ทีแอนด์บี มีเดีย โกลบอล ผู้ผลิตและสร้างสรรค์ภาพยนตร์-ซีรีส์แอนิเมชัน ควงพันธมิตรทั้งไทย-เทศเปิดตัวระบบนิเวศของ “คราวน์ โทเคน” (CWT) และพัฒนาแพลตฟอร์ม NFT ในชื่อ “ADOT” สร้างประสบการณ์เชื่อมต่อคอนเทนต์ซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (IPs) กับโลกการเงินดิจิทัล มุ่งไปสู่โลกอนาคตใน “เมตาเวิร์ส” โดยเหรียญ CWT เริ่มเทรดบน ZIPMEX แล้วตั้งแต่สัปดาห์ก่อน
ทีแอนด์บี มีเดีย โกลบอล (ประเทศไทย) (T&B Media Global Thailand) เป็นผู้ผลิตและสร้างสรรค์ภาพยนตร์-ซีรีส์แอนิเมชันชั้นนำของไทย ผลิตผลงานทั้งที่ฉายในไทยและต่างประเทศ โดยมีงานที่ชาวไทยรู้จักดีอย่าง “เชลล์ดอน” มาถึงวันนี้ T&B กำลังก้าวไปอีกขั้นของการสร้างระบบนิเวศในธุรกิจสื่อบันเทิง ผ่านการจับมือพันธมิตรหลากหลายสร้าง “คราวน์ โทเคน” (CWT) และแพลตฟอร์ม “ADOT” สำหรับซื้อขาย NFT
คราวน์ โทเคนนี้เป็นเหรียญรูปแบบ Utility Token ที่จะมาเชื่อมโยงกับ ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property: IPs) ซึ่งก็คือคอนเทนต์และคาแรกเตอร์ที่ครีเอเตอร์ผลิตออกมาผ่านสื่อภาพยนตร์ ซีรีส์ แอนิเมชัน เปิดประสบการณ์ใหม่ของผู้ถือคราวน์ โทเคนจะได้มีส่วนร่วมและรับสิทธิประโยชน์กับคอนเทนต์ ในแบบที่แตกต่างจากที่เคย
รวมถึงการสร้างแพลตฟอร์ม ADOT มาเป็นพื้นที่ซื้อขาย สะสม แลกเปลี่ยน NFT จากครีเอเตอร์ ทำให้เกิดคอมมูนิตี้ เกิดกิจกรรมใหม่ระหว่างครีเอเตอร์กับแฟนๆ
แน่นอนว่า T&B ไม่ได้สร้างระบบนิเวศนี้ด้วยตัวคนเดียว “ดร.ชวัลวัฒน์ อริยวรารมย์” ประธานกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท ทีแอนด์บี มีเดีย โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด ได้ประกาศความร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำทั้งในไทยและต่างประเทศที่จะร่วมกันสร้างปรากฏการณ์ใหม่ ไม่ว่าจะเป็น
พันธมิตรระดับโลกอย่าง Mr. Andrew รวมถึง Mr. Kenji Xiao และ Sunac Culture Group จะร่วมกับ T&B ทุ่มทุนสร้างผลงานแอนิเมชันสู่ตลาดโลก 6 เรื่อง ระหว่างปี 2022-2025 ได้แก่ Legends of the Two Heroes, FriendZSpace, Looking for Gods, New Legend, The Forestias และ Blue City ซึ่งแอนิเมชันเหล่านี้จะถูกนำไปต่อยอดเป็น NFT บนแพลตฟอร์ม ADOT อีกด้วย
“ดร.ชวัลวัฒน์ อริยวรารมย์” ประธานกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท ทีแอนด์บี มีเดีย โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด
คุณพรรณธร ลออรรถวุฒิ, CFA, ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานพัฒนาธุรกิจกลุ่มบริษัท T&B Media Global และ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท VUCA Digital กล่าวว่า แพลตฟอร์ม ADOT จะเชื่อม IPs ที่ทั้งมีทั้งภาพยนตร์ ละคร แอนิเมชัน เพลง และเอ็นเทอร์เทนเมนต์ในรูปแบบต่างๆ มาสู่สินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Digital Assets ซึ่งจะสร้างโอกาสเพิ่มมูลค่าและต่อยอดให้กับศิลปินคอนเทนต์ ครีเอเตอร์ ผู้ผลิต
รวมไปถึงผู้ชมจะได้มีส่วนร่วมและได้รับประสบการณ์รูปแบบใหม่ๆ เมื่อเข้าถือครองคราวน์ โทเคน- CWT จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ มากมาย ทั้งการรับ NFT Airdrop จากแอนิเมชันทั้ง 6 เรื่อง สิทธิในการโหวตทิศทางของภาพยนตร์และแอนิเมชันในเครือ T&B สิทธิในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์และ NFT รวมถึงสิทธิพิเศษต่างๆ จาก SMO Live Platform ซึ่งพัฒนาโดย Tree Roots Entertainment บริษัทในเครือ T&B และที่สำคัญคือการมีส่วนร่วมใน “Translucia Metaverse” ซึ่งเป็นเมกะโปรเจกต์ ของ T&B
คุณพรรณธร ลออรรถวุฒิ, CFA, ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานพัฒนาธุรกิจกลุ่มบริษัท T&B Media Global และ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท VUCA Digital
สำหรับแพลตฟอร์ม ADOT จะทำอะไรได้บ้าง? Mr. Roy Hui, Pellar Technology ประเทศออสเตรเลีย ผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชนระดับสากล จะเป็นผู้พัฒนาโปรเจ็กต์นี้ Hui อธิบายถึงทิศทางของแพลตฟอร์ม NFT ใหม่นี้ว่า จะมีลูกเล่นให้กับครีเอเตอร์มากขึ้น เช่น Utility Function ครีเอเตอร์สามารถกำหนดได้ว่าเมื่อนักสะสมเก็บผลงานครบทั้งคอลเล็กชันแล้ว สามารถนำมาแลกเป็น NFT ชิ้นพิเศษได้ ซึ่งจะทำให้ได้สิทธิต่อเนื่องเป็นการเข้า Meet & Greet กับศิลปิน
คุณวิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) กล่าวว่า MQDC ได้เห็นความสำคัญกับการนำนวัตกรรมทางการเงินรูปแบบใหม่ อย่างเช่น โทเคนดิจิทัล มาต่อยอดในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทั้งในกลุ่มที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ สำนักงาน ศูนย์การค้า ธุรกิจการให้บริการ รวมถึงนวัตกรรมทางการเงิน ภายใต้แนวคิด “For All Well-Being” พร้อมตอกย้ำความเชื่อมั่นว่านวัตกรรมการเงินในครั้งนี้จะผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไป
คุณวิบูลย์ ลีรัตนขจร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทเซิร์ช ได้ประกาศความเป็นไปได้ด้วยความร่วมมือของบริษัท Search Entertainment จะเป็นผู้ผลิตและดูแลการสร้างคอนเทนต์ NFT ขณะที่ VUCA Digital จะดูแลด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและการสร้างคอมมูนิตี้
ดร.เอกลาภ ยิ้มวิไล ผู้ร่วมก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิปเม็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด อีกหนึ่งพันธมิตรที่สำคัญของ T&B ได้กล่าวแสดงความยินดีต่อความสำเร็จของการนำ CWT เข้าไปลิสต์บน ZIPMEX ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2565 ซึ่งถือเป็นก้าวใหม่ของวงการบันเทิงในการต่อยอดธุรกิจ
พันธมิตรในการสร้างอีโคซิสเต็มนี้ต่างเห็นตรงกันว่า แพลตฟอร์ม NFT และเหรียญ CWT จะช่วย “เปลี่ยน” และ “เปิด” โอกาสธุรกิจใหม่ให้กับอุตสาหกรรมสื่อบันเทิง ช่วยสร้างรายได้ ป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ และทำให้ครีเอเตอร์กับแฟนๆ มีส่วนร่วมในคอมมูนิตี้โลกเสมือน สร้างนวัตกรรมการเงินรูปแบบใหม่ที่ไร้ขีดจำกัด โดย “คราวน์ โทเคน” กำลังจะเปิดซื้อขายในระดับภูมิภาคเร็วๆ นี้อีกด้วย
]]>‘เอ็กซ์สปริง‘ ขยับมูฟใหม่อีกครั้งในปีนี้ หลังเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ XPG เเละระดมทุนได้ 7,111 ล้านบาท รวมถึงการจับมือร่วมลงทุนกับพันธมิตรยักษ์ใหญ่ฝั่งอสังหาฯอย่าง ‘แสนสิริ’
ปัจจุบัน เอ็กซ์สปริงประกอบด้วย 5 กลุ่มธุรกิจการเงิน เเบ่งเป็น 1) ธุรกิจหลักทรัพย์ โดยบริษัท หลักทรัพย์กรุงไทยซีมิโก้ จำกัด 2) ธุรกิจจัดการกองทุน โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเอ็กซ์สปริงจำกัด 3) ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ โดยบริษัท บริหารสินทรัพย์เอ็กซ์สปริงเอเอ็มซี จำกัด 4) ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล โดยบริษัท เอ็กซ์สปริงดิจิทัล จำกัดเเละ 5) ธุรกิจจัดการเงินลงทุน
ระเฑียร ศรีมงคล ประธานกรรมการ บริษัท เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเพิ่มทุนครั้งนี้ ทำให้เอ็กซ์สปริงมีสภาพคล่องทางการเงินสูง ด้วยเงินทุนจากสัดส่วนผู้ถือหุ้นเดิม 3,094 ล้านบาท บวกสัดส่วนการเพิ่มทุนอีก 7,111 ล้านบาท รวมกันเเล้วเอ็กซ์สปริงมีเงินทุนในมือกว่า 10,000 ล้านบาท
ความเคลื่อนไหวสำคัญที่ต้องจับตามองคือ บริษัทกำลังเดินหน้าขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจเพิ่มอีก 4 ใบอนุญาต ได้แก่ นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Broker) ผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล (Dealer) ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล (Private fund Management) และใบอนุญาตในการเป็นตัวแทนขายกองทุนรวม (LBDU)
“เราจะสร้างระบบนิเวศการลงทุนของบริษัทให้สมบูรณ์มากที่สุด เพื่อเป็น One Stop Service ให้ลูกค้า โดยคาดว่าจะได้รับใบอนุญาตภายในสิ้นปีนี้ หรือย่างช้าในต้นปี 2565″
สำหรับเงินทุนก้อนใหญ่ที่ได้มานั้น บริษัทชี้เเจงว่า จะนำไปพัฒนาธุรกิจในส่วน ธุรกิจดิจิทัล เพื่อมุ่งพัฒนาแพลตฟอร์มการลงทุนรูปแบบดิจิทัล และสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจสำหรับบริการด้านการเงิน
อีกส่วนคือ ธุรกิจปัจจุบัน เพื่อขยายธุรกิจหลักทรัพย์และให้บริการโซลูชันทางการเงินแบบครบวงจรแก่ลูกค้า การสนับสนุนการลงทุนนอกตลาดหลักทรัพย์ (Private Equity) ขยายธุรกิจบริหารจัดการกองทุนและสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงและความสามารถด้านเทคโนโลยี ส่วนที่เหลือจะนำไปชำระคืนเงินกู้และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
“ปีนี้เราวางแผนรุกธุรกิจครั้งใหญ่สู่การเป็น Digital Financial Service เปลี่ยนธุรกิจการเงินเดิมๆ สู่นวัตกรรมการเงิน โดยตั้งเป้าหมายว่า ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจะเป็น New S-curve ที่ช่วยสร้างการเติบโตใหม่ของบริษัท เสริมกับธุรกิจดั้งเดิม”
ระเฑียร สรุปจุดแข็งของบริษัท เมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาด คือ “พันธมิตร- เงินทุนที่แข็งแกร่ง และการมี 17 Licenses ในมือ” โดยเป็นพาร์ตเนอร์ที่มีความชำนาญในอุตฯ ของตัวเอง อย่างในวงการอสังหาริมทรัพย์คือ บมจ.แสนสิริ (SIRI) วงการประกันภัยคือ บมจ.วิริยะประกันภัย และ เอเลเวตเท็ด รีเทิร์นส์ (Elevated Returns) ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารหลักทรัพย์ วางโครงสร้างทางการเงิน และควบรวมกิจการ
“เราจะเติบโตด้วยบทบาทของการเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาด้านการลงทุน การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางธุรกิจของเอ็กซ์สปริง เพื่อสร้างการเติบโตให้กับบริษัทหลักทรัพย์ มุ่งเน้นหุ้นขนาดกลาง (Mid-cap) เป็นหลัก การบริการครบวงจรสำหรับตลาดทุนและโซลูชันในการขายโทเคนดิจิทัล (ICO) สร้างความแข็งแกร่งให้กับทุนมนุษย์ (Human Capital)”
นอกจากนี้ จะต่อยอดพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ (AM) และการลงทุนในบริษัทที่อยู่นอกตลาด (PE) เพื่อดึงดูดกลุ่มมั่งคั่งที่มีจำนวนมากขึ้น ตลอดจนลงทุนในแพลตฟอร์มดิจิทัลใหม่ๆ เพื่อเสนอขายสินทรัพย์ดิจิทัลในรูปแบบใหม่อีกด้วย
สำหรับเทรนด์การเติบโตของ ธุรกิจการเงินดิจิทัล ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ล่าสุดมีมูลค่าถึง 40 ล้านล้านบาท หรือราว 1.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
ด้วยโอกาสนี้ เอ็กซ์สปริง จึงวางเเผนการเติบโตไปพร้อมตลาดโลกผ่านสินทรัพย์ที่จะมาแทนที่เงินสกุลต่างๆ เช่น คริปโทเคอเรนซี่ และการซื้อขายทองคำผ่านระบบดิจิทัล
โดยที่ผ่านมา ตลาดบิตคอยน์เติบโตกว่า 24 ล้านล้านบาท (8 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ) รวมทั้งตลาดแพลตฟอร์มสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) และ Decentralized Finance ที่มีขนาดกว่า 11.7 ล้านล้านบาท (3.9 แสนล้านเหรียญสหรัฐ) และ 1.35 ล้านล้านบาท (45,000 ล้านเหรียญสหรัฐ) ตามลำดับ ส่วน Utility Token และ Security Token ก็ยังเป็นการเงินดิจิทัลที่มีการเติบโตสูงเช่นกัน ด้วยขนาดตลาดในปัจจุบันที่สูงถึง 1.95 ล้านล้านบาท (64,000 ล้านเหรียญสหรัฐ)
ทั่วโลกยังนำโทเคนดิจิทัลและระบบบล็อคเชนมาใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม อย่างโทเคนดิจิทัลที่อ้างอิงกับสินทรัพย์ดั้งเดิม เช่น ทอง ตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
“เมื่อเราได้ไลเซ่นส์ครบ ลูกค้าจะสามารถเลือกลงทุนในผลิตภัณฑ์ได้เเทบทุกอย่างในที่เดียว ไม่ใช่เฉพาะหุ้น พันธบัตร หุ้นกู้ คริปโตเคอเรนซี่ หรือโทเคน เท่านั้น โดยเอ็กซ์สปริงจะทำแพลตฟอร์มในรูปแบบ Open Architecture”
บริษัทกำลังเตรียมเสนอขายผลิตภัณฑ์สินทรัพย์ดิจิทัลผลิตภัณฑ์แรก คือ โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน ‘สิริฮับ’ (SiriHub Investment Token) คาดจะเปิดขายในเดือนก.ย. นี้ ต่อมาจะเปิดนักลงทุนสามารถซื้อขายโทเคนดิจิทัลของ บริษัท อีอาร์เอ็กซ์ จำกัด (ERX) ซึ่งเป็นพันธมิตรของบริษัท โดยใช้เงินลงทุนขั้นต่ำเพียง 10 บาทต่อเหรียญ
สำหรับผลประกอบการของ ‘เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล’ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 มีรายได้รวม ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมลงทุนแล้ว 167 ล้านบาท สูงกว่ารายได้รวมส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมลงทุนของทั้งปี 2563 ที่มีจำนวนรวม 141 ล้านบาท กำไรสุทธิฯ อยู่ที่ 65 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 791% โดยทางผู้บริหาร คาดว่าบางธุรกิจมีรายได้เติบโตอย่างก้าวกระโดด ได้ในช่วงกลางปีหน้า
]]>