เมื่อตัวเลข รายการที่ลูกค้าทำผ่านดิจิทัล แบงกิ้ง เริ่มโตกว่าสาขา บวกกับกระแสความแรงของเทคโนโลยีทางการเงิน FinTech ที่กำลังไล่ล่า ได้เวลา “ธนาคารกสิกรไทย” ภายใต้การนำของหัวเรือใหญ บัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการ ธนาคารกสิกรไทย ประกาศ เปิดตัวบริษัท KASIKORN Business – Technology Group (KBTG) พร้อมกับเผยโฉมสำนักงานรูปแบบใหม่ เพื่อก้าวเข้าสู่ เทคโนโลยีทางการเงิน FinTech เต็มรูปแบบ

1_kbank

2_kbank

ทำไมกสิกรไทย ต้องทำ FinTech

  • รายการที่ลูกค้าทำผ่านช่องทางดิจิทัล แบงกิ้ง (โทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ต) เติบโตแบบก้าวกระโดด
  • จาก 168 ล้านรายการในปี 2554 เพิ่มเป็น 1,135 ล้านรายการในปี 2558 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 7,900 ล้านรายการใน 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2563)
  • รายการที่ลูกค้าบริการผ่านช่องทางสาขาลดลง
  • จาก 188 ล้านรายการในปี 2558 คาดว่าจะลดเหลือประมาณ 153 ล้านรายการในปี 2563 มูลค่า
  • มูลค่าธุรกรรมที่ผ่านดิจิทัล แบงกิ้งก็เพิ่มจาก 9 แสนล้านบาทในปี 2554 เป็น 4 ล้านล้านบาทในปี 2558
  • เติบโตประมาณ 10 เท่าตัวเป็น 30 ล้านล้านบาท ในปี พ.ศ. 2563 หรือ 5 ปีข้างหน้า
  • มีการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงิน (Financial Technology – FinTech) ที่ให้บริการที่มีประสิทธิภาพด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าอย่างกว้างขวางทั้งจากสถาบันการเงินและหน่วยงานอื่น ๆ
  • กระแสของ FinTech และ Tech Startup เป็นตัวแปรสำคัญ ที่ผลักดันให้เกิดนวัตกรรมในโลกการเงิน ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่มีความคาดหวังต่อบริการทางการเงินที่สูงขึ้นในโลกดิจิทัล ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในภาพรวม
  • ธนาคารกสิกรไทย คิดถึงเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้นปี 2558

3_kbank

กางแผนกสิกรไทยเข้าสู่ FinTech

  • ตั้งบริษัท Kasikorn Business Technology (KBTG) ดำเนินธุรกิจ FinTech
  • ธีรนันท์ ศรีหงส์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ควบตำแหน่งประธาน KBTG และ สมคิด จิรานันตรัตน์ รองประธาน KBTG และรับผิดชอบงานกลุ่มบริษัทย่อย
  • บริษัท KBTG มีบริษัทย่อย 5 บริษัท คือ กสิกร เทคโนโลยี กรุ๊ป เซเครเทเรียต จำกัด, บริษัท กสิกร แล็บส์ จำกัด, บริษัท กสิกร ซอฟต์ จำกัด, บริษัท กสิกร โปร จำกัด และ บริษัท กสิกร เซิร์ฟ จำกัด
  • บริษัท KBTH ตั้งอยู่ที่อาคารบิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป เมืองทองธานี แจ้งวัฒนะ ออกแบบพื้นที่เน้นบรรยากาศการทำงาน และวัฒนธรรมแบบใหม่ ในสไตล์ของบริษัทไอที เพื่อให้คิดนอกกรอบ ไม่ต้องใส่สูทผูกไท
  • ตั้งงบปีละ 5,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ ขับเคลื่อนให้ธนาคารกสิกรไทยสู่การเป็นดิจิทัล แบงกิ้งอย่างเต็มรูปแบบ
  • รูปแบบธุรกิจ ทำงานร่วมกับ Tech Startup โดยเป็นได้ทั้งพันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partner) ผู้ร่วมลงทุน (Investor) และลูกค้า (Customer) แล้วแต่รูปแบบของนวัตกรรมเพื่อเติมเต็มช่องว่างที่มีอยู่และส่งเสริมให้ธุรกิจรูปแบบใหม่

4_kbank 5_kbank 6_kbank

6 เทคโนโลยีที่ KBTG มุ่งเน้นใน 5 ปีข้างหน้า

  1. Internet of Things (IoT) เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ ตู้เย็น ฯลฯ เข้าไว้ด้วยกัน โดยสามารถเชื่อมโยงและสื่อสารกันได้ผ่านอินเทอร์เน็ต
  2. World Class Design คือ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการในโลกยุคใหม่ที่คำนึงถึงประสบการณ์ของผู้ใช้งานเป็นหลัก
  3. Application Programming Interface (API) คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งหรือช่องทางสำหรับการเชื่อมต่อเพื่อการเข้าถึงข้อมูลหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างแอปพลิเคชั่น
  4. Advanced Mobile Programming คือ เทคโนโลยีช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งานมากที่สุด
  5. Blockchain เป็นรากฐานสำคัญสกุลเงินดิจิทัล เช่น Bitcoin การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการชำระเงินข้ามแดน ให้มีความรวดเร็วและตรวจสอบได้
  6. Machine Learning  หรือการที่กำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถปฏิบัติงานได้ดีขึ้น โดยเรียนรู้จากการกระทำ หรือสิ่งที่ทำไปก่อนหน้านั้น

5 กลุ่มบริษัท KBTG ทำอะไรกันบ้าง

  1. บริษัท กสิกร เทคโนโลยี กรุ๊ป เซเครเทเรียต จำกัด ดูแล ด้านวางแผน ติดตาม และให้การสนับสนุนการจัดการด้านการเงินและด้านบุคลากรของ KBTG ประสานการทำงานร่วมกันระหว่าง KBTG และธนาคารกสิกรไทย
  2. บริษัท กสิกร แล็บส์ จำกัด ค้นคว้าเทคโนโลยีและรูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อระบบดิจิทัล แบงกิ้ง และระบบเศรษฐกิจดิจิทัล รวมทั้งทำหน้าที่สร้างและทดลองระบบต้นแบบก่อนประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ของธนาคารกสิกรไทย
  3. บริษัท กสิกร ซอฟต์ จำกัด ออกแบบและสร้างระบบไอทีเพื่อรองรับความต้องการทางธุรกิจและรองรับการนำนวัตกรรมมาใช้ในธนาคารให้มีความรวดเร็วและคุณภาพสูงสุด
  4. บริษัท กสิกร โปร จำกัด ดูแลการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานและระบบไอทีของธนาคารให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
  5. บริษัท กสิกร เซิร์ฟ จำกัด ทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานของกลุ่มบริษัท ทั้งทางด้านการพัฒนา การทดสอบ และการปฏิบัติการระบบไอที