Upskilling – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 31 May 2023 13:53:09 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 FutureSkill ผนึกคอร์ส RE-CU เปิดหลักสูตรผู้บริหาร ใช้เทคโนโลยีพัฒนา “อสังหาฯ” ให้ล้ำสมัย https://positioningmag.com/1432692 Wed, 31 May 2023 13:20:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1432692 FutureSkill เปิดตัวหลักสูตรใหม่ “RECU The New Frontier” ที่พัฒนาร่วมกับ RE-CU ดึงผู้บริหาร “อสังหาฯ” เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีพลิกมุมมองการทำธุรกิจ สร้างโครงการและการตลาดที่ล้ำสมัย

ในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ ไม่มีใครไม่รู้จักหลักสูตร RE-CU จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเปิดอบรมผู้ประกอบการอสังหาฯ มานาน 40 ปี มีศิษย์เก่าของหลักสูตรมากกว่า 7,000 คน

ขณะที่ FutureSkill เป็นธุรกิจการศึกษายุคใหม่ นอกจากแพลตฟอร์มเรียนออนไลน์สำหรับบุคคลทั่วไปแล้ว ยังมีการเปิดหลักสูตรผู้บริหารด้วยเช่นกัน

ล่าสุดทั้งสองหันมาจับมือกันเพื่อพัฒนาหลักสูตรใหม่ “RECU The New Frontier” นำความเชี่ยวชาญของทั้งสองฝั่งมาผนึกกำลังกันเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้บริหารในธุรกิจอสังหาฯ

“รศ.มานพ พงศทัต” ประธานหลักสูตร RE-CU กล่าวว่า ในอดีตธุรกิจอสังหาฯ เป็นการผลิตสิ่งที่เป็นปัจจัยสี่ของชีวิต ทำให้การตลาดไม่ได้ปรับให้ซับซ้อนมากนัก แต่วันนี้แม้แต่ธุรกิจอสังหาฯ เองก็ต้องตามโลกให้ทันและเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ เป็นที่มาของหลักสูตร RECU The New Frontier

หลักสูตรนี้มีผู้ร่วมออกแบบหลักสูตรคือ “จิตติพงศ์ เลิศประดิษฐ์” ผู้ก่อตั้งและนายกสมาคม Martech Association – Thailand และ “ดิศรา อุดมเดช” ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง Yell Advertising โดยโปรแกรมการเรียนต้องการพัฒนาให้ผู้บริหารอสังหาฯ เล็งเห็นอนาคตที่ล้ำสมัยกว่าเดิมของธุรกิจอสังหาฯ และการใช้เทคโนโลยีช่วยลดต้นทุน จนถึงการสร้างสรรค์การตลาดด้วยเครื่องมือใหม่ๆ

ดิศราอธิบายภาพธุรกิจอสังหาฯ ในไทยว่า ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่เก่งกาจในด้านการออกแบบทางวิศวกรรม แต่ปัจจุบันวิธีขายและทำการตลาดเปลี่ยนไป จากสมัยก่อนที่ออกแบบ ก่อสร้าง และขาย ปัจจุบันอสังหาฯ ยุคใหม่เกิดแนวคิดแบบ ‘Product-Led Growth’ คือ การออกแบบโครงการที่เป็นการตลาดในตัวเองมาตั้งแต่วันแรก ยกตัวอย่างในต่างประเทศ มักจะมีการพัฒนาโครงการที่ล้ำสมัย เป็นนวัตกรรมที่เปลี่ยนวิถีการอยู่อาศัย ใช้จินตนาการผลักดันการสร้างสรรค์นวัตกรรม

ขณะที่จิตติพงศ์เสริมว่า ในแง่การทำการตลาดในยุคแห่งดาต้าก็ท้าทายมากกว่าเดิม โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาฯ​ มีความซับซ้อนในการเก็บดาต้า เพราะเป็นสินค้าที่ผู้ตัดสินใจซื้อไม่ได้มีคนเดียว บ้านหนึ่งหลังอาจมีคนร่วมตัดสินใจทั้งคุณพ่อ คุณแม่ และลูกๆ เป็นความท้าทายในการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำความเข้าใจ

โปรแกรมการเรียน RECU The New Frontier

นอกจาก RECU The New Frontier แล้ว ปีนี้ FutureSkill ยังเปิดหลักสูตร CMT-Chief Marketing Technologists ต่อเนื่องเป็นรุ่นที่ 3 ด้วย โดยหลักสูตรนี้ต้องการจะสร้างผู้บริหารด้านการตลาดที่มีความรู้ในการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือ MarTech ทำงาน เพื่อวางกลยุทธ์หรือวิสัยทัศน์บริษัทให้ทันสมัยในโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็ว

“โอชวิน จิรโสตติกุล” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง FutureSkill แนะนำความสำคัญของการตามให้ทันนวัตกรรม อ้างอิงข้อมูลจาก McKinsey บริษัทที่ปรึกษาที่ได้ศึกษากลุ่มบริษัท S&P 500 และพบว่า บริษัทในกลุ่มนี้ที่ลงทุนด้านนวัตกรรม จะเติบโตได้สูงกว่าตลาด 30%

อีกทั้งในแง่การตลาดยุคใหม่ที่ต้องใช้เครื่องมือ MarTech แต่ปรากฏว่าเครื่องมือประเภทนี้ปัจจุบันมีมากถึง 9,900 ตัวในโลก ทำให้การเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์จึงสำคัญ โดยรุ่น 3 ของหลักสูตร CMT จะได้อบรมกับตัวจริงในวงการ เช่น “ณัฐพล ม่วงทำ” เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน “แซม ตันสกุล” กรรมการผู้จัดการ กรุงศรี ฟินโนเวต, “สุธีรพันธุ์ สักรวัตร” ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานการตลาด ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ฯลฯ

สำหรับผู้ที่สนใจ หลักสูตร CMT จะเริ่มเรียนวันที่ 17 มิถุนายนนี้ ส่วนหลักสูตร RECU The New Frontier จะเริ่มเรียนวันที่ 1 กันยายน 2566 ติดตามรายละเอียดได้ที่ FutureSkill

 

อ่านบทความอื่นๆ 

]]>
1432692
มุมมอง “ธุรกิจกงสี” ในมือทายาทรุ่นใหม่ สู้เศรษฐกิจซบเซา-โรคระบาด ธุรกิจเล็กเสี่ยงล้ม https://positioningmag.com/1268063 Thu, 12 Mar 2020 12:17:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1268063 ต้องยอมรับว่า “ธุรกิจครอบครัว” หรือที่เรามักเรียกว่า “ธุรกิจกงสี” เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยทุกวันนี้ ด้วยการมีอยู่ถึง 80% ของระบบเศรษฐกิจเเละมีมูลค่ารวมถึง 30 ล้านล้านบาท โดยจำนวนเกินครึ่งของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ SET50 เป็นธุรกิจครอบครัว มีมูลค่าในตลาด รวมกว่า 4.76 ล้านล้านบาท (ข้อมูลจาก ตลท. ณ วันที่ 28 ก.พ. 63)

เป็นที่น่าจับตามองว่า ธุรกิจครอบครัวไทยราว 90% กำลังเปลี่ยนผ่านสู่ทายาทรุ่นที่ 3 ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดเเละเเนวทาง “เเตกต่าง” จากคนรุ่นพ่อเเม่หรือปู่ย่าตายาย

นักธุรกิจรุ่นใหม่เหล่านี้มีความคิดเห็นต่อ “การปรับปรุงเเละพัฒนา” องค์กรไปในทิศทางใด ขณะที่ต้องเผชิญความท้าทายทั้งเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ภัยโรคระบาด ค่าเงินบาทผันผวน การขาดเเคลนเเรงาน เเละการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ยุคดิจิทัล

เปิดรายงาน NextGen Survey 2019 ผลสำรวจผู้นำธุรกิจครอบครัว ฉบับแรกของ PwC โดยความท้าทายอันดับที่ 1 ของธุรกิจครอบครัวในสายตาผู้นำรุ่นใหม่ในปีนี้ คือการเข้ามาของดิจิทัลที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ (Digital disruption) ในอนาคต

NextGen Survey 2019 ได้สำรวจความคิดเห็นผู้นำธุรกิจครอบครัวรุ่นใหม่ทั่วโลกจำนวนกว่า 950 ราย รวมทั้งผู้นำธุรกิจครอบครัวไทยจำนวน 31 ราย

เปลี่ยนองค์กรไปสู่ดิจิทัล ความหวังพาธุรกิจรอด 

“ผู้นำรุ่นใหม่คาดหวังจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารระดับสูงในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยในกลุ่มนี้กว่า 81% ต้องการมีส่วนร่วมในธุรกิจครอบครัวอย่างเเข็งขัน ส่วนอีก 13% ตั้งใจมีส่วนร่วมในอนาคต เเละอีก 6% คิดว่าจะไม่มีส่วนในกิจการครอบครัวในอนาคต”

ผลสำรวจชี้ว่ากว่า 83% ของผู้นำธุรกิจครอบครัวรุ่นใหม่ มองว่าการมีกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เหมาะสมกับยุคดิจิทัลเป็นสิ่งที่พวกเขาจะให้ความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือ การดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถ และการเสริมสร้างทักษะให้กับพนักงานที่ 62% เท่ากัน

นอกจากนี้ 79% ของผู้นำธุรกิจครอบครัวรุ่นใหม่ของไทย เห็นว่าการเปลี่ยนองค์กรไปสู่ดิจิทัลจะช่วยให้พวกเขาสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจครอบครัวและช่วยให้กิจการสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

ขณะเดียวกัน มองว่าอุปสรรคที่ทำให้กิจการครอบครัวยังตามหลังคู่เเข่งคือ การใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารอย่างมืออาชีพ เเละการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรเเบบผู้ประกอบการ ส่วนข้อได้เปรียบของธุรกิจครอบครัวคือ การมุ่งเน้นให้บริการลูกค้า มีเป้าหมายชัดเจนเเละความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร 

“การเปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่ดิจิทัลไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับธุรกิจในยุคนี้ แต่วิธีการที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่นและประสบความความสำเร็จต่างหาก คือความท้าทายใหม่ที่ธุรกิจครอบครัวของไทยหลายราย ยังค้นหาหนทางไม่พบ”

นิพันธ์ ศรีสุขุมบวรชัย หัวหน้าสายงาน Clients and Markets หัวหน้ากลุ่มลูกค้าธุรกิจครอบครัวและหุ้นส่วนสายงานภาษีและกฎหมาย บริษัท PwC ประเทศไทย กล่าวว่า แม้สภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวแบบนี้อาจจะไม่เอื้ออำนวยต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล รวมไปถึงการยกระดับทักษะขององค์กรหลายแห่ง เเต่ผลลัพธ์ของการนิ่งเฉยจะยิ่งส่งผลเสียหายเป็นมูลค่ามหาศาลเพราะในที่สุด ทุกองค์กรไม่เฉพาะธุรกิจครอบครัว จำเป็นที่จะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เพราะเป็นผลดีกับองค์กรในระยะยาว

Upskilling เป็นเรื่องที่รอไม่ได้

ผลจากการสำรวจ ได้เปิดเผยถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรด้วยการยกระดับทักษะ (Upskilling) ให้กับตัวผู้นำรุ่นใหม่และพนักงาน

โดย 83% ของผู้นำธุรกิจครอบครัวรุ่นใหม่ของไทย เชื่อว่าการยกระดับทักษะจะช่วยให้พวกเขาสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจครอบครัวได้ ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงกว่าผู้นำธุรกิจครอบครัวรุ่นใหม่ในเอเชียแปซิฟิก (62%) และทั่วโลก (61%)

โดยองค์กรที่เริ่มนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในงานส่วนต่าง ๆ จะสามารถบริหารจัดการเรื่องต้นทุนได้ดีกว่าในสถานการณ์ปัจจุบัน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานได้มากขึ้นอีกด้วย

“การยกระดับทักษะแรงงานเป็นเรื่องที่รอไม่ได้ และเป็นเรื่องที่ทำได้หลายวิธี โดยผู้นำรุ่นใหม่หรือแม้กระทั่ง พนักงาน สามารถอัพสกิลตัวเองได้ผ่านการเรียนรู้จากเว็บไซต์ แอปพลิเคชันต่างๆ คอร์สเรียนออนไลน์หรือหลักสูตรการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับทักษะที่จำเป็นในอนาคต”

เศรษฐกิจซบเซา ธุรกิจขนาดเล็กเสี่ยงปิดกิจการ 

ปัญหาภัยแล้งที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ความล่าช้าในการเบิกจ่ายงบประมาณ รวมทั้งการระบาดของไวรัสCOVID-19 ได้ส่งผลให้เกิดภาวะชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานและการผลิตในบางกลุ่มอุตสาหกรรม รวมถึงการบริโภคภายในประเทศที่ลดลงตามกำลังซื้อที่หดตัวจากการขาดรายได้จากแรงงานในภาคการขนส่งและท่องเที่ยว

ผู้บริหาร PwC ประเมินว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวนี้อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจครอบครัวธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อย หรือ SMEs รวมไปถึงบริษัทขนาดเล็กที่มีเงินทุนหมุนเวียนไม่สูง โดยมองว่า หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 เดือนนี้อาจเห็นธุรกิจขนาดเล็กเริ่มปิดกิจการ

โดยคาดว่าการระบาดของไวรัสนี้ อาจจะเป็นชนวนที่ทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลกรอบใหม่ได้ ต้องติดตามว่าสถานการณ์จะกินเวลานานแค่ไหน จึงจะควบคุมการแพร่ระบาดได้ซึ่งหากยืดเยื้อ มองว่าน่าจะเห็นธุรกิจครอบครัวหรือบริษัทขนาดเล็ก จะล้มหายไปจากระบบพอสมควร

“แต่ในมุมกลับกัน นี่เป็นโอกาสสำหรับธุรกิจครอบครัวที่มีความพร้อมด้านเงินทุนในการซื้อกิจการหรือหาพาร์ตเนอร์ เพื่อเป็นพันธมิตรเพราะน่าจะได้ของดี ราคาไม่แพงและต้นทุนทางการเงินไม่สูงนัก เนื่องจากอยู่ในช่วงดอกเบี้ยขาลง”

ผู้บริหาร PwC ฝากถึงผู้นำรุ่นใหม่เเละเจ้าของกิจการว่า แม้สถานการณ์เศรษฐกิจจะเลวร้ายแค่ไหน แต่เราไม่สามารถหยุดที่จะพัฒนาตัวเองและองค์กรได้ เพราะการยกระดับทักษะเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของทุกคนเพื่อให้อยู่รอดและแข่งขันได้ในโลกทำงานยุคดิจิทัล

 

]]>
1268063