สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า พร้อมพัฒนาบัณฑิตขับเคลื่อนประเทศไทยในภารกิจเชื่อมโยงการพัฒนาประเทศในทุกด้านโดยมุ่งพัฒนาบัณฑิตให้เป็นนักคิด นักวิเคราะห์ มุ่งการวิจัย มีความเป็นผู้นำ มีคุณธรรมและจริยธรรม พร้อมที่จะฉายภาพให้กับสังคมและประเทศชาติในทิศทางของการพัฒนาประเทศที่อย่างยั่งยืน เพื่อเชื่อมโยงบูรณาการทั้งภาคสังคม ภาคการศึกษาไปพร้อมๆกัน โดยล่าสุดทางนิด้าให้ความไว้วางใจเลือกใช้เทคโนโลยี SAS เพื่อการขับเคลื่อนบัณฑิตให้เป็นบุคลากรที่มีความเป็นมืออาชีพ เป็นนักวิเคราะห์ และมีความเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) สูงในยุค Thailand 4.0
อาจารย์ ดร.ศิวิกา ดุษฎีโหนด คณบดีคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ หรือนิด้า เปิดเผยถึงที่มาของคณะสถิติประยุกต์ว่า คณะของเราเริ่มก่อตั้งขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ต้องการให้คนไทยมีความรู้เกี่ยวกับข้อมูล และนำข้อมูลมาประกอบการวางแผนในการพัฒนาประเทศจึงเป็นที่มาของคณะสถิติประยุกต์ที่มุ่งเน้นมาตลอด 50 ปี กระทั่งปัจจุบันซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญกับนโยบาย Thailand 4.0 ยุคที่วิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่ถูกรายล้อมด้วยข้อมูลสารสนเทศไม่ว่าจะเป็น Big Data, ดิจิทัล เทคโนโลยี โดยข้อมูลที่ไหลเข้ามาถูกบันทึกรวบรวมเป็นข้อมูลขนาดใหญ่และยังเกิดคอมมูนิตี้เฉพาะมากมาย ทำให้นักบริหารยุคนี้ก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไร จะต้องคิดอย่างรอบคอบจะใช้ความรู้สึกนึกคิดด้านเดียวคงไม่ใช่แล้ว ซึ่งจะต้องใช้ข้อมูลมาสนับสนุนและอาจจะต้องมีไอเดียในการนำข้อมูลไปแก้ไขปัญหา และสร้างโอกาส
ทั้งนี้เมื่อ Thailand 4.0 เข้ามาทำให้บรรยากาศของการทำงานทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนในปัจจุบันมีบรรยากาศดีขึ้น สำหรับคณะสถิติประยุกต์ของนิด้าปัจจุบันมีการเตรียมบัณฑิตที่จะออกไปสู่ภาคอุตสาหกรรมอย่างเข้มข้น โดยมีการเปิดหลักสูตรเรียกว่า Business Analytics เพื่อทำให้คุณค่าของข้อมูลชัดเจนขึ้น มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมกับธุรกิจ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล ซึ่งจะทำให้ข้อมูลที่ถือว่าเป็นทรัพย์สินเกิดมีคุณค่าในบรรยากาศที่สดใส และเรารอเวลานี้มานานเพราะเมื่อย้อนไปถ้ากล่าวถึงสิถิติประยุกต์ส่วนใหญ่นึกถึงข้อมูลที่เป็นสถิติอย่างเดียว
รวมทั้งบรรยากาศในการทำธุรกิจในยุค Digital Technology จะเน้นการใช้สารสนเทศ ทั้งที่เป็นตัวเลข และรูปแบบอื่นๆ หากธุรกิจสามารถรวบรวมและทำความเข้าใจกับข้อมูลได้มากเท่าไร ก็จะรับรู้ปัญหา โอกาส และสภาพทางธุรกิจต่างๆ ได้อย่างชัดเจน ซึ่งส่งผลให้สามารถแข่งขันทางธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งทางคณะได้ปรับปรุงหลักสูตรที่มาตอบโจทย์การวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยอาศัยเครื่องมือ (Tool) ทางเทคโนโลยีในหลายๆ แพลตฟอร์มเข้ามาช่วย ซึ่งรวมถึงแซสด้วย เพื่อให้เห็นถึงกระบวนการทางธุรกิจ และก่อให้เกิดการวิเคราะห์ข้อมูลที่ชาญฉลาด
ล่าสุดนิด้าได้ร่วมมือกับแซสในกิจกรรมการจัดอบรมให้กับนักศึกษาโดยให้ความรู้เกี่ยวกับ Business Analytics และเทรนด์อาชีพใหม่ที่กำลังจะมาหรือนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) โดยมีการจัดสัมมนาในหัวข้อ The First NIDA Business Analytics and Data Sciences Contest/Conference ซึ่งได้รับความสนใจจากนักศึกษาเข้าร่วมฟังบรรยายจำนวนมาก
หลักสูตร Business Analytics ที่เปิดใหม่ล่าสุดมีนักศึกษาปริญญาโทสมัครเข้าเรียนแล้วจำนวน 60-70 คน และสัดส่วนกว่า 50 คน ส่วนใหญ่มีประสบการณ์การทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี สำหรับสัดส่วนที่เหลืออีก20 คน จะเป็นนักศึกษาที่จบปริญญาตรีใหม่ๆ ทั้งนี้การรับนักศึกษาปริญญาโทจะมีการสัมภาษณ์ก่อนเสมอ ซึ่งข้อดีของผู้เรียนที่มีประสบการณ์ทำงานมาก่อนจะได้เปรียบกว่าเพราะจะรู้กรอบการทำงานของตัวเอง รู้จักองค์ความรู้ และรู้คุณค่าของการเข้ามาเรียนปริญญาโทว่าจะไปเสริมหรือทำให้ตัวเองก้าวหน้าตรงจุดไหน เป็นต้น
สำหรับรายละเอียดของหลักสูตร Business Analytics ที่เปิดล่าสุดมีทั้งสอนทฤษฎีที่มาที่ไปในการนำเครื่องมือเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยมีการจำลองโจทย์ของธุรกิจภาคต่างๆ ให้ผู้เรียนได้เห็นเป็นเคสๆ ของปัญหา พร้อมกับแนะนำการแก้ไขปัญหาในแต่ละสถานการณ์ ซึ่งบางเคสก็ได้รับความร่วมมือกับเอกชนในการให้ข้อมูล แต่ต้องยอมรับว่าไม่มากเหมือนในต่างประเทศที่เอกชนกับสถาบันการศึกษาจะร่วมมือกันดีในเรื่องของการให้ความรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาหลายๆ ด้านกับสถาบันการศึกษา
นอกเหนือการสร้างผู้เรียนให้เป็นนักวิเคราะห์มืออาชีพแล้ว ยังต้องสร้างให้ผู้เรียนมีภาวะความเป็นผู้นำโดยนิด้ามุ่งเน้นกิจกรรมการทำงานเป็นกลุ่มให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้นอกเหนือวิชาการอย่างเดียว และไม่ใช่การทำงานแบบคิดคนเดียวทำงานคนเดียว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการรับรู้ ได้ผู้นำที่ดี แต่ผู้นำก็ต้องมีความเป็นลูกทีมที่ดีด้วย เพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีด้วย ซึ่งนิด้าเราเน้นอยู่ 5 ประการ หรือ Wisdom for Change ประกอบด้วย W: World Class คือความมุ่งมั่น, I: Innovation มุ่งสร้างนวัตกรรม, S: Social Responsibility คือมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม, D:Discipline คือ ให้มีความเป็นระเบียบวินัย , O: Open-Mindedness คือมุ่งให้บุคลากรทุกคนมีจิตใจเปิดกว้างรู้จักฟังควมคิดเห็นของผู้อื่น ,Morality คือ มุ่งให้ทุกคนมีคุณธรรม ซึ้อสัตย์สุจริตยึดหลักธรรมภิบาล
นายณัฐพล อภิลักษณ์โตยานันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันแซสนำโปรแกรม SAS Analytic เข้าไปจัด Workshop เพิ่มทักษะการวิเคราะห์ให้กับนักศึกษา โดยร่วมทำงานอย่างใกล้ชิดในหลายๆ สถาบันพร้อมกับการให้ข้อมูลเทรนด์ของนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) ซึ่งมีความต้องการของอุตสาหกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในต่างประเทศผู้ที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลจะได้รับค่าตอบแทนที่สูง สำหรับประเทศไทยนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลกำลังได้รับความสนใจจากองค์กรต่างๆ มากทีเดียว ขณะที่รัฐบาลมีนโยบาย Thailand4.0 ยิ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ข้อมูลเกิดความสำคัญมากขึ้น
การร่วมมือกับนิด้าในปัจจุบันนับเป็นอีกก้าวหนึ่งของช่วงเวลาสำคัญในการปูทางนำเทคโนโลยีการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกในลักษณะการร่วมงานแบบใกล้ชิดเพื่อเตรียมพร้อมบุคลากรป้อนอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อให้เข้ากับยุค Thailand 4.0 และเป็นนโยบายของแซสด้วยในการให้ความสำคัญกับภาคการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง โดยเปิดกว้างในความร่วมมือในหลากหลายมิติเพื่อตอบโจทย์และเกิดการพัฒนาประเทศในทุกภาคนส่วน ซึ่งแซสยินดีเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทยพร้อมก้าวไปสู่ Thailand 4.0
เกี่ยวกับบริษัท แซส
บริษัท แซส เป็นผู้นำในตลาดซอฟต์แวร์และบริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ (Business Analytics) ด้วยโซลูชั่นเชิงนวัตกรรมที่ให้ลูกค้าในรูปของ Integrated Framework และเทคโนโลยีสำหรับการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และการเข้าถึงข้อมูลช่วยให้ลูกค้าของแซส ที่มีมากกว่า 75,000 แห่งทั่วโลก สามารถตัดสินใจทางธุรกิจได้ดี และรวดเร็วยิ่งขึ้น และนับตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา แซส เดินหน้าอย่างมุ่งมั่นในการเป็น “พลังแห่งการรอบรู้” หรือ The Power to Know® สำหรับลูกค้าทั่วโลก