ผลสำรวจการใช้โซเชียลคอมเมิร์ซของคนไทยพบว่าช่วงโควิดร้านค้า 56% เข้ามาสู่ Social Commerce โดยแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมมากสุด คือ
ลูกค้าประมาณ 69% จะเลือกซื้อสินค้าผ่านเพจต่าง ๆ โดยกลุ่ม ผู้หญิง จะสนใจ ความงาม และผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย กลุ่มลูกค้า ผู้ชาย จะสนใจผลิต Gadget และของตกแต่งบ้าน กลุ่มอายุ 55 ปี จะสนใจเรื่องอาหาร
ทั้งนี้ ผู้บริโภค 62% รู้สึกชื่นชอบการซื้อสินค้าผ่านโซเชียลคอมเมิร์ซ ผู้บริโภค 45% มียอดการใช้จ่ายเฉลี่ย 1,000-3,000 บาท ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา และมากกว่า 50% ของพนักงานออฟฟิศและนักเรียน นักศึกษาใช้เวลาช้อปสินค้าผ่านโซเชียลคอมเมิร์ซประมาณ 2 ชั่วโมงต่อวัน
Social commerce ที่มีหลายด้าน แต่สิ่งที่มาแรงคือ Live Commerce ที่จะสอดคล้องกับพฤติกรรมคนไทยที่ชอบเข้ามาดูเพื่อความสนุกสนานและมีส่วนร่วมกับผู้ขายสินค้า โดยมูลค่ารวมของยอดขายสินค้าผ่าน Live Commerce ในไตรมาส 2 ของไทยมีการเติบโตถึง 300% ด้านจำนวนคำสั่งซื้อก็เติบโตเพิ่มขึ้น 210% จำนวนการถ่ายทอดสดเพิ่มขึ้น 300% รวมทั้งจำนวนความคิดเห็นเพิ่มขึ้น 283%
ด้านภาพรวมในเอเชีย มูลค่ารวมของยอดขายสินค้าผ่าน Live Commerce ไตรมาส 2 มีการเติบโต 160% จำนวนคำสั่งซื้อเติบโต 180% จำนวนการถ่ายทอดสดเพิ่มขึ้น 70% จำนวนความคิดเห็นเพิ่มขึ้น 125%
ทั้งนี้ ช่วงเวลาที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการทำ Live Selling ในไทยคือ 19.00 น. โดยหมวดหมู่ยอดนิยมจะเป็น ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ 37% เครื่องแต่งกาย 28% และหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 24%
ในส่วนของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซในไทยจะมีออเดอร์สูงสุดใน วันจันทร์ และช่วงเวลา 20.00 น. ส่วนเอเชียจะขายดีใน วันพุธ และช่วงเวลา 22.00 น.
สำหรับกลุ่ม 5 สินค้าที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้บริโภคและมีการเลือกซื้อผ่านอีคอมเมิร์ซสูงสุด ได้แก่
ชนนันท์ ปัญจทรัพย์ Country Manager, SHOPLINE Thailand ผู้นำระบบจัดร้านค้าบนอีคอมเมิร์ซและโซเซียลคอมเมิร์ซแบบครบวงจร มองว่า เทรนด์เกี่ยวกับโซเชียบอีคอมเมิร์ซที่กำลังเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2021 และจะอยู่ไปอีกนานหลายปีมี 5 เทรนด์ ดังนี้
หลังจากที่ SHOPLINE ให้บริการเป็นเวลา 8 เดือน โดยในช่วงช่วงครึ่งปีแรกจำนวนร้านค้าที่เข้ามาใช้บริการช้อปไลน์มีการเติบโต 10-15% ต่อเดือน โดยช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทได้เพิ่ม 2 ฟีเจอรใหม่ เพื่อจับกระแส Live Commerce ได้แก่ ‘LIVE Bidding’ ฟีเจอร์การประมูลแบบไลฟ์ และ ‘Golden Minutes’ นาทีทอง สำหรับร้านค้าที่จะจัดกิจกรรมเล่นเกมกับลูกค้าเพื่อแจกของกำนัล โดยคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังบริษัทจะสามารถเติบโตได้สองเท่าหรือกว่า 30-40% ต่อเดือน
]]>จากการทำสำรวจของกูเกิลเมื่อช่วงต้นปี 2021 ได้มีการคาดการณ์ระบุถึงมูลค่าการซื้อสินค้าบนอีคอมเมิร์ซของคนไทยใน 1 ครั้ง (Basket Size) จากในปี 2015 เฉลี่ยที่ 20 ดอลลาร์สหรัฐ มีการซื้อเฉลี่ย 5 ครั้งต่อเดือน แต่ในปี 2025 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 30 ดอลลาร์สหรัฐ และความถี่ในการซื้อจะเพิ่มเป็น 13 ครั้งต่อเดือน
โดยตลาดอีคอมเมิร์ซของประเทศไทยมูลค่าอยู่ที่กว่า 270,000 ล้านบาท โดย 88% ของผู้บริโภคจะใช้วิธี ‘เสิร์ช’ เพื่อหาสินค้า 84.9% เสิร์ชหาในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ และ 74% ทำการซื้อขายผ่านโทรศัพท์มือถือ
อีกพฤติกรรมที่ถือว่าคนไทย Advance กว่าในหลายประเทศก็คือ ‘Social Commerce’ และ ‘Conversational Commerce’ โดยผู้บริโภค 57% ทักแชทเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 35% ทักเพื่อต่อราคา 35% แชทเพื่อดูว่าแบรนด์เชื่อถือได้ไหม และ 34% มองว่าง่าย
ปัจจุบัน คนไทยที่แอคทีฟบนโซเชียลมีเดียมากถึงกว่า 55 ล้านคน จากประชากรที่มีประมาณ 69.88 ล้านคน ซึ่งไทยติด 1 ใน 3 ของประเทศที่มีคนใช้ Facebook มากและนานที่สุดในโลก
ชนนันท์ ปัญจทรัพย์ Country Manager, SHOPLINE ประเทศไทย ผู้ให้บริการระบบจัดร้านค้าบนอีคอมเมิร์ซและโซเซียลคอมเมิร์ซแบบครบวงจร กล่าวว่า ผู้ประกอบการในไทยส่วนใหญ่มี Pain Point ทั้งขาดแคลนทรัพยากร และไม่มีเวลาในการจัดการออเดอร์ ดังนั้น จึงเกิดเป็นแพลตฟอร์มตัวช่วยร้านค้าเพื่อให้สามารถการขายที่เพิ่มขึ้น
โดย SHOPLINE เป็นผู้ให้บริการแบบ Total Solution ที่มีครบวงจรทั้งการทำเว็บไซต์ของตัวเองและมีโซลูชั่นช่วยจัดการ Social Commerce โดยจะเข้ามาช่วยสร้างเว็บไซต์ให้ผู้ประกอบการ รวมถึงช่วยจัดการการขายบนโซเชียลมีเดียที่เกิดจากการทักแชท หรือแม้แต่ตอน ‘ไลฟ์สด’
“ผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ SME มี Pain Point คือ ต้องทำหลาย ๆ อย่างเอง บางคนทำงานประจำไปด้วย เราก็จะมาช่วยร้านค้าตอบโจทย์กับคำถามเดิม ๆ ด้วย Chat Bot ไม่ว่าจะมาจากช่องทางไหนก็ตามด้วยตัว Message Center อีกทั้งยังสามารถจัดการออเดอร์ได้ทุกช่องทาง ทำให้ร้านค้าไม่ตกหล่นออเดอร์”
SHOPLINE เป็นผู้ให้บริการสัญชาติฮ่องกง โดยมีบริการใน 7 ประเทศ ได้แก่ ไต้หวัน, ฮ่องกง, มาเลเซีย, เวียดนาม, จีน, สิงคโปร์ และไทย รวมผู้ใช้บริการมากกว่า 250,000 ราย มีการเข้าถึงลูกค้ามากกว่า 200 ล้านคนทั่วโลก โดยในไทย Shopline มีแพ็กเกจ ดังนี้ E-commerce (เว็บไซต์) รายเดือนอยู่ที่ 599 บาท ส่วนรายปี 4,999 บาท แพ็กเกจ Social Commerce ราคารายเดือนอยู่ที่ 599 บาท ส่วนรายปีที่ 4,999 บาท และแพ็กเกจในแบบ ALL in One รายเดือนเริ่มต้นที่ 1,199 บาท และรายปีที่ 7,999 บาท
ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้ามีลูกค้า 3,000 รายภายในสิ้นปี โดยคาดว่า 70% เป็น SME อีก 30% เป็นแบรนด์ และคาดว่า 60% ของลูกค้าจะใช้แพ็กเกจ ALL in One
“มาร์เก็ตเพลสกับเว็บไซต์ไม่ได้มีอะไรดีกว่าหรือแย่กว่า แต่เป็นเหมือนเปิดในห้างที่มีคนเดิน แต่คู่แข่งก็เยอะ แต่หากมีเว็บตัวเองก็ทำแบรนด์ตัวเองได้ อีกทั้งยังมีเรื่องของ CRM ที่ดีกว่า แต่ที่น่าสนใจคือ การซื้อของบนเว็บไซต์แบรนด์จะมียอดสั่งซื้อมากกว่าการซื้อจาก e-Marketplace ประมาณ 1.2 เท่า เนื่องจากน่าเชื่อถือกว่า แต่การเปิดเยอะก็ต้องใช้คนเยอะ ดังนั้น โซลูชันก็จะมาตอบโจทย์”
ไม่ได้มีแค่ SHOPLINE ที่เห็นโอกาสจากการเติบโตของอีคอมเมิร์ซไทย แต่ยังมี ‘Shoplus’ ผู้ให้บริการระบบจัดร้านค้าบนโซเซียลคอมเมิร์ซสัญชาติไต้หวันอีกราย ซึ่งที่ผ่านมา Shoplus ก็กวาดเอาแบรนด์ใหญ่หลายรายมาเป็นลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น ‘นารายา’ ที่ Shoplus เข้าไปช่วยจัดการเรื่องไลฟ์สด หรืออย่าง ‘บาบีคิว พลาซ่า’ ที่ใช้ AI แชทบอต เพื่อขายอาหารพร้อมทานบน Facebook โดยตรง ในปี 2563 ที่ผ่านมา Shoplus ประเทศไทยมียอดออเดอร์ผ่านระบบรวม 2,230 ล้านบาท เติบโตขึ้น 18 เท่า มีการสั่งซื้อรวม 3.64 ล้านครั้งเลยทีเดียว
คนไทยชอบดูไลฟ์ขายของ! Shoplus โตพรวด 18 เท่า เตรียมดึง SMEs ใช้ AI ขายบนโซเชียล
ที่น่าห่วงคือ ผู้ประกอบการไทยที่ทำโซลูชันจัดการเว็บไซต์หรือทำโซลูชันเกี่ยวกับผู้ช่วยจัดการบนโซเชียลคอมเมิร์ซ ที่กำลังเผชิญกับ ‘คู่แข่ง’ จากต่างประเทศที่น่าจะตบเท้าเข้าไทยกันมากขึ้น เนื่องจากอีคอมเมิร์ซไทยที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งการทำตลาดในไทยคงจะไม่ง่ายอีกเเล้ว
]]>