sustainability – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 14 May 2024 05:11:20 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘ทรู ดิจิทัล พาร์ค’ ชูเรื่องด้านความยั่งยืน ประกาศผลักดันสตาร์ทอัพกลุ่ม Climate Tech แก้ไขปัญหาโลกร้อน https://positioningmag.com/1473375 Tue, 14 May 2024 01:46:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1473375 ทรู ดิจิทัล พาร์ค (True Digital Park) ได้ชูประเด็นเรื่องของ Ecosystem ของบริษัทเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเรื่องของความยั่งยืน โดยประกาศผลักดันสตาร์ทอัพกลุ่ม Climate Tech แก้ไขปัญหาโลกร้อน เนื่องจากเป็นปัญหาที่สำคัญในอนาคต

ฐนสรณ์ ใจดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทรู ดิจิทัล พาร์ค ได้กล่าวถึง True Digital Park นั้นมีอายุ 6 ปีแล้วได้พัฒนาระบบนิเวศ (Ecosystem) ของบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ทั้งไทยและในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการให้บริการสำนักงานให้เช่า การขอสิทธิประโยชน์จาก BOI ไปจนถึงการช่วยเหลือบริษัทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการขอวีซ่าให้กับพนักงาน

โดย Ecosystem ของ True Digital Park นั้นมีทั้งบริษัทขนาดเล็กไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่ ทั้งในไทยและต่างประเทศ บริษัทร่วมลงทุน (VC) รวมถึงสตาร์ทอัพต่างๆ และมีสมาชิกราวๆ 14,000 ราย และมีผู้เช่าอยู่ราวๆ 200 องค์กร บนพื้นที่สำนักงาน 80,000 ตารางเมตร

นอกจากนี้ ฐนสรณ์ ยังกล่าวถึงการเชื่อมต่อองค์กรมากถึง 5,800 องค์กร ไม่ว่าจะเป็น มหาวิทยาลัย บริษัทต่างๆ นั้นสามารถเชื่อมต่อและสามารถสร้าง Ecosystem ดังกล่าวได้

ฐนสรณ์ ยังได้กล่าวถึงในส่วนของ True Digital Park ยังเน้นในเรื่องของความยั่งยืนเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สีเขียวในอาคาร และทางตึกได้มีการใช้พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ มีการใช้ระบบไอทีที่สามารถดูการใช้พลังงาน อุณภูมิตึกได้ มีระบบทำความเย็นของตึกที่ใช้น้ำ รวมถึงการบำบัดน้ำเสีย

ธาริต นิมมานวุฒิพงษ์ ผู้จัดการทั่วไป ทรู ดิจิทัล พาร์ค กล่าวถึง True Digital Park ยังมีการผลักดันสตาร์ทอัพ Climate Tech ให้มีการเติบโต ผ่านความร่วมมือในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการจัดโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)

โดยตลาด Climate Tech มีการเติบโตจากความต้องการใช้นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ด้านความยั่งยืนขององค์กรธุรกิจต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งจะช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถเติมเต็มพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมถึงลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจท่ามกลางนโยบายที่เข้มงวดของภาครัฐและกฎระเบียบทางการค้าใหม่ๆ ของประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่มุ่งเน้นเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ผู้จัดการทั่วไป ทรู ดิจิทัล พาร์ค ยังชี้ว่าสตาร์ทอัพผู้พัฒนานวัตกรรม Climate Tech ยังต้องการมาตรการส่งเสริมการเติบโตจากภาครัฐ และการสนับสนุนทั้งในด้านการตลาดและการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรม Climate Tech ให้มีความหลากหลายและก้าวหน้าในระยะยาว

นวัตกรรม Climate Tech 4 กลุ่มที่น่าจับตามอง ได้แก่

  1. E-Mobility เช่น EV และระบบขนส่ง
  2. Decarbonization เช่น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การบริหารจัดการคาร์บอน และคาร์บอนเครดิต
  3. AgriTech เช่น ระบบบริหารจัดการน้ำ เชื้อเพลิงชีวภาพ และวัตถุดิบทางเลือก
  4. Energy เช่น การบริหารจัดการพลังงาน และพลังงานหมุนเวียน

สองผู้บริหารของ ทรู ดิจิทัล พาร์ค ยังมองว่าท้ายที่สุดแล้วเรื่องดังกล่าวนั้นจะมีความสำคัญมากขึ้นในอนาคต เนื่องจากหลายประเทศกำลังจะมีการเก็บภาษีในเรื่องดังกล่าว ซึ่งเป็นกฎระเบียบใหม่ของโลกถือว่าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

]]>
1473375
KBank Private Banking และ Lombard Odier ชูแนวคิด Rethink Sustainability ชี้เป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่จะเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน https://positioningmag.com/1464208 Wed, 28 Feb 2024 16:21:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1464208 ธนาคารกสิกรไทย และ Lombard Odier รวมถึง KBank Private Banking ได้ชูแนวคิด Rethink Sustainability ชี้เป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่จะเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน ในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมาตรการการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน หรือ CBAM ที่กำลังใช้ในทวีปยุโรปในเวลานี้

อูแบร์ เคลเลอร์  Senior Managing Partner, Lombard Odier ได้ชี้ว่า เราพูดถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมกันมาก แต่ปัญหาของสภาวะภูมิอากาศนั้นเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่โลกเรายังพบปัญหาอีกหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น ดินเป็นพิษจากสารเคมี น้ำทะเลที่มีความเป็นกรดมากขึ้น ฯลฯ

เราอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ซึ่งมาพร้อมโอกาสในการลงทุนอย่างมหาศาล ดังนั้นนักลงทุนจึงต้องก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลง โดยหันมาให้ความสำคัญกับธรรมชาติ

Senior Managing Partner ของ Lombard Odier ยกตัวอย่างว่า ในตอนนี้โลกกำลังเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านด้านเศรษฐกิจหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงานสะอาด 70% ของเศรษฐกิจโลก หรือการลดใช้วัสดุต่างๆ นอกจากนี้ยังรวมถึงการซื้อขายคาร์บอนเครดิต การให้ราคากับธรรมชาติ

เขายังกล่าวว่าการที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจที่หันมาใช้พลังงานสะอาด หรือการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนให้ได้คือการทำให้ผู้คนส่วนมากหันมาใช้สิ่งดังกล่าวจนถึงจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะทำให้คนหันมาใช้จำนวนมาก (Tipping Point)

อูแบร์ ได้ยกตัวอย่าง เช่น ราคาแผงโซลาร์เซลล์ถูกขึ้น ราคาของ Battery ถูกลง หรือแม้แต่ความนิยมในการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมากกว่ารถยนต์สันดาปที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลแล้ว 

ไม่เพียงเท่านี้รัฐบาลในหลายประเทศ หรือแม้แต่เอกชน ยังสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านเพื่อความยั่งยืนเหล่านี้ด้วย โดยคาดว่าเม็ดเงินลงทุนทั่วโลกรวมกันจะมากถึง 24.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2030 หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 883 ล้านล้านบาท

เขายังชี้ว่าการผลักดันของรัฐบาลถือเป็นอีกส่วนที่อุ้มชูให้เกิด Tipping Point ขึ้นมาได้

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ (ซ้าย) อูแบร์ เคลเลอร์ (กลาง) และ พิพิธ เอนกนิธิ (ขวา) / ภาพจาก KBank Private Banking

นอกจากนี้ในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจ อูแบร์ ได้ชี้ว่าโมเดลธุรกิจทำให้หลายอย่างเปลี่ยนแปลงไป เขายกตัวอย่างกรณีของ Tesla ที่ไม่ได้ขายแค่รถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น แต่บริษัทได้ขาย Battery ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐาน หรือการทำ Energy Distribution รวมถึงขาย Software บนรถยนต์ไฟฟ้าด้วย

อูแบร์ได้ยกตัวอย่างอุตสาหกรรมไอทีเองได้ทุ่มเม็ดเงินลงทุนมหาศาล และชี้ว่าสิ่งที่ลงทุนนั้นได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า เขาชี้ว่ากำไรของกลุ่มไอทีในปี 2020 อยู่ที่ 20% มากกว่าในปี 1990 ซึ่งสัดส่วนกำไรอยู่ที่ 5% เท่านั้น

Senior Managing Partner ของ Lombard Odier ได้กล่าวทิ้งท้ายว่าช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านนั้นมาไวมาก เขาได้กล่าวถึงเรื่องการใช้พลังงานสะอาดนั้นเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าที่คาด และทำให้การใช้พลังงานจากฟอสซิลลดลงไวด้วยเช่นกัน และบริษัทผลิตพลังงานจากฟอสซิลได้รับผลจากสถาบันการเงินมากขึ้น เช่น การไม่ปล่อยสินเชื่อ เป็นต้น

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ขณะที่โลกกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก KBank Private Banking ในฐานะผู้เชี่ยวชาญและผู้ให้คำแนะนำการลงทุน มองว่านักลงทุนคือหนึ่งในแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในสังคมได้ โดยให้ความสำคัญกับการลงทุนอย่างยั่งยืน ซึ่งไม่เพียงแต่จะสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาวที่มีมูลค่ามหาศาลเท่านั้น แต่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจแห่งอนาคตไปสู่ความยั่งยืนได้ด้วย

พิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารกสิกรไทยมุ่งสู่การเป็นธนาคารแห่งความยั่งยืน และเป็นผู้นำด้าน ESG ทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งธนาคารพร้อมเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนและผลักดันการลงทุนเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน ด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สนับสนุนโครงการที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ปรับเปลี่ยนการดำเนินงานภายในของธนาคารเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกและยกระดับมาตรฐานสู่สากล

กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า ธนาคารต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านของลูกค้าธนาคารสู่ความยั่งยืน โดยก้าวไปด้วยกัน และมองว่านี่เป็นโอกาสทองของผู้ประกอบการไทย เนื่องจากในต่างประเทศเริ่มมีการใช้มาตรการมาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน หรือ CBAM แล้ว อย่างเช่นทวีปยุโรป

]]>
1464208
บริษัทสตาร์ทอัพ: การบริหารแบบยั่งยืน สู่ภาพลักษณ์ ‘ธุรกิจที่มีความยั่งยืน’ https://positioningmag.com/1453481 Tue, 28 Nov 2023 03:49:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1453481

บทความโดยณัฐธิดา สงวนสิน กรรมการผู้จัดการและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด (BUZZEBEES)

ในฐานะของคนที่ทำบริษัทสตาร์ทอัพแล้ว การที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนรุ่นใหม่จำนวนมาก ไม่ว่าในแง่ของการเป็นลูกค้า หรือในแง่ของพนักงานบริษัท ตอนนี้คนรุ่นใหม่โดยเฉพาะ Gen Z ลงไป มีการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง ทำให้บริษัทสตาร์ทอัพที่ต้องการให้คนรุ่นใหม่ทำงานด้วย หรือให้ผู้บริโภคที่จะเป็นกำลังซื้อสำคัญในรุ่นต่อไป จำเป็นต้องปรับตัวและสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ในการเป็นบริษัทที่มี Sustainability goal หรือภาษาไทยเรียกว่า ‘ธุรกิจที่มีความยั่งยืน’

‘ธุรกิจที่มีความยั่งยืน’ แบ่งออกเป็น 3 แกนหลัก ได้แก่

  1. การดำเนินงานที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม (Environment) เป็นการให้ความสำคัญด้านผลกระทบจากกิจกรรมบริษัทที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากร การใช้พลังงาน และการบริหารจัดการของเสีย ที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือ Carbon Footprint ว่าบริษัทมีการบริหารจัดการอย่างไร
  2. การจัดการด้านสังคม (Social) ผลกระทบด้านสังคมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท อาทิ พนักงาน ลูกค้า ชุมชน ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ทั้งนี้จะต้องพิจารณาถึงกฎหมายแรงงานให้มีความเป็นธรรมในการจ้างงาน การจ้างงานที่มีความหลากหลาย และไม่เลือกปฏิบัติ การให้ความสำคัญต่อหลักการมนุษยชน และการทำประโยชน์เพื่อชุมชน
  3. การจัดการด้านธรรมาภิบาล (Governance) รวมถึงความโปร่งใสในการบริหารจัดการบริษัท การจัดการโครงสร้างบริษัทที่เอื้ออำนวยต่อการตรวจสอบ และความโปร่งใสของผู้นำบริษัท โครงสร้างของคณะกรรมการบริษัท การให้ผลตอบแทนกับผู้บริหาร และการปฏิบัติตามศีลธรรม และจรรยาบรรณที่ดีของบริษัท

การเพิ่มขึ้นของความสำคัญด้านการบริหารบริษัทแบบยั่งยืน

ถ้าลองมาดูถึงสถิติเกี่ยวกับการบริหารบริษัทแบบยั่งยืน ในช่วงปีที่ผ่านมาจากการที่เจ้าของสตาร์ทอัพ หรือผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพ ในสมัยก่อนให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับผลประกอบการในระยะสั้น ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตทางธุรกิจแบบก้าวกระโดด ช่วงนี้ก็ได้หันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับการบริหารบริษัทอย่างยั่งยืน ซึ่งถือเป็นความคาดหวังในระยะยาว กลุ่มสตาร์ทอัพออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยที่กลุ่มผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพ กล่าวว่า เขาจะต้องทำการบริหารความคาดหวังระยะสั้น และระยะยาวนี้ไปด้วยกันแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ (PWC Leading in the new reality26th Annual Global CEO Survey – Asia Pacific January 2023: https://www.pwc.com/gx/en/about/pwc-asia-pacific/ceo-survey.html?icid=26th-ceo-survey-web-adwords-paid-ceosurvey&gclid=Cj0KCQiAr8eqBhD3ARIsAIe-buMsdBTrUxN6IVP7Gq-4_BPr5ebnE2rVczdDIxqD3jtrIbqaboweLGkaAuicEALw_wcB)

ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสังคม และประเด็นด้านความยั่งยืน ไม่ใช่เป็นเทรนด์เท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่โลกกำลังต้องการอย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยเฉพาะสิ่งที่เผชิญอยู่ไม่ว่าการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก การเพิ่มขึ้นของภาวะมลภาวะ และการเพิ่มระยะห่างของการกระจายรายได้ ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นที่ต้องให้ความสนใจ เรื่องจะสร้างความยั่งยืนในโลก

กรณีศึกษา

บริษัทเทสลาเป็นตัวอย่างของเทคสตาร์ทอัพ ที่มีจุดมุ่งหมายในการสร้างความยั่งยืนให้กับโลกนี้ที่ชัดเจนที่สุดบริษัทหนึ่งในโลก โดยที่ อีลอน มัสก์ มีความคิดว่าเขาจะเปลี่ยนโลกด้วยการกระตุ้นให้คนหันมาใช้รถยนต์ที่ไม่ใช้น้ำมัน แต่ใช้พลังงานไฟฟ้าแทน ซึ่งเขาเคยให้สัมภาษณ์ว่า เขาไม่เคยคิดเลยว่า เขาจะทำได้สำเร็จ เขาแค่คิดว่าสิ่งที่เขาทำในเทสลา จะเป็นตัวกระตุ้นทำให้บริษัทผลิตรถยนต์ต่างๆ ในโลกตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม และหันมาผลิตรถยนต์ EV ได้มากยิ่งขึ้น แต่ก็อย่างที่ทุกคนทราบ

ทุกวันนี้เทสลา เป็นผู้นำในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของโลก และทำให้ทุกคนตระหนักรู้ และเป็นตัวกระตุ้นสำคัญที่ทำให้บริษัทผลิตรถยนต์ต่างๆ ทั่วโลก หันมาผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเร็วขึ้น มากกว่าที่จะนั่งอยู่บนกองเงินกองทองของการผลิตรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน ซึ่งทำลายโลกต่อไป สิ่งเหล่านี้เป็นตัวที่ทำให้ Carbon Emission หรือการปล่อยคาร์บอน ลดลงโดยองค์รวมอย่างมีนัยสำคัญ

นอกเหนือไปจากนั้น บริษัทเทสลา ก็ยังได้เงินจากการขายคาร์บอนเครดิตเป็นจำนวนที่สูงมาก ซึ่งไม่ใช่แค่เขาสร้างรายได้จากโมเดลธุรกิจการผลิตรถยนต์เท่านั้น ในปัจจุบันรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต ก็เติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เทสลาไม่ได้หยุดเฉพาะการผลิตรถยนต์ เทสลาได้มีความพยายามที่จะผลิตแบตเตอรี่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถใช้ได้นาน โดยไม่ต้องมีการชาร์จที่ยาวนาน ทำให้แบตเตอรี่มีความสามารถนำไปจ่ายไฟกลับจากรถยนต์ให้กับครัวเรือนได้อีก

ลองจินตนาการถึงโลกที่ไม่ต้องใช้ถ่านหิน หรือน้ำมันในการขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม หรือบ้านเรือน โลกวันนั้น ใกล้เข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ จากความตั้งใจของบริษัทสตาร์ทอัพ ที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัทในมุมของการสร้างความยั่งยืนเป็นแกน

https://carboncredits.com/tesla-regulatory-carbon-credit-sales-jumps-116/

บริษัทสตาร์ทอัพ บียอนมีท ก็เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม โดยบริษัทมีจุดประสงค์ที่จะลดการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ปล่อย Carbon Footprint ออกมาให้กับโลกเป็นจำนวนที่สูงเมื่อเทียบกับบริโภค Plant based หรือการบริโภคมังสวิรัติ ซึ่งการบริโภคมังสวิรัติแบบ Plant based นั้นทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นยังไง ให้ดูจากรูปด้านล่าง จะเห็นได้ว่าปริมาณเนื้อสัตว์ที่บริโภคได้หนึ่งกิโลกรัม ก่อให้เกิด Carbon Footprint จำนวนมาก เมื่อเทียบกับการบริโภค Plant based นี่อาจจะเป็นเพราะในเนื้อสัตว์ที่บริโภคได้หนึ่งกิโลกรัม มีสิ่งที่ไม่สามารถบริโภคได้เป็นจำนวนมาก นี่เป็นหนึ่งตัวอย่างของการลด Carbon Footprint จากการบริโภคเนื้อสัตว์

เรายังสามารถทำอย่างอื่น ในการลด Carbon Footprint ได้เช่นการลดการสูญเสียอาหาร โดยการนำเศษอาหารไปแปรรูปไปเป็นปุ๋ย หรือถ้าอาหารเหลือเป็นอาหารที่ยังดีอยู่ เราควรแจกจ่ายหรือบริจาค มิใช่ทิ้งอาหารไป หรือการบริหารประสิทธิภาพในการรับประทานอาหาร เพื่อให้อาหารเหลือและสูญเสียน้อยที่สุด อันนี้ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง ซึ่งมีหลายบริษัทสตาร์ทอัพ มีความพยายามที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างยั่งยืน

https://foodprint.org/blog/fake-meat-followup/

บริษัทพาทาโกเนีย เป็นบริษัทที่ผลิตเสื้อผ้า สำหรับกีฬากลางแจ้ง ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มในการนำความยั่งยืน มาใช้ในการประกอบธุรกิจเป็นรายต้นๆ บริษัทมีแนวความคิดล้ำหน้าเช่น โปรแกรม Worn Ware และก็มีจุดมุ่งหมายและให้สัตยาบันด้านการผลิตเสื้อผ้า อย่างมีจริยธรรม อย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่น

สัตยาบันด้านความยั่งยืนของพาทาโกเนีย เช่น การลดการปล่อย GHG (Greenhous Gas) ทั้งหมด 80% จาก Baseline ในปี 2017 ให้ได้ภายในปี 2030 เป็นต้น https://www.patagonia.com/climate-goals/

มาดูบริษัทในไทยที่เป็นผู้นำด้านนี้กันบ้าง บริษัทเวคินเป็นบริษัทที่ผลิตแอปที่ชื่อว่า CERO Carbon Wallet ซึ่งแอปพลิเคชันตัวนี้ เป็นแอปที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถทำกิจกรรมการลดคาร์บอนจากกิจกรรมด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมผ่านแอปได้ เช่น การนำแก้วพลาสติกกลับไปรีไซเคิล การลดการสูญเสียของอาหาร การปลูกต้นไม้ โดยทุกกิจกรรม จะได้รับคาร์บอนเครดิต นับว่าเป็นครั้งแรกของวงการที่สามารถทำให้กิจกรรมที่ผู้บริโภคทำสามารถเปลี่ยนไปเป็นคาร์บอนเครดิตได้โดยตรง เป็นการช่วยผลักดันให้ผู้บริโภคมีความตระหนักถึงการช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมมากขึ้นโดยเรื่องใกล้ๆ ตัว

โอกาสและความท้าทาย

ในส่วนของสตาร์ทอัพแน่นอนว่า การทำในเรื่องของโครงการความยั่งยืนทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น โดยเฉพาะความกดดันที่จะต้องทำยอดขายสูงสุดในค่าใช้จ่ายที่ประหยัดสุดเพื่อให้อยู่รอด และเมื่อต้องแข่งกับคู่แข่งที่ไม่ได้มีกิจกรรมด้านความยั่งยืน ต้นทุนของการทำธุรกิจของสตาร์ทอัพที่ใส่ใจด้านความยั่งยืนอาจจะสูงกว่าคู่แข่งอย่างมีนัยสำคัญ

ในส่วนของโอกาสนั้น จริงๆ แล้ว ผู้บริโภคมีการให้ความสำคัญ และมีความต้องการซื้อสินค้าบริการ จากบริษัทที่มีความใส่ใจด้านความยั่งยืนมากกว่าบริษัททั่วๆ ไป ซึ่งหุ้นยั่งยืนนั้นมีผลตอบแทนที่สูงกว่าหุ้นที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มยั่งยืนอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน ซึ่งนี่หมายความว่า ในแผนระยะยาวนั้น การทำโครงการด้านความยั่งยืนอาจให้ผลตอบแทนด้านการเงินที่ดีกว่าด้วย

ซึ่งหมายความว่า ในโลกปัจจุบันนั้น การมีความเข้าใจและริเริ่มจุดมุ่งหมายของบริษัท ให้เกิดความยั่งยืนนั้น ไม่ใช่สิ่งที่เลือกทำได้อีกต่อไป แต่น่าจะเป็น Company Agenda หรือหนึ่งในจุดมุ่งหมายหลักของบริษัทเพื่อก่อให้เกิดผลกำไรในระยะยาวเลยทีเดียว

]]>
1453481
AISยกระดับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วย Blockchain บนแพลตฟอร์ม E-Waste+ เป็นรายแรกในอาเซียน https://positioningmag.com/1412315 Wed, 14 Dec 2022 13:00:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1412315

เมื่อปัญหาโลกร้อน ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม กลายเป็นหัวข้อใหญ่ที่ทุกภาคส่วนต่างให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ หลายองค์กรต่างมีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องความยั่งยืน หรือกำหนดเป็นนโยบายใหญ่เลยก็มี เพราะเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทุกคนต้องร่วมมือกัน ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

AIS เป็นหนึ่งในองค์กรยักษ์ใหญ่ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและ Sustainability มาโดยตลอด เรียกว่าให้ความสำคัญควบคู่กันไปทั้งในมิติของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในภาคส่วนของสิ่งแวดล้อมนั้น ทาง AIS ได้โฟกัสทั้งในแง่ของ Emission ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคธุรกิจให้ได้มากที่สุด รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในการช่วยสิ่งแวดล้อม ทั้งการใช้ e-Bill การส่งเสริมการใช้แอปพลิเคชั่น เพื่อลดการใช้กระดาษ และลดทราฟิกของลูกค้าในการเดินทางมาที่สาขา เป็นการลดขยะ และลดค่าน้ำมันได้พร้อมๆ กัน

นอกจากนี้ AIS ยังได้เริ่มพัฒนาอีโคซิสเท็มในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์มาตั้งแต่ปี 2562 ภายใต้ภารกิจ “คนไทยไร้ E-Waste” เรียกว่าเป็นองค์กรอันดับต้นๆ ที่ตื่นตัวในเรื่องการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ก็ว่าได้

โครงการนี้เป็นการการรับรู้ให้คนไทยต่อขยะอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ครอบคลุมตั้งแต่สร้างองค์ความรู้ให้เห็นถึงผลกระทบจากการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกวิธี ด้วยความร่วมมือกับพันธมิตรทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนในการสร้างความตระหนักรู้ในการทิ้งขยะ และเปิดจุดบริการฝากทิ้งทั่วประเทศ เพื่อเป็นการรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่การกำจัดอย่างถูกวิธี รวมไปถึงกระบวนการรีไซเคิลแบบ Zero Landfill ตามมาตรฐานสากล เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

ที่ผ่านมาโครงการคนไทยไร้ E-Waste มีพาร์ทเนอร์ทั้งหมด 142 ราย มีจุดดร็อปให้ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ 2,484 จุด และมีจำนวนขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งสิ้น 397,376 ชิ้น

ถ้าเปรียบโครงการคนไทยไร้ E-Waste อยู่ในเฟสที่ 1 ในปีนี้ AIS ก็พร้อมยกระดับเข้าสู่เฟสที่ 2 ด้วยแพลตฟอร์ม E-Waste+ พร้อมกับการนำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาพัฒนากระบวนการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่ ตั้งแต่ผู้ทิ้งจนถึงโรงงานรีไซเคิล เพื่อให้ทุกคนสามารถจัดการขยะ E-Waste ได้ง่ายขึ้น เห็นผลลัพธ์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก บนแพลตฟอร์ม E-Waste+ ที่สำคัญแพลตฟอร์มนี้ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มนำร่องกับ 6 องค์กรพันธมิตร

นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า

“จากสถานการณ์โลกที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในทุกภาคส่วน สิ่งที่ตามมาคือ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานดิจิทัลก็มีปริมาณเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน ดังนั้นเราจึงทำหน้าที่ 2 ส่วนคือ สร้างการรับรู้และตระหนักถึงโทษภัยของขยะ E-Waste ในขณะเดียวกันก็เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการจัดเก็บและทำลาย E-Waste อย่างถูกวิธี ทั้งการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ตั้งจุดรับทิ้งและนำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล

และเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในวงกว้างมากขึ้น เราจึงขยายผลไปอีกขั้นด้วยการ Redesign Ecosystem เพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถลงมือบริหารจัดการ E-Waste ในองค์กรเองได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านเครือข่ายพนักงานและลูกค้าของแต่ละองค์กร เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการนำขยะ E-Waste กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่ได้มาตรฐาน ผ่านแพลตฟอร์ม E-Waste+ โดยเทคโนโลยี Blockchain จะทำงานผ่านกระบวนการ Track and Trace ทำให้ขยะ E-waste ทุกชิ้น สามารถตรวจสอบสถานะได้ทั้งกระบวนการ จากนั้นจะคำนวณขยะ E-Waste ที่ได้ออกมาเป็น Carbon Scores เพื่อให้ทราบว่าเราช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่าไหร่”

ถ้าให้อธิบายให้เห็นภาพยิ่งขึ้น ก็คือ ในเฟสที่ 1 โครงการคนไทยไร้ E-Waste เป็นการตั้งจุดทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงจุดทิ้งได้ง่ายขึ้น และเริ่มตระหนักถึงการจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ จากเดิมที่ไม่มีเจ้าภาพ หรือไม่มีใครที่ให้ความรู้ในด้านนี้อย่างจริงจัง

แต่ในเฟสที่ 1 ก็มี Pain Point หลายจุด ที่ทำให้การกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ก็คือ เมื่อเป็นจุดที่ตั้งทิ้งเฉยๆ ทำให้ผู้บริโภคทิ้งขยะอื่นๆ ลงไป แทนที่จะมีแค่ขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างเดียว แต่ในเฟส 2 เป็นเวอร์ชั่นอัพเกรด ถ้าในภาษาวัยรุ่นต้องบอกว่า “แบบใหม่แบบสับ” เมื่อเรานำขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปทิ้งแล้วสามารถแทร็คกิ้งแบบเรียลไทม์ได้ว่าตอนนี้ขยะอยู่ในกระบวนการใดและเปลี่ยนเป็นคาร์บอนสกอร์เท่าไหร่ทำให้ผู้บริโภคได้ทราบว่าตนเองมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณเท่าไหร่บ้าง

นายอราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม AIS เล่าว่า

“แพลตฟอร์ม E-Waste + เป็นตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้แก้ปัญหาสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม โดยเทคโนโลยี Blockchain จะช่วยทำให้ผู้ทิ้งมั่นใจว่าขยะ E-Waste จะถูกนำส่งไปยังกระบวนการรีไซเคิลที่ได้มาตรฐานและโปร่งใส สามารถตรวจสอบสถานะของกระบวนการนำส่งได้ในแต่ละขั้นตอน และนอกเหนือจากนั้นยังสามารถคำนวณปริมาณ Carbon Scores ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกถึงการลงมือทำในกิจกรรมที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่สามารถแชร์ในโซเชียลและแสดงตัวตนในโลก Metaverse ได้”

อราคินยังกล่าวเสริมอีกว่า โดยปกติแล้วประเทศไทยมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์มากถึง 4 แสนตัน แต่มีการจัดเก็บอย่างถูกต้องเพียงแค่ 1% เท่านั้น แต่เดิมการตั้งที่ให้คนทิ้งเฉยๆ อย่างเดียวไม่ค่อยได้ผล ต้องมีการให้ความรู้ผู้บริโภค ควบคู่กับการสร้าง Incentive ไปด้วย

โดย AIS ยังมีแผนพัฒนาให้คาร์บอนสกอร์ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการขยะ E-Waste อย่างถูกต้อง นำไปใช้เป็น Utility Token ที่จะช่วยต่อยอดธุรกิจให้กับองค์กรพันธมิตรที่เข้าร่วมโครงการนี้อีกด้วย แรกเริ่มอาจจะเริ่มจากการเปลี่ยนคาร์บอนสกอร์ เป็น AIS Point ก่อน จากนั้นจะเริ่มเปลี่ยนเป็น Utility Token อื่นๆ ที่สามารถใช้ได้สำหรับผู้บริโภคทุกคน ไม่ได้จำกัดแค่ลูกค้า AIS อย่างเดียว

เบื้องต้น AIS ได้ร่วมทำงานกับพันธมิตรเครือข่าย Green Partnership ทั้ง 6 องค์กร ประกอบไปด้วย บริษัท เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย จำกัด, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, บริษัท เงินติดล้อ จำกัด, ธนาคารออมสิน และธนาคารกสิกรไทย ที่จะเข้ามาเริ่มใช้แพลตฟอร์ม E-Waste+ เพื่อส่งต่อการดูแลสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคลากรในองค์กรและสังคม

สายชลยังได้เสริมถึงการเป็นพันธมิตรของทั้ง 6 องค์กรนี้ว่า เป็น “อารีย์ คอมมูนิตี้” เริ่มต้นจากองค์กรที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในเส้นถนนพหลโยธินก่อน เป็นย่านเดียวกันกับ AIS นั้นเอง ทั้งธนาคารออมสิน, ธนาคารกสิกรไทย, เด็นโซ่, เงินติดล้อ ล้วนมีสำนักงานอยู่ในระแวกเดียวกัน ย่านอารีย์นี้จึงกลายเป็นแซนด์บ็อกซ์ในการนำร่องโครงการนี้ ก่อนจะขยายไปยังที่อื่น

ความสำคัญอีกหนึ่งสิ่งของแพลตฟอร์ม E-Waste+ ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ AIS ที่ต้องการยกระดับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาบูรณาการได้อย่างตรงจุด สามารถสร้างระบบการจัดการ E-Waste แบบใหม่ได้ด้วย Blockchain เป็นการกาวข้ามขีดจำกัดแบบเดิมๆ พร้อมกันนี้ยังได้ทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ เป็นการร่วมแรงร่วมใจในการช่วยจำกัดขยะอิเล็คทรอนิกส์ได้อย่างยั่งยืน

“แพลตฟอร์ม E-Waste+เปิดตัวเป็นครั้งแรกในอาเซียนสามารถเอาจุดแข็งของโครงข่ายอัจฉริยะของ AISและเอาเทคโนBlockchainมาพัฒนาเพื่อบริหารจัดการให้ดีขึ้นจึงอยากให้มีหลายองค์กรมาร่วมมือกันมากขึ้นไม่ใช่การเพิ่มจำนวนขยะแต่ช่วยสร้างการรับรู้ช่วยกันเปลี่ยนพฤติกรรมเชื่อว่าทุกองค์กรมีเป้าหมายด้านยุทธศาสตร์ความยั่งยืนทุกองค์กรพูดเรื่อง ESGแต่เวลาลงมือทำจะทำคนเดียวไม่ได้ต้องทำร่วมกันถึงจะประสบความสำเร็จ” สายชลกล่าวทิ้งท้าย

สำหรับองค์กรใดสนใจใช้งาน แพลตฟอร์ม E-Waste+ เข้าร่วมเป็นเครือข่าย Green Partnership สามารถติดต่อได้ที่ e-mail: [email protected] หรือติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง https://ewastethailand.com/ewasteplus

กระบวนการทำงานของ E-Waste+

  • E-Waste+ สามารถดาวน์โหลดรองรับทุกเครือข่ายและทั้งระบบ Android และ IOS โดยกดค้นหาคำว่า “E-Waste+” เพื่อดาวน์โหลด หลังจากนั้นลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิกผู้รักษ์โลก โดยกรอกชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์มือถือ และตั้งรหัสผ่าน หลังจากนั้นเข้าสู่ระบบ (โดยสามารถลงทะเบียนได้ทุกเครือข่าย)สามารถโหลดแอปE-Waste+ ได้ทาง https://m.ais.co.th/ApH8dgAi8
  • การทำงานของทั้งระบบจะใช้เพียง Application เดียว ลงทะเบียนและนำขยะ E-Waste มาทิ้งที่จุดรับ E-Waste+ โดยมีเจ้าหน้าที่ในการรับขยะ E-Waste ถ่ายภาพและใส่ข้อมูล ระบบก็จะบันทึกการทิ้งขยะ โดยผู้ใช้งานก็จะเห็นได้ว่าขณะนี้ E-Waste ของคุณอยู่ในขั้นตอนไหน
  • เมื่อขยะ E-Waste ที่ถูกรวบรวมถึงโรงงานแยกขยะ จะทำการตรวจสอบเมื่อพบว่ามีขยะดังกล่าวจริงก็จะยืนยัน และแสดงผลลัพธ์การส่งขยะเสร็จสมบูรณ์ถึงโรงงานที่ได้มาตราฐานเพื่อทำการจัดการอย่างถูกวิธีแก่ผู้ทิ้งขยะจนออกมาเป็น Carbon Score

ประเภทของที่รับในการทิ้งผ่านแอปพลิเคชันE-Waste+

  • โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต
  • อุปกรณ์เสริมมือถือ และแท็บเล็ตเช่นหูฟัง, ลำโพง, สายชาร์จ, อะแดปเตอร์
  • ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์เช่น คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก, เมาส์, คีย์บอร์ด, ฮาร์ดดิส, ลำโพง
  • อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กอื่นๆ เช่น กล้องถ่ายรูป, เครื่องเล่นดีวีดี, จอยเกมส์, วิทยุสื่อสาร, เครื่องคิดเลข, โทรศัพท์บ้าน, รีโมทคอนโทรล, เครื่องเล่น MP3 เป็นต้น

ยกเว้น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่, พาวเวอร์แบงค์, ถ่านไฟฉายทุกประเภท

]]>
1412315
SX Marketplace เอาใจขาช้อปกับสารพันสินค้าเพื่อความยั่งยืน-เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม https://positioningmag.com/1402190 Thu, 29 Sep 2022 10:00:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1402190

โซน SX Marketplace จัดบูธสินค้านานาชนิดเต็มพื้นที่ ด้วยความตั้งที่จะนำสุดยอดสินค้าพอเพียง ยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากกว่า 300 ร้านค้ามาร่วมจำหน่ายในงาน แยกประเภทเป็นโซนต่าง ๆ อาทิ Sufficient Living นำเสนอสุดยอดผลิตภัณฑ์จากชุมชนท้องถิ่นในโครงการพัฒนาชุมชนทั่วประเทศ โครงการ OTOP โครงการประชารัฐฯ และโครงการชุมชนดีมีรอยยิ้ม เพื่อสนับสนุนให้เกิดการสร้างอาชีพและรายได้ให้ชุมชน Sustainable Living เอาใจคนรักงานฝีมือและงานดีไซน์กับหลากหลายผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้ชีวิตที่ยั่งยืนให้เลือกสรร ตลาดสินค้า Green Living จำหน่ายสินค้านวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ทั้งเครื่องมือ Smart Farm ผลิตภัณฑ์พลังงานสะอาด และยานพาหนะแห่งอนาคต นอกจากนั้นยังมี Sustainable Book Garden ศูนย์รวมหนังสือแต่งบ้าน แนวทางการจัดสวนเพิ่มพื้นที่สีเขียวสุดผ่อนคลายในบ้าน และปิดท้ายกับเวิร์คช็อปตลาดต้นไม้ที่ชวนให้ทุกคนหันมาปลูกต้นไม้ เพราะไม่ว่าคุณจะมีพื้นที่เล็กใหญ่ขนาดไหนก็สามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อทำให้โลกของเราสดชื่นอย่างยั่งยืนไปด้วยกันได้

เริ่มกันที่การหาแรงบันดาลใจดี ๆ เกี่ยวกับงานดีไซน์และความยั่งยืนที่ นิทรรศการ “room Betterism Design Exhibition 2022” ซึ่งนิตยสาร room รวบรวมตัวอย่างผลิตภัณฑ์ งานสถาปัตยกรรมและงานออกแบบเพื่อความยั่งยืนมมาจัดแสดง ด้วยความเชื่อที่ว่าการสร้างดีไซน์ที่ดีไม่เพียงมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน แต่ยังต้องดีต่อสังคมรอบข้างด้วยและเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างสรรค์โลกให้ยั่งยืน ผลงานที่จัดแสดงยังตอบโจทย์ด้านการใช้งาน (Function) สุนทรีย (Aesthetic) ความยั่งยืน (Sustainability) รวมถึงการส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม (Social Impact) แต่ขณะเดียวกันก็ตอบโจทย์วิถีชีวิตประจำวัน และที่สำคัญที่สุดคือทุกชิ้นถูกผลิตขึ้นเพื่อวางจำหน่ายและใช้งานจริง เพราะความยั่งยืนที่เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงไม่ควรเป็นแบบร่างอยู่แค่เพียงในกระดาษเท่านั้น


ผลิตภัณฑ์จากเห็ดหลินจือแดง

บูธ: ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมากจากพระราชดำริ

 พบกับผลิตภัณฑ์จากเห็ดหลินจือแดงที่อัดแน่นไปด้วยสรรพคุณต่อต้านอนุมูลอิสระ สามารถบำรุงร่างกายให้แข็งแรงโดยนำไปต้มน้ำดื่มเป็นชา หรือทานง่ายสะดวกสบายในรูปแบบแคปซูล ศูนย์ศึกษาฯ แห่งนี้เป็นยังเป็นองค์กรแห่งแรกของประเทศไทยที่มอบองค์ความรู้ในเรื่องการปลูกผัก การรักษาคุณภาพดิน และการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจแก่เกษตรกร และยังเป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิตอีกด้วย


สินค้าชุมชนและของดีจากประจวบฯ

บูธ: บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี ประจวบคีรีขันธ์ (วิสาหกิจเพื่อชุมชน) จำกัด

 เลือกซื้อสินค้าชุมชนผลิตโดยชาวบ้านในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เช่น ผักปลอดสารพิษจากวิสาหกิจชุมชนฟาร์มเกษตรนวัตกรรมที่เกิดจากการรวมกลุ่มของเกษตรกรบ้านย่านซี่อ สับปะรดพันธุ์พิเศษ MD2 ของ Siam Gold รสชาตินุ่มนวลทานแล้วไม่แสบปากแสบลิ้นและสามารถเก็บในตู้เย็นทั้งลูกได้นานกว่า 30 วัน พลาดไม่ได้กับผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว เช่น มะพร้าวอบน้ำผึ้ง น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ซึ่งเป็นของดีขึ้นชื่อของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์


ชาชื่ลใจไร่กำปอ

บูธ: สมาคมการค้าเกษตรกรรมยั่งยืนไทย

ชาเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมของโลก แต่ด้วยปริมาณคาเฟอีนจากใบชาอาจทำให้รบกวนการนอนของผู้ดื่ม ผลิตภัณฑ์ “ชาชื่ลใจไร่กำปอ” จึงเลือกใช้ใบมะกล่ำตาหนูปลอดคาเฟอีนที่ปลูกและดูแลด้วยวิธีธรรมชาติและได้รับหนังสือสำคัญรับรองแปลงเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS มาการันตีคุณภาพ นำมาผ่านวิธีการผลิตอย่างพิถีพิถันด้วยการนวดและผึ่งแดดที่อุณหภูมิประมาณ 30 องศาทั้งหมด 5 ครั้ง ทำให้ได้สารอะบลูโซไซส์ที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล 30-100 เท่าแต่ปราศจากแคลอรี จึงเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานและมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ช่วยให้หลับลึก ลดอาการไอ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ และแก้ตับอักเสบด้วย


“สร้อยเบญจภาคี” และสินค้าดีไซน์เก๋จากศิลปินสุดฮิป

บูธ: สารพัดสรรพศิลป์

 เพจ Facebook “สารพัดสรรพศิลป์” ทำงานกับชุมชนชาวศิลปะสายแนวทั่วประเทศ รวบรวมสินค้าโดดเด่นมีเอกลักษณ์ของชุมชนมานำเสนอให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างกับสินค้าดีไซน์ที่มีความหลากหมายในร้านเดียว ทำให้เกิดการยกระดับ เพิ่มความน่าสนใจและเป็นแรงบันดาลใจให้กับร้านค้าชุมชนอื่น ๆ สำหรับงานนี้สินค้าที่ทางเพจภูมิใจนำเสนอคือ “สร้อยเบญจภาคี” ที่ผลิตจากคน 4 ชุมชนแบ่งงานกันทำในหน้าที่ดีไซน์ ปัก ทำเครื่องเงินและจำหน่าย โดยช่างฝีมือที่รับหน้าที่ปักเคยผ่านช่วงเวลาที่สูญเสียทุกอย่างและคิดฆ่าตัวตาย แต่การรวมตัวกันทำงานศิลปะทำให้เกิดความหวังในชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง นับเป็นสินค้าที่สะท้อนตัวตนและสร้างแรงบันดาลใจของสารพัดสรรพศิลป์อย่างแท้จริง


ขนมสุนัขรักษ์โลก

บูธ: LAIKA

แบรนด์ขนมสำหรับน้องหมาที่ตั้งใจทำขนมที่ดีต่อสุขภาพของสัตว์เลี้ยงแสนรักและดีต่อโลกโดยการเลือกใช้โปรตีนทางเลือกจากแมลง ที่เพาะเลี้ยงจากฟาร์มแมลงของแบรนด์เองโดยการนำขยะอาหารเช่น เศษผักจากการตกแต่ง กากที่เหลือจากการทำน้ำผลไม้ซึ่งสะอาดและปลอดสารมาเลี้ยงแมลง ทำให้ช่วยลดปัญหาขยะอาหารแถมได้ผลิตภัณฑ์ที่มีโปรตีนคุณภาพมาเป็นหนึ่งในวัตถุดิบสำคัญของขนมสุนัข สามารถเลือกซื้อได้ 2 สูตร คือ Happy Vitamins ที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน อุดมด้วยวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายและสูตร Cotton Touch บำรุงผิว ขนและเล็บ มีธาตุเหล็ก โอเมก้า 3 และ 6 ในงานยังจัดโปรโมชันลุ้นรับส่วนลดหรือของที่ระลึกจากทางร้านง่าย ๆ เพียงเพิ่มเพื่อนในแอปพลิเคชันไลน์


กระเป๋าฝีมือชาวปกาเกอะญอ

บูธ: Lamphun City Lab Shop

 Lamphun City Lab เป็นหน่วยงานวิสาหกิจเพื่อสังคมที่ทำงานเป็นโครงข่ายที่รวบรวมชาวลำพูนเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านผู้ผลิตสินค้าทางการเกษตรและงานฝีมือ ดีไซเนอร์ที่พร้อมใส่แนวคิดและดีไซน์ใหม่ ๆ ให้สินค้าท้องถิ่น และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่อยากโปรโมทสินค้าของชาวลำพูนไปในวงกว้าง ทำให้ภายในบูธมีสินค้าหลายหลายตั้งแต่ เซรามิกที่ปั้น ทำสีและวาดลายด้วยมือ ข้าวแต๋นน้ำลำไยพร้อมเนื้อลำไยอบแห้ง น้ำเชื่อมกุหลาบ ผลิตภัณฑ์จากโกโก้ผลิตด้วยความตั้งใจที่จะลดขยะอาหารให้มากที่สุด เช่น เทียนทรงเก๋จากเปลือกเมล็ดโกโก้และชาโกโก้ สินค้าที่ Lamphun City Lab ภูมิใจนำเสนอคือกระเป๋าโดยชาวปกาเกอะญอที่มีความตั้งใจและความสามารถในการทำงานหัตถกรรมแต่ไม่มีโอกาสในการกระจายสินค้าไปสู่ภายนอก Lamphum City Lab จึงเชื่อมโยงกลุ่มชาวเขากับดีไซเนอร์ จับเอาวัสดุและเทคนิคการตัดเย็บแบบท้องถิ่นนำมาออกแบบกระเป๋าดีไซน์สวย ใช้งานง่าย และเหมาะกับไลฟ์สไตล์คนเมือง


กระเป๋าถุงปูน “คิดจากถุง”

บูธ: SCG

 เอสซีจีคัดสินค้าที่โดดเด่นเรื่องความยั่งยืนมานำเสนอและจำหน่ายในงานมากมาย หนึ่งในสินค้าที่หลายคนให้ความสนใจมากจากธุรกิจซีเมนต์ก่อสร้างคือการนำถุงปูนซีเมนต์ที่ยังไม่ผ่านการใช้งานเพราะไม่ผ่านคุณภาพมาตรฐานและกำลังรอการทำลายมาเปลี่ยนเป็นสินค้าดีไซน์น่าใช้ เพื่อเพิ่มมูลค่าและเพิ่มอายุการใช้งานให้กับผลิตภัณฑ์ โดยจุดประกายจากแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่เป็นแนวทางการดำเนินงานของเอสซีจีในการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ใครที่สนใจสามารถเลือกช้อปกระเป๋าถุงปูนได้ในหลายรูปแบบ หลายขนาด ทั้งแบบสะพานข้าง กระเป๋าใส่เอกสาร และถุงใส่ดินสอรูปทรงน่ารัก

คัดมาแล้ว! สินค้ารักษ์โลกกว่า 300 แบรนด์

บูธ ECOTOPIA

 ร้าน ECOTOPIA เป็นแหล่งรวมสินค้าที่ถูกใจคนรักโลก เลือกสรรผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีสารเคมีและสินค้าจากวัสดุรีไซเคิลกว่า 300 แบรนด์มานำเสนอ สินค้าเด่นที่นำมาร่วมงานคือถังย่อยขยะอาหารสำหรับครัวเรือนจากแบรนด์ HASS ที่สามารถเปลี่ยนขยะอาหารเป็นปุ๋ยได้ในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง แถมยังมีดีไซน์ทันสมัยสวยน่าใช้ นอกจากนี้ทางร้านภูมิใจนำเสนอครีมกันแดดจากแบรนด์ passun ซึ่งปราศจากเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการัง เหมาะกับการทาผิวก่อนไปดำน้ำ อีกหนึ่งสินค้าขายดีคือที่รองแก้วดีไซน์สวยจาก KING COASTER ที่ผลิตจากเนื้อดินพิเศษมีรูพรุน ดูดซึมน้ำได้ดี ทำให้ไม่เกิดน้ำขังหรือเชื้อรา ราคาเพียง 100 บาทเท่านั้น ถ้ายังไม่จุใจไปช้อปต่อได้ที่ร้าน ECOTIPIA ชั้น 3 Siam Discovery


ต้นไม้ออร์แกนิกที่บ่มเพาะด้วยความรัก

บูธ: ไร่กาลเวลา Organic Farm

 ไร่กาลเวลาเป็นไร่ออร์แกนิกในจังหวัดกาญจนบุรีที่ “สร้างไร่ด้วยใจ เพาะด้วยรัก และปลูกด้วยความมุ่งมั่น” บนพื้นที่ 12 ไร่ติดแม่น้ำแคว ปัจจุบันปลูกผักสลัด 9 ชนิด ผักพื้นบ้าน สมุนไพรทั่วไปทั้งของไทยและต่างประเทศ งานนี้ไร่กาลเวลาตั้งใจขนสารพัดต้นไม้และพืชผักหลากชนิดมาให้ชาวเมืองได้เลือกซื้อไปปลูกเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในบ้าน แต่ถ้าพลาดงานนี้ยังสามารถซื้อหาผักออร์แกนิกจากไร่กาลเวลาได้ที่โซนตลาดจริงใจใน Tops Market

ก่อนกลับอย่าลืมแวะรับต้นไม้แจกฟรีตลอดงานจำนวนจำกัดเพียง 10,000 ต้นเท่านั้น เพียงสแกน QR Code หรือคลิก https://rebrand.ly/SX2022 พร้อมบอกเหตุผลที่คุณอยากได้ต้นไม้ไปปลูกที่บ้าน

ลุ้นรับรางวัลต่อเพิ่มอีกเมื่อคุณนำต้นไม้ไปปลูกแล้วและถ่ายรูปลงโซเชียลมีเดียติดแฮชแท็ก #SX10000Trees #SX2022  ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2565 เจ้าของภาพและคำบรรยายที่ถูกใจคณะกรรมการ* รับไปเลยรางวัลพิเศษชุดหนังสือจากบ้านและสวนมูลค่า 1,000 บาท จำนวน 20 รางวัล ส่งไปให้ฟรี ๆ ถึงบ้าน 

 

]]>
1402190
ทำอย่างไรเมื่อผู้บริโภคไม่เชื่อใจแบรนด์ในเรื่องของ Sustainability https://positioningmag.com/1382843 Tue, 26 Apr 2022 06:55:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1382843 บทความโดย Kantar

ประเด็นเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กับผู้บริโภคและแบรนด์อย่างมากในปัจจุบัน ด้วยความรวดเร็วของการสื่อสาร และการเกิดขึ้นของ Social Community ทำให้เกิดพลังแห่งการเคลื่อนไหว เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อให้โลกนี้ดียิ่งขึ้น

เรื่องของ Sustainability คือ New Normal สำหรับสังคมยุคใหม่ 65% ของผู้คนในโลกมองว่า เขาสามารถสร้างความแตกต่างในโลกใบนี้ผ่านการกระทำ และการตัดสินใจของเขา และ 50% พร้อมที่จะให้เวลาและเงินทุน เพื่อสนับสนุนแบรนด์ที่ทำความดี (Kantar Global Sustainability, Sector Report 2021) ขณะที่ผู้บริโภคมีความตื่นตัว ความคาดหวังต่อแบรนด์ก็สูงขึ้นด้วย 63% ของผู้บริโภคในโลกบอกว่า Sustainability เป็นความรับผิดชอบของแบรนด์มากกว่าผู้บริโภค

เราเห็นได้ชัดเจนว่า แบรนด์ต่างๆ มีการนำเอาประเด็นของสังคม และสิ่งแวดล้อม มาเป็นส่วนหลักของการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น Unilever, Nestle, Nike, L’Oréal, ปตท, เจริญโภคภัณฑ์ เป็นต้น ผ่านทางกิจกรรม Campaign ต่างๆ รวมถึงการออกผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม ความทุ่มเทของแบรนด์ในการทำความดีเพื่อสังคม อาจจะยังไม่สามารถทำให้ผู้บริโภคประทับใจ หรือมีความรู้สึกร่วมอย่างเต็มที่ เพราะยังลังเลสงสัยในเจตนารมณ์ และความจริงใจของแบรนด์ การศึกษาของคันทาร์ระบุว่า 69% ของผู้บริโภคในโลก เชื่อว่าแบรนด์ทำความดีเพื่อผลประโยชน์ของแบรนด์เท่านั้น

แบรนด์ต่างๆ มีการสื่อสารเรื่องของ Sustainability มากขึ้น เพื่อ engage กับผู้บริโภค ตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา โฆษณาในโลกมีการพูดถึงเรื่องของสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นถึง 3 เท่า และในปี 2021 มีโฆษณาที่พูดถึงเรื่องนี้เพิ่มขึ้นถึง 6% ปัญหา คือมีโฆษณาเยอะขึ้น แต่คนเชื่อในแบรนด์น้อยลงว่ามีความตั้งใจจริงที่จะทำความดีแล้ว เราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร

คำตอบคือ ต้องเริ่มจากการตั้งคำถามว่า เราสื่อสารกับผู้บริโภคได้ดีพอหรือยัง หากเจตนาดีและสื่อสารไม่ตรงจุด เราจะไม่สามารถขับเคลื่อนประเด็นต่างๆ และ engage กับผู้บริโภคได้

สิ่งสำคัญมากๆ คือ เราต้องเข้าใจจริตของผู้บริโภค ว่าอะไรที่ส่งผลต่ออารมณ์ และความรู้สึกของเขา และต้องสื่อสารที่ทำให้เกิดความรู้สึกในแง่บวก คือสร้างแรงบันดาลใจกระตุ้นให้ผู้คนรู้สึกมั่นใจ ตื่นเต้นที่จะร่วมกับแบรนด์ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ

Photo : Shuterstock

คันทาร์ได้ลองทดสอบโฆษณาที่มีในตลาด และดูว่าให้ความรู้สึกเป็นบวกหรือลบสำหรับผู้บริโภค โดยใช้การวิเคราะห์ปฏิกิริยาของสมอง (Neuroscience) เพื่อสะท้อนอารมณ์ ความรู้สึกของผู้คนเมื่อดูโฆษณา เราพบว่าโฆษณาที่ประสบความสำเร็จ คือโฆษณาที่ทำให้คนรู้สึกมั่นใจ มีแรงบันดาลใจ ถึงแม้ว่าจะเป็นประเด็นปัญหาที่หนักหน่วงก็ตาม ในขณะที่โฆษณาที่ทำให้รู้สึกกังวล รู้สึกผิดนั้น ทำให้คนไม่รู้สึก engage กับแบรนด์

หากแบรนด์ต้องการสร้างแรงบันดาลใจ และสื่อสารเรื่องของ Sustainability ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แบรนด์ต้องให้ความสำคัญกับ Emotional Connection ในการสื่อสาร เพราะเรื่องของสังคม และสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของ “ใจ” นอกเหนือจากการกระทำ

]]>
1382843
Starbucks ตั้ง Chief Sustainability Officer คนแรกในประวัติศาสตร์ เอาจริงแบรนด์สีเขียว https://positioningmag.com/1262133 Mon, 27 Jan 2020 16:59:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1262133 จับตาเทรนด์บริษัทแห่ตั้งผู้บริหารด้านสิ่งแวดล้อม ล่าสุดคือ Starbucks เชนกาแฟระดับโลกที่กลายเป็นบริษัทกลุ่มแรกซึ่งแต่งตั้ง CSO หรือ Chief Sustainability Officer อย่างเป็นทางการ ถือเป็นสัญญาณเอาจริงกับงานพัฒนาอย่างยั่งยืน

ก่อนหน้านี้ Starbucks ได้เอาจริงเอาจังกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม เริ่มนำร่องรียูสแก้วใช้แล้วทิ้ง พร้อมกับเพิ่มเมนูเครื่องดื่มนมจากพืชหลายรายการ โดยที่ CEO ตั้งเป้าปี 2030 แบรนด์ Starbucks จะสลายคาร์บอนให้มากกว่าที่ปล่อย และบำบัดน้ำให้มากกว่าที่ใช้ไป

ความน่าสนใจของ Michael Kobori ผู้นั่งเก้าอี้ Chief Sustainability Officer คนแรกในนาม Starbucks คือดีกรีประสบการณ์ไม่ธรรมดา ผู้บริหารรายนี้มีบทบาทที่แบรนด์ยีนส์ Levi’s นานกว่า 22 ปี โดยขึ้นเป็นหัวหน้าฝ่าย Sustainability ให้ Levi’s ตั้งแต่ปี 2007 ก่อนจะข้ามห้วยมารับงานที่ Starbucks ในที่สุด

การดึงตัว Michael Kobori มาที่ Starbucks สะท้อนชัดเจนว่าแบรนด์นางเงือกต้องการแสดงจุดยืนพูดจริงทำจริง ตามนโยบายแผนพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน หรือ sustainability ที่ Starbucks ประกาศมาเพื่อแก้เกมหลังจากกลุ่มนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโจมตีว่า Starbucks เป็นร้านกาแฟที่สร้างขยะจากแก้วใช้ครั้งเดียว แถมยังขาดส่วนรีไซเคิลในร้านค้าด้วย

กรอบเวลา 10 ปี

Kevin Johnson ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Starbucks ระบุในจดหมายเปิดผนึกถึงผู้ถือหุ้น ถึงแนวทางการบริหารงานด้านสิ่งแวดล้อมของ Starbucks ในช่วง 10 ปีว่าในปี 2030 เชนกาแฟ Starbucks จะเป็นบริษัทที่ไม่ทำให้ทรัพยากรโลกเป็นลบ จุดนี้ CEO ใช้คำว่า “Resource Positive” เพื่ออธิบายให้เห็นภาพว่า Starbucks ในอนาคตจะใช้ทรัพยากรให้เป็นบวกด้วยการกักเก็บคาร์บอนให้มากกว่าที่ปล่อยสู่บรรยากาศโลก และจะบำบัดน้ำเพื่อปล่อยน้ำใสให้ได้มากกว่าน้ำที่บริษัทใช้ไป

วิสัยทัศน์นี้เริ่มลงมือปฏิบัติแล้วที่ Starbucks ส่วนหนึ่งคือการเพิ่มเมนูเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งการเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าเลือกนมจากพืชได้หลากหลายมากขึ้น ขณะเดียวกันเริ่มยกเลิกแก้วใช้ครั้งเดียว ทั้งหมดนี้ Starbucks ย้ำว่าจะมีการลงทุนพัฒนาร้านสาขาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมถึงการยกระดับระบบจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม

สมดุลกับรายได้

Johnson ย้ำกับผู้ถือหุ้นว่าการเปลี่ยนแปลงด้าน Sustainability จะดำเนินการโดยคำนึงถึงรายได้ โดยย้ำว่าเส้นทางสีเขียวที่บริษัททำ ไม่เพียงแต่เป็นสิ่งที่ถูกต้องสำหรับแสดงความรับผิดชอบของบริษัทในฐานะพลเมืององค์กรของโลก แต่ยังเป็นพื้นฐานของความเกี่ยวข้องกับแบรนด์โดยตรง

“เรายังคงยึดมั่นในรูปแบบการเติบโตระยะยาว และเป้าหมายผลักดันกำไรต่อหุ้น (EPS) ให้เป็นเลข 2 หลัก โดยจะยังคงโฟกัสผลลัพธ์ทางการเงิน ความสำคัญกับการลงทุนที่ถูกต้องเป็นเป้าหมายหลัก ทั้งกับพันธมิตร ลูกค้า และโลก เพื่อรองรับการเติบโตก้าวกระโดดในอนาคต”

อย่างไรก็ตาม สื่อมองว่า Starbucks เคยพลาดเป้าหมายเรื่อง Sustainability มาก่อน โดยหากมองย้อนกลับไปในปี 2008 เชนกาแฟระดับโลกเคยประกาศเป้าหมายให้บริการกาแฟในถ้วยที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ให้ได้ 25% ของเครื่องดื่มรวมภายในปี 2015 แต่ Starbucks ก็เปลี่ยนเป้าหมายในปี 2011 ด้วยการลดสัดส่วนเหลือ 5% ภายในปี 2015

CEO ยอมรับว่าสิ่งที่ Starbucks ได้เรียนรู้คือผลลัพธ์ของการดำเนินการอาจจะต่ำกว่าความคาดหวังที่ตั้งไว้สูง ทำให้แบรนด์เข้าใจถึงความต้องการแนวทางที่แตกต่าง เป้าหมายในวันนี้คือ Starbucks จะทำวิจัยให้ละเอียดเพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค และแรงจูงใจที่เกี่ยวข้องกับการใช้แก้วและบรรจุภัณฑ์ซ้ำเพื่อลดปัญหาขยะล้นโลก

Source

]]>
1262133