EURO 2008 ถุงทองมหึมาแห่งปี
1.4 พันล้านยูโร – รายได้ที่ยุโรปจะได้รับจากศึกฟุตบอล EURO 2008 (มูลค่าเฉลี่ยต่อแมตช์ประมาณ 42 ล้านยูโร)
700 ล้านบาท – รายได้ขั้นต่ำที่อาร์เอสจะได้รับจากการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ฟุตบอล EURO 2008 ในไทย
800 – 1,000 ล้านบาท – ยอดขายทีวีในไทยช่วงศึก EURO 2008 โดยเฉพาะอย่างยิ่งจอ LCD (เพิ่มขึ้น 20 – 30 %) (JVC, Toshiba)
+ 30 – 40% – ออเดอร์อาหาร Delivery ในไทยจะเพิ่มขึ้นในช่วงการแข่งขัน EURO 2008 (Yum Restaurant)
ถึงจีนใหญ่แค่ไหน แฟชั่นไทยยังโต
40,000 ร้านค้า – จำนวนร้านค้าในตลาดอี้อู (Yiwu) ประเทศจีน ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย
8,000 แผงค้า – จำนวนร้านจากตลาดนัดจตุจักร ตลาดนัดที่ขึ้นชื่อว่าใหญ่ที่สุดในโลก
+8 – 10% – อัตราการเติบโตธุรกิจแฟชั่นในไทยโดยเฉลี่ยต่อปี
60,000 ล้านบาท – มูลค่าขั้นต่ำของธุรกิจค้าส่งสินค้าแฟชั่นในไทยปี 2550
50 – 60% – สัดส่วนตลาดค้าส่งแฟชั่นในประตูน้ำ (โบ๊เบ๊ ประตูน้ำ แพลทินัม)
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย)
อาหารแพงทั่วโลก ภัตตาคารในกรุงเทพฯ เริ่มเจ๊ง
+57% – อัตราเพิ่มขึ้นของราคาอาหารทั่วโลกเดือนมีนาคม 2551 เทียบกับปีที่แล้ว
+ 80-90% – อัตราเพิ่มขึ้นของราคาข้าวเดือนมีนาคม 2551 เทียบกับปีที่แล้ว
10% – อัตราร้านอาหารปิดกิจการลงในเขตกรุงเทพฯ ตั้งแต่เดือนมกราคม – เมษายน 2551 หรือประมาณ 40 แห่ง
5 % – อัตราการขยายตัวของตลาดร้านอาหาร ช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ เนื่องจากคนกินข้าวนอกบ้านน้อยลง
(สมาคมภัตตาคารไทย)
เศรษฐกิจหด บัตรเครดิตฝืด
77.5% – อัตราผู้ถือบัตรเครดิต ในกลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้ 15,000 บาท/ เดือนขึ้นไป (27.7% ไม่มีบัตรเครดิตเพราะมีปัญหากับสถาบันการเงินมาก่อน)
56.7% – ผู้ถือบัตรเครดิตยอมรับว่าเศรษฐกิจยามนี้ ส่งผลต่อการใช้บัตร
9,079.33 บาท – ปริมาณใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเฉลี่ยต่อคน (เฉลี่ย 35% ของรายได้)
46.3% – สัดส่วนที่คนถือบัตรเครดิตเลือกชำระเงินขั้นต่ำ 10%
2 บัตร – จำนวนบัตรเครดิตเฉลี่ยต่อคน
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย)
ยอดขายรถยนต์ฉิว แข่งราคาน้ำมันเพิ่ม
+ 6% – อัตรายอดขายเพิ่มขึ้นของรถยนต์ในตลาดไทยปี 2551 สวนกระแสน้ำมันขึ้นราคาอย่างต่อเนื่อง
30-35% – อัตราการเติบโตธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ในปี 2551 (มูลค่ารวม 4-4.2 แสนล้านบาท)
3.08 แสนล้านบาท – ยอดคงค้างเช่าซื้อรถยนต์ของปีที่แล้ว
โลกออนไลน์ แหล่งพักใจของเพศที่สาม
15 % – สัดส่วนประชากรเพศที่สามในปัจจุบัน (ศตวรรษที่ 19 มีเพียง 1%)
10 ล้านคน – จำนวนชายไทยที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ (เกย์) หรือจำนวน 1 ใน 3 ของคนไทย
75% – อัตราผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแบบ Heavy Usersทั่วโลกที่เป็นเกย์เลสเบี้ยน (เทียบกับกลุ่มไม่เบี่ยงเบน 59%)
36% – อัตราผู้อ่าน Blog สม่ำเสมอทุกวันที่เป็นเกย์เลสเบี้ยน (เทียบกับกลุ่มไม่เบี่ยงเบน 19%)
27% – อัตราผู้เข้าเว็บไซต์ YouTube ที่เป็นเกย์เลสเบี้ยน (เทียบกับกลุ่มไม่เบี่ยงเบน 22%)
1,000 คนต่อวัน – คนไทยที่สมาชิกเข้า-ออกสม่ำเสมอห้องสนทนา Camfrog ของชายรักชาย (สมาชิกคนไทยทั่วไปเข้า-ออก 3,000 คนต่อวัน)
(กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, The ClickZ Network, นาโนเสิร์ช และกรมสุขภาพจิต)
ตัวเลขสีเขียว
60 – 80% -สัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านอาหารของประชากรในชาติกำลังพัฒนาเมื่อเทียบกับรายได้ (ประเทศพัฒนาแล้วจ่าย 10 – 20%) (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย)