“คอตตอน ยูเอสเอ” ขยายโครงการ “ซัพพลายเชนมาร์เก็ตติ้ง”

“คอตตอน ยูเอสเอ” เดินหน้าขยายความสำเร็จของกลยุทธ์ “ซัพพลายเชนมาร์เก็ตติ้ง” จากประเทศไทยสู่ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน หลังจากริเริ่มโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้ผู้ซื้อจากต่างประเทศที่มองหาแหล่งผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มคุณภาพสูงซึ่งผลิตจากฝ้ายสหรัฐอเมริกา ได้ทำความรู้จักกับผู้ประกอบการไทยที่เป็นไลเซนซีของ คอตตอน ยูเอสเอ และด้วยเสียงตอบรับที่ดีจากผู้ซื้อในต่างประเทศ คอตตอน ยูเอสเอ จึงขยายโครงการนี้สู่ประเทศต่างๆ ในอาเซียนซึ่งมีศักยภาพในการแข่งขันสูงในฐานะผู้ผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มคุณภาพที่ใช้ฝ้ายจากสหรัฐอเมริกาเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต

นายไกรภพ แพ่งสภา ตัวแทนคอตตอน ยูเอสเอ ประเทศไทย กล่าวว่าในปี 2553 ที่ผ่านมา คอตตอน ยูเอสเอ ได้ริเริ่มโครงการ “คอตตอน ยูเอสเอ ซัพพลายเชนมาร์เก็ตติ้ง” ขึ้นในประเทศไทย โดยร่วมกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอในไทยที่ใช้ฝ้ายจากสหรัฐอเมริกาเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตเส้นด้ายในสัดส่วนที่มากกว่า 50% และร่วมกันส่งเสริมผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในกลุ่มผู้ประกอบการโรงทอและผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มในภูมิภาคอาเซียนที่ต้องการซื้อเส้นด้ายคุณภาพจากประเทศไทยที่ใช้ฝ้ายจากสหรัฐอเมริกาเป็นวัตถุดิบหลัก โครงการนี้ช่วยสร้างโอกาสในการขยายธุรกิจและฐานลูกค้าให้กับผู้ผลิตสิ่งทอในประเทศไทย อาทิ จากกิจกรรม “2010 COTTON USA Yarn Buyers Tour to Thailand” ซึ่ง คอตตอน ยูเอสเอ ได้นำผู้ประกอบการจากต่างประเทศที่มีฐานการผลิตในเอเชียและต้องการซื้อเส้นด้าย ให้ได้พบปะกับผู้ประกอบการโรงปั่นฝ้าย 14 รายในประเทศไทยเมื่อเดือนธันวาคม 2553”

สำหรับในปีนี้ คอตตอน ยูเอสเอ ได้จัดกิจกรรมครั้งล่าสุดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา คือ “2011 COTTON USA Supply Chain Marketing Buyers Tour to Thailand” ซึ่งทาง คอตตอน ยูเอสเอ ได้นำผู้ซื้อ 27 รายที่เป็นตัวแทนจากแบรนด์และผู้ค้าปลีกระดับโลกจากสหรัฐอเมริกา ยุโรปและเอเชีย ร่วมเดินทางมายังประเทศไทย เพื่อพบปะกับกลุ่มผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีซัพพลายเออร์ที่เป็นไลเซนซีของ คอตตอน ยูเอสเอ รวมทั้งสิ้น 39 ราย จาก 5 ประเทศ เข้าร่วมนำเสนอสิ่งทอและเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูปคุณภาพดีที่ผลิตขึ้นจากฝ้ายสหรัฐอเมริกา กิจกรรมครั้งนี้ประกอบไปด้วยงานสัมมนาเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์และข้อได้เปรียบจากการสั่งซื้อจากซัพพลายเออร์ในประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจัดเป็นงานแสดงสินค้า 2 วัน พร้อมทั้งจัดให้มีการเยี่ยมชมโรงงานผู้ผลิตสิ่งทอและเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูปในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

กิจกรรมดังกล่าวเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อจากต่างประเทศได้พบกับผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานนี้อย่างครบถ้วน เนื่องจากซัพพลายเออร์ผลิตภัณฑ์เส้นด้าย ผ้าผืนและเครื่องนุ่งห่มทั้งชนิดถักและทอที่ทำจากฝ้ายในภูมิภาคอาเซียนได้มารวมตัวกันในงานซึ่งทาง คอตตอน ยูเอสเอ ได้จัดขึ้นนี้ เพื่อช่วยขจัดขั้นตอนและลดความยุ่งยากในการจัดซื้อ และยังเปิดโอกาสให้ผู้ค้าปลีก ผู้ผลิต และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมฝ้ายได้สร้างและกระชับความสัมพันธ์ทางธุรกิจกันในระยะยาว นอกจากนี้ทั้งโรงงานและผู้ผลิตในภูมิภาคอาเซียนยังได้ดำเนินการในเชิงรุก ประสานความร่วมมือระหว่างกันในรูปแบบพันธมิตร ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ความร่วมมือดังกล่าวยังจะส่งผลให้ผู้ประกอบการในภูมิภาคอาเซียนมีศักยภาพในการแข่งขันสูงยิ่งขึ้นอีกด้วย

ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมงานระบุว่า กิจกรรมนี้ช่วยเปิดพื้นที่ให้พวกเขาได้พบกับผู้ซื้อรายใหม่ๆ จากต่างประเทศ และยังช่วยกระชับความสัมพันธ์กับลูกค้าปัจจุบันให้แนบแน่นยิ่งขึ้น โดยผู้เข้าร่วมงานส่วนใหญ่มีความมั่นใจว่าการได้พบปะและติดต่อกับผู้ซื้อที่เดินทางมาในครั้งนี้จะพัฒนาเป็นความสัมพันธ์ทางธุรกิจและหนุนให้ยอดขายฝ้ายจากสหรัฐอเมริกาเพิ่มสูงขึ้นอย่างแน่นอน

นายไกรภพ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในปี 2554 นี้ คอตตอน ยูเอสเอ คาดว่าโครงการนี้จะช่วยเพิ่มจำนวนไลเซนซีขึ้นเป็นสองเท่า โดยเพิ่มจากปัจจุบันที่มีอยู่ 19 รายเป็น 40 ราย เนื่องจากโครงการได้ขยายขอบเขตให้ครอบคลุมโรงปั่นฝ้ายที่ใช้ฝ้ายจากสหรัฐอเมริกาเป็นวัตถุดิบหลักในประเทศต่างๆ ทั่วอาเซียน”

โครงการ “คอตตอน ยูเอสเอ ซัพพลายเชนมาร์เก็ตติ้ง” เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2543 โดย คอตตอน ยูเอสเอ ได้ผสานความร่วมมือกับกลุ่มผู้ผลิตสิ่งทอในสหรัฐอเมริกาเพื่อให้การสนับสนุนโครงการ “COTTON USA Sourcing Program” ในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำแถบแคริบเบียน ต่อมาในปี 2546 คอตตอน ยูเอสเอ ได้จัดโครงการในลักษณะเดียวกันนี้เพื่อให้แบรนด์และผู้ค้าปลีกในยุโรป ญี่ปุ่น และอเมริกา ได้พบปะกับซัพพลายเออร์ที่ใช้ฝ้ายจากสหรัฐอเมริกาเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตสิ่งทอทั่วทวีปเอเชีย เอเชียใต้ และภูมิภาคแอนเดียนในอเมริกาใต้ ที่ ในปี 2553 ที่ผ่านมา กลุ่มผู้ผลิตสิ่งทอในประเทศไทยและตุรกีได้เข้าร่วมโครงการเช่นเดียวกันนี้ และโครงการในประเทศไทยกำลังขยายพื้นที่ไปสู่กลุ่มผู้ผลิตสิ่งทอในประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554