RMF – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 15 Dec 2021 14:42:16 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดโผ 7 กองทุน “RMF-SSF” ผ่าน 3 ธีมเด่นจากบัวหลวง รับช่วงโค้งสุดท้ายปี 64 https://positioningmag.com/1367226 Wed, 15 Dec 2021 12:59:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1367226 เปิดโผ 7 กองทุน RMF-SSF เด่นๆ จากบัวหลวง ที่มีโอกาสเติบโตระยะยาว ผลตอบแทนชนะเงินเฟ้อเเถมประหยัดภาษี ในช่วงโค้งสุดท้ายปี 2564

สันติ ธนะนิรันดร์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ กองทุนบัวหลวง เปิดเผยว่า ภาพรวมการลงทุนในปี 2564 นี้ ผู้ลงทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นจะได้รับผลตอบแทนที่ดีชนะเงินเฟ้อได้ โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดพัฒนาแล้ว ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าตลาดกำลังพัฒนา ส่วนผู้ลงทุนในพันธบัตรจะได้รับผลตอบแทนที่แท้จริงติดลบ แปลว่า ผลตอบแทนที่ได้รับต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งการลงทุนในปี 2565 ก็จะยังมีแนวโน้มไปในทิศทางนี้

สำหรับช่วงโค้งสุดท้ายในการค้นหากองทุนลดหย่อนภาษีสำหรับปี 2564 นี้ ทีม Investment Strategy ของกองทุนบัวหลวง ได้คัดเลือก 7 กองทุนหุ้นต่างประเทศในกลุ่มกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ที่น่าสนใจ นำเสนอเป็นทางเลือกให้ผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้น ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนได้

โดยเป็นกองทุนที่มีนโยบายลงทุนใน 3 ธีมเด่น ที่มีโอกาสเติบโตระยะยาว คือ กองทุน B-SIPRMF และ B-SIPSSF ในธีม ESG กองทุน B-INNOTECHRMF, B-FUTURERMF และ B-FUTURESSF ในธีมเทคโนโลยี ส่วนกองทุน B-CHINAARMF และ B-CHINESSF ในธีมประเทศจีน


ธีม ESG : อยู่ในกระเเสหลักของการลงทุน 

นักลงทุนทั่วโลกให้ความสำคัญกับการคัดเลือกธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ชัดเจนขึ้น โดยพบว่า 10 เดือนของปี 2564 มีเงินลงทุนไหลเข้าไปลงทุนในธุรกิจที่มี ESG สูงกว่าทั้งปี 2563 แล้ว และการลงทุนในบริษัทที่ได้รับคะแนน ESG สูง ก็ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าธุรกิจที่คะแนน ESG ต่ำ ทั้งยังมีความผันผวนต่ำกว่าด้วย

นอกจากนี้บริษัทที่มีประเด็นเรื่อง ESG พบว่า เผชิญกับเงินลงทุนไหลออกอย่างต่อเนื่อง ตอกย้ำให้เห็นว่า ESG กำลังอยู่ในกระแสหลักของการลงทุน

“หลังจากนี้ทั่วโลกก็จะมุ่งเรื่อง ESG มากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่มีท่าทีชัดเจนในเรื่องนี้มากขึ้น ในอนาคตก็จะมีบริษัทในสหรัฐฯ ที่มี ESG ให้เลือกลงทุนเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันตัวเลือกส่วนใหญ่อยู่ในยุโรป”

โดยกองทุนบัวหลวงมีกองทุน B-SIPRMF และ B-SIPSSF เป็นทางเลือกสำหรับนักลงทุนที่สนใจธีมนี้ 

Photo : Shutterstock

ธีมเทคโนโลยี : โดดเด่นในช่วงอีก 10 ปี

กองทุนบัวหลวง มองว่า จะมีความโดดเด่นในช่วง 10 ปีจากนี้ โดยเฉพาะเทคโนโลยี ABCEV คือ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) บิ๊กดาต้า (Big data) ไซเบอร์ซิเคี้ยวริตี้ (Cybersecurity) รถยนต์ไฟฟ้าทั้งสายการผลิต (EV) และโลกเสมือน (Virtual)  ที่จะมีบทบาทอย่างมากต่อธุรกิจและการใช้ชีวิต  ซึ่งในช่วงที่เงินเฟ้อสูง และดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น หุ้นเทคโนโลยีที่มีความสามารถทำกำไรแข็งแกร่ง มีความสามารถในการปรับขึ้นราคาได้ ก็มีโอกาสปรับขึ้นโดยไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากเงินเฟ้อ

โดยกองทุนที่ลงทุนธีมนี้ และเฟ้นหาหุ้นเทคโนโลยีแบบนี้ ได้แก่ B-INNOTECHRMF รวมถึง B-FUTURERMF และ B-FUTURESSF

ธีมประเทศจีน : ผลตอบเเทนดีในระยะยาว 

จีนเป็นประเทศที่มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนที่ดีมากในระยะยาว ขณะที่มูลค่าหุ้นในเวลานี้ไม่แพงเกินไป เมื่อเทียบความสามารถการเติบโต อีกทั้งการเคลื่อนไหวของหุ้นจีนไม่ได้ไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นอื่นในโลก มีลักษณะการเคลื่อนไหวเฉพาะตัว  

“หากมองในแง่การกระจายความเสี่ยง การลงทุนในจีน ก็จะช่วยให้นักลงทุนกระจายความเสี่ยงของพอร์ตโดยรวมได้ดีขึ้น และมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีด้วย เพียงแค่ระยะสั้น อาจเผชิญความเสี่ยงจากความผันผวนได้ค่อนข้างมาก แต่หากนักลงทุนมองเป็นโอกาส ก็สามารถทยอยสะสมได้” 

กองทุนบัวหลวงมีกองทุน B-CHINAARMF และ B-CHINESSF เป็นทางเลือก

Photo : Shutterstock

นอกเหนือจากกองทุน RMF และ SSF ภายใต้ 3 ธีมเด่นนี้ กองทุนบัวหลวงมีกองทุนประหยัดภาษีให้นักลงทุนเลือกลงทุนได้ครอบคลุมทุกประเภทสินทรัพย์ ทั้งความเสี่ยงต่ำ ความเสี่ยงสูง ตราสารหนี้ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ และสินทรัพย์ทางเลือก รวมแล้วมีกองทุน RMF ถึง 24 กองทุน และ SSF ทั้งหมด 8 กองทุน ซึ่งนักลงทุนเลือกลงทุนได้ตามความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของตนเอง ส่วนสิ่งสำคัญที่จะทำให้นักลงทุนประสบความสำเร็จกับการลงทุน คือ ลงทุนอย่างต่อเนื่อง (Stay Invested) ในธุรกิจที่สอดคล้องกับเมกะเทรนด์ระยะยาว ไม่หวั่นไหวกับสถานการณ์รอบข้างที่มากระทบเพียงระยะสั้น

(ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน
ความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน)

 

]]>
1367226
เปิด 3 ธีมเมกะเทรนด์ จัดพอร์ตกองทุน SSF-RMF อย่างไร ในช่วงโค้งสุดท้ายปลายปี https://positioningmag.com/1361364 Wed, 10 Nov 2021 12:11:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1361364 SCB CIO เเนะเเนวจัดพอร์ตลงทุน RMF – SSF ช่วงปลายปีนี้ กับ 3 ธีมเมกะเทรนด์ หุ้นโลก “กลุ่มสุขภาพ – กลุ่มเทคโนโลยีการเงิน – หุ้นจีนกลุ่ม Tech และ A-Shares” มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว

ศรชัย สุเนต์ตา ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารฝ่าย SCB Chief Investment Office (CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เผยถึง มุมมองต่อการจัดพอร์ตลงทุนเพื่อการออมสำหรับการเกษียณและการลดหย่อนภาษี โดยใช้โอกาสจากการลงทุนในกองทุน RMF (Retirement Mutual Fund) และ SSF (Super Savings Fund) ในช่วงปลายปี เป็นเครื่องมือช่วยออมและวางแผนเกษียณในระยะยาว

โดยประชากรไทยส่วนใหญ่ ยังมีเงินออมไม่เพียงพอและมีแผนการเงินระยะยาวไม่ครอบคลุมต่อการเกษียณอย่างยั่งยืน ในขณะที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ครอบครัวส่วนใหญ่มีขนาดที่เล็กลง การพึ่งพาตนเองจึงเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นเหมือนกับสังคมผู้สูงอายุในหลายประเทศทั่วโลก

“การวางแผนการเงินสำหรับชีวิตหลังเกษียณไม่ควรพึ่งระบบบำเหน็จบำนาญ หรือสวัสดิการของรัฐเป็นช่องทางหลัก หรือพึ่งพารายได้จากลูกหลาน แต่ควรให้ความสนใจกับแผนการลงทุนส่วนบุคคลเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินและพึ่งพาตนเองได้ในยามเกษียณ”

ผู้ลงทุนควรเลือกเทรนด์การลงทุนที่คาดว่า จะสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนที่เติบโตให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นภายหลังเกษียณได้อย่างมั่นคง เช่น ค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาล ที่คิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้นตามอายุของเราที่มากขึ้น และราคาของค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นด้วย

เกาะ 3 ธีม ลงทุนปลายปี

ในการลงทุนระยะยาว SCB CIO ได้เลือก 3 ธีมเมกะเทรนด์ที่น่าสนใจ ได้แก่ ธุรกิจสุขภาพ ธุรกิจเทคโนโลยีการเงิน และการเติบโตของเศรษฐกิจจีน สำหรับการลงทุนในกองทุน RMF และ SSF ดังนี้

ธุรกิจสุขภาพ – Healthcare

เป็นเทรนด์ที่เหมาะกับการถือลงทุนในระยะยาว เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลคิดเป็นสัดส่วนที่สูงต่อ GDP และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั่วโลกในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว

ขณะที่โครงสร้างประชากรเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจากการที่สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีเมื่อเทียบกับอัตราการเกิด ซึ่งการลงทุนในหุ้นของบริษัทด้านธุรกิจสุขภาพทั่วโลก เป็นโอกาสการกระจายการลงทุนในหลายอุตสาหกรรมย่อยที่มีความสำคัญ เช่น

  • บริษัทยา (Pharmaceutical)
  • เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
  • เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ (Health Technology)
  • เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology)
  • ประกันสุขภาพ (Health Insurance)
  • อุปกรณ์การแพทย์ (Medical Devices and Instruments)

“การลงทุนในหุ้นบริษัทธุรกิจสุขภาพโลก มองเป็นการลงทุนได้ทั้งในสไตล์หุ้น defensive ที่มีความผันผวนไม่มาก รวมถึงสไตล์หุ้น growth ที่มีแนวโน้มเติบโตสูงได้อย่างสมดุล ซึ่งเหมาะกับแผนการลงทุนระยะยาว เนื่องจากธุรกิจสุขภาพถือเป็นธุรกิจหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จะอยู่คู่กับมนุษย์ทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง สำหรับตัวอย่างกองทุนจาก SCB ที่น่าสนใจ ได้แก่ SCBRMGHC (RMF)”

Photo : Shutterstock

ธุรกิจเทคโนโลยีการเงิน – Fintech 

วิวัฒนาการของภาคเทคโนโลยีทางการเงินมีความคืบหน้าต่อเนื่องและ Fintech ยังมีแนวโน้มเข้ามาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมบริการทางการเงินและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในระยะยาว เนื่องจากกระแส Digital Transformation ทั่วโลกเร่งตัวขึ้น โดยเฉพาะตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 ทำให้ปัจจุบันกระแส Fintech เป็นเรื่องปกติในทุกภาคส่วน

สำหรับหุ้นธุรกิจ Fintech ที่น่าสนใจ ได้แก่ บริษัทที่ทำธุรกิจในเรื่องของ E-Commerce, Social Platform, Digital Payment, Digital Lending, Cloud Computing รวมไปถึงธุรกิจด้าน Wealth Management และ Robo Advisory และบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนใน Cryptocurrency และเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างมากจากคนรุ่นใหม่

ทั้งหมดนี้เป็นธุรกิจการเงินแห่งอนาคตและถือเป็นตลาดที่ค่อนข้างใหญ่ และบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ล้วนเข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาด Fintech ทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงถือเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพเติบโตสูง ซึ่งสอดคล้องกับแผนการลงทุนระยะยาวเช่นกัน สำหรับตัวอย่างกองทุนจาก SCB ที่น่าสนใจ ได้แก่ SCBFINTECH (SSF)

Photo : Shutterstock

หุ้นจีนกลุ่มTech และ A-Shares

แนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจจีน ประเทศจีนถือเป็นหนึ่งในประเทศที่น่าสนใจลงทุนมากที่สุดในโลก และยังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี

แม้ในปีนี้ราคาหุ้นจีนปรับลดลงมามากเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นในประเทศอื่น เนื่องจากแรงกดดันจากการคุมเข้มด้านกฎระเบียบต่อบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ และการปฏิรูปเศรษฐกิจและธุรกิจตามแนวทางความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน (Common Prosperity)

ความกังวลด้านกฎระเบียบยังอาจส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นจีนในช่วงสั้น แต่จากแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวของจีนยังชี้ให้เห็นถึงโอกาสการเติบโตของธุรกิจจีนอีกมาก ปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่สามารถพลิกโฉมเศรษฐกิจและมีความเป็นเลิศในวิทยาการด้านต่างๆ ทั้งสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และมีเทคโนโลยีที่สามารถแข่งขันได้กับชาติมหาอำนาจตะวันตก และด้วยขนาดประชากรจีนที่มีมากราว 1.4 พันล้านคน ทำให้ยังมีกำลังซื้ออีกมหาศาลและเป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ของโลก

SCB CIO เห็นโอกาสการลงทุนในหุ้นจีน A-Shares ที่ได้อานิสงส์จากการบริโภคภายในประเทศที่ยังสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของทางการจีนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ บริษัทเทคโนโลยีจีนที่ปีนี้ ราคาหุ้นปรับฐานลงมามากจากความกังวลและการคุมเข้มด้านกฎระเบียบ ทำให้ราคาหุ้นเริ่มถูกและมี valuation ที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนระยะยาว ตัวอย่างกองทุนจาก SCB ที่น่าสนใจ ได้แก่ SCBRMCHA (RMF) และ SCBCTECH-SSF

Photo : Shutterstock

ปรับการลงทุนให้เหมาะกับตัวเอง 

โดยสรุป 3 ธีมเมกะเทรนด์ :

จากการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพมีสัดส่วนที่สูงต่อ GDP และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั่วโลก ด้าน Fintech จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงภาคบริการทางการเงินและอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นธุรกิจการเงินแห่งอนาคตที่มีตลาดขนาดใหญ่และมีศักยภาพในการเติบโตสูง 

ส่วนหุ้นจีนแม้ปีนี้ มีการปรับตัวลงมาค่อนข้างแรงเมื่อเทียบกับตลาดอื่นๆ จากความกังวลเรื่องกฎระเบียบต่างๆ จึงเป็นจังหวะการเข้าลงทุน เนื่องจากจีนมีโอกาสเติบโตทางธุรกิจอีกมาก โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีและเป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ของโลก

SCB CIO มองว่า โอกาสการลงทุนในระยะยาว ทำให้ 3 ธีมเมกะเทรนด์ข้างต้นเป็นธีมการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับการคัดเลือกเพื่อเข้ามาจัดพอร์ตการลงทุนสำหรับการลงทุนในกองทุน RMF และ SSF ในช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้ เพื่อเป็นหนึ่งในตัวช่วยการลดหย่อนภาษีและการวางแผนการลงทุนในระยะยาว สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนและได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีไปพร้อมกัน

อย่างไรก็ตาม กองทุน RMF และ SSF มีเงื่อนไขการลงทุนที่แตกต่างกัน ผู้ลงทุนควรพิจารณาทางเลือกในการลงทุนให้เหมาะสมกับตนเอง โดยพิจารณาทั้งจากจุดประสงค์ในการลงทุน ระยะเวลาในการลงทุน ความเสี่ยงและนโยบายการลงทุนของกองทุนตามความสามารถในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน การกระจายความเสี่ยงไปหลายกองทุน

“สัดส่วนการลงทุนในหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยง ควรจะต้องสอดคล้องกับอายุและความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของผู้ลงทุนด้วย หากอายุมากขึ้นก็ควรจะต้องทยอยลดน้ำหนักในกองทุนหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยงให้น้อยลงไปด้วยเช่นกัน” 

 

]]>
1361364