5 เทคนิคเด็ดที่จะทำให้การไลฟ์ของคุณโดนใจกว่าที่เคย

หากคุณกำลังคิดจะใช้เครื่องมือที่กำลังฮอตสุดๆ ในตอนนี้อย่าง Facebook Live แต่ยังไม่รู้จะทำอย่างไรดี มาเรียนรู้ 5 เทคนิคเด็ดที่จะทำให้การไลฟ์ของคุณฟีดแบ็กดีไม่มีแป๊กกันก่อนดีกว่าค่ะ

#1 โปรโมตก่อนไลฟ์

Facebook Live สามารถให้เราระบุกลุ่มเป้าหมายของเราได้ ตามเครือข่ายเพื่อนฝูง กลุ่มแฟนเพจ กรุ๊ป หรือผู้สนใจร่วมอีเวนต์ต่างๆ ซึ่งหากคุณหากลุ่มที่ยังตรงใจไม่ได้ ก็ควรเริ่มตั้งกลุ่มของตัวเองไว้

ในการไลฟ์แต่ละครั้ง เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องบอกแฟนๆ ของเราว่าเรากำลังจะไลฟ์ด้วยการโพสต์บอกลงในหน้าฟีดของเรา อาจลองใช้รูปภาพในการบอก หรือแม้กระทั่งการอัดคลิปสั้นๆ เพื่อบอกว่าไลฟ์ใหญ่กำลังจะมา

หากการไลฟ์ครั้งนั้นเป็นเรื่องใหญ่หรือสำคัญจริงๆ เราอาจกระตุ้นการชมด้วยการซื้อโพสต์ที่ใช้บอกข่าวในรูปแบบ Facebook Ads แล้วจึงมากระตุ้นเตือนอีกรอบก่อนการไลฟ์จริง

ตัวอย่างแรกมาจากเพจนาซ่า ซึ่งได้มีการกระตุ้นการชมไลฟ์ในเพจด้วยการโพสต์ภาพลงบนฟีด

20160606-mkt-02

อย่าลืมโลกข้างนอกเฟซบุ๊กด้วย เชิญผู้อ่านบล็อก สมาชิกผู้รับข่าวสารทางอีเมล และผู้ติดตามในโซเชียลอื่นๆ ให้มาร่วมชมไลฟ์พร้อมกันด้วยการแชร์ลิงค์แฟนเพจ กรุ๊ป หรืออีเวนต์ที่ต้องการ

#2 เตรียมตัวและฝึกซ้อม

ก่อนการไลฟ์ การเตรียมตัวเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ชมจะได้ยินเสียงของเราชัดเจนโดยไม่มีการรบกวน อยากชมการไลฟ์ของเราอีก และอยากมีส่วนร่วมกับเราเป็นสิ่งจำเป็น

จัดเตรียมสถานที่

นี่คือเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ที่จะช่วยให้การเตรียมสถานที่ไลฟ์ของเราสะดวกเหมาะสมยิ่งขึ้น

– พยายามลดเสียงรบกวนจากรอบข้างให้ได้มากที่สุด แม้ผู้ชมจะเข้าใจว่าคุณภาพการถ่ายทำไลฟ์ผ่านเฟซบุ๊กนั้นอาจจะดูดิบ ไร้การโปรเซสใดๆ แต่ก็ต้องมั่นใจว่าผู้ชมจะได้เห็นภาพและได้ยินเสียงอย่างชัดเจนด้วย

– วางแผนไว้ก่อนว่าคุณจะเป็นคนถือกล้องเองหรือใช้ขาตั้งช่วย หรือจะให้เพื่อนช่วยถือก็ได้ เราสามารถใช้ได้ทั้งกล้องหน้าและกล้องหลังของสมาร์ทโฟน

– เลือกไลฟ์ในจุดที่สัญญาณอินเทอร์เน็ตแรงพอ

เฟซบุ๊กแนะนำว่าการไลฟ์แต่ละครั้งไม่ควรต่ำกว่า 10 นาที และสามารถไลฟ์ได้นานสูงสุด 90 นาที

20160606-mkt-03

เคล็ดลับ ฟอร์เวิร์ดสายโทรเข้าระหว่างการไลฟ์ให้ไปฝากข้อความไว้ก่อนจะได้ไม่มีอะไรมาขัดจังหวะ

ตั้งนโยบายเพื่อรับฟีดแบ็กระหว่างไลฟ์

ฟีเจอร์ใหม่จากเฟซบุ๊กช่วยให้ผู้ชมสามารถถามคำถามหรือให้ฟีดแบ็กได้ระหว่างการไลฟ์ของเรา โดยผู้ชมสามารถคลิกปุ่มรีแอคชั่นในระหว่างการไลฟ์ แบบเดียวกับการกดไลค์โพสต์ต่างๆ ในเฟซบุ๊ก โดยรีแอคชั่นจากผู้ชมจะลอยอยู่บนหน้าจอ 2-3 วินาที เฟซบุคถือว่ารีแอคชั่นเหล่านี้เหมือนเสียงปรบมือหรือเสียงโห่ฮา

20160606-mkt-04

นอกจากปุ่มรีแอคชั่นแล้ว ผู้ชมยังสามารถคอมเมนต์ระหว่างการไลฟ์ด้วย คุณจึงควรวางแผนไว่ก่อนว่าจะบอกให้ผู้ชมส่งคอมเมนต์เข้ามาตอนไหน อย่างไร เฟซบุ๊กแนะนำว่าควรเรียกชื่อผู้คอมเมนต์ทีละคนและแสดงให้เห็นด้วยว่าคุณปลื้มแค่ไหนที่ผู้ชมเข้ามามีส่วนร่วม หากจำเป็นต้องบล็อกผู้ชมที่เข้ามาป่วนการไลฟ์ คลิกรูปโปรไฟล์ผู้คอมเมนต์ที่ต้องการแล้วกดปุ่มบล็อก

ทดลองไลฟ์ก่อน

ก่อนที่คุณจะไลฟ์เป็นครั้งแรก คุณควรซ้อมใหญ่สักครั้ง และเพื่อไม่ให้การซ้อมไลฟ์ของคุณเล็ดลอดออกไปสู่สายตาสาธารณชน คุณควรตั้งค่าคนที่จะเห็นการไลฟ์ของคุณในรอบซ้อมใหญ่เป็น “Only Me” แล้วคุณจะได้เห็นภาพว่าการไลฟ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นของคุณนั้นจะออกมาเป็นเช่นไร แต่จะไม่มีใครคนอื่นได้เห็น

20160606-mkt-05

หากคุณไม่สามารถตั้งค่าการไลฟ์ผ่านมือถือได้ กรุณาเข้าไปตั้งค่าผ่านคอมพิวเตอร์เสียก่อน แล้วการตั้งค่าจะเชื่อมต่ออัตโนมัติเข้ากับแอปเอง

แต่อย่าลืมว่าเฟซบุ๊ก ไม่อนุญาตให้แฟนเพจไลฟ์ในกลุ่มหรืออีเวนต์ได้ ดังนั้นจึงต้องใช้แอคเคานต์บุคคลในการไลฟ์ ซึ่งก็สามารถทำได้โดยบอกแฟนๆ หรือผู้ชมเอาไว้ก่อน หรือระหว่างการไลฟ์ว่าคุณเกี่ยวข้องกับบริษัทอย่างไร

20160606-mkt-06

การเริ่มต้นไลฟ์ก็ทำได้ไม่ยาก เพียงเข้าไปที่หน้าเพจ กลุ่ม หรือหน้าอีเวนต์ที่ต้องการ กดปุ่มเหมือนเวลาเราโพสต์ข้อความใหม่ปกติ มองด้านล่างหาปุ่มไลฟ์ ในมือถือระบบแอนดรอยด์ปุ่มจะอยู่ที่มุมขวาล่าง กดปุ่มที่เห็นแล้วใส่คำบรรยายเกี่ยวกับการไลฟ์ครั้งนี้ โดยนอกจากจะต้องเขียนให้มนุษย์เข้าใจง่าย น่าติดตาม น่าคลิกแล้ว ต้องคำนึงถึง SEO ด้วย

ที่สำคัญเมื่อเตรียมทุกอย่างพร้อมสำหรับการไลฟ์จริงแล้ว อย่าลืมเปลี่ยนการตั้งค่าเป็นสาธารณะด้วย

#3 สร้างความดึงดูด

เริ่มต้นการไลฟ์ด้วยการผ่อนคลายตัวเอง อย่าลืมยิ้มให้ผู้ชม เมื่อคุณรู้สึกผ่อนคลายแล้ว ผู้ชมก็จะรู้สึกผ่อนคลายตาม การไลฟ์ไม่จำเป็นต้องมีโปรดักชั่นที่อลังการ แต่คุณต้องทำให้ผู้ชมรู้สึกชอบและอยากดูคุณ

แนะนำตัวเองและบริษัทให้ผู้ชมได้รู้จักพร้อมบอกว่าเนื้อหาการไลฟ์จะมีอะไรบ้าง การไลฟ์นั้นแตกต่างจากคลิปที่เราอัดไว้เรียบร้อยแล้วเพราะผู้ชมจะไม่รู้ว่าการไลฟ์แต่ละครั้งจะยาวนานแค่ไหน ดังนั้น เกริ่นบอกผู้ชมให้รู้เนื้อหาคร่าวๆ ไว้ก่อน ที่สำคัญพยายามกระตุ้นให้ผู้ชมเข้ามาคอมเมนต์และส่งรีแอคชั่นต่างๆ เพื่อจะได้รู้ว่ามีผู้ชมที่แอคทีฟอยู่จำนวนมากแค่ไหน

อย่าลืม! ปิดท้ายการไลฟ์ทุกครั้งด้วย Call-to-action และอาจเกริ่นคร่าวๆ เกี่ยวกับแผนการไลฟ์ครั้งต่อไป บอกให้ผู้ชมช่วยกันแชร์คลิปการไลฟ์ออกไปเมื่อไลฟ์เสร็จ และอาจมีการให้ตอบคำถามเพื่อติดตามผลการไลฟ์ด้วยก็ได้

#4 อย่าลืมใส่คีย์เวิร์ดให้กับคลิปไลฟ์บนไทม์ไลน์

คลิปวิดีโอเมื่อเราไลฟ์เสร็จแล้วจะถูกเซฟลงไทม์ไลน์อัตโนมัติ และเป็นธรรมดาที่ยอดวิวคลิปหลังการไลฟ์จะสูงกว่าระหว่างไลฟ์

20160606-mkt-07

หลังไลฟ์เสร็จจึงควรโพสต์ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาดู เพื่อกระตุ้นให้เกิดการคอมเมนต์และถามคำถาม สร้างกิจกรรมบนฟีดของเราได้อีกระลอก ซึ่งจะช่วยเพิ่มเอ็นเกจเมนต์ได้

สำหรับคลิปวิดีโอหลังการไลฟ์เราสามารถแก้ไข metadata ของวิดีโอและเปลี่ยนรูปแรกของวิดีโอได้ด้วย โดยการคลิกปุ่ม Option ด้านล่างคลิป แล้วเลือก Edit this video ซึ่งอาจจะต้องแก้ไขจากคอมพิวเตอร์เท่านั้น

20160606-mkt-08

นอกจากแก้รูปธัมบ์เนลได้แล้ว ยังสามารถแก้สถานที่และวันที่ กรอกคำบรรยายอย่างละเอียด และเลือกหมวดหมู่คลิปได้ด้วย แม้ว่าจะยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าการเสิร์ชวิดีโอในเฟซบุ๊กมีตรรกะเช่นไร แต่สิ่งพื้นฐานเหล่านี้น่าจะช่วยให้ทุกคนเจอคลิปของคุณได้ง่ายขึ้น

#5 วิเคราะห์ผลลัพธ์

เฟซบุ๊กแสดงข้อมูลตัวเลขใหม่ 2 หัวข้อ นั่นคือ คุณสามารถเห็นตัวเลขผู้ชมทั้งหมดที่ชมการไลฟ์ โดยการชมเพียงบางส่วนก็นับรวมด้วย และมีตัวเลขบอกจำนวนผู้ชมในแต่ละช่วงของการไลฟ์ด้วย

20160606-mkt-09

ตัวเลข Audience Retention นี้จะช่วยให้เราวิเคราะห์เพื่อวางแผนว่าครั้งต่อไปควรไลฟ์นานแค่ไหน เชื่อว่าต่อไปตัวเลขการวิเคราะห์จาก Facebook Live จะละเอียดมากขึ้น โดยน่าจะระบุความสนใจและข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของผู้ชมให้ด้วย

ครั้งต่อไป ลองไลฟ์ในวันหรือเวลาที่แตกต่างออกไปดู ปรับวิธีการนำเสนอ และอาจเพิ่มแขกรับเชิญเข้ามาในไลฟ์ของเรา ข้อดีของวิดีโอก็คือเราสามารถนำเสนอสิ่งต่างๆ ได้หลายรูปแบบ

ที่มา http://www.socialmediaexaminer.com/6-tips-for-better-facebook-live-broadcasts/