ttb business one – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 21 Mar 2022 10:26:33 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ttb” กับการขึ้นเป็นธนาคารขนาดใหญ่ วางแบรนด์ให้ต่างด้วยกลยุทธ์ The Bank of Financial Well-being https://positioningmag.com/1378308 Mon, 21 Mar 2022 12:30:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1378308

การรวมกิจการของ “ทีเอ็มบี” และ “ธนชาต” เกิดเป็นธนาคารขนาดใหญ่แห่งใหม่ คือ “ttb” หรือ   ทีเอ็มบีธนชาต ขึ้นมาเบียด Top 6 กับธนาคารใหญ่แห่งอื่นๆ เมื่อเป็นธนาคารสเกลใหญ่ขึ้น ทำให้การวางตัวตนของ “แบรนด์” ต้องมีความแตกต่าง โดยทีเอ็มบีธนชาตเลือกที่จะวางคอนเซ็ปต์ธนาคารให้เป็น The Bank of Financial Well-being เพื่อฉีกแนวออกไป

ในบรรดาธนาคารขนาดใหญ่ของไทยแต่ละแห่งมีการวางแบรนด์และทิศทางธุรกิจแตกต่างกัน แต่ละค่ายมี     คาแรกเตอร์และฐานลูกค้าของตนเองในตลาด ทำให้การรวมกิจการของ “ttb” ถูกจับตามองว่าจะขึ้นมาวางตนเองในทิศทางไหนเพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ถึงแบรนด์ใหม่ และเกิดความน่าสนใจขึ้น

เกริ่นย้อนไปถึงก่อนการรวมกิจการว่า แต่ละธนาคารที่จะมารวมกันนี้ต่างก็มีจุดแข็งของตัวเองอยู่ก่อนแล้ว อย่าง “ทีเอ็มบี” มีความโดดเด่นเรื่องบัญชีเงินฝาก และภาพลักษณ์ดิจิทัลที่ทันสมัย ส่วน “ธนชาต” นั้นเป็นแบงก์ที่เด่นด้านการให้สินเชื่อรถยนต์ และมีความเข้าใจพฤติกรรมลูกค้าเชิงลึกจากการปล่อยสินเชื่อรายย่อย

เมื่อมารวมกัน จึงต้องไม่ทิ้งจุดแข็งของทั้งสองแบรนด์ และหาจุดร่วมใหม่ที่จะสร้างความ ‘ว้าว’ ขึ้นมาได้

ก่อนหน้านี้ ทีมทีเอ็มบีธนชาตได้ทำการศึกษาตลาด และค้นพบว่ายังมีช่องว่าง ทำให้ธนาคารเลือกวางตนเองเป็น “ผู้นำการสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น” หรือ The Bank of Financial Well-being โดยได้รับเสียงตอบรับจากลูกค้าว่าเป็นแนวคิดที่แตกต่างจากธนาคารอื่น และนี่จะเป็นคอนเซ็ปต์หลักที่ทำให้ธนาคารแข่งขันได้


ไม่ได้เป็นแค่สโลแกน แต่เป็นแกนหลักของการพัฒนาโซลูชันทางการเงิน

ผ่านไปมากกว่าครึ่งปี ttb ได้วางรากฐานให้เราเห็นว่า คอนเซ็ปต์ “The Bank of Financial Well-being” ของธนาคาร ไม่ได้ต้องการให้เป็นแค่สโลแกน แต่เป็นแกนกลางในการพัฒนาโซลูชันทางการเงินต่าง ๆ ทั้งหมด ttb ต้องการให้คุณค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ออกมา มีคุณค่าหลักคือต้องทำให้ชีวิตทางการเงินของลูกค้าดีขึ้น

ยกตัวอย่าง บัญชีเงินฝากของธนาคาร ttb all free เป็นบัญชีที่ให้ฟรีรอบด้าน ฝาก ถอน โอน จ่ายแล้ว ยังให้ฟรีประกันชีวิตและอุบัติเหตุ ลูกค้าจะได้การคุ้มครองพื้นฐานฟรีทันที เมื่อลูกค้าได้ประโยชน์มากขึ้น จึงทำให้ยอดเงินฝากของบัญชี ttb all free เพิ่มขึ้น 15%

หรือกลุ่มลูกค้าที่มีความมั่งคั่งสูง ttb ก็ออกบัตรเครดิต ttb reserve ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ความสำเร็จต่อยอดได้ไม่มีที่สิ้นสุด” มาต่อยอดด้านการเงิน การลงทุนด้วยการให้คะแนนสะสม ตั้งแต่ยังไม่ได้ใช้จ่าย และสามารถนำไปแลกเป็นส่วนลดในการลงทุนหรือซื้อประกันได้ การพัฒนาโปรดักส์นี้ได้ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มนี้เป็นอย่างดี ทำให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของธนาคารให้การตอบรับถือบัตรนี้กว่า 60% ภายในเวลา 6 เดือน

รวมไปถึง “วิธีคิด” ของธนาคารที่ต้องการให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นได้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลรุนแรงต่อเศรษฐกิจ ttb ได้ช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบไปกว่า 750,000 ราย ทั้งลูกค้าบุคคลและลูกค้าธุรกิจผ่านมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้ผ่านวิกฤตเศรษฐกิจไปได้


ขยับโครงสร้างองค์กรเพื่อตอบโจทย์

ตัวอย่างข้างต้นเป็นโปรดักส์ปลายทางที่เราได้เห็น แต่จะออกโปรดักส์ที่ตอบโจทย์ได้ ต้องย้อนกลับขึ้นไปจัดโครงสร้างองค์กร เพื่อที่อนาคตจะพัฒนาโซลูชันทางการเงินให้ลูกค้าได้ครบและคล่องตัวตามเป้าหมาย ซึ่ง ttb ได้ดำเนินการจัดโครงสร้างองค์กรไปแล้ว เช่น การซื้อหุ้น 10% ใน บริษัท ธนชาตประกันภัย และ บริษัทหลักทรัพย์ธนชาต เพื่อร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านประกันและการลงทุน สร้างทางเลือกที่หลากหลายให้กับลูกค้า รวมไปถึงการที่ ttb broker ซึ่งเป็นบริษัทลูกของธนาคารได้ขยายเครือข่ายพันธมิตรบริษัทประกันภัยรวมกว่า 20 บริษัท

ขณะที่ผลิตภัณฑ์ด้านบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล มีแผนการจัดตั้งบริษัทลูกแยกออกมาในชื่อ ttb consumer พร้อมลุยตลาดนี้โดยเฉพาะ ตั้งเป้าขึ้นเป็น Top 4 ของตลาดบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล

ที่สำคัญที่สุด คือ ttb ได้จัดตั้งทีม ‘ttb spark’ แยกออกมาดูแลด้านดิจิทัลโซลูชัน เป็นการปรับโครงสร้างสำคัญของ ttb เพราะการแยกทีมทำงานด้านดิจิทัล จะเพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน ทีมนี้มี Digital DNA ที่กล้าที่จะคิดนอกกรอบและไม่กลัวที่จะทดลองวิธีการใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาดิจิทัลโซลูชันที่จะช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งถือเป็น Way of working ที่แข็งแรง อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในช่วงที่ผ่านมา


ttb spark รับภารกิจดิจิทัลแบงก์กิ้งที่รู้ใจ

หลายปีที่ผ่านมา ทุกธนาคารเริ่มมุ่งสู่ถนนสายเดียวกัน คือ ถนนแห่งการปรับเปลี่ยนเป็น “ดิจิทัลแบงก์กิ้ง” บางธนาคารอาจแตกแยกสายออกไปอีกเส้นทางด้วยการสร้างบริษัทลูกด้านเทคโนโลยีในด้านอื่น ๆ แต่สำหรับ ttb แล้ว จุดโฟกัสจะยังอยู่กับการสร้าง ‘Humanized Digital Banking’ หรือ ดิจิทัลแบงก์กิ้งที่เป็นมิตรและรู้ใจ เน้นเรื่องการส่งเสริมชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นตามคอนเซ็ปต์หลักของธนาคาร

ความหมายคือ สิ่งที่ ttb spark พัฒนานั้นจะไม่ใช่การวิ่งตามเทรนด์ดิจิทัลใด ๆ ก็ได้ แต่โซลูชันนั้นต้องมา แก้ปัญหา’ ให้กับลูกค้า แก้ปัญหาได้ทั้ง Ecosystem และทำให้ลูกค้าได้ประโยชน์อย่างแท้จริง

ตัวอย่างผลงานที่ผ่านมาของทีม ttb spark มีการปั้นแพลตฟอร์ม “ปันบุญ” www.panboon.org ขึ้นมาแก้ปัญหาโมเดลธุรกิจการรับบริจาคของมูลนิธิ เมื่อมารวมศูนย์กันทำให้ผู้บริจาคทำบุญออนไลน์ง่ายขึ้น มูลนิธิเองก็ลดค่าใช้จ่ายการดำเนินการลง เพิ่มโอกาสเข้าถึงผู้บริจาคมากขึ้น ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย ทำให้มีมูลนิธิเข้าร่วมแพลตฟอร์มแล้วกว่า 180 แห่ง และมีการบริจาคผ่านแพลตฟอร์มมากกว่า 200 ล้านบาท ใน 1 ปี

ทีมนี้ยังสร้างโซลูชัน ttb business one มาแก้ปัญหาให้ลูกค้าธุรกิจ ทำให้ลูกค้าบริหารจัดการธุรกิจทางดิจิทัลได้ง่ายขึ้น ความสะดวกในการใช้งานส่งผลทำให้รายการธุรกรรมที่ทำผ่านช่องทางนี้เติบโต 160% นับตั้งแต่เปิดตัว

ล่าสุดทีมยังปรับโฉมใหม่ให้กับ แอปพลิเคชัน ttb touch ต่อจากนี้จะไม่ใช่แค่แอปฯ โอนเงิน แต่มีการใช้ระบบ Data Analytics วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าและนำเสนอแต่สิ่งที่คาดว่าจะตรงใจลูกค้ามากที่สุด ทำให้แอปฯ เป็นเหมือนผู้ช่วยส่วนตัวทางการเงินให้ชีวิตลูกค้าดีขึ้นรอบด้าน พร้อมนำเสนอข้อมูล แนะนำ ช่วยเหลือ และส่งมอบสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ รวมถึงแจ้งเตือนธุรกรรมให้กับลูกค้าได้ในระดับบุคคล (Personalization)

เพียงระยะเวลา 7 เดือนหลังการรวมกิจการ ttb สามารถวางฐานการเป็นแบรนด์ใหม่ในใจผู้บริโภคได้สำเร็จ วัดจากการสำรวจ Brand Survey ของธนาคารเองพบว่า มากกว่า 50% ของผู้ถูกสำรวจมองว่า ttb เป็นธนาคารที่มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าธนาคารกำลังเดินมาถูกทางแล้ว

ถือเป็นการเริ่มต้นที่น่าสนใจของธนาคารแบรนด์ใหม่ในสนามแข่งขันของกลุ่มแบงก์ยักษ์ และต้องติดตามต่อจากนี้ว่า ttb จะเดินหน้าคอนเซ็ปต์ The Bank of Financial Well-being ด้วยการส่งต่อโซลูชันอะไร เพื่อครองใจลูกค้า และทำให้ชีวิตทางการเงินของคนไทยดีขึ้นได้ทั้งในวันนี้ และอนาคต

]]>
1378308
ttb business one ต่อยอดฟีเจอร์ใหม่ จาก Pain Point ชาวเอสเอ็มอี จัดการธุรกิจผ่าน ‘มือถือ’  https://positioningmag.com/1362565 Wed, 17 Nov 2021 09:55:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1362565 SMEs ไทยปรับตัวเข้าหาดิจิทัล ttb business one จับโอกาสเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ รับโมบายแอปพลิเคชัน เเก้ Pain Point ผู้ประกอบการ จัดการธุรกิจผ่านมือถือได้ในระบบเดียว 

ปัจจุบันธุรกิจ SMEs’ (เอสเอ็มอี) ในไทย มีผู้ประกอบการมากถึง 3 ล้านราย คิดเป็นกว่า 99% ของผู้ประกอบการทั้งหมดในประเทศ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและส่งผลต่อ GDP ถึง 42% มีการจ้างงานเเละกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจไปยังภูมิภาคต่างๆ

เเต่เมื่อเกิดวิกฤตโรคระบาดลากยาวมาเกือบ 2 ปี ผู้ประกอบการรายย่อยรับผลกระทบหนัก ต้องปรับตัวให้อยู่รอด ดิจิทัลมากขึ้น เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนเเปลงไป

ในช่วงโควิด SMEs ส่วนใหญ่ยังต้องการความช่วยเหลือ โดย 52% ยังพอประคองตัวไปได้ อีก 10% ไปได้ดี เเต่อีกกว่า 38% อยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง

ต่อยอดเทคโนโลยีจาก Pain Point ผู้ประกอบการ 

จุดนี้เป็นโอกาสของ ทีเอ็มบีธนชาต ที่จะพัฒนาดิจิทัลโซลูชันttb business one’ มาจับกลุ่มตลาดลูกค้า SMEs โดยเฉพาะ โดยเน้นไปที่การเเก้ Pain Point ของผู้ประกอบการ SMEs ที่มักจะทำธุรกิจผ่านมือถือต้องเจอบ่อยๆ อย่าง

  • การทำธุรกรรมหลายประเภทต้องเข้าหลายระบบ หรือลืมรหัสผ่านเพราะมีหลายอัน
  • ดิจิทัลเเบงก์กิ้งบนคอมพิวเตอร์กับมือถือ ‘เเยกโปรไฟล์กัน’ ทำให้สับสน ใช้งานเฉลี่ย 7 คลิกต่อ 1 ธุรกรรม
  • ไม่รู้ว่าเงินโอนรับเข้ามานั้นมาจากคู่ค้ารายใด ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบ
  • ไม่รู้วิธีการจ่ายหรือการโอนเงินแบบไหนเร็วที่สุด หรือประหยัดที่สุด
  • โอนจ่ายโดยไม่รู้จำนวนเงินสำรองที่เหลือ
  • ไม่สามารถตั้งเมนู Personalize ได้ตามความต้องการของเเต่ละเเผนกได้

ปัจจุบัน ทีเอ็มบีธนชาต มีลูกค้าธุรกิจและเอสเอ็มอีที่ทำธุรกรรมบนดิจิทัลแบงก์กิ้ง ทั้งโมบายแอปพลิเคชัน และอินเทอร์เน็ต รวมเกือบ 200,000 ราย

หากเทียบกับปี 2563 ที่ผ่านมา พบว่า ผู้ประกอบการ SMEs หันมาใช้ช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้นถึง 60% และลูกค้าธุรกิจทั้งหมดมีจำนวนรายการที่ทำผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่าตัว หรือเพิ่มขึ้น 160% ขณะที่สัดส่วนการทำธุรกรรมของลูกค้าระหว่างช่องทางดิจิทัลกับช่องทางสาขาเปลี่ยนจาก 40% ต่อ 60% เป็น 80% ต่อ 20% เเล้ว

การออกแบบโมบายแอปพลิเคชันในครั้งนี้ล้วนมาจากความคิดเห็นของลูกค้าจริง ๆ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานให้มากที่สุด” สุกัญญา ตรีเสน่ห์จิต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าเอสเอ็มอี ทีเอ็มบีธนชาต กล่าว 

ฟีเจอร์ใหม่ คุมธุรกิจได้ผ่าน ‘มือถือ’ 

ผ่านมาได้ 11 เดือน หลังทีเอ็มบีธนชาต เปิดตัวบริการ ttb business one ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจ ในรูปแบบอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ครั้งนี้ก็ถึงเวลาขยายฟีเจอร์ใหม่ๆ ผ่าน โมบายแอปพลิเคชัน อย่างเต็มรูปเเบบ อิงตามความต้องการของลูกค้า 

โดยคอนเซ็ปต์หลักๆ ของ ttb business one คือการวางจุดเด่นเป็น One Platform ระบบเดียวเข้าได้จากทุกอุปกรณ์ทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน ผู้ใช้จะได้รับประสบการณ์เดียวกันทั้งหมด เห็นทุกอย่างในโปรไฟล์เดียวกัน

One to Control คือระบบเดียวทำได้ทุกธุรกรรม ซื้อ ขาย รับ จ่าย ทั้งในและต่างประเทศ ควบคุมธุรกิจได้จากที่เดียว ไม่ต้องเข้าหลายแอป จำหลาย user password เช่น โอนเงินในประเทศ ต่างประเทศ เรียกดูวงเงิน OD 

เเละ One to Command ระบบเดียว มองเห็นภาพรวมและข้อมูลสรุปทางการเงินภายในบริษัท ด้วย Dashboard ที่เรียกดูง่ายและเข้าใจง่าย สามารถสั่งการต่อได้เลย พร้อมระบบมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล

“ฟีเจอร์บนมือถือ จะมีทั้งการอนุมัติรายการ ทำรายการที่ง่ายขึ้นไม่ต้องกดหลายครั้ง การเรียกดูรายงานต่าง ๆ ได้ในหน้าจอเดียว พร้อมการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายงานตามที่ต้องการ สามารถควบคุมทุกเรื่องธุรกิจได้จากมือถือ” 

รัชกร ชยาภิรัต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารนวัตกรรมทางดิจิทัลลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต บอกว่า จากตัวเลขการใช้ธุรกรรมช่องทางดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ยืนยันว่า ttb business one มาถูกทางแล้ว ฟีเจอร์เหล่านี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถใช้ช่องทางดิจิทัลได้เต็มที่ 100% มีข้อมูล Data Insightful ช่วยคาดการณ์กระแสเงินสดเข้า-ออก ภายในบริษัทได้ล่วงหน้า ทำให้บริหารจัดการกระแสเงินสดได้ ซึ่งตอนนี้ไม่มีค่าธรรมเนียมการใช้แพลตฟอร์ม

“ttb ตั้งเป้าว่าด้วยนวัตกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ จะมีลูกค้ามาใช้ช่องทางดิจิทัลมากขึ้น 60% ภายในสิ้นปี” 

 

]]>
1362565
ก้าวต่อไปของทีเอ็มบีและธนชาต เมื่อรวมกันเป็น ‘ttb’กับเป้าหมายสร้างชีวิตการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทย https://positioningmag.com/1331937 Mon, 17 May 2021 11:30:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331937

เหลือเวลาอีกเเค่หนึ่งเดือนกว่าๆ ดีลประวัติศาสตร์เเห่งวงการเเบงก์เมืองไทยที่หลายคนจับตามอง อย่างการรวมกิจการของ 2 ธนาคารใหญ่ ‘ทีเอ็มบี’ และ ‘ธนชาต’ สู่การเป็น

‘ทีเอ็มบีธนชาต’ หรือ ttb กำลังจะเสร็จสมบูรณ์เเบบ 100% ครบสูตร ‘One Dream, One Team, One Goal’ ในต้นเดือนกรกฎาคมนี้

การเดินทางครั้งสำคัญของ ttb กับเป้าหมายใหญ่ที่หวังจะช่วยให้คนไทยมี ‘Financial Well-being’ ชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น จะมีทิศทางต่อไปอย่างไร เเผนธุรกิจเเละกลยุทธ์การเข้าถึงลูกค้าในทุกช่วงชีวิต ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เเละการเปลี่ยนเเปลงที่จะเกิดขึ้น ลูกค้าต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง วันนี้ Positioning จะพามาหาคำตอบกัน

ภารกิจใหญ่ของการรวมธนาคารครั้งนี้ ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562 เป็นการรวมจุดแข็งของสองธนาคารมาไว้ที่เดียว

เมื่อรวมกันแล้วจะทำให้ธนาคารใหม่ มีขนาดธุรกิจเพิ่มขึ้น ‘เท่าตัว’ โดยมีสินทรัพย์รวมกันเกือบ 2 ล้านล้านบาท ขึ้นเเท่นเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ อันดับ 6 ของไทย มีพนักงานรวมกันมากกว่า 15,000 คน

“เราไม่ต้องการเป็นเเค่ธนาคารใหม่ เเต่จะสร้างรากฐานองค์กรใหม่ให้มีความเป็นหนึ่งเดียว สู่เป้าหมายเดียวกันคือ การช่วยให้คนไทยมีสุขภาพการเงินที่เเข็งเเรงในระยะยาว นำเสนอโซลูชั่นต่างๆ เพื่อตอบโจทย์คนไทยในทุกช่วงชีวิต” ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) กล่าว

รีเเบรนด์ให้ทันสมัย การ ‘เชื่อมต่อ’ คือหัวใจสำคัญ

ไม่กี่วันที่ผ่านมาเราคงได้เห็น ‘ภาพลักษณ์ใหม่’ ของ ttb ออกมาให้ตื่นตาตื่นใจกันเเล้ว ทั้งช่องทางการสื่อสารทางออฟไลน์เเละออนไลน์

จุดเล็กๆ เเต่น่าสนใจคือ เป็นครั้งเเรกของสถาบันการเงินไทยที่เลือกใช้ ชื่อโลโก้ใหม่ เป็นอักษรพิมพ์เล็ก ประกอบด้วยอักษร t ตัวแรกคือ TMB (ทีเอ็มบี) t ตัวที่สองคือ Thanachart (ธนชาต) และอักษร b มาจากคำว่า Bank (ธนาคาร)

ความหมายของโลโก้ของ ttb สื่อให้เห็นความตั้งใจของธนาคารที่จะใกล้ชิดและเข้าใจผู้คน ซึ่งการเชื่อมประสานกันของตัวอักษรทั้งสามตัว ยังมีความหมายถึง ‘การเชื่อมต่อ’ ของสองธนาคารเพื่อส่งมอบประสบการณ์ทางการเงินที่จะช่วยสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทย


ส่วนโทนสีของเเบรนด์ จะมี ‘สีฟ้าเเละสีส้ม’ ซึ่งเป็นสีเดิมของทีเอ็มบีและธนชาต ที่สะท้อนถึงการทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว เป็นธนาคารที่ทุกคนเข้าใจได้ง่าย ไม่ใช่เรื่องยากหรือเป็นเรื่องที่ไกลตัว

พร้อมมีการเฉดสีใหม่ อย่างสีฟ้าเฉดใหม่ ‘Confident Blue’ ที่หมายถึงการเปี่ยมไปด้วยพลัง ความคิดสร้างสรรค์ เเละสีส้ม ‘Refreshing Orange’ หมายถึง ความสดใส มีชีวิตชีวา โดยสะท้อนให้เห็นถึง ความก้าวหน้า ความอบอุ่น และความกระตือรือร้นที่จะบริการลูกค้า

รวมไปถึงเพิ่มสีน้ำเงิน ‘Trusted Navy’ สื่อถึงความมั่นคง น่าเชื่อถือและเป็นมืออาชีพ สามารถเป็นที่พึ่งพาให้แก่ทุกคน เหมือนที่เป็นตลอดมา และเพิ่มสีขาว ‘Honest White’ คือ การเป็นตัวแทนของความโปร่งใส การเปิดเผยและซื่อสัตย์ ที่เป็นหลักการที่ธนาคารยึดมั่นอยู่เสมอ โดยจะทยอยเปลี่ยนโฉมสาขา และ ATM เป็นแบรนด์ ttb ทั่วประเทศไทย

กลยุทธ์สู่ Main Bank : ขยายฐานลูกค้า – รุกดิจิทัล – เสริม

สกิลพนักงาน

ในปีนี้ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) ได้ลำดับความสำคัญทางธุรกิจที่จะเร่งดำเนินการไว้ 3 เรื่อง ได้เเก่

1) ขยายฐานลูกค้า ที่เลือกใช้ ttb เป็น ’ธนาคารหลัก’ (Main Bank) ผ่านกลยุทธ์ Financial Well-being solution พัฒนาโซลูชั่นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในทุกช่วงชีวิต ผ่าน 4 เสาหลัก คือ

  • ฉลาดออมฉลาดใช้ (Mindful spending & start saving)
  • รอบรู้เรื่องกู้ยืม (Healthy borrowing)
  • ลงทุนเพื่ออนาคต (Investing for future)
  • มีความคุ้มครองที่อุ่นใจ (Sufficient protection)

2) สร้างศักยภาพด้าน ‘Digital-first operating model’ บนโมบายแบงก์กิ้งแพลตฟอร์ม ที่เป็นมิตรและรู้ใจตอบโจทย์ความต้องการที่แตกต่างกันในแต่ละคน แต่ละช่วงชีวิต มอบประสบการณ์ที่ดีกว่า สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของลูกค้า และมีความคล่องตัวที่สูงขึ้นในการขับเคลื่อนนวัตกรรม

3) สร้างศักยภาพบุคลากร (People development) ให้สอดรับกับยุคดิจิทัล

“ธนาคารไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะเทคโนโลยี แต่จะให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์และให้ความช่วยเหลือเป็นที่ปรึกษาทางการเงินผ่านพนักงานของธนาคาร โดยใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือที่มาช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้า”

โดยพนักงานทั้งหมด จะได้รับการพัฒนายกระดับทักษะเดิมให้ดีขึ้น (Up-skill) และสร้างทักษะใหม่ที่จำเป็นในการทำงาน (Re-skill) ที่เหมาะสม เพื่อสนับสนุนทิศทางของธนาคารที่จะสร้าง Humanized digital หรือ รูปแบบการให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลที่เป็นมิตรและรู้ใจ

สำหรับการ ออกแบบ ‘โซลูชันทางการเงิน’ นั้นจะเน้นให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละช่วงชีวิต โดยยกตัวอย่างโซลูชันที่เหมาะสมกับลูกค้า 4 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มลูกค้าที่เพิ่งเริ่มทำงาน

เป็นวัยที่ต้องการก่อร่างสร้างตัว เพื่อหา ‘ล้านแรก’ ในชีวิต ttb จะเสนอโซลูชันด้านฉลาดออม ฉลาดใช้ เพื่อให้ลูกค้าได้ใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง พร้อมรับสิทธิประโยชน์รอบด้าน รวมถึงประกันอุบัติเหตุฟรี ที่ช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายที่คาดไม่ถึงหากเกิดอุบัติเหตุผ่านบัญชี all free และ ออมอย่างมีวินัยเพื่อใช้ในยามฉุกเฉินผ่านบัญชี no fixed

กลุ่มลูกค้าที่เริ่มสร้างครอบครัว

วัยนี้จะเป็นเสาหลักของบ้าน ที่ต้องการชีวิตอิสระในวันข้างหน้า ธนาคารจะเสนอโซลูชันเกี่ยวกับสินเชื่อสำหรับลูกค้าที่ต้องการมีบ้าน มีรถ ที่ใหญ่ขึ้นสำหรับการสร้างครอบครัวที่ใหญ่ขึ้น พร้อมทั้งเป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้คนกลุ่มนี้มีระเบียบวินัยในการผ่อนชำระ พร้อมโซลูชันการรวบหนี้ด้วยทรัพย์สินที่มีอยู่ เพื่อให้ จัดการปลอดหนี้ได้เร็วที่สุด สามารถเริ่มต้นเก็บออม และลงทุนเพื่ออนาคตได้ต่อไป      

กลุ่มลูกค้าที่ประสบความสำเร็จจากหน้าที่การงาน

กลุ่มนี้ต้องการมีชีวิตที่มั่นคงและเกษียณอย่างไร้กังวล ธนาคารจึงจะเน้นการให้ความรู้ด้านการลงทุน จัดทัพตามความเสี่ยง ต่อยอดความมั่งคั่ง ผ่านผลิตภัณฑ์การลงทุนที่หลากหลาย และ ttb smart port พอร์ตการลงทุน ที่ตอบทุกโจทย์การลงทุนครบวงจร โดยมืออาชีพ

กลุ่มลูกค้าที่มีความมั่งคั่ง

วัยนี้กำลังจะเตรียมเข้าสู่วัยเกษียณ เเละอยากใช้ชีวิตได้ตามใจ ‘สุขภาพเป็นหนึ่ง ลูกหลานสบาย’ ธนาคารพร้อมส่งมอบโซลูชันด้านประกันชีวิตและการลงทุนที่มอบความอุ่นใจ ในการรักษาความมั่งคั่ง พร้อมดูแลสุขภาพ และวางแผนส่งต่อมรดกให้กับทายาท


ttb DRIVE ต้องเป็นให้ได้มากกว่า ‘สินเชื่อรถยนต์’

วิกฤตโควิด-19 สะเทือนทุกหย่อมหญ้า ในปีที่ผ่านมา ttb ให้ความช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่ม ทั้งรายย่อยและธุรกิจไปกว่า 750,000 ราย และในช่วงเวลานี้ ได้เตรียมมาตรการอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้

‘สินเชื่อรถยนต์’ ก็เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ตัวชูโรงของ ttb โดยธนาคารได้ช่วยเหลือลูกค้าและคู่ค้าผ่านโครงการ “ตั้งหลัก” ซึ่งช่วยลูกค้าผ่อนหนักเป็นเบาได้กว่า 600,000 ราย และมอบประกันคุ้มครองโควิด-19 ให้แก่บริษัทคู่ค้าทั้งรถยนต์ใหม่และรถยนต์ใช้แล้วกว่า 3,000 รายทั่วประเทศตลอดปีที่ผ่านมา

ส่วนความเคลื่อนไหวต่อไปในปีนี้ ธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ของธนาคาร จะนำเสนอออกมาภายใต้แบรนด์ ‘ttb DRIVE’ ด้วยความตั้งใจที่จะเป็น “มากกว่าสินเชื่อรถ… เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น”

โดย ttb DRIVE พร้อมช่วยลูกค้าเคลียร์ทุกอุปสรรคทางการเงิน รวมหนี้ ลดภาระ เพิ่มสภาพคล่องด้วย “รถแลกเงินเคลียร์หนี้” และมอบสิทธิพิเศษให้ลูกค้าที่รักษาวินัยทางการเงินเป็นอย่างดีผ่านโครงการ “จ่ายดีมีคืน” อีกทั้งยังช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงสินเชื่อได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ด้วยโปรแกรม auto-approve ผนวกกับ scoring model พร้อมเจ้าหน้าที่ ttb DRIVE agent ให้บริการครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

นอกจากนี้ได้เปิดตัว “DRIVE Connect Platform” ทำตลาดออนไลน์ผ่านทาง Facebook ให้กับกลุ่ม ดีลเลอร์รถมือสอง และยังมีระบบ “Cross-area Booking” สามารถรองรับการซื้อขายรถยนต์ใหม่และรถยนต์ใช้แล้วผ่านช่องทางออนไลน์ ลดข้อจำกัดด้านพื้นที่ให้แก่คู่ค้า

พร้อมยกระดับศักยภาพทีมงาน ttb DRIVE เพื่อการทำงานในยุคดิจิทัล ผ่าน DRIVE Academy  เพื่อสร้างบริการที่ดีให้กับลูกค้าและคู่ค้าทุกราย

หนุนเงินทุน เสริมดิจิทัลขับเคลื่อน SMEs – ธุรกิจใหญ่

การเติบโตของธุรกิจรายย่อยไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นหัวใจหลักของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ttb จึงวางเเผนออกสร้างโซลูชันการเงิน เพื่อชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นของลูกค้าธุรกิจ ดังต่อไปนี้

มอบแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมและเพียงพอ

เน้นการสนับสนุน SMEs ที่อยู่ในซัพพลายเชนของธุรกิจขนาดใหญ่ให้ได้รับวงเงินที่เพียงพอบนเงื่อนไขที่เหมาะสมผ่าน “สินเชื่อเพื่อเครือข่ายธุรกิจ ทีทีบี (ttb supply chain solutions)” และช่วยเสริมสภาพคล่องในภาวะวิกฤตด้วยโครงการช่วยเหลือลูกค้าเอสเอ็มอี (Special Loan) และมาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ (Asset warehousing) ที่สอดคล้องนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย

ช่วยบริหารธุรกิจ ด้วย ttb business one

มอบโซลูชันและบริการที่ช่วยยกระดับประสิทธิภาพการบริหารธุรกิจ ด้วย “ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจ ทีทีบี บิสซิเนสวัน (ttb business one)” ที่เป็นมากกว่าเครื่องมือการทำธุรกรรมออนไลน์

ช่วยให้ทำธุรกรรมได้ครบตั้งแต่เรื่องสินเชื่อ จนถึงธุรกรรมต่างประเทศ มีรายงานครบถ้วน เรียกดูง่าย และนำไปต่อยอดทำรายงานเชิงวิเคราะห์ได้ สามารถเชื่อมต่อกับระบบของพันธมิตรและลูกค้า เช่น ERP POS และอีกหนึ่งดิจิทัลโซลูชันที่ช่วยลดเรื่องการใช้เงินสดและเอกสารอย่างเต็มรูปแบบก็คือ “ระบบบริหารการเรียกเก็บเงิน ทีทีบี (ttb digital invoice management)”

“เป็นการนำโซลูชันของธนาคารมาเชื่อมต่อกับระบบการเรียกเก็บเงินของลูกค้าธุรกิจ ลดการใช้เงินสดและเอกสาร ลดเวลาดำเนินการ และค่าใช้จ่ายเรื่องคน”

มอบชีวิตทางการเงินที่ดีให้แก่พนักงานและคู่ค้า

มีบริการที่น่าสนใจอย่าง “การจ่ายเงินเดือนและสวัสดิการพนักงาน ทีทีบี เพย์โรลพลัส (ttb payroll plus)” รวมไปถึงบริการและผลิตภัณฑ์ด้านการบริหารความเสี่ยงและด้านประกัน อย่างเช่น “ประกันสินเชื่อธุรกิจ ทีทีบี วันไลฟ์ (ttb one life business insurance)” เป็นต้น


ttb ยุคใหม่…ลูกค้าต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง ?

สำหรับในช่วงเวลานี้ลูกค้าทีเอ็มบีเเละธนชาต สามารถใช้ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ได้ ‘เช่นเดิม’ และยังสามารถใช้ช่องทางของ ttb ได้อีกด้วย

ลูกค้าทีเอ็มบีเดิม สามารถใช้ผลิตภัณฑ์และบริการได้เหมือนเดิมภายใต้แบรนด์ใหม่ โดยธนาคารกำลังอยู่ระหว่างการทยอยเปลี่ยนช่องทางบริการจาก ทีเอ็มบี เป็น ttb

ลูกค้าธนชาตเดิม หลังการรวมระบบในเดือนก.ค.สำเร็จ ผลิตภัณฑ์และบริการเดิมจะมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด รวมไปถึง ‘สิทธิประโยชน์’ ที่เพิ่มขึ้น

โดยลูกค้าธนชาตจะได้รับจดหมายแจ้งรายละเอียด ซึ่งจะมี ‘QR Code’ ให้สแกนเข้าไปดูข้อมูลเฉพาะของแต่ละบุคคล อย่างเลขที่บัญชีเงินฝากและเลขที่สัญญาสินเชื่อ เพื่อไว้ใช้ทำธุรกรรมตั้งเเต่วันจันทร์ที่ 5 ก.ค. เป็นต้นไป

“จดหมายนี้จะทยอยส่งออกไปหาลูกค้าตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม เป็นต้นไป เพื่อให้ลูกค้าเตรียมตัวล่วงหน้า”

หากได้รับจดหมายเรียบร้อยเเล้ว ลูกค้าสามารถสเเกน ‘ดาวน์โหลดไฟล์ pdf’  เพื่อเก็บรายละเอียดผลิตภัณฑ์เเละบริการของตัวเองไว้ใช้อ้างอิงได้ หรือสามารถตรวจสอบข้อมูล หรือสิทธิประโยชน์ต่างๆ ได้ผ่านแอป touch ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ค. เป็นต้นไป

กรณีที่ผ่านไปซักพักเเต่ยังไม่ได้รับจดหมาย ลูกค้าธนชาตสามารถติดต่อไปยัง ttb contact center โทร.1428 หรือติดต่อที่สาขา ttb ได้ทั่วประเทศ

 “ธนาคารขอให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จะนำไปสู่การยกระดับประสบการณ์ทางการเงินที่ดียิ่งขึ้นอย่างแน่นอน”

การเดินทางของ 2 ธนาคารใหญ่ที่มีอายุยาวนานหลายทศวรรษ สู่การรวมพลังกันเป็น ‘หนึ่งเดียว’ ก้าวไปพร้อมๆ กับฐานลูกค้ามากกว่า 10 ล้านรายในครั้งนี้ จะสร้างปรากฎการณ์ใหม่ เข้ามาช่วยสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทยได้อย่างไรอีกบ้าง…ต้องติดตาม

]]>
1331937