toy – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 10 Jun 2024 08:53:59 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ใครว่าของเล่นเป็นเรื่องของเด็ก! ผลสำรวจชี้ ‘ผู้ใหญ่’ เป็นกลุ่มที่ซื้อ ‘ของเล่น’ มากที่สุดแซงหน้า ‘เด็ก’ https://positioningmag.com/1477273 Mon, 10 Jun 2024 05:59:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1477273 อาจไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนักหาก เด็กหนวด หรือ ผู้ใหญ่ จะซื้อของเล่นมากกว่าเด็ก ๆ ในยุคนี้ที่เกิดมาในยุคดิจิทัล และสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นก็คือ การเปิดเผยจาก Circana บริษัทวิจัยตลาดที่แสดงให้เห็นว่า อุตสาหกรรมของเล่นไม่ได้ขับเคลื่อนโดยเด็ก แต่เป็นผู้ใหญ่ ต่างหาก

ผลสำรวจจากบริษัท Circana พบว่า ในช่วงเดือนมกราคา-เมษายน 2024 ที่ผ่านมา ผู้บริโภคที่มี อายุ 18 ปีขึ้นไป ใช้จ่ายเงิน 1.5 พันล้านดอลลาร์ (ราว 55,500 ล้านบาท) ไปกับการ ซื้อของเล่น แซงหน้ากลุ่ม อายุ 3-5 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มอายุที่ครองตลาดของเล่น

เมื่อย้อนไปในปี 2023 ที่ผ่านมา รายงานระบุว่า ผู้ใหญ่มากถึง 43% ซื้อของเล่นให้ตัวเอง โดยเหตุผลหลักคือเพื่อความสนุกสนานส่วนตัว การเข้าสังคม และการสะสม โดย การ์ดเกม ชุดเลโก้ และของเล่นกีฬา เป็นผลิตภัณฑ์ของเล่นที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดในปีดังกล่าว

ทั้งนี้ ตลาดของเล่นในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา ลดลง -1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ถือว่าเติบโตขึ้น +38% เมื่อเทียบกับปี 2019

“หนึ่งในจุดสำคัญที่ทำให้ตลาดของเล่นเติบโตมาจากโควิด เนื่องจากตอนนั้นคนมีเงินและมีเวลาอยู่กับบ้านกับครอบครัว และพวกเขาต้องการเชื่อมต่อกับของเล่นที่ทำให้พวกเขามีความสุขเหมือนเด็ก ๆ อีกครั้ง Juli Lennett รองประธานและที่ปรึกษาอุตสาหกรรมของเล่นของ Circana กล่าว

ตอนนี้นักสะสมมีหมดทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นตุ๊กตา แอ็กชั่นฟิกเกอร์ รถเหล็ก บอร์ดเกม ชุดตัวต่อเลโก้ การ์ดสะสม ซึ่งกลับมาร้อนแรงอีกครั้ง ซึ่งนั่นทำให้บริษัทผู้ผลิตของเล่นบางรายกำลัง เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับกลุ่มผู้ใหญ่โดยตรง

CNN

]]>
1477273
เล่นของเก่าไปก่อน! ตลาด ‘ของเล่น’ ในสหรัฐฯ ปี 2023 หดตัว 8% เพราะต้องรัดเข็มขัดซื้อแต่ของจำเป็น https://positioningmag.com/1462279 Mon, 12 Feb 2024 03:21:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1462279 แม้ว่าในช่วงก่อนการระบาดของ COVID-19 และในช่วงที่ COVID-19 ระบาด ตลาด ของเล่น ก็ยังสามารถเติบโตได้ แต่กลายเป็นว่าในปี 2023 ที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจไปทั่วโลก ส่งผลให้ผู้บริโภคเน้นซื้อแต่ของจำเป็นก่อน ทำให้ของเล่นกลายเป็นสิ่งของท้าย ๆ ที่จะจับจ่าย

ตามรายงานจากบริษัทวิจัยตลาด Circana พบว่า ผู้บริโภคในสหรัฐฯ ซื้อ ของเล่น น้อยลงตลอดปี 2023 โดยรวมแล้วยอดขายของเล่นในปี 2023 ลดลง 8% ทั้งด้านจำนวนเงินที่ผู้บริโภคจ่ายค่าของเล่นและจำนวน แม้ว่าในไตรมาสที่ 4 ที่มีเทศกาล คริสต์มาส ซึ่งปกติจะเป็นช่วงที่มียอดขายของเล่นจำนวนมากก็ยัง ลดลง 6% ขณะที่ราคาขายเฉลี่ยลดลง 2% แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคไม่ได้ซื้อของเล่นน้อยลง แต่ยังซื้อของเล่นที่มี ราคาถูกลง ด้วย

“นี่ชี้ให้เห็นชัดเลยว่าผู้บริโภคเลือกของเล่นราคาถูกลง” Juli Lennett รองประธานและที่ปรึกษาอุตสาหกรรมของเล่นของ Circana กล่าว

ที่น่าสนใจคือ เมื่อเทียบกับก่อนเกิดโรคระบาดหรือปี 2019 อุตสาหกรรมของเล่นยังคงมียอดขายเติบโตขึ้น รวมแล้วมีมูลค่า 5.7 พันล้านดอลลาร์ ดังนั้น เห็นชัดว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคนั้น ปรับตามอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจากหลายครัวเรือนต้องต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ ทำให้ต้องใช้เงินไปกับการซื้อสินค้าและชำระค่าบริการที่จำเป็น ท่ามกลางแรงกดดันด้านการเงิน ส่งผลให้เงินออมของผู้บริโภคหมดลงและหนี้บัตรเครดิตของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น

จากผลกระทบดังกล่าว ได้ส่งผลต่อผู้เล่นรายใหญ่อย่าง ฮาสโบร (Hasbro) ที่ต้องลดจำนวนพนักงานเกือบ 20% หรือมากกว่า 1,000 คน ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เนื่องจากการซื้อของเล่นที่ตกต่ำอย่างต่อเนื่อง

Robby Pettinato COO ของ Wild About Music, Inc. ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Toy Joy เครือร้านขายของเล่นยอดนิยมในเมืองออสติน กล่าวว่า เขาเห็นการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการซื้อของกลุ่มผู้ปกครอง โดยในปีที่ผ่านมาพบว่า จำนวนครอบครัวที่ซื้อของเล่นใหม่ให้ลูก ๆ ของพวกเขาลดลง และสำหรับ ผู้ปกครองที่มีอายุน้อยจะยิ่งระมัดระวังเรื่องงบประมาณมากที่สุดในตอนนี้

“เราให้ความสำคัญกับพ่อแม่ที่มีเด็กเล็กและลูกค้าผู้ใหญ่ที่เป็นนักสะสม ซึ่งในช่วงปีที่ผ่านมา ผมรู้สึกว่าจำนวนครอบครัวที่ซื้อของเล่นใหม่ให้ลูก ๆ ของพวกเขาลดลง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าความต้องการของเล่นกำลังลดลง”

แม้ว่าการซื้อของเล่นของผู้ปกครองจะลดลง แต่ในกลุ่มลูกค้า มิลเลนเนียลและ Gen Z ที่ซื้อของเล่นเพราะต้องการสะสมยังคงใช้จ่าย โดยในปีที่ผ่านมาสินค้าเกี่ยวกับ Pokémon, Barbie และ Squishmallows เป็นแบรนด์ที่ขายดีที่สุด

CNN

]]>
1462279
เปิดใจผู้จำหน่ายโมเดล ‘ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส’ เพราะ ‘หนัง’ กับ ‘ของเล่น’ คือส่วนผสมที่ขาดกันไม่ได้ กระแสมายอดพุ่ง 100% https://positioningmag.com/1433795 Tue, 13 Jun 2023 01:11:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1433795 หากพูดถึง ของเล่น เชื่อว่าในยุคปัจจุบันไม่ได้มีแค่เด็กที่ซื้อ แต่รวมไปถึง เด็กหนวด ที่หลายคนใช้นิยามถึง ผู้ใหญ่ อย่างเรา ๆ ที่ยังซื้อของเล่นอยู่ เพียงแต่จุดประสงค์อาจแตกต่างไป จากที่เล่นสนุกแบบตอนเด็ก ๆ ก็มาซื้อมาสะสม และหนึ่งในสิ่งที่เกื้อกูลให้ของเล่นยังขายได้ก็เพราะ ภาพยนตร์ และ การ์ตูน นี่แหละที่ทำให้เด็กและนักสะสมหยุดซื้อไม่ได้สักที

จากของเล่นสู่ภาพยนตร์ขายของเล่น

สำหรับภาพยนตร์ที่มีความเกี่ยวพันกับของเล่นแบบสุด ๆ ก็คือ ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส (Transformers) เพราะจุดเริ่มต้นของทรานส์ฟอร์มเมอร์สนั้นมาจาก ของเล่น จากค่ายดังของญี่ปุ่นอย่าง Takara Tomy ที่หลายคนน่าจะคุ้นหูกัน และได้ค่าย ฮาสโบร (Hasbro) นำสินค้าเข้าไปขายในอเมริกา หลังจากนั้น ทรานส์ฟอร์มเมอร์สก็ได้มีการทำการ์ตูนต่าง ๆ ตามมา เพื่อให้ผู้บริโภคผ่านเรื่องราว (Story Telling) เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดการเชื่อมโยง จดจำแบรนด์ จนตลอด 41 ปีที่ผ่านมา ทรานส์ฟอร์มเมอร์สก็มีทั้งเวอร์ชันการ์ตูน และภาพยนตร์แฟรนไชส์ถึง 7 ภาคเข้าไปเเล้ว

หนังเข้าดันยอดโต 100%

สำหรับของเล่นทรานส์ฟอร์มเมอร์สเป็นลิขสิทธิ์จากค่ายฮาสโบร (ยกเว้นในญี่ปุ่นจะหน่ายโดย takara Tomy) สำหรับประเทศไทย บริษัท แมพ แอคทีฟ ได้กลับมาเป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการอีกครั้ง หลังจากที่เคยเป็นในปี 2001-2015 เนื่องจากช่วงปี 2016-2022 บริษัทฮาสโบรเลือกที่กลับมาทำตลาดเอง

จนมาปี 2023 แมพ แอคทีฟ ได้ลิขสิทธิ์อีกครั้ง โดยจะทำสัญญากัน 5 ปี สามารถจำหน่ายสินค้าได้ทุกชาแนลทั้งในห้างสรรพสินค้าและออนไลน์ โดยมีสินค้าจากค่าย Marvel เช่น Ironman, Spider-Man รวมถึงสินค้าทรานส์ฟอร์มเมอร์ส

ดีพัก โทมาร์ ผู้จัดการทั่วไปประจำประเทศไทย บริษัท แมพ แอคทีฟ อาดิเพอคาซา จำกัด กล่าวว่า ภาพยนตร์ถือเป็นส่วนสำคัญมากของการขายของเล่น เพราะเมื่อผู้บริโภคได้เสพเรื่องราวต่าง ๆ ก็จะกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดความต้องการ เริ่มมีการเชื่อมโยง ทำให้พอภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่เข้าฉายจะช่วยดันให้ยอดขายของเล่นในช่วงนั้น ๆ เติบโตกว่า 100% โดยกระเเสจะเริ่มมีมาช่วง 1-2 สัปดาห์เข้าฉาย และจะเริ่มซาลงหลังภาพยนตร์ลาจอไปเเล้ว

สำหรับการมาของภาพยนตร์ Transformers : Rise Of The Beats ภาคล่าสุด บริษัทก็ได้ทำกิจกรรมทางการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายมากขึ้น เช่น Meet & Greet กับ หุ่นยนต์ ออพติมัส ไพร์ม มีความสูงกว่า 2.5 เมตร และโปรโมชันพิเศษต่าง ๆ เช่น ซื้อสินค้าครบ 1,000 บาท รับฟรี Transformers Griptok มูลค่า 199 บาท 1 ชิ้น เป็นต้น โดยบริษัทคาดว่าจากกระเเสดังกล่าวจะช่วยให้มียอดขายจากสินค้ากลุ่มทรานส์ฟอร์มเมอร์สในช่วงเปิดตัว 3-6 เดือนแรกที่ประมาณ 5-8 ล้านบาท รวมทั้งปีประมาณ 15 ล้านบาท 

อย่างไรก็ตาม นับตั้งเเต่ที่แมพ แอคทีฟได้เป็นตัวแทนจำหน่ายของเล่นฮาสโบร นั้นมีภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่จาก Marvel ฉายประมาณ 3 เรื่อง แต่บริษัทก็ไม่ได้ทำกิจกรรมทางการตลาด โดย ดีพัก รับว่า ที่ไม่ได้ทำการตลาด เป็นเพราะมองว่ายังไม่ใช่ไฮไลต์ และทรานส์ฟอร์มเมอร์สมีความแมสมากกว่า นอกจากนี้ ผู้ปกครองก็เลือกหาของเล่น เสริมพัฒนาการ ให้บุตรหลาน ซึ่งตรงกับสินค้าทรานส์ฟอร์มเมอร์ส 

“หนังเป็นสิ่งที่สำคัญมาก มันเกื้อหนุนกัน เวลามีหนังมันจะทำให้เกิดกระเเส ทำให้ยอดขายพุ่งสูงมาก และพอเริ่มมีกระเเส เราก็มาปรุกกระแสให้มีสีสันมากขึ้น”

2023 ตลาดของเล่นไทยสดใส

สำหรับตลาดของเล่นประเทศไทยปี 2019 ถือเป็นปีที่ดีที่สุด โดยมีมูลค่าราว 5,000 ล้านบาท และมาหดตัวในช่วงที่ COVID-19 ระบาด ผู้บริโภคไม่ได้ออกจากบ้าน และไม่มีภาพยนตร์เข้าฉาย แต่ในปี 2023 นี้ คาดว่าตลาดน่าจะฟื้นตัวได้ประมาณ 80-90% เมื่อเทียบกับปี 2019 

สำหรับตลาด แอ็คชั่นฟิกเกอร์ คาดว่ามีสัดส่วนประมาณ 10% ของตลาดของเล่น ซึ่งฮาสโบรถือเป็นผู้นำตลาดมีมาร์เก็ตแชร์ประมาณ 50% และในปีนี้ บริษัทคาดว่ายอดขายจะเติบโตขึ้น 20-23% เมื่อเทียบกับปี 2019 โดยเห็นสัญญาณบวกจากนักท่องเที่ยว และพฤติกรรมของผู้ปกครองที่เริ่มซื้อของเล่นที่พัฒนาทักษะมากขึ้น เพื่อไม่ให้ลูกอยู่กับหน้าจอ

เด็กหนวดสำคัญ แต่เด็กยังเป็นกลุ่มหลัก

ดีพัก ยอมรับว่า ผู้ใหญ่ ถือเป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันตลาด โดยปัจจุบันคิดเป็นประมาณ 20% ของยอดขาย โดยจุดที่น่าสนใจของกลุ่มผู้ใหญ่คือ ซื้อหนัก เฉลี่ยหลัก พันบาท ขณะที่เด็กจะเฉลี่ยหลักร้อยบาท อย่างไรก็ตาม ดีพัก เชื่อว่า เด็กจะยังเป็นกลุ่มสร้างการเติบโตหลัก แม้ว่าปัจจุบันอัตราการเกิดทั่วโลกจะต่ำลงก็ตาม

“แม้อัตราการเกิดจะลดลง แต่เราเชื่อว่าบริษัทยังอยู่ได้ ถ้าเรายังมีสินค้าใหม่ มีคาแรกเตอร์ใหม่ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมถึงมีการทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง เพราะสุดท้ายแล้ว เด็กก็ยังมีความต้องการซื้อของเล่น”

]]>
1433795
ญี่ปุ่นยิ้ม! ยอดขาย ‘ของเล่น’ แตะ ‘ล้านล้านเยน’ โดยได้ ‘นักท่องเที่ยว’ เป็นปัจจัยหนุนสำคัญ https://positioningmag.com/1433710 Sun, 11 Jun 2023 05:49:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1433710 ตลาดของเล่นของญี่ปุ่นประจำปี 2565 (สิ้นสุดเดือนมีนาคม 2566) แตะระดับ 1 ล้านล้านเยนเป็นครั้งแรก โดยได้แรงหนุนส่วนหนึ่งจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดย โปเกมอน ถือเป็นคาแรกเตอร์ยอดฮิต

ตามข้อมูลของ Japan Toy Association ยอดขาย ของเล่น ไม่ว่าจะเป็น การ์ดเกม, กาชาปอง, โมเดล และอื่น ๆ ของญี่ปุ่นมียอดขายรวม 9.525 แสนล้านเยน เติบโตขึ้น 6.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยยอดขาย กาชาปอง หรือของเล่นจิ๋วที่ไขจากตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติมีมูลค่า 6.1 หมื่นล้านเยน เพิ่มขึ้น 35.6% ส่วนยอดขาย การ์ดเกม โดยเฉพาะการ์ด โปเกมอน และ วันพีซ มีการซื้อขายรวม 2.349 แสนล้านเยน เพิ่มขึ้น 32.2%

ที่น่าสนใจคือ การเติบโตหลักของตลาดมาจาก ผู้ใหญ่ อาทิ ชุดรถไฟจำลอง ซึ่งช่วยชดเชยผลกระทบด้านลบของประชากรสูงวัยในญี่ปุ่น ส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมซื้อฟิกเกอร์ต่าง ๆ โดยเฉพาะ โปเกมอนและกาชาปอง

“เราไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่เราได้ยินจากพื้นที่ขายว่าพวกเขาขายของได้ดี โดยนอกจากสินค้าอนิเมะหรือตัวการ์ตูนยอดนิยมแล้ว กาชาปองก็เป็นสินค้ายอดนิยมในการนำไปเป็นของฝากหรือของขวัญ” ไดสุเกะ ฟูจิอิ เจ้าหน้าที่ของสมาคมกล่าว

]]>
1433710
ส่องตลาด ‘ของเล่น’ ในยุคที่ ‘ผู้ใหญ่’ เป็นตัวหลักขับเคลื่อนตลาดให้เติบโต https://positioningmag.com/1413323 Wed, 21 Dec 2022 04:55:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1413323 เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยได้ยินคำว่า เด็กหนวด หรือที่ฝรั่งเรียกว่า Kidults (เกิดจากคำว่า kid บวกกับคำว่า adult) ที่เรียกผู้ใหญ่หรือวัยรุ่นที่ยังซื้อ ของเล่นของสะสม ซึ่งภาพคนทั่วไปอาจจะมองว่าเป็นของสำหรับเด็ก แต่ในความเป็นจริงแล้ว เด็กหนวดนี่แหละเป็นกำลังหลักที่ทำให้ตลาดของเล่นยังเติบโต

เหล่า Kidults ซึ่งมักจะใช้จ่ายกับของเล่นมากขึ้นเนื่องจากพวกเขามีความชื่นชอบการ์ตูน ฮีโร่ และของสะสมที่ทำให้พวกเขานึกถึงวัยเด็ก พวกเขาซื้อสินค้า เช่น แอคชั่นฟิกเกอร์ ชุดเลโก้ และอื่น ๆ ทำให้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาผู้ผลิตของเล่นได้สร้างไลน์สินค้าสำหรับผู้บริโภคเหล่านี้โดยเฉพาะ เนื่องจากเห็นความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้ใหญ่ในยุคนี้

เมื่อผู้ใหญ่หันมาซื้อของเล่นกันมากขึ้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผู้ผลิตของเล่นมาก ๆ เพราะจากที่แค่ทำของเล่นมาขายเด็ก (ซึ่งคนซื้อก็คือผู้ปกครอง) กลายเป็นว่ากลับสามารถขายให้ผู้ใหญ่ถือเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้ออยู่แล้วได้อีกด้วย ดังนั้น ตลาดของเล่นจึงถูกขยายให้กว้างยิ่งขึ้น ทำให้เหล่า เด็กหนวดถือเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุด

ตามข้อมูลจาก NPD Group พบว่า เด็กหนวดเหล่านี้คิดเป็นถึง 1 ใน 4 ของยอดขายของเล่นของสะสมในตลาดสหรัฐฯ หรือคิดเป็นมูลค่าถึง 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 3.1 แสนล้านบาท จากมูลค่าทั้งหมด 28,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กลุ่ม Kidult ช่วยดันยอดขายของเล่นให้เติบโตถึง 37% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (2020-2021)

“กลุ่มผู้บริโภคที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป มีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในอุตสาหกรรมของเล่นมาหลายปี แต่การใช้จ่ายได้เร่งตัวขึ้นหลังจากเกิดโรคระบาด ซึ่งนำไปสู่ผลกำไรที่สูงขึ้นของบริษัทผู้ผลิตของเล่น”

ย้อนไปในช่วงทศวรรษที่ 70 และ 80 ธุรกิจของเล่นเริ่มเปลี่ยนจากการผลิตคาแรกเตอร์ที่ออกแบบเองมาเป็นการผลิตสินค้าจากคาแรกเตอร์ของภาพยนตร์และการ์ตูน แต่ปัจจุบันเทรนด์ดังกล่าวกลับยิ่งได้รับความนิยมอย่างสูงจากแฟรนไชส์ภาพยนตร์ชื่อดัง โดยเฉพาะเหล่าซูเปอร์ฮีโร่

ดังนั้น เด็กที่เติบโตมากับแฟรนไชส์ภาพยนตร์ดัง ๆ รวมถึงได้เห็นสินค้าลิขสิทธิ์ต่าง ๆ ที่ในตอนนั้นอาจไม่มีโอกาสที่จะได้สัมผัส (พ่อ-แม่ไม่ได้ซื้อให้) ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจหากผู้ใหญ่ในวันนี้จะซื้อของเล่นเพื่อมาเติมเต็มความฝันในวัยเด็ก

“อย่างในปี 1977 ที่ภาพยนตร์เรื่อง Star Wars เปิดตัว จากนั้นเราจะเริ่มเห็นสินค้าลิขสิทธิ์มากขึ้น ซึ่งเราเฉลิมฉลองแฟนด้อมของเราด้วยของเล่นและของสะสม ซึ่งรวมถึงสินค้าที่ไม่ใช่ของเล่น เช่น ผ้าปูที่นอน ถ้วยชาม และเสื้อผ้า” James Zahn บรรณาธิการบริหารของ The Toy Book และบรรณาธิการอาวุโสของ The Toy Insider กล่าว

จึงไม่น่าแปลกใจหากผู้ผลิตของเล่น อาทิ Lego จะออกแบบสินค้าใหม่ ๆ ที่ล้อกับคอนเทนต์ในอดีต ไม่ว่าจะเป็น Lego Star Wars หรือ Hasbro ก็ออกแอคชั่นฟิกเกอร์ Black Series ที่ผลิตคาแรกเตอร์จาก Star Wars ด้วยเช่นกัน ขณะที่ภาพยนตร์แฟรนไชส์ดัง ๆ ไม่ว่าจะเป็นซูเปอร์ฮีโร่จาก Marvel หรือ DC หลัง ๆ ก็ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับเด็กเล็ก แต่จัดทำขึ้นสำหรับกลุ่มใหญ่ที่ยังอยากซื้อของเล่นของสะสม

Source

]]>
1413323
‘เลโก้’ ทุ่ม 3 หมื่นล้าน เลือกเปิดโรงงานแห่งใหม่ใน ‘เวียดนาม’ รับตลาดเอเชียโตเร็ว https://positioningmag.com/1366209 Thu, 09 Dec 2021 08:38:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1366209 หลังตระเวนหาทำเลในหลายประเทศเเถบอาเซียนมานาน 18 เดือน ในที่สุด ‘เลโก้’ (Lego) เเบรนด์ของเล่นเด็กเจ้าใหญ่จากเดนมาร์ก ก็ตัดสินใจจะสร้างโรงงานเเห่งใหม่ที่ ‘เวียดนาม’ เพื่อรองรับตลาตเติบโตขึ้นอย่างมากจากความนิยมตัวต่อพลาสติกสีสดใสในหมู่เด็กๆ ทั่วเอเชีย พร้อมกับการขยายตัวของผู้บริโภคชนชั้นกลาง

โดยเลโก้ ประกาศจะทุ่มลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3.34 หมื่นล้านบาท) เพื่อสร้างโรงงานเเห่งใหม่ในเวียดนาม ซึ่งจะเป็นโรงงานแห่งที่ 2 ในเอเชีย หลังเปิดโรงงานแห่งเเรกในประเทศจีนไปเมื่อปี 2016 (ในยุโรป 3 แห่ง และเม็กซิโกอีก 1 แห่ง) โดยเลโก้มีอัตราการเติบโตของธุรกิจในภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้น ‘ดับเบิล-ดิจิต’ มาตั้งเเต่ปี 2019

Carsten Rasmussen ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของเลโก้ บอกกับสำนักข่าว Reuters ว่า
อุปสงค์ในตลาดตอนนี้ใกล้จะมากกว่าอุปทานของโรงงานในจีนเเล้ว ในช่วงระยะกลางถึงระยะยาว

“การเติบโตในจีนและเอเชียนั้นยอดเยี่ยมมาก เเละเราก็ต้องการเพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้น”

ปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเสริมการเติบโตนี้ คือ การขยายตัวของกลุ่ม ‘ชนชั้นกลาง’ ที่มีกำลังซื้อมากขึ้น เเละอัตราการเกิดของภูมิภาคนี้ที่ยังถือว่าสูงกว่าตลาดยุโรปและอเมริกาเหนือที่เติบโตเต็มที่แล้ว

ภาพจำลองโรงงานเเห่งใหม่ในเวียดนาม (Photo : www.lego.com)

โดยโรงงานแห่งใหม่เวียดนาม จะเริ่มก่อสร้างในช่วงครึ่งหลังของปี 2022 ก่อนจะเดินสายการผลิตในปี 2024
เเละจะมีการขยายกำลังผลิตต่อเนื่อง เพื่อรองรับความต้องการจากทุกประเทศในภูมิภาคเอเชีย ยกเว้นจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เลโก้คาดว่าในระยะเวลา 15 ปีข้างหน้า จะสร้างตำแหน่งงานใหม่ได้กว่า 4 พันตำแหน่ง

Financial Times ระบุว่า เลโก้ใช้เวลากว่า 18 เดือน ในการ ‘หาทำเล’ เปิดโรงงานใหม่ในหลายประเทศโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนจะตัดสินใจเลือกที่เวียดนาม ซึ่งป็นดีลที่ดีมาก อีกทั้งยังมีความเชี่ยวชาญในการผลิตและเปิดกว้างด้านความยั่งยืน ตั้งอยู่ใกล้กับตลาดสำคัญที่จะช่วยให้การขนส่งเป็นไปอย่างรวดเร็ว

โรงงานในเวียดนามเเห่งนี้ จะเป็นโรงงาน Carbon Neutral แห่งแรกเลโก้ โดยวางแผนการใช้พลังงานจากพลังงานแสงอาทิตย์จากแผงบนหลังคาโรงงานและฟาร์มใกล้เคียง

เลโก้ เป็นหนึ่งในไม่กี่แบรนด์ที่ได้อานิสงส์ ‘เป็นบวก’ ในช่วงในช่วงวิกฤตโควิด-19 เเละการมีเติบโตต่อเนื่อง
เมื่อเด็กๆ เเละผู้ปกครองต้องอยู่บ้านกันมากขึ้น โดยช่วงต้นปีนี้เลโก้ทำรายได้เติบโตถึง 46% ซึ่งถือเป็นสถิติใหม่
เเละเป็นผู้ผลิตของเล่นที่มียอดขายและผลกำไรสูงสุดในขณะนี้ด้วย

 

ที่มา : Reuters , Financial Times , LEGO 

]]>
1366209