น้ำมะพร้าวยังฮิต! ทำไม “เซ็ปเป้” ต้องเข้าซื้อ “ออลโคโค”

ถึงแม้ว่าในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมานี้เซ็ปเป้จะไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวใดๆ ในตลาดมากนัก เพราะด้วยตลาดเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลดริงค์ที่เคยเป็นพระเอกของบริษัทเกิดการติดลบในตลาดถึง 10% และด้วยทางเซ็ปเป้เองที่เน้นในส่วนของตลาดส่งออกต่างประเทศมากขึ้น

โดยที่ปัจจุบันสัดส่วนรายได้สินค้าที่เป็นกำลังสำคัญใหญ่ของเซ็ปเป้ได้เปลี่ยนเป็นกลุ่มน้ำผลไม้แล้ว มีสัดส่วน 60% ฟังก์ชันนัลดริงค์เหลือ 20% ฟังก์ชันนัลพาวเดอร์ 20% และในส่วนของกาแฟพร้อมดื่ม และอื่นๆ อีกตัวเลขนิดหน่อย

1_shappe

หลังจากที่เซ็ปเป้เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ 2 ปีแล้ว จำเป็นจะต้องปั๊มรายได้ให้เติบโตอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ทำให้เซ็ปเป้เองต้องเติมพอร์ตสินค้าให้มากขึ้น และวิธีที่ง่ายที่สุดก็คือการซื้อและควบรวมกิจการ (M&A) จึงเกิดดีลในการเข้าซื้อออลโคโคผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมะพร้าว

ดีลนี้ใช้เวลาตกลงเจรจากันเป็นเวลา 1 ปี เบื้องต้นใช้งบลงทุน 140 ล้านบาท และเข้าถือหุ้น 40% ซึ่งใจจริงแล้วเซ็ปเป้อยากซื้อหุ้นให้มากกว่านี้ แต่ทางออลโคโคยังตัดใจขายให้ไม่ได้ จึงใช้วิธีค่อยๆ ดูมจแต่จะเป็นลักษณะของการเพิ่มหุ้นในปีต่อๆ ไปแทน โดยที่จะเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็น 51% ภายในปี 2561 และเพิมเป็น 60% ภายในปี 2563

01_shappe

ปิยจิต รักอริยะพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าตลาดน้ำมะพร้าวยังมีโอกาสอีกสูงมากทั้งในประเทศ และต่างประเทศ คนหันมาดื่มน้ำมะพร้าวกันเยอะเพราะเรื่องเทรนด์สุขภาพ ยิ่งในต่างประเทศจะพบว่าดีมานด์สูงมากๆ ทำให้เรามองหาสินค้ามาเติมพอร์ตให้มากขึ้น เพราะตลาดน้ำผลไม้ก็เติบโตขึ้นตลอดปีละ 4-5% แต่ฟังก์ชันนัลดริงค์มีการติดลบมาหลายปีแล้ว ดีลนี้ทำให้เรามีแบรนด์น้ำมะพร้าวมาทำตลาด เพราะเราถนัดในการสร้างแบรนด์ ในขณะที่ทางออลโคโคถนัดเรื่องวัตถุดิบ แต่ไม่ถนัดเรื่องการสร้างแบรนด์มากนัก

ทำไมต้องเลือกน้ำมะพร้าว

แน่นอนว่าตลาดน้ำมะพร้าวยังคงเนื้อหอมสมชื่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะด้วยเทรนด์สุขภาพที่มาแรง ในประเทศเองก็มีแบรนด์น้ำผลไม้ลงมาเล่นตลาดนี้ รวมทั้งแบรนด์ใหม่ที่ลุยตลาดน้ำมะพร้าวโดยเฉพาะ เพียงแต่ว่าตลาดนี้ยังใหม่พอสมควรในประเทศไทย ยังไม่มีตัวเลขมูลค่าตลาดที่ชัดเจน

แต่ยุทธศาสตร์หลักของเซ็ปเป้ต้องการที่จะเน้นการส่งออกอยู่แล้ว ด้วยสัดส่วนรายได้ 65% เพราะด้วยน้ำมะพร้าวในตลาดต่างประเทศยังคงเป็นที่นิยม ยิ่งในโซนยุโรป อเมริกา และอังกฤษ ในประเทศสหรัฐอเมริกามีมูลค่าตลาดราว 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีการเติบโต 25% ต่อปี และมี 3 แบรนด์หลัก ได้แก่ วีต้าโคโค, ซิโก และวัน ทำให้ยังมีโอกาสอีกมาก

โดยที่เซ็ปเป้ใช้จุดแข็งในเรื่องของรสชาติน้ำมะพร้าวที่เป็นมะพร้าวน้ำหอม จะมีรสชาติหอมหวานกว่ามะพร้าวจากประเทศอื่นๆ

ซึ่งกลยุทธ์เบื้องต้นหลังจากที่มีการซื้อออลโคโค นอกจากแบรนด์น้ำมะพร้าวบรรจุขวดที่มีอยู่แล้วจะเน้นทำตลาดในประเทศไทย เซ็ปเป้เองจะปั้นแบรนด์ใหม่ที่เป็นน้ำมะพร้าวเพื่อส่งออกโดยเฉพาะ เพราะต้องการแยกการทำตลาดกันชัดเจน เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคต่างกัน สินค้าใหม่จะทำการออกช่วงปลายปีนี้

2_shappe

ทำไมถึงเลือกออลโคโค

เนื่องจากธุรกิจน้ำมะพร้าวเป็นสินค้าทางการเกษตรที่ต้องใช้ความชำนาญเฉพาะทาง จึงมองหาพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญโดยตรงดีกว่า ซึ่งกลุ่มบริษัท ออลโคโค จำกัด อยู่ในธุรกิจมะพร้าวมากว่า 12 ปี และสามารถมีผลผลิตมะพร้าวกว่า 100,000 ลูกต่อวัน และมีการส่งออกมะพร้าวน้ำหอมไปต่างประเทศภายใต้แบนนด์ K-fresh ไปกว่า 30 ประเทศ

ที่สำคัญทางออลโคโคได้มีการต่อยอดมะพร้าวไปยังกลุ่มผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ไอศกรีม พุดดิ้ง น้ำมะพร้าวเกล็ดหิมะ และมีร้านค้าปลีกภายใต้แบรนด์ all coco ปัจจุบันมีทั้งหมด 14 สาขาทั้งในรูปแบบคาเฟ่ และคีออส ทำให้ออลโคโคมีโปรดักต์มะพร้าวที่ครบวงจร

ส่วนแนการตลาดในการบริหารแบรนด์ออลโคโคต่อไปนั้น ทางปิยจิตบอกว่าจะกางแผนให้ดูอีกทีช่วงไตรมาสที่ 4 หลังจากที่ทำการเข้าซื้อในวันที่ 1 ตุลาคม มีการตั้งเป้ารายได้ของออลโคโค 500 ล้านบาท ภายในปั 2564 ส่วนรายได้ของเซ็ปเป้ในปีนี้ตั้งเป้าเติบโต 15% มีรายได้ 2,800 ล้านบาท

4_shappe 3_shappe