โครงการ WISDOM™ ของบอสตันไซเอนทิฟิค เพื่อการศึกษาผลลัพธ์ด้านบวก ในผู้ป่วยโรคหัวใจ

กรุงเทพมหานคร – จากข้อมูลใหม่ล่าสุดซึ่งมาจากโครงการ WISDOM™ ของ บริษัทบอสตันไซเอนทิฟิคแสดงว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจที่รับการใส่ขดลวดขยายหลอดเลือดชนิดเคลือบด้วยยานี้ มีอัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำอีกครั้ง (TLR) ต่ำกว่าการใช้ขดลวดแบบไม่เคลือบยา โดยได้มีการทดลองใน 9 ประเทศทั่วโลก สำหรับประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นตัวแทนประเทศจากแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นได้รับความสนใจอย่างมาก โดยวัดจากการที่มีผู้สมัครเข้ารับการรักษาสูงที่สุด ซึ่งผลการรักษาในช่วงระยะ 6 เดือน แสดงให้เห็นถึงอัตราการกลับมาตีบซ้ำของหลอดเลือด (หลอดเลือดที่ตีบลงมีสาเหตุมาจากการเติบโตขึ้นใหม่ของเนื้อเยื่อภายในเส้นเลือด) ที่ลดลงอย่างมาก และที่สำคัญมากไปกว่านั้นก็คือ ผลดังกล่าวยังแสดงให้เห็นถึงอัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำสองลดลง

น.พ. ดำรัส ตรีสุโกศล หัวหน้าห้องสวนหัวใจ โรงพยาบาลศิริราช กล่าวว่า “โดยปรกติแล้ว การนำเอาขดลวดขยายหลอดเลือด หรือ Stent เข้าสู่ร่างกาย จะมีผลทำให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณภายในของเส้นโลหิตแดง และปฏิกิริยาตามธรรมชาติของร่างกายก็จะทำการซ่อมแซมตัวของมันเอง โดยการสร้างเซลใหม่ที่แข็งแรงกว่าขึ้นมาในบริเวณที่เกิดการบาดเจ็บ ในหลายกรณี ปฏิกิริยานี้จะนำมาซึ่งการตีบตันของเส้นโลหิตแดงอีกครั้ง ทำให้ผู้ป่วยต้องกลับมาทำการรักษาซ้ำอีก แต่จากโครงการ WISDOM? ทำให้ตอนนี้เรามีข้อมูลที่พิสูจน์แล้วว่า ขดลวดขยายหลอดเลือดแบบใหม่นี้สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อภายในเส้นเลือด อันเป็นสาเหตุของการกลับมาตีบตันได้อย่างแท้จริง นี่คือความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงอย่างเช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งคิดเป็นราว 40 % ของจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจที่เกิดสภาวะแทรกซ้อน และในอดีตเคยมีอัตราการตีบซ้ำของเส้นโลหิตที่สูงกว่าในอดีต”

ในการเปิดตัวขดลวดแบบใหม่ในตลาดราวต้นปีที่ผ่านมา มีผู้ป่วยราว 3,300 คน ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีขดลวดขยายหลอดเลือดชนิดเคลือบยานี้ และในประเทศไทยเองก็ได้มีการนำขดลวดชนิดใหม่นี้มาใช้แล้วตั้งแต่เดือนมีนาคม 2546 โดยนำมาใช้ในผู้ป่วยเกือบ 700 ร้อยคน ข้อมูลที่ได้จากการติดตามผลของผู้ป่วยมีความสอดคล้องกับผลการทดลองที่ได้ทำการทดลองมาแล้วทั่วโลก โดยผลล่าสุดนั้นได้นำเสนอไปแล้วเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาในประเทศสหรัฐอเมริกา

ดร. สตีเฟ่น ฟอร์ท นายแพทย์ผู้อำนวยการของ Cardiac Catheterization Laboratories แห่ง Queen Elizabeth II Health Sciences Center ในฮาลิแฟกซ์ ประเทศคานาดา กล่าวว่า“สิ่งที่ค้นพบจากการศึกษา Taxus IV เป็นการยืนยันผลทางการแพทย์ ของเทคโนโลยีขดลวดขยายหลอดเลือดชนิดเคลือบด้วยยา Paclitaxel” ดร. สตีเฟ่นยังกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า “อัตราของ MACE โดยเฉพาะอัตราของ TLR ที่มีเพียง 3% นั้นเป็นตัวเลขที่น่าประทับใจมาก ในกรณีของการทดลองที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก และมีความซับซ้อนของโรค ทำให้ทั้งแพทย์และผู้ป่วย ได้รับประโยชน์อย่างสูงจากเทคโนโลยีใหม่นี้”

การทดลองในคลีนิคก่อนหน้านี้ได้ถูกจัดขึ้นที่ศูนย์โรคหัวใจแห่งชาติของประเทศสิงคโปร์ โดยมีผู้ป่วยจำนวน 536 คน ได้เข้าร่วมในการทดลองแบบสุ่ม ที่ทั้งแพทย์และผู้ป่วยที่ร่วมโครงการไม่ทราบชนิดของอุปกรณ์ ในหลาย ๆ ศูนย์โรคหัวใจก็มีการศึกษาในระดับนานาชาติ เพื่อประเมินผลด้านความปลอดภัย และประสิทธิผลของขดลวดขยายหลอดเลือดในการลดอัตราการกลับมาตีบซ้ำของหลอดเลือดหัวใจ จากผลการทดลองได้รับการเผยแพร่ในเดือนกันยายน พ.ศ.2545 ได้แสดงให้เห็นอย่างมั่นใจถึงระดับความปลอดภัย และประสิทธิผลในการลดอัตราการกลับมาตีบซ้ำของหลอดเลือดของหัวใจ

เทคโนโลยีใหม่ในการเคลือบยาบนขดลวดโดยใช้โพลีเมอร์ ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินของบริษัทบอสตัน ไซเอนทิฟิคนี้ สามารถลดอัตราการกลับมาตีบซ้ำของหลอดเลือด ซึ่งก็คือการเติบโตของเนื้อเยื่อในส่วนภายในสุดของหลอดเลือดหลังจากผ่านการศัลยกรรมของหลอดเลือด โดยทั่วไปแล้วการขยายหลอดเลือดโดยขดลวดด้วยโลหะธรรมดา จะมีการกลับมาตีบใหม่อีกครั้งประมาณ 15-30% และอาจจะสูงถึง 50% ในบางกรณีที่มีอาการซับซ้อน ทำให้ผู้ป่วยต้องกลับเข้ารับการรักษาเพื่อเปิดหลอดเลือดแดงอีกครั้งหากมีความจำเป็น

มร. ไมเคิล กลินน์ รองประธานและผู้จัดการทั่วไปของบอสตัน ไซเอนทิฟิค ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก กล่าวว่า “เรามีความมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า นี่คือส่วนประกอบที่ถูกต้องในการสร้างระบบการนำเครื่องมือไปยังตำแหน่งของโรค โดยใช้ขดลวดขยายหลอดเลือดที่เหมาะสม โพลีเมอร์ที่ถูกต้อง และยาที่ถูกต้อง ในปริมาณที่เหมาะสม ทำให้ขดลวดขยายหลอดเลือดชนิดเคลือบด้วยยานี้ เป็นเครื่องมือที่ไม่มีสิ่งใดมาเทียบได้ในการต่อสู้กับโรคหลอดเลือดหัวใจ ผู้ที่มีชัยอย่างแท้จริงคือผู้ป่วยนับพันนับหมื่นทั้งหลาย ที่จะได้รับประโยชน์จากการเข้ารับการรักษาด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดนี้” ขดลวดชนิดนี้อยู่ในระหว่างการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา

โรคหลอดเลือดหัวใจ ส่งผลกระทบแก่ประชากรกว่า 4,500 คนในประเทศไทยในทุก ๆ ปี และเป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตสูงสุดเป็นอันดับสอง จากจำนวนผู้ป่วยกว่า 15 % ในทุก ๆ ปี

น.พ. วศิน พุทธารี หัวหน้าห้องสวนหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า “โรคหลอดเลือดหัวใจ เกิดขึ้นเมื่อผนังส่วนในของหลอดเลือดเกิดการหนาตัว อันเนื่องจากการก่อตัวของคลอเรสเตอรอล ไขมัน แคลเซี่ยม และสารอื่นๆ ที่อยู่ในเลือด ในขณะที่การก่อตัวเกิดขึ้น หลอดเลือดเกิดการตีบ และเลือดที่ไหลไปเลี้ยงหัวใจถูกจำกัด ด้วยเหตุนี้ ผนังของเส้นเลือดแดงหนาตัวขึ้น อาจเป็นเหตุก่อให้เกิดการปวดที่หน้าอก หรือหัวใจวาย การศัลยกรรมหลอดเลือดหรือการขยายหลอดเลือด นับเป็นทางเลือกนอกจากการผ่าตัดแบบบายพาส ซึ่งนับว่าเป็นขั้นตอนการผ่าตัดที่ใหญ่ เสียค่าใช้จ่ายสูง และใช้ระยะการพักฟื้นไข้ที่ยาวนานกว่า”

บริษัทบอสตัน ไซเอนทิฟิค เป็นนักพัฒนา ผู้ผลิต และผู้วางตลาดเครื่องมือแพทย์ ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ระดับโลกของบริษัท ได้ถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์อย่างกว้างขวาง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเยี่ยมชมที่ www.bostonscientific.com.

ข่าวประชาสัมพันธ์นี้บางส่วนประกอบด้วยข้อมูลที่เป็นการคาดการณ์จากข้อมูลที่มีในอดีต บริษัทฯ หวังเตือนให้ผู้อ่านใช้
วิจารณญาณในการอ่านข่าวประชาสัมพันธ์นี้ ซึ่งผลลัพธ์จริงอาจแตกต่างไปจากข้อมูลที่เคยคาดการณ์ไว้ และอาจจะมีผลกระทบจากสิ่งอื่นๆ ได้แก่ ความเสี่ยง การทดลองต่าง ๆ ทางการแพทย์ ขั้นตอนการอนุมัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของการใช้เครื่องมือ การพาณิชย์ของเทคโนโลยีใหม่นี้ ทรัพย์สินทางปัญญา และปัจจัยอื่นๆ ที่ได้รับการอธิบายในเอกสารที่ได้รับการเสนอต่อกรรมาธิการควบคุมการค้าหุ้นของสหรัฐอเมริกาแล้ว

ภาคผนวก 1

การทดลอง TAXUS? IV ซึ่งมีผู้สมัครเข้ารับการรักษา 1,326 คน ในสถานที่ทดลองต่าง ๆ 73 แห่งในสหรัฐอเมริกา เพื่อประเมินผลในด้านความปลอดภัย และประสิทธิผลของขดลวดขยายหลอดเลือดชนิดเคลือบด้วยยา Paclitaxel ที่ใช้สูตรออกฤทธิ์ช้า

การทดลองที่สำคัญยิ่งในครั้งนี้ใช้วิธีการแบบสุ่ม ที่ผู้ป่วยและแพทย์ไม่ทราบชนิดของอุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษา ซึ่งถูกออกแบบเพื่อประเมินผลในด้านความปลอดภัย และประสิทธิผลของระบบขดลวดขยายหลอดเลือดหัวใจที่เคลือบด้วยสารPaclitaxel เพื่อลดภาวะการกลับมาตีบซ้ำของเส้นโลหิตของหัวใจ ที่ตีบเป็นขนาดยาว 10-28 มม. และเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 2.5-3.75 มม. การศึกษาในครั้งนี้ใช้ระบบขดลวดชนิดเคลือบยาของ บริษัท บอสตัน ไซเอนทิฟิค ซึ่งสามารถนำเครื่องมือไปยังตำแหน่งของโรคได้ดีมาก และสามารถรักษาผนังเส้นโลหิตมิให้หดตัวกลับได้อย่างดีเยี่ยม

การลดอัตราการรักษาซ้ำ (Reduced Revascularization Retreatment Rates)

การศึกษาครั้งนี้ให้ผลในด้าน Tartget Lesion Revascularization (TLR) หรือ ให้อัตราการกลับมารักษาซ้ำอยู่ที่ 3.0% ในกลุ่มที่ใช้ขดลวดชนิดเคลือบยา เมื่อเทียบกับ 11.3% ของกลุ่มควบคุม TLR เป็นตัววัดที่มีความถูกต้องมากที่สุดในการวัดประสิทธิภาพของเทคโนโลยีการขยายหลอดเลือดด้วยขดลวด ข้อสรุปเบื้องต้นของการศึกษาในครั้งนี้อยู่ที่การขยายหลอดเลือดเป้าหมายอีกครั้ง (Target Vessel Revascularization: TVR) โดยอัตราของ TVR อยู่ที่ 4.7% ในกลุ่มที่ใส่ขดลวด ชนิดเคลือบยา ซึ่งลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ซึ่งอยู่ที่ 12.0% ที่ใช้ขดลวดชนิดโลหะธรรมดา

อัตราของภาวะตีบซ้ำของหลอดเลือด (Exceptional Restenosis Rates)

การศึกษานี้แสดงว่าอัตรการกลับมาตีบซ้ำภายในขดลวดรวมถึงด้านหัวและด้านท้ายของกลุ่มที่ใส่ขดลวดเคลือบยามีค่าประมาณ 7.9% ส่วนกลุ่มควบคุมที่ใช้ขดลวดธรรมดามีค่าถึง 26.6% และการทดลองแสดงให้เห็นว่าอัตราการตีบซ้ำจำเพาะในขดลวดของกลุ่มที่ใส่ขดลวดเคลือบยามีค่าประมาณ 5.5% ส่วนกลุ่มที่ใช้ขดลวดธรรมดามีค่า 24.4% นอกจากนี้การทดลองแสดงให้เห็นผลที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนหลังจากการทดสอบโดยการฉีดสี

ประสิทธิผลสูงสุดในผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน (Highly Effective in Diabetic Patients)

ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 40 โดยประมาณของผู้เข้ารับการขยายหลอดเลือด จะเป็นผู้ป่วยที่จะประสบภาวะการกลับมาตีบซ้ำของเส้นโลหิตสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน หลังจากผ่านการศัลยกรรมของหลอดเลือด และการขยายหลอดเลือดด้วยขดลวดโลหะ แต่ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานที่ใช้ขดลวดชนิดเคลือบยา จะมีอัตราการตีบซ้ำของหลอดเลือด (ร้อยละ 6.4) ที่ใกล้เคียงกับกลุ่มประชากรรวม ที่ใช้ขดลวดชนิดเคลือบยา (ร้อยละ 7.9) ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานนับเป็นจำนวนร้อยละ 24 ของจำนวนผู้ป่วยรวม (318 รายจากผู้ป่วยที่สามารถ ประเมินผลได้จำนวน 1,314 คน) โดยอัตรา TLR สำหรับประชากรกลุ่มย่อยที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานในกลุ่มที่ใช้ขดลวดชนิดเคลือบยา อยู่ที่ร้อยละ 5.2 ดังนั้น ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน จะได้รับประโยชน์อย่างสูงจากเทคโนโลยีการขยายโพรงของหลอดเลือดที่มีการเคลือบด้วยยานี้

อัตราที่ต่ำของ MACE (Low MACE rates)

ผลลัพธ์ที่ได้แสดงถึงความปลอดภัยที่เห็นได้จากอัตราที่ค่อนข้างต่ำของ Major Adverse Cardiac Events (MACE) ซึ่งรวมถึงการเสียชีวิต การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเพราะหลอดเลือดหัวใจอุดตัน (MI; Q-wave and non-Q-wave) และการขยายหลอดเลือดอีกครั้ง การศึกษาให้ผลลัพธ์ในอัตราของ MACE อยู่ที่ร้อยละ 8.5 ในเวลา 9 เดือนของกลุ่มที่ใช้ drug-eluting stent เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 15.0 โดยอัตราที่ลดลงนี้เป็นผลจากอัตราของ TLR (การรักษาซ้ำอีกครั้ง) ที่ลดลงในกลุ่มที่ใช้ขดลวดชนิดเคลือบยา เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกเหนือจากนี้ อัตราการเกิดลิ่มเลือดในขดลวด ในกลุ่มที่ใช้ขดลวดชนิดเคลือบยา และกลุ่มควบคุมมีผลคล้ายกัน (ผู้ป่วยร้อยละ 0.6 หรือ 4/662 ในกลุ่มที่ใช้ drug-eluting stent เมื่อเทียบกับผู้ป่วยร้อยละ 0.8 หรือ 5/652 ในกลุ่มควบคุม) เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความปลอดภัยที่สามารถเปรียบเทียบได้ระหว่างการขยายหลอดเลือดด้วยการใช้ขดลวดที่เคลือบด้วยยาและที่ใช้ขดลวดโลหะธรรมดา