สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) ฉลองครบรอบ 50 ปี เตรียมจัดเวิร์กชอปหัวข้อ “ภาวะผู้นำและนวัตกรรมเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน โดย ปีเตอร์ เซ็งเก้” ครั้งแรกในประเทศไทย

สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) ฉลองครบรอบ 50 ปี เตรียมจัดExecutive Workshop หัวข้อ “Leadership and Innovation for Sustainability Future” ภาวะผู้นำและนวัตกรรมเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ครั้งแรกกับการมาเยือนประเทศไทยของกูรูระดับโลก Peter M Senge เจ้าของแนวคิดทฤษฎี The 5th Discipline และ Leadership and Innovation ผู้จุดประกายและผลักดันเรื่ององค์การแห่งการเรียนรู้ที่ให้เกียรติเป็นวิทยากร ร่วมด้วยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในและต่างประเทศกว่า 50 ท่าน ภายใต้แนวคิดBuilding People Capability for Organization Sustainability” ร่วมผลักดันให้องค์การไทย สังคมไทยก้าวสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมพบกับโซนกิจกรรมพิเศษและนิทรรศการครบรอบ 50 ปีที่จัดอย่างยิ่งใหญ่

ในฐานะสมาคมวิชาชีพด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลแห่งเดียวในประเทศไทยที่เกิดจากการรวมกลุ่มของนักบริหารทรัพยากรบุคคลไทยเพื่อคนไทย PMAT ได้เชิญองค์ปาฐกระดับประเทศและนานาชาติเข้าร่วมสัมมนาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ อาทิ Peter Sengeเจ้าของทฤษฎี The Fifth Discipline ในเวิร์กชอป “Leadership and Innovation for Sustainable Future” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้เกิดการจัดการทุนมนุษย์เพื่อความยั่งยืนขององค์การและของประเทศไทย ภายในงานจะได้พบกับบุคคลสำคัญระดับโลกและระดับประเทศ อาทิ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นักเศรษฐศาสตร์จาก Kellogg School of Management ของNorthwestern University ศิษย์รักของ ศ.ดร.ฟิลิปส์ คอตเลอร์ นักการตลาดผู้มีชื่อเสียงโด่งดังของโลก และผู้คร่ำหวอดในวงการ HR ทั้งในและต่างประเทศอีกมากมาย

สำหรับประวัติโดยย่อของปีเตอร์ เอ็ม เซ็งเก้ เขาเป็นประธานผู้ก่อตั้ง Society for Organizational Learning (SoL) ซึ่งเป็นชุมชนที่รวบรวมองค์กรต่างๆ นักวิจัยและที่ปรึกษาจากทั่วโลกทุ่มเทให้กับการพัฒนาผู้คนและสถาบันในแบบที่ต่างพึ่งพาอาศัยกัน

เขาเขียนหนังสือที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางชื่อ The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization (1990) หรือ วินัย 5 ประการ กุญแจสู่ความสำเร็จของการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ผลงานที่เขาร่วมเขียนกับผู้แต่งคนอื่น ได้แก่ The Fifth Discipline Fieldbook: Strategies and Tools for Building a Learning Organization (1994), The Dance of Change: The Challenges to Sustaining Momentum in Learning Organizations (1999) และหนังสือ Schools That Learn: A Fifth Discipline Field book for Educators, Parents, and Everyone Who Cares About Education (2000) นอกจากนี้ เขายังมีผลงานด้านการเขียนบทความเกี่ยวกับความคิดเชิงระบบในการบริหารจัดการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการและหนังสือพิมพ์ธุรกิจอีกมากมาย

 วารสาร Journal of Business Strategy ฉบับเดือนกันยายน / ตุลาคม 1999 จัดอันดับและนำเสนอชื่อกลุ่มบุคคล 24 คนชั้นนำที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “นักกลยุทธ์แห่งศตวรรษ” (Strategist of the Century) โดยให้คำจำกัดความว่าแนวความคิดของเขาและเธอทั้ง 24 คนนั้น “ได้สร้างผลกระทบอย่างใหญ่หลวงที่สุดต่อวิถีที่พวกเราดำเนินธุรกิจในทุกวันนี้” หนึ่งในบรรดารายชื่อของบุคคลทั้ง 24 คนนั้นมีชื่อของ ปีเตอร์ เซ็งเก้ ติดอยู่ด้วย ในปี ค.ศ.2000 นิตยสาร Financial Times ยกย่องให้เขาเป็น กูรูด้านการบริหารจัดการระดับแนวหน้าของโลก ขณะที่นิตยสาร Business Week ฉบับเดือนตุลาคม 2001ยกให้เขาติดอันดับท็อป 10 กูรูด้านการบริหารจัดการ

หัวข้อหลักในการจัดเวิร์คช็อป 2 วัน ได้แก่ การสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ การปลูกฝังความมุ่งหวังส่วนบุคคลและการสร้างจุดประสงค์ร่วมกันในองค์กร การเรียนรู้เพื่อท้าทายความคิดของตนเองและท้าทายต่อการตั้งสมมติฐานของผู้อื่น วัฒนธรรมความไว้วางใจ การเปิดกว้างรับฟังความเห็นของผู้อื่น การรักษาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ความคิดอย่างเป็นระบบที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากจิตใจ การมองเห็นตัวเองในฐานะเป็นผู้เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับคนทั่วโลก วิธีการใช้ภาษา การตรวจวัดความต้องการและโอกาสในการสร้างสรรค์นวัตกรรม การสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันและเครือข่ายแห่งความสำเร็จ แหล่งกำเนิดของการเป็นผู้นำ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีในเศรษฐกิจโลก การรับรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ในอนาคต ซึ่งเหนือกว่าการรับรู้ด้วยเหตุผล

ผู้ที่สนใจเข้าร่วมการสัมมนาครั้งแรกในรอบ 50 ปีครั้งนี้ของ PMAT เชิญติดต่อได้ที่บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์/ สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี โทร 02-6852255 หรือ www.dmgbooks.com