หยุดยาว เที่ยวไทยคึก ครึ่งปี’59 เงินสะพัด

วันหยุดยาว ทำท่องเที่ยวไทยครึ่งปีแรก ’59 คึกคัก เฉพาะ 2 เทศกาล สงกรานต์ฉัตรมงคล เงินสะพัด 1.4 หมื่นล้าน คาดหยุดยาวอาสฬหบูชาใช้เฉลี่ย 3-4 พันบาท/คน 

อิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เปิดเผยว่า ภาวะการท่องเที่ยวภายในประเทศเริ่มมีแนวโน้มปรับดีขึ้น ดูได้จากดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทย ไตรมาสที่ 2/59 เมื่อช่วงเดือน พ.. 58  พบว่า ในไตรมาส 3/2559 มีนักท่องเที่ยวไทย 34% วางแผนการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าในไตรมาสเดียวกันของปี 2558 โดยมีสาเหตุมาจากการที่รัฐบาลประกาศวันหยุดเพิ่มเติมในช่วงวันเทศกาลต่างๆ

  • อาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ระหว่างวันที่ 16-20 .. 59 (5 วัน)
  • วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ หรือวันแม่แห่งชาติ ระหว่างวันที่ 12-14 .. 59 (3 วัน)
  • วันปิยมหาราช ระหว่างวันที่ 22-24 .. 59 (3 วัน)
  • วันรัฐธรรมนูญ ระหว่างวันที่ 10-12 .. 59 (3 วัน) และวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ระหว่างวันที่ 30-31 .. 59-2 .. 60 (4 วัน)

โดยพบว่านักท่องเที่ยวไทย 43% ระบุว่าทำให้ตัดสินใจวางแผนท่องเที่ยวในประเทศจากเดิมที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้า

วัดหยุดยาววันอาสาฬฯ คาดใช้เงินเฉลี่ย 3-4 พันบาท/คน

วัตถุประสงค์การท่องเที่ยวในช่วงวันอาสาฬหบูชาส่วนใหญ่เป็นการกลับภูมิลำเนาและพักผ่อนมีจุดหมายปลายทางคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง

  • กำหนดงบประมาณการใช้จ่ายคนละ 3,000-4,000 พันบาท
  • โดยส่วนใหญ่ระบุว่าจะลดงบประมาณในการท่องเที่ยวคิดเป็น 47% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัว
  • 40% ระบุว่าจะใช้จ่ายในระดับเดิม โดยมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่คาดว่าจะมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

วางแผนเที่ยวแค่ 2-4 สัปดาห์

  • ปัจจุบันนักท่องเที่ยวไทยส่วนใหญ่ประมาณ 39% วางแผนการท่องเที่ยวในประเทศล่วงหน้าเพียง 2-4 สัปดาห์
  • ส่วนการท่องเที่ยวต่างประเทศจะวางแผนล่วงหน้า 1-3 เดือน ประมาณ 35% และ 3-6 เดือน ประมาณ 31%

ดังนั้นหากรัฐบาลต้องการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศควรมีการประกาศวันหยุดเพิ่มเติมในเทศกาลต่างๆ เป็นการล่วงหน้าในช่วง 1-3 เดือนเพื่อให้นักท่องเที่ยวไทยมีเวลาพอที่จะวางแผนเดินทางในประเทศแทนการเดินทางไปต่างประเทศ 

สงกรานต์ เงินสะพัด 6.98 พันล้านบาท

ตั้งแต่ต้นปี 2559 ซึ่งรัฐบาลประกาศให้มีวันหยุดเพิ่มเติมในช่วงเทศกาลสงกรานต์ วันที่ 13-17 เม.. 59 พบว่ามีนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางในประเทศ 2.14 ล้านคน เดินทางท่องเที่ยวระยะใกล้และกลับภูมิลำเนาตามพื้นที่  รวมทั้งหมดทุกภูมิภาคทำรายได้ทั้งสิ้น 6.98 พันล้านบาท

  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 4.8 แสนคน คิดเป็น 22%
  • ภาคกลาง จำนวน 4.2 แสนคน คิดเป็น 20%
  • ภาคเหนือ จำนวน 3.9 แสนคน คิดเป็น 18%
  • ภาคตะวันออก จำนวน 3.9 แสนคน คิดเป็น 18%
  • กรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 2.5 แสนคน คิดเป็น 12%
  • ภาคใต้ จำนวน 2.2 แสนคน คิดเป็น 10%

ฉัตรมงคลพืชมงคล คนเที่ยว 2.16 ล้านคนเงินสะพัด 7.66 พันล้าน

ส่วนวันหยุดเพิ่มเติมเนื่องในวันฉัตรมงคลและวันพืชมงคล ระหว่างวันที่ 5-9 .. 59 มีนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางในประเทศ 2.16 ล้านคน เดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดต่างๆ 5 ลำดับแรก คือ กรุงเทพฯ ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี และนครราชสีมา รวมทำรายได้ทั้งสิ้น 7.66 พันล้านบาท

คนแห่เที่ยวสนามบินคนใช้เพิ่มเกิน 12-13%

ขณะเดียวกันยังมีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปต่างประเทศในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (เฉพาะท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ และหาดใหญ่) จำนวน 153,278 คน เพิ่มขึ้น 13% ทำรายได้ 2.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.3% และเดินทางในช่วงวันฉัตรมงคลและวันพืชมงคล (เฉพาะท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ หาดใหญ่ และภูเก็ต) จำนวน 87,587 คน เพิ่มขึ้น 12% ทำรายได้ 1.62 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 13%

5 ประเทศคนไทยนิยมเที่ยวมากสุด ญี่ปุ่นนำ

ประเทศที่นักท่องเที่ยวไทยให้ความนิยม 5 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน ฮ่องกง และเกาหลีใต้ โดยมี 5 ปัจจัยกระตุ้น คือ 1. เดินทางระยะใกล้และใช้เวลาน้อย 2. ไม่ต้องขอวีซ่าทำให้ง่ายและสะดวกต่อการเดินทางเข้าประเทศนั้นๆ 3. โปรโมชั่นตั๋วเครื่องบินและแพ็กเกจทัวร์ราคาถูก 4. สายการบินต้นทุนต่ำมีการเพิ่มเที่ยวบินและเปิดเส้นทางบินใหม่จำนวนมาก 5. รู้วันหยุดล่วงหน้านานทำให้วางแผนเดินทางง่ายขึ้น

นักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางในประเทศมีวัตถุประสงค์หลักคือ ต้องการหลีกหนีความวุ่นวาย, พักผ่อน และเติมพลัง ส่วนการเดินทางไปต่างประเทศเพื่อต้องการค้นหามุมมองใหม่, เปิดประสบการณ์ที่แตกต่าง และแสวงหาความท้าทายเหนือความคาดหมาย

สำหรับ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทย ไตรมาสที่ 2/59 เมื่อช่วงเดือน พ.. 58 ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย