“มิเนะกุจิ ฮิเดกิ” ประธานสายการบิน แอร์เจแปน (AirJapan) ในเครือ ANA Holdings แถลงเปิดตัวสายการบินและรายละเอียดก่อนการบินเที่ยวปฐมฤกษ์อย่างเป็นทางการ
โดย AirJapan ถือเป็นสายการบินโลว์คอสต์ (LCC) ขณะนี้เปิดตัวเส้นทางแรกที่จะทำการบินคือ “กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) – โตเกียว (นาริตะ)” วางกำหนดเที่ยวบินปฐมฤกษ์ 10 กุมภาพันธ์ 2567 ระยะแรกจะทำการบิน 6 เที่ยวบินต่อสัปดาห์
เครื่องบินที่ใช้จะเป็น Boeing 787-8 จำนวน 324 ที่นั่ง เป็นที่นั้งชั้นประหยัดทั้งหมด แต่มีให้เลือกแพ็กเกจในการจองตั๋วโดยสารเป็น 3 ระดับ ได้แก่
ฮิเดกิกล่าวต่อว่า ก่อนหน้านี้ ANA Holdings มีสายการบินในเครือที่เป็นโลว์คอสต์อยู่ก่อนแล้วคือ Peach Air ซึ่งจับกลุ่มตลาดบินระยะใกล้ เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน ฮ่องกง รวมถึงทำการบินเข้าไทยในเส้นทาง กรุงเทพฯ – โอซาก้า และ กรุงเทพฯ – โอกินาว่า ด้วย
ส่วนการเปิดตัว AirJapan เป็นสายการบินโลว์คอสต์แห่งที่สองในเครือ ฮิเดกิมองว่าจะเข้ามาเติมช่องว่างตลาดโลว์คอสต์ในการบินระยะกลางและระยะไกล โดยบริษัทเลือกเปิดเส้นทางไทย-ญี่ปุ่นก่อนเพราะนักท่องเที่ยวชาวไทยนั้นเป็นกลุ่มสัญชาติที่เข้าสู่ญี่ปุ่นมากเป็นอันดับ 6
ฮิเดกิตั้งเป้าว่า AirJapan จะมีอัตราผู้โดยสารต่อเที่ยว (Load Factor) แตะ 80% ได้ตั้งแต่ช่วงแรกที่เปิดตัว เนื่องจากกระแสการท่องเที่ยวของชาวไทยไปญี่ปุ่นกลับมาเติบโตขึ้นเรื่อยๆ หลังเปิดพรมแดน
คาดว่าสัดส่วนผู้โดยสารบนเครื่องจะเป็นชาวไทย 70% และชาวญี่ปุ่น 30% เหตุที่คนไทยน่าจะมีสัดส่วนมากกว่า เพราะฝั่งชาวญี่ปุ่นเองยังไม่นิยมออกท่องเที่ยวต่างประเทศมากนักจากปัญหาค่าเงินเยนอ่อนตัว ทำให้การเที่ยวต่างประเทศจะมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น
สำหรับแผนในอนาคตของ AirJapan ฮิเดกิแย้มว่าจะมีการเพิ่มเส้นทางกรุงเทพฯ กับภูมิภาคคันไซของญี่ปุ่น และจะเชื่อมเส้นทางโตเกียวเข้ากับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียนต่อไป
ตลาดการแข่งขันโลว์คอสต์ในเส้นทางไทย-ญี่ปุ่นนั้นเข้มข้นขึ้นหลังโควิด-19 เพราะเดิมสายการบินที่ครองตลาดกลุ่มนี้คือ “ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์” ซึ่งมี 3 เส้นทางบิน คือ กรุงเทพฯ – โตเกียว, กรุงเทพฯ – โอซาก้า และ กรุงเทพฯ – ซับโปโร
แต่หลังจากผ่านโควิด-19 มีสายการบิน LCC อื่นเปิดบินตรงมากขึ้น เช่น “ไทยเวียตเจ็ท” เปิดเส้นทาง กรุงเทพฯ – ฟุกุโอกะ และ เชียงใหม่ – โอซาก้า รวมถึงสายการบินญี่ปุ่น “ZIPAIR” ในเครือ Japan Airlines (JAL) ก็เริ่มเปิดเส้นทาง กรุงเทพฯ – โตเกียว มาตั้งแต่ปี 2563
หากมองในแง่สัญชาติของสายการบิน จึงทำให้ AirJapan เป็นการชนตลาดกับคู่แข่งทางตรงคือ ZIPAIR
ฮิเดกิกล่าวถึงประเด็นการแข่งขันที่เข้มข้นนี้ว่า เขาเชื่อว่าแม้ตลาดจะแข่งขันสูงแต่ดีมานด์ก็สูงด้วยเช่นกัน เพราะญี่ปุ่นยังคงเป็นประเทศยอดนิยมของนักท่องเที่ยวไทย และ AirJapan จะแข่งขันด้วย 3 ไฮไลต์สำคัญ คือ
1.ความกว้างของพื้นที่วางขา (Leg Room) กว้าง 31.6 นิ้ว (*ถือเป็นความกว้างที่ใกล้เคียงกับสายการบินฟูลเซอร์วิสซึ่งมักจะมี Leg Room กว้าง 32-34 นิ้ว)
2.อาหารเสิร์ฟระหว่างเที่ยวบิน มีให้เลือกถึง 13 รายการ เช่น ชุดปลาแซลมอนย่าง ชุดซูชิโอมากาเสะ ชุดข้าวสวยพร้อมไก่ย่างถ่านและไข่นุ่ม
3.การบริการที่ใส่ใจและปราณีตในแบบชาวญี่ปุ่น
“การท่องเที่ยวระหว่างไทย–ญี่ปุ่นจะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน เป็นตลาดที่กำลังเติบโตและเราจะโตไปพร้อมกับตลาด เชื่อว่าเราสามารถแข่งขันในเส้นทางนี้ได้” ฮิเดกิกล่าวปิดท้าย
]]>Shingo Nishida ประธานของสายการบินมองว่า “บางคนอาจรู้สึกแบบนั้น (เมื่อเห็นโลโก้ของสายการบินนั้นไปตรงกับโลโก้ Z ที่รัสเซียใช้) โดยไม่มีคำอธิบายใดๆ จากสายการบิน”
สำหรับโลโก้ใหม่ที่สายการบินจะเป็นดีไซน์ในรูปแบบเรขาคณิต โดยมีการใช้สีเขียว สีดำ และสีขาว ซึ่งเป็นสีประจำสายการบินราคาประหยัดรายนี้มาประกอบกันด้วย
สายการบินราคาประหยัดรายนี้เป็นบริษัทลูกของ Japan Airlines ที่เน้นบินเส้นทางที่ได้รับความนิยมสูง เช่น กรุงเทพฯ โซล สิงคโปร์ โฮโนลูลู (เกาะฮาวาย) เป็นต้น โดยใช้เครื่องบิน Boeing รุ่น 787 จำนวน 4 ลำ
ที่มา – RTE
]]>เนื่องจากมีการจำกัดเที่ยวบินของผู้โดยสารที่เดินทางเข้าประเทศไทยจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ผู้โดยสารจะสามารถเดินทางได้เฉพาะเที่ยวบินจากกรุงเทพฯ ไปยังนาริตะเท่านั้น
[เที่ยวบินบรรทุกสินค้า] นาริตะ (NRT) – กรุงเทพฯ (BKK) | ZG51 | ออกจากนาริตะ 16.40 น. ถึงกรุงเทพฯ 22.00 น. | บินทุกวัน อ. พ. พฤ. ศ. ส. อา.
[เที่ยวบินสำหรับผู้โดยสาร] กรุงเทพฯ (BKK) – นาริตะ (NRT) | ZG52 | ออกจากกรุงเทพฯ 23.30 น. ถึงนาริตะ 7.15 น. (+1) | บินทุกวัน พ. พฤ. ศ. ส. อา.
*ตารางเที่ยวบินขึ้นอยู่กับการอนุมัติของรัฐบาล
ค่าโดยสารแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่ “ZIP Full-Flat Value” ซึ่งเป็นตั๋วที่นั่งเกรดพรีเมียม และ “Standard Value” เป็นตั๋วที่นั่งแบบธรรมดา โดยในส่วนของ “Standard Value” จะมี “U6 Standard Value” สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี ซึ่งมีอัตราค่าโดยสารแบบเที่ยวเดียวอยู่ที่ 1,600 บาท เพื่อให้เด็กทุกคนรวมถึงทารกที่อายุต่ำกว่า 2 ปีมีที่นั่งเป็นของตนเอง
ระยะเวลา: 28 ตุลาคม – 29 พฤศจิกายน 2563
ZIP Full-Flat Value
Standard Value
U6 Standard Value
– นอกเหนือจากค่าโดยสารแล้ว ผู้โดยสารจำเป็นต้องชำระค่าธรรมเนียมสนามบิน และค่าภาษีด้วย
– ค่าโดยสารรวมสัมภาระถือขึ้นเครื่องน้ำหนักไม่เกิน 7 กก.
– มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมสำหรับการสั่งอาหาร การตรวจสอบสัมภาระ และการเลือกที่นั่งล่วงหน้า
– ค่าโดยสารอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับจำนวนที่นั่งที่เหลืออยู่
*กำหนดการจำหน่ายตั๋วโดยสารและราคาตั๋วเครื่องบินสำหรับการเดินทางหลังวันที่ 27 พฤศจิกายน จะมีการแจ้งให้ทราบหลังจากที่มีการกำหนดแน่นอนแล้ว
กรณีซื้อตั๋วที่ ZIPAIR Contact Center จะมีการคิดค่าธรรมเนียมต่อคน/ที่นั่ง รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดตรวจสอบที่เว็บไซต์ของ ZIPAIR
วันที่ 19 ตุลาคม เวลา 13.00 น. สำหรับเที่ยวบินระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม – 29 พฤศจิกายน 2563
สายการบิน ZIPAIR ใช้เครื่องบิน Boeing 787-8 ภายในตกแต่งแบบเรียบง่ายด้วยสีดำตัดเทา ที่นั่งแต่ละที่มาพร้อมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบครัน
บริการที่น่าสนใจของ ZIPAIR
ผู้โดยสารที่มากับเด็กอายุ 0-6 ปี สามารถใช้บริการ “U6” ได้ เพื่อความเพลิดเพลินในการเดินทางบนท้องฟ้า โดยทางสายการบินได้เตรียมค่าโดยสารแบบ “U6 Standard” ราคาย่อมเยาสำหรับผู้โดยสารอายุไม่เกิน 6 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับค่าโดยสารในราคาปกติแล้ว เป็นราคาที่สามารถซื้อได้อย่างสบาย
ZIPAIR มาพร้อมบริการเช็กอินอัตโนมัติเพื่อให้ผู้โดยสารขึ้นเครื่องได้อย่างสะดวกสบาย โดยสำหรับผู้โดยสารที่ซื้อตั๋วโดยสารเรียบร้อยแล้วนั้น ระบบจะทำการเช็กอินให้โดยอัตโนมัติก่อนถึงเวลาเครื่องบินออก 24 ชั่วโมง หลังจากระบบทำการเช็กอินอัตโนมัติแล้วบัตรโดยสารขึ้นเครื่อง (Boarding Pass) จะถูกส่งไปยังอีเมลที่ผู้โดยสารได้ลงทะเบียนไว้ตอนจอง นับเป็นระบบที่ช่วยให้ผู้โดยสารไม่ต้องเร่งรีบเดินทางมายังสนามบินเพื่อเช็กอิน ไม่ต้องต่อแถวนาน และเริ่มต้นการเดินทางได้อย่างราบรื่นกว่าที่เคย
เนื่องจากตอนนี้ทาง ZIPAIR ให้บริการเฉพาะเที่ยวบินจากกรุงเทพฯ ไปยังนาริตะเท่านั้น เที่ยวบินนี้จึงเหมาะสำหรับนักเรียน นักศึกษา พนักงานบริษัท หรือผู้ที่มีแผนจะเดินทางไปพำนักที่ญี่ปุ่นในระยะยาว สำหรับรายละเอียดเที่ยวบินอื่นๆ ในอนาคต โปรดรอติดตามต่อไป
]]>