มาสเตอร์การ์ด อินเด็กซ์ ชี้วัดความมั่นใจผู้บริโภคในเอเชียสดใส

กรุงเทพฯ 18 กรกฎาคม 2548 – มาสเตอร์การ์ดประกาศดรรชนีชี้วัดความมั่นใจผู้บริโภค (MasterIndex of Consumer Confidence) ล่าสุดครึ่งปีหลัง 48 ว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคงมั่นใจตลาดเอเชียแปซิฟิก อีกหกเดือนข้างหน้ายังสดใส แม้สภาวะเศรษฐกิจสั่นคลอน

ดร. ยุวะ เฮ็นเดร็ก-หว่อง ที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจ มาสเตอร์การ์ด อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกล่าวว่า “ผู้บริโภคมั่นใจอีก 6 เดือนข้างหน้า ตลาดในเอเชียแปซิฟิกยังคงสดใส โดยให้ความเห็นว่า ตลาดยังดีอยู่มากเมื่อเทียบกับสภาพทางเศรษฐกิจในระยะนี้ ทั้งเรื่องผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น เศรษฐกิจใน ยุโรปชะลอตัว อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น และสภาพตลาดหุ้นที่ผันผวน“

“แน่นอนว่า อัตราการจ้างงาน และรายได้ที่มั่นคง และสูงขึ้น เป็นปัจจัยหลักที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค โดยเฉพาะตลาดในฮ่องกง ขณะที่ผู้บริโภคชาวเกาหลีมองตลาดในแง่ดีขึ้น ระดับของความมั่นใจของผู้บริโภคในออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์กลับลดลง นั่นแสดงให้เห็นความแตกต่างของวงจรเศรษฐกิจแต่ละประเทศ และการมองตลาดที่ต่างกันในภูมิภาค และเป็นไปได้สูงว่าในอนาคตสภาพเศรษฐกิจจะซับซ้อนมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ปี 2548 การที่ผู้บริโภคยังคงมองตลาดในแง่ดี จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมค้าปลีก การท่องเที่ยว และการบริโภคในครัวเรือน

จาก 13 ตลาดที่ได้ทำการสำรวจ มีถึง 10 ประเทศ ที่ดรรชนีชี้วัดแสดงผลออกมาในแง่บวก โดยสองอันดับแรกที่ผู้บริโภคมีความมั่นใจในตลาดมากสุด ตามมาด้วยจีน อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย เกาหลี ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

การสำรวจครั้งนี้ซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 3 ถึง 29 พฤษภาคมที่ผ่านมา ได้สำรวจความคิดเห็นจากผู้บริโภคกว่า 5,440 คน จาก 13 ตลาดหลักในเอเชียแปซิฟิก ทั้งนี้การสำรวจความมั่นใจผู้บริโภคจะวัดจาก 5 ด้าน ได้แก่ การจ้างงาน สภาพเศรษฐกิจ รายได้ประจำ สภาพตลาดหุ้น และคุณภาพของชีวิต โดยผู้ตอบจะต้องตอบแบบสอบถามที่สำรวจความคิดเห็น 5 ด้าน ดังกล่าวมาข้างต้น ผลการประเมินมีดังต่อไปนี้

•เวียดนาม ผู้บริโภคมีความมั่นใจสูงสุดในภูมิภาคด้วยคะแนนสูงถึง 92.1 สูงกว่าหกเดือนก่อนที่เคยทำไว้ 90.8 คะแนน
•ฮ่องกง สูงแตะระดับ 85.5 ผู้บริโภคมีความมั่นใจสูงขึ้นอย่างเด่นชัด เมื่อเทียบกับครึ่งปีหลัง 2546 ที่คะแนนต่ำอยู่ที่ 23.2 และอยู่ในเกณฑ์ต่ำตั้งแต่ปี 2544 ถึง 2545
•จีน แตะระดับ 82 .3 แสดงว่าผู้บริโภคมีความมั่นใจในตลาดมากกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ยกเว้นด้านตลาดหุ้นที่ส่อแววไม่มั่นใจมากนัก
•อินโดนีเชีย มองสภาพตลาดในเกณฑ์ดีพอใช้อยู่ที่ 70.8 แม้ว่าความมั่นใจของผู้บริโภคจะลดลงจากเดิมที่สูงถึง 94.7 ทั้งนี้ด้านที่ยังไม่มั่นใจได้แก่ คุณภาพชีวิต การจ้างงาน สภาวะเศรษฐกิจ และตลาดหุ้น
•ไทย ได้คะแนนสูงขึ้นแตะ 60.4 เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกซึ่งอยู่ที่ 59.4 ผู้บริโภคไทยมองว่าคุณภาพชีวิต การจ้างงาน ตลาดหุ้น สภาพเศรษฐกิจโดยรวม และรายได้ประจำจะมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ผู้บริโภคได้แสดงถึงความมั่นใจมากขึ้นในเรื่องการจ้างงาน ซึ่งมีคะแนน 57.7 เมื่อเทียบกับ 52.5 ครั้งก่อน สำหรับสภาพเศรษฐกิจยังคงอยู่ระดับพอใช้ที่ 54.2 เมื่อเทียบกับคะแนน 52.6 ครั้งก่อน มุมมองตลาดหุ้นดีขึ้นเล็กน้อยที่ 59.8 เมื่อเทียบกับ 56.6 ครั้งก่อน มีเพียงด้านคุณภาพชีวิตเท่านั้นที่ความมั่นใจลดลงเหลือ 55.3 จากเดิม 59.9 ครั้งก่อน
•เกาหลี เรียกความมั่นใจกลับคืนมาได้สูงขึ้นมากเมื่อเปรียบเทียบกับครึ่งปีแรก 2548 ทั้งนี้ผู้บริโภคให้ความเห็นว่าสภาพเศรษฐกิจ ตลาดหุ้น รายได้ประจำ คุณภาพชีวิต มีการเติบโตอย่างมาก ยกเว้นด้านการจ้างงาน ที่ยังไม่มั่นใจนัก
•ญี่ปุ่น มีระดับคะแนนที่น่าพอใจที่ 45.4 เรียกความมั่นใจกลับขึ้นมาได้ดีทีเดียว ความมั่นใจเกี่ยวกับตลาดหุ้นดีขึ้นจากเดิม 53.5 เป็น 54.7 ส่วนสภาพเศรษฐกิจดีขึ้นเช่นกันจาก 36.9 เป็น 44.0 รายได้ประจำจาก 30.7 เป็น 44.6 มีเพียงด้านคุณภาพชีวิตเท่านั้นทีคะแนนยังคงต่ำจากเดิม 21.8 เป็น 34.4
•ออสเตรเลีย คะแนนลดระดับลงมาต่อเนื่องที่ 56.5 ต่ำกว่าครั้งก่อนซึ่งอยู่ที่คะแนน 61.5 และปีก่อนที่ 63.4
•มาเลเซีย คะแนนลดลงเช่นกันเหลือ 61.4 จากครั้งก่อน 78.0
•นิวซีแลนด์ ความมั่นใจผู้บริโภคยังอยู่ในเกณฑ์ดีเล็กน้อยอยู่ที่ 52.5 ลดลงจากครั้งก่อนซึ่งทำคะแนนไว้ ถึง 68.6
•ฟิลิปปินส์ ผู้บริโภคยังคงไม่ค่อยมั่นใจกับตลาด จากเดิม 33.7 เหลือเพียง 28.9 โดยแสดงความไม่มั่นใจเรื่องการจ้างงาน จากเดิม 23.6 เหลือ 14.9 ดารเศรษฐกิจจากเดิม 31.7 เหลือ 17.8 ด้านคุณภาพชีวิตจาก 25.0 เหลือ 21.0 ซึ่งถือได้ว่าเป๋นเกณฑ์คะแนนที่ต่ำสุดจากการสำรวจทั้งหมด
•สิงคโปร์ สภาพความมั่นใจผู้บริโภคดีขึ้นกว่าครั้งก่อน จากเดิม 58.7 เพิ่มขึ้นเป็น 69.7 โดยด้านที่มีความมั่นใจมากขึ้นคือคุณภาพชีวิต จากเดิม 47.7 เพิ่มเป็น 74.0 รายได้ประจำจาก 55.4 เป็น 77.3 สภาพเศรษฐกิจทั่วไปจาก 67.2 เป็น 71.8 และตลาดหุ้นจากเดิม 58.3 เพิ่มเป็น 62.8
•ไต้หวัน ดรรชนีชี้วัดความมั่นใจผู้บริโภคคะแนนลดลงอยู่ที่ 38.6 จากเดิม 48.2 ทั้งนี้ผู้บริโภคยังคงไม่ค่อยมั่นใจกับตลาดทุกด้านทั้งด้านการจ้างงานจากเดิม 42.1 เหลือ 38.4 ด้านเศรษฐกิจ จากเดิม 48.9 เหลือ 38.4 รายได้ประจำ จากเดิม 69.1 ตกฮวบมาอยู่ที่ 39.8 ตลาดหุ้นจาก 45.1 ลดเหลือ 44.1 และคุณภาพชีวิตที่ลดเพียงเล็กน้อยจากเดิม 35.8 เหลือ 32.6

เกี่ยวกับ MasterIndex
ดรรชนีชี้วัดความมั่นใจผู้บริโภค หรือ MasterIndex of Consumer Confidence จัดทำขึ้นเป็นประจำทุกครึ่งปี เป็นระยะเวลากว่า 12 ปีครึ่งแล้ว โดยมีผู้ตอบรับการสำรวจกว่า 116,000 คน ในเอเชียแปซิฟิก ทั้งนี้จากการสำรวจความคิดเห็นด้านต่างๆ จะทำให้สามารถวัดระดับความมั่นใจของผู้บริโภคได้อย่างดีเยี่ยมและได้มาตรฐาน

ดรรชีชี้วัดความมั่นใจผู้บริโภค เป็นการสำรวจที่ให้ผลที่เข้าใจง่าย และมีการจัดทำขึ้นอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน การสำรวจนี้สามารถประเมินผลได้อย่างแม่นยำโดยวัดจากปัจจัยสำคัญต่างๆ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงระดับความมั่นใจของผู้บริโภค เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2540 ดรรชนีชี้วัดความมั่นใจผู้บริโภคประกาศผลสำรวจความมั่นใจผู้บริโภคในตลาดไทยต่ำลงโดยเฉพาะสภาพเศรษฐกิจ ก่อนที่จะเกิดการลดค่าเงินบาทในประเทศไทยเพียง 1 เดือนเท่านั้น ซึ่งก่อให้เกิดสภาวะเศรษฐกิจซบเซา นอกจากนี้ การคาดการณ์เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2546 ดรรชนีชี้วัดความมั่นใจผู้บริโภคในฮ่องกงในด้านการจ้างงานก็ลดลงมากไปอยู่ที่ 20.0 ต่อมาอัตราการว่างงานขึ้นถึงจุดสูงสุดในเดือนกันยายนปีเดียวกันที่ 8 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการคาดการณ์ และประเมินผลได้อย่างแม่นยำของดรรชนีชี้วัดความมั่นใจผู้บริโภคของมาสเตอร์การ์ด

การสำรวจดังกล่าวจัดทำขึ้นครั้งแรกช่วงไตรมาส 2 ของปี 2536 และจัดทำอย่างต่อเนื่องปีละ 2 ครั้ง โดยผู้เข้าร่วมมีทั้งหมด 13 ประเทศได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน เวียดนาม และไทย โดยการสำรวจครั้งล่าสุดจัดทำขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2548

ข้อมูลเกี่ยวกับมาสเตอร์การ์ดอินเตอร์เนชั่นแนล
มาสเตอร์การ์ด อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นบริษัทชั้นนำด้านโปรแกรมการชำระเงินระดับโลก ที่เสนอรูปแบบนวัตกรรมที่หลากหลายเพื่อสนับสนุนการบริการต่างๆมากมาย อาทิ บัตรเครดิต, การฝากเงิน, การเบิกเงินสดอิเล็คทรอนิค และการทำธุรกรรมทางการเงิน รวมไปถึงโปรแกรมการใช้จ่ายต่างๆ มาสเตอร์การ์ด อินเตอร์เนชั่นแนล จึงได้รับการยอมรับว่าแบรนด์การชำระเงินที่มีชื่อเสียงภายใต้โลโก้ MasterCard? Maestro? และ Cirrus? ทั้งยังให้บริการต่อสถาบันการเงิน ผู้บริโภค และองค์กรธุรกิจต่างๆกว่า 210 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ แคมเปญโฆษณา Priceless? ของมาสเตอร์การ์ดซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้เผยแพร่ไปแล้วกว่า 97 ประเทศ และดัดแปลงเป็นภาษาต่างๆถึง 47 ภาษา ทำให้มาสเตอร์การ์ดเป็นแบรนด์ที่สามารถเข้าถึงได้ทั่วทุกมุมโลกและครอบคลุมผุ้บริโภคทั่วโลกอย่างแท้จริง ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลของมาสเตอร์การ์ดได้ที่เว็บไซต์ www.mastercardinternational.com