์โค อิงค์ ซึ่งเผยผลการทดลองเมื่อเดือนที่แล้ว ว่าช่วยลดโอกาสที่ผู้ป่วยความเสี่ยงสูงติดเชื้ออาการรุนแรงจะเข้าโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตได้ 50%

ยาเม็ดของไฟเซอร์ มีชื่อว่า แพ็กซ์โลวิด (Paxlovid) อาจได้รับการอนุมัติจากคณะผู้ควบคุมกฎระเบียบในช่วงสิ้นปี ในขณะที่ไฟเซอร์มีแผนยื่นผลการทดลองชั่วคราวต่อสำนักงานอาหารและยาแห่งชาติสหรัฐฯ (เอฟดีเอ) ก่อนวันหยุดวันขอบคุณพระเจ้า 25 พฤศจิกายน โดยการทดลองหยุดลงก่อนกำหนด เนื่องจากอัตราความสำเร็จระดับสูงของมัน หลังจากใช้เวลาพัฒนามานานเกือบ 2 ปี

ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ เผยว่ารัฐบาลอเมริกาได้สั่งซื้อยาของไฟเซอร์แล้วหลายล้านคอร์ส “ถ้าได้รับอนุมัติจากเอฟดีเอ เร็วๆ นี้เราอาจมียาเม็ดรักษาไวรัสในคนที่ติดเชื้อ ยารักษานี้จะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในกล่องเครื่องมือของเรา เพื่อปกป้องประชาชนจากผลลัพธ์ที่เลวร้ายของโควิด”

(Photo by Jeenah Moon/Getty Images)

หุ้นของไฟเซอร์ ผู้ผลิตหนึ่งในวัคซีน COVID-19 ที่ใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุดพุ่งทะยาน 11% ปิดที่ 48.61 ดอลลาร์ ส่วนเมอร์ค ปิดลบ 10% อยู่ที่ 81.61 ดอลลาร์ ส่วนหุ้นของผู้ผลิตวัคซีนรายอื่นๆ ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยทั้งโมเดอร์นา โนวาแว็กซ์ และไบออนเทค พันธมิตรสัญชาติเยอรมนีของไฟเซอร์ ต่างปิดลบราว 11-21%

แพ็กซ์โลวิด เป็นยาต้านไวรัสชนิดเม็ดที่ถูกออกแบบมาให้ยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอส (protease) ซึ่งเชื้อไวรัสต้องใช้ในการเพิ่มจำนวน และเมื่อใช้ร่วมกับยาต้านไวรัสชนิดเม็ดที่เรียกว่า “ริโทนาเวียร์” (ritonavir) ในโดสที่ต่ำ จะทำให้แพ็กซ์โลวิดอยู่ในร่างกายได้นานขึ้น ในการใช้แพ็กซ์โลวิด ผู้ป่วยต้องรับประทานยาครั้งละ 3 เม็ด วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน

อัลเบิร์ต บัวร์ลา ซีอีโอของไฟเซอร์ กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์ว่า ไฟเซอร์กำลังพูดคุยอย่างกระตือรือร้นกับประเทศต่างๆ 90 ชาติ เกี่ยวกับสัญญาจัดซื้อจัดหายาเม็ดแพ็กซ์โลวิด “เป้าหมายของเราคือทุกคนในโลกจะสามารถเข้าถึงมันอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”

Photo : Shutterstock

บัวร์ลา กล่าวต่อว่า สำหรับประเทศที่มีรายได้สูง ไฟเซอร์คาดหมายว่าราคาของการรักษาน่าจะพอๆ กับราคายาของเมอร์ค โดยราคาของเมอร์คที่ทำไว้กับสหรัฐฯ อยู่ที่ราวๆ 700 ดอลลาร์ (ราว 23,000บาท) ต่อ 1 คอร์สรักษาที่ใช้เวลา 5 วัน ส่วนบรรดาประเทศที่มีรายได้ต่ำ บัวร์ลา บอกว่า ไฟเซอร์กำลังพิจารณาหลายทางเลือก โดยมีเป้าหมายคือไม่เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงของประเทศเหล่านี้

พวกผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ แม้ยาเม็ดไฟเซอร์และเมอร์คคืออีกทางเลือกที่เป็นไปได้ แต่การป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ผ่านการฉีดวัคซีนอย่างกว้างขวาง ยังคงเป็นหนทางที่ดีที่สุดสำหรับควบคุมโรคระบาดใหญ่ที่คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วมากกว่า 5 ล้านคนทั่วโลก ในนั้นมากกว่า 750,000 รายในสหรัฐฯ

ไฟเซอร์คาดหมายว่าจะผลิตยาเม็ดได้ 180,000 คอร์สรักษาในช่วงสิ้นปีนี้ และอย่างน้อย 50 คอร์สในช่วงสิ้นปีหน้า ในนั้นรวมถึง 21 ล้านคอร์สช่วงครึ่งปีแรก อย่างไรก็ตามทาง บัวร์ลา ระบุว่าไฟเซอร์กำลังพิจารณาความเป็นไปได้ของเพิ่มเป้าหมายการผลิตในปีหน้าเป็น 2 เท่า

บริษัทไฟเซอร์เปิดเผยว่า อาสาสมัครที่เข้าร่วมการทดลองดังกล่าวมีจำนวน 1,219 คน โดยเป็นผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการไม่รุนแรงถึงปานกลาง และมีความเสี่ยงในการเกิดอาการรุนแรงจากโรคโควิด-19 ซึ่งได้แก่ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และการมีอายุมากกว่า 60 ปี

ไฟเซอร์
(Photo by Noam Galai/Getty Images)

ผลการทดลองพบว่า หากผู้ป่วย COVID-19 ได้รับยาของไฟเซอร์ภายในเวลา 3 วันหลังมีอาการ จะมีจำนวนเพียง 0.8% ที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล และไม่มีผู้เสียชีวิตภายใน 28 วันหลังจากที่ได้รับยา ขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอกจำนวน 7% ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 7 คน

นอกจากนี้ หากผู้ป่วยโควิด-19 ได้รับยาของไฟเซอร์ภายในเวลา 5 วันหลังมีอาการ จะมีจำนวน 1% ที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล และไม่มีผู้เสียชีวิต ขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอก จำนวน 6.7% ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 10 คน ซึ่งไฟเซอร์ บอกว่ามันเป็นตัวแทนของประสิทธิภาพ 85% ของการป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต

ไฟเซอร์ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับผลข้างเคียงใดๆ แต่บอกว่าอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นราวๆ 20% ทั้งในคนไข้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาจริงและยาหลอก ซึ่งผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นมีทั้งคลื่นไส้และท้องเสีย

Source

]]>
1360699