กลุ่มเซ็นทรัล จัดทัพองค์กร ล่าสุดได้ดึงมือ 2 เศรษฐกิจ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล และ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ นั่งที่ปรึกษาอาวุโส เพื่อรับมือความท้าทายในอนาคต
หลังจากที่ได้ดึงเอา ญนน์ โภคทรัพย์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ มานั่งแท่น President ของเซ็นทรัลกรุ๊ป พร้อมกับอดีตผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ล่าสุด กลุ่มเซ็นทรัลยังได้ดึงมือ 2 เศรษฐกิจ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังก์ถัด (UNCTAD) มาเป็นที่ปรึกษาอาวุโส
ความท้าทายและทิศทางกลุ่มเซ็นทรัล
-
ต้องการเป็นผู้นำในกลุ่มบริษัทด้าน “ไลฟ์สไตล์และการบริการ”
ก้าวไปอีกขั้นสู่การเป็นศูนย์รวมแห่งการกิน เที่ยว ช้อป พักผ่อน และความบันเทิงอย่างครบวงจร ตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่มรองรับความท้าทายการแข่งขันในอนาคต และพร้อมดำเนินธุรกิจด้วยการมองการณ์ไกลไปอีก 10 ปีข้างหน้า
ประกาศยอดขายปี 2016 ทะลุ 3.2 แสนล้าน เติบโต 21%
- ปี 2016 กลุ่มเซ็นทรัล ประมาณการยอดขายรวมคิดเป็น 3.2 แสนล้านบาท เติบโตจากปีที่แล้ว 21%
- ยอดขาย ในประเทศ 70 ตปท. 30
- กรุงเทพมหานคร 40% (กรุงเทพมหานคร และปริมณฑลอีก 5 แห่ง)
- ต่างจังหวัด 30% (ครอบคลุมจังหวัดสำคัญ 36 จังหวัด ภายในปี 2017)
- ต่างประเทศ 30%
ลูกค้าหลากหลายยิ่งขึ้น
กลุ่มลูกค้าไทย เบบี้บูมมากสุด
- จำนวนประชากรไทยทั้งหมด 66 ล้านคน (ข้อมูลปี 2016) อัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรเพียง 0.5% ต่อปีในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
- 1/3 ของจำนวนประชากรที่อาศัยในเขตเทศบาล และมีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ภายใน 4 ปีข้างหน้า (ปี 2020) ประชากรผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) จะมีมากกว่าประชากรเด็ก (อายุต่ำกว่า 15 ปี)
กลุ่มลูกค้าไทยของกลุ่มเซ็นทรัล
- ปี 2016 ธุรกิจของกลุ่มเซ็นทรัลกระจายตัวอยู่ทั้งหมด 34 จังหวัดทั่วประเทศ รองรับประชากรไทยกว่า 45 ล้านคน (70% ของประชากรไทยทั้งหมด)
- จำนวนสมาชิก The 1 card มีทั้งหมด 11 ล้านคน โดยส่วนมากเป็นคนเจนเนอเรชั่น X
กลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยว
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในประเทศไทยปี 2015 มีประมาณ 30 ล้านคน เพิ่มขึ้น 21% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2014
- จำนวนนักท่องเที่ยวแบ่งตามเชื้อชาติ
- ยอดใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อวัน 5,140 บาท แบ่งเป็น ที่พักอาศัย 30%, จับจ่ายใช้สอย 19%, อาหารและเครื่องดื่ม 11%, กิจกรรมความบันเทิง 10%, ท่องเที่ยว 6% และอื่นๆ
- จังหวัดยอดนิยม วัดจาก hashtag# ของนักท่องเที่ยวในโซเชียลมีเดีย ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, ภูเก็ต, ชลบุรี, กระบี่, สุราษฎร์ธานี, พังงา, เชียงใหม่, สงขลา และอยุธยา
กลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยวของกลุ่มเซ็นทรัล
จีนครอง ตะวันออกกลาง และอินเดีย
- ในปี 2015ยอดขายของกลุ่มห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลจากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 15% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2014 ซึ่งอัตราการเติบโตสูงสุดมาจากนักท่องเที่ยวจีน (78%), กลุ่มตะวันออกกลาง (48%) และอินเดีย (22%)
- ธุรกิจของกลุ่มเซ็นทรัลได้กระจายตัวอยู่ทั้งหมด 7 แห่งใน 8 จังหวัดยอดนิยมของนักท่องเที่ยว
กลุ่มลูกค้าในเขตการค้าชายแดน
- กลุ่มเซ็นทรัลได้กระตุ้นการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบด้วย ประเทศพม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย ซึ่งประชากรจากทั้ง 4 ประเทศรวมกันมีจำนวนกว่า 107 ล้านคน
- กลุ่มเซ็นทรัลยังขยายศักยภาพการค้าปลีกครบวงจรไปในประเทศเวียดนาม ซึ่งมีประชากรรวมทั้งหมด 92 ล้านคน และยอด GDP เติบโตมากกว่า 10%
รับมือค้าออนไลน์
ยุคดิจิทัลได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคนไทยในการจับจ่ายใช้สอยสินค้าต่างๆ ผ่านทางออนไลน์มากขึ้น เช่น สินค้าความงาม เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ ผู้บริโภคจะทำการค้นหาข้อมูลออนไลน์มากกว่า 50% เพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ และแนวโน้มการซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
- ธุรกิจต้องทำการผนวกรวมทุกช่องทางการขายเข้าด้วยกัน เพื่อที่จะเข้าถึงผู้บริโภคได้สูงสุด เพราะปัจจุบันผู้บริโภคนิยมใช้สมาร์ทโฟน แอปพลิเคชั่น และเสพสื่อโซเชียลมีเดียไปพร้อมกัน ขณะเดินจับจ่ายใช้สอยในร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้า
- ใน 10 ปีข้างหน้า การเติบโตโดยส่วนใหญ่ของธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทยจะมาจากช่องทางออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันหลายประเทศการดำเนินธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์มีบทบาทอย่างมาก เช่น จีน (ยอดขายทางออนไลน์คิดเป็น 14% ของยอดขายรวมทั้งหมด), ญี่ปุ่น (7%) และสหรัฐอเมริกา (9%)
- ธุรกรรม อีคอมเมิร์ซ ยังไม่ค่อยได้รับความนิยมในประเทศไทย (มีเพียง 2% ของธุรกิจค้าปลีก) เนื่องจากธุรกิจค้าปลีกโดยส่วนใหญ่ยังคงยึดการค้าขายรูปแบบเดิม มากกว่าที่จะหลอมรวมกับสื่อออนไลน์ ดังนั้นสินค้าและบริการผ่านทางสื่อออนไลน์จึงยังไม่สมบูรณ์แบบเท่าที่ควร
เปิดยอดขายเซ็นทรัลผ่านออนไลน์
- ปัจจุบันยอดขายทางออนไลน์ของกลุ่มเซ็นทรัลจากออฟฟิศเมท ของประเทศไทย และ เหงียนคิม ของประเทศเวียดนามในปีนี้จะสูงกว่า 2,500 ล้านบาท เนื่องจากได้เข้าสู่ช่องทางออนไลน์และเป็นผู้นำในกลุ่มสินค้าอย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ยอดขายจากช่องทางออนไลน์ของกลุ่ม CentaraHotels and Resorts นับเป็น 30% ของยอดรวม
- กลุ่มเซ็นทรัลมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำที่สร้างจุดเปลี่ยนของการทำธุรกิจจากร้านค้า เข้าสู่การผนวกทุกช่องทางการขายเพื่อเข้าถึงผู้บริโภค
- เล็งเห็นโอกาสจากการใช้สื่อดิจิทัล ตั้งแต่ธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (อีคอมเมิร์ซ) ไปจนถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างโมเดลทางธุรกิจ อย่างเช่น Airbnbและ Uber ซึ่งได้เริ่มกระจายธุรกิจต่างๆ เข้าไปในช่องทางข้างต้น ไม่ว่าจะเป็น E-book, MEB, Central Online, Zalora ซึ่งในอนาคตกลุ่มเซ็นทรัลจะขยายธุรกิจให้ครอบคลุมในช่องทางดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
2. การขยายตัวในต่างประเทศ, ระดับโลภาภิวัฒน์ และระดับภูมิภาค (CLMV ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม, AEC – ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน)
- การขยายตัวในต่างประเทศ
- ปี 2011 – 2016 ยอดขายในต่างประเทศ เพิ่มขึ้น 12 เท่า (จาก 7,000 ล้านบาทเป็น 85,000 ล้านบาท)
- ยอดขายในประเทศ เพิ่มขึ้น 2 เท่าในช่วงระยะเวลาเดียวกัน
- จำนวนประชากรทั้งหมดในกลุ่ม CLMV รวมกับประเทศมาเลเซีย และประเทศอินโดนีเซีย รวมเป็น 525 ล้านคน
- ประเทศอินโดนีเซีย 258 ล้านคน
- ประเทศเวียดนาม 92 ล้านคน
- ประเทศไทย 68 ล้านคน
- ประเทศพม่า 54 ล้านคน
- ประเทศมาเลเซีย 30 ล้านคน
- ประเทศกัมพูชา 16 ล้านคน
- ประเทศลาว 7 ล้านคน
ปัจจุบันกลุ่มเซ็นทรัลมีกิจการอยู่ในประเทศเวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
ประเทศเวียดนาม
- ในปี 2016 คาดว่าจะมียอดขาย 37,000 ล้านบาท ประกอบด้วย
- ธุรกิจช้อปปิ้งมอลล์ 31 แห่ง
- ธุรกิจ Food Retail: ไฮเปอร์มาร์เก็ต / ซูเปอร์มาร์เก็ต 55 แห่ง (Big C 36 แห่ง และ ร้าน Lanchi 19 แห่ง) และร้าน Big C Express 13 แห่ง
- ห้างโรบินส์ 2 แห่ง
- ร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้า Nguyen Kim 27 แห่ง
- ร้านขายอุปกรณ์กีฬา 29 แห่ง (ร้าน Supersports, Crocs, New Balance, Speedo)
- ร้านขายสินค้าแฟชั่น 36 แห่ง (ร้าน Mark & Spencer, F&F, Komonoya, Lee, Sanrio)
- ร้าน B2S 2 แห่ง
- ร้านค้าออนไลน์ : Zaloraและ Nguyen Kim online
- ธุรกิจของกลุ่มเซ็นทรัลในประเทศเวียดนาม ครอบคลุม 26 จังหวัด คิดเป็น 60% ของจำนวนประชากรทั้งหมด
มาเลเซีย
- กลุ่มธุรกิจเทรดดิ้งเสื้อผ้า แฟชั่น HCH โดยเซ็นทรัล มาร์เก็ตติ้ง กรุ๊ป
- ศูนย์การค้า เซ็นทรัลพลาซา ไอ-ซิตี้ (i-City) โดยซีพีเอ็นจะเปิดให้บริการในเดือนตุลาคมปี 2018
อินโดนีเซีย
- ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล 2 แห่ง ในกรุงจาการ์ตา
3. ธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SME)
ประเทศไทยมีธุรกิจ SME อยู่ 2.8 ล้านราย โดย42% หรือ 1.2 ล้านรายของจำนวนธุรกิจ SME ทั้งหมด เป็นธุรกิจด้านการค้าปลีกและค้าส่ง
- แรงงานในธุรกิจ SME มี 13 ล้านคน โดย 6 ล้านคน คือแรงงานที่อยู่ใน sector เดียวกันของกลุ่มเซ็นทรัล จำแนกเป็น
- ธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง 3.6 ล้านคน
- ธุรกิจด้านโรงแรมและร้านอาหาร 1.2 ล้านคน
- ธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ 1 ล้านคน
- ธุรกิจด้านการส่งออก SME มีอัตราการเติบโตที่ก้าวกระโดดกว่าธุรกิจขนาดใหญ่
- ปี 2011 – 2015 อัตราการส่งออกของธุรกิจ SME มีการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 4.8% เปรียบเทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่ที่อัตราการส่งออกเติบโตเฉลี่ยต่อปีเพียง 1.2%
- กลุ่มเซ็นทรัลมีตั้งใจที่จะส่งเสริมและผลักดันธุรกิจเอสเอ็มอีไทยที่มีศักยภาพ เพื่อการเติบโตและขยายตลาดทั้งภายในและนอกประเทศ เป็นการช่วยเหลือชุมชนให้มีรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืนสามารถแบ่งปันความรู้ไปสู่ชุมชนรอบข้างให้เติบโตไปพร้อมกันได้
4. แนวทางการบริหารงานกับผู้มีส่วนร่วมเชิงธุรกิจ
กลุ่มเซ็นทรัลมุ่งมั่นที่จะสร้างค่านิยมขององค์กรไปยังผู้มีส่วนร่วมเชิงธุรกิจ (ผู้ผลิตสินค้าและวัตถุดิบ, สิ่งแวดล้อม, สังคม, พนักงาน, หน่วยงานภาครัฐ และคนรุ่นหลัง) ทั้งการร่วมมือกันในระยะยาว, การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ซึ่งจะนำไปสู่การเติบโตของธุรกิจร่วมกันด้วยความเท่าเทียม
- การบริหารองค์กรด้วยหลักธรรมาภิบาล
- กลุ่มเซ็นทรัลให้ความสำคัญกับหลักบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ท่ามกลางการเติบโตอย่างต่อเนื่องของกลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งธุรกิจเริ่มมีความหลากหลายเพิ่มขึ้น
- กลุ่มเซ็นทรัลมีการจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องดำเนินงานตามหลักปฏิบัติสากลเพื่อความเป็นเลิศ เช่น ซีพีเอ็น, โรบินสัน , ออฟฟิศเมท และกลุ่มธุรกิจโรงแรม
- เสถียรภาพทางการเงิน
- กลุ่มเซ็นทรัลขับเคลื่อนการบริหารงานด้วยการใช้ระบบการจัดการความเสี่ยงระดับมืออาชีพ
- มีการกำกับดูแลและบริหารงานภายใต้หลักธรรมาภิบาล และมุ่งเน้นการตรวจสอบ เพื่อความสมดุลและโปร่งใส
- ความสัมพันธ์กับหน่วยงานภาครัฐ
- กลุ่มเซ็นทรัลให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือกับรัฐบาล เพื่อสร้างและรักษาความสัมพันธ์อันดีร่วมกัน
- การขยายกิจการไปยังประเทศต่างๆ ของกลุ่มเซ็นทรัล เราจะปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของแต่ละประเทศอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งสนับสนุนนโยบายของทางภาครัฐ เช่น โครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อขยายขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ SME เป็นต้น
- กลุ่มเซ็นทรัล ยึดมั่นในปรัชญาการบริหารงาน คือ “การพัฒนาร่วมกันอย่างยั่งยืน”
- กลุ่มเซ็นทรัล มีการลงทุนอย่างต่อเนื่องเฉลี่ย 30,000 ล้านบาทต่อปี เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ, สร้างอาชีพ พัฒนาและสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน อันจะนำมาซึ่งความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนและประเทศ (ตัวเลขการลงทุนของกลุ่มเซ็นทรัล ในปี 2015 เท่ากับ 34,000 ล้านบาท)
- การทำธุรกิจคู่สังคม (CSV – Creating Shared Value)
กลุ่มเซ็นทรัลตระหนักถึงความสำคัญและยึดถือปฏิบัติในการบริหารธุรกิจควบคู่ไปกับการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม โดยยึดหลักของ UN Global Compact โดยมีวิสัยทัศน์ของ UN SDGs – United Nations Sustainable Development Goals–SDGs) มุ่งที่จะสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศและช่วยส่งเสริมคุณภาพขีวิตของชาวไทยทุกคน