เด็กมัธยมปลายเทคะแนนให้มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดนใจ “คิดแบบสร้างสรรค์ คิดแบบเจ้าของ” เห็นภาพชัดเรียนจบแล้วสร้างธุรกิจเองได้

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุคดิจิตอล ทำให้มีช่องทางที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคผ่านโซเชียลมีเดีย ยุคนี้เราจึงมักจะได้ยินเรื่องราวของผู้ประกอบการและนักธุรกิจอายุน้อยที่คิดและทำกิจการของตนเอง กลายเป็นเทรนด์ที่คนรุ่นใหม่มีความต้องการจะเป็นผู้ประกอบการทำกิจการของตัวเองกันมากขึ้น

แต่การเป็นผู้ประกอบการที่จะอยู่รอดปลอดภัยในยุคสมัย Digital Economy ไม่ใช่เรื่องง่าย มหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงจับเอาความต้องการของตลาดในจุดนี้มาต่อยอดสร้างเป็นจุดเด่นที่แข็งแรง มีการกำหนดตำแหน่งทางการตลาดของมหาวิทยาลัยโดยสร้างการรับรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากความเป็น Creative University ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ที่ทำให้มหาวิทยาลัยกรุงเทพมีจุดยืนที่ชัดเจนมาโดยตลอดทั้งยังเป็นแนวทางสร้างอัตลักษณ์ให้กับนักศึกษา มีการตอกย้ำการรับรู้ใหม่ว่าเป็น Creative Entrepreneur University ใช้แนวคิด C+E (Creativity + Entrepreneurial Spirit) มาเป็นแนวทางสร้างผู้ประกอบการสร้างสรรค์ ผลิตบุคลากรคุณภาพเข้าสู่ตลาดธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง และมีบทพิสูจน์ชัดเจนว่าเมื่อเรียนจบจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพแล้ว ความฝันที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจนั้นจะเป็นจริงได้ ซึ่งบอกได้เลยว่ามหาวิทยาลัยกรุงเทพมาถูกทางแล้ว เพราะตอนนี้การเป็น Creative Entrepreneur University ถือเป็นข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันของมหาวิทยาลัยกรุงเทพที่โดดเด่นที่สุดในกลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชนของไทย

20160427-bu-02
อาจารย์เพชร โอสถานุเคราะห์ อธิการบดี

การสร้างอัตลักษณ์ให้นักศึกษาทุกคนด้วยแนวคิด C+E สร้างความโดดเด่นในตัวบุคคล 2 เรื่องคือ คิดแบบสร้างสรรค์ และการเรียนรู้ในหลักสูตรที่เน้นการฝึกปฏิบัติจริงทำให้นักศึกษาทุกคน คิดแบบเจ้าของธุรกิจ โดยในปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยกรุงเทพมุ่งเน้นสร้างการรับรู้ในแนวคิด C+E ที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เรียกได้ว่าโดนใจกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครอง และนักเรียนมัธยมปลายที่วางแผนอนาคตการประกอบอาชีพของตนเองหลังเรียนจบปริญญาตรีว่า ต้องการมีกิจการเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็สามารถนำความรู้กลับมาต่อยอดมาพัฒนาธุรกิจของครอบครัวได้อย่างเข้มแข็ง ด้วยเหตุนี้ จึงส่งผลให้มหาวิทยาลัยกรุงเทพมียอดเติบโตของนักศึกษาเพิ่มขึ้นทุกๆปี โดยเฉพาะคณะใหม่ อย่างคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ (BUSEM) ที่มียอดเพิ่มขึ้น 25 – 30% ทุกปีแสดงให้เห็นว่าในยุคนี้นักเรียนมัธยมปลายเริ่มให้ความสนใจการเรียนรู้ที่บ่มเพาะให้ตนเองสามารถคิดและลงมือทำธุรกิจรวมถึงมีแรงบันดาลใจในการเลือกเส้นทางอาชีพในอนาคตของตนเอง

ไม่ตามสูตร ตอกย้ำแนวคิด C+E ยอดวิวทะลุล้าน สะท้อนความสนใจในแนวคิด C+E จากคนยุคใหม่

โชว์เคส Success Story 3 นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ความสำเร็จในการสร้างการรับรู้แนวทาง C+E ที่ใช้หล่อหลอมนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพไม่ว่าจะเรียนคณะใดสาขาวิชาใดเพื่อบ่มเพาะความคิดผู้ประกอบการสร้างสรรค์ให้กับนักศึกษาทุกคน ไม่ว่านักศึกษาจะมีเป้าหมายในการสร้างและบริหารกิจการของตนเอง หรือต้องการทำงานกับองค์กรใด พวกเขาจะเป็นบุคลากรที่มีบุคลิกเด่นในสองเรื่องคือ มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความคิดแบบเจ้าของ ทำให้เป็นคนที่มีวิสัยทัศน์มีความมุ่งมั่นตั้งใจกับภารกิจ พร้อมพัฒนาตนเองและพัฒนางานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป็นบุคลิกลักษณะของบุคลากรที่ทุกภาคส่วนธุรกิจมีความต้องการ

20160427-bu-03_W1_7776

ล่าสุด มหาวิทยาลัยกรุงเทพได้ผลิตคลิปวิดีโอสั้นนำเสนอตัวอย่างความสำเร็จทางธุรกิจของ 3 นักศึกษาซึ่งกำลังเรียนอยู่ในชั้นปีที่ 4 ที่สามารถสร้างธุรกิจของตนเองและดำเนินกิจการโดยอาศัยความคิดที่แตกต่าง นำความคิดแบบสร้างสรรค์และคิดแบบเจ้าของมาพัฒนาธุรกิจให้เติบโตได้อย่างมีอนาคต โดยอัพโหลดใน youtube และเว็บไซต์รวมทั้งเฟสบุ๊คของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้รับผลตอบกลับที่ดีมาก มียอดไลค์ แชร์ และคอมเม้นท์ที่แสดงให้เห็นว่าตัวแบบนักศึกษาทั้ง 3 คนเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ชมได้มีความคิดในการเรียนและการสร้างธุรกิจของตนเอง

โดยสรุปผลที่ได้รับจากการเผยแพร่ตัวอย่างความสำเร็จ Success Story ของนักศึกษา นอกจากจะเป็นการตอกย้ำผลสำเร็จของมหาวิทยาลัยกรุงเทพแล้ว เรื่องราวของนักศึกษายังสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพได้อีกด้วย

มาค้นพบความฝันจากความคิดในมุมมองที่แตกต่าง และเริ่มต้นลงมือทำกิจการของตัวเองด้วยกระบวนคิดที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพสอนให้ คิดแบบสร้างสรรค์ และการเรียนรู้ในหลักสูตรที่เน้นการฝึกปฏิบัติจริงทำให้พวกเขา คิดแบบเจ้าของธุรกิจ เส้นทางความสำเร็จเฉพาะตัวคุณอยู่ที่นี่แล้ว ที่เดียวในเมืองไทย ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ติดตามเรื่องราวเก๋ๆ และวิธีทำธุรกิจเงินล้านของ 3 นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพได้ที่นี่

อิ่มแปร้ – นางสาวนวพร ประยุกตินิวัฒน์

20160427-bu-04

บ๊วย – นางสาววลีพร เดี่ยววานิช

20160427-bu-05

เฟลม – นายเกียรติศักดิ์ คำวงษา

20160427-bu-06