เมื่อ “เบนซ์” ขายขนมปัง “โตโยต้า” ทำจักรเย็บผ้า

ผลิตภัณฑ์ชื่อดังของญี่ปุ่นหลายรายใช้กลยุทธ์การตลาดแหวกแนว นำเสนอสินค้าที่อยู่นอกเหนือธุรกิจหลักของตนเอง สร้างความประหลาดใจให้กับผู้บริโภค แต่ประสบความสำเร็จในการสร้างกระแสให้กับธุรกิจของแต่ละราย

1_b

เมอร์เซเดส-เบนซ์ ผู้ผลิตรถยนต์หรูจากยุโรป เปิดจำหน่ายบะหมี่ราเม็งในญี่ปุ่นในช่วงเทศกาลคริสต์มาส ได้รับความนิยมล้นหลามจากลูกค้าที่อาจไม่ต้องการซื้อรถยนต์หรูหรา แต่ก็สามารถสัมผัสบะหมี่สุดอร่อยตำรับพิเศษได้ นี่เป็นตัวอย่างล่าสุดของการตลาดแบบข้ามสายพันธุ์

โชว์รูมรถเบนซ์ในญี่ปุ่นเปิด "คาเฟ่" ในปี 2011
โชว์รูมรถเบนซ์ในญี่ปุ่นเปิด “คาเฟ่” ในปี 2011

ก่อนหน้านี้ในปี 2011 ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศญี่ปุ่นก็เคยเปิดร้านกาแฟ ที่ด้านหน้าโชว์รูมจำหน่ายรถ โดยสร้างอาคารไม้ 2 ชั้นหรูหราเป็นร้านขายกาแฟ ขนมปัง และของว่าง ซึ่งทั้งหมดมีโลโก้ “ดาว 3 แฉก” ของเบนซ์ประดับไว้

ร้านกาแฟแห่งนี้ถึงแม้เปิดเป็นการชั่วคราว แต่ก็ได้รับการตอบรับจากลูกค้าอย่างคับคั่ง และเป็นต้นแบบให้เบนซ์เปิดขายบะหมี่ราเม็งในปีนี้

3_b

4_b

ผู้ผลิตสินค้ายี่ห้อดังในญี่ปุ่นต่างเคยนำเสนอสินค้าที่อยู่นอกเหนือธุรกิจหลักของตนเอง เพื่อขยายธุรกิจหรือสร้างกระแสความรับรู้ใหม่ให้กับบรรดาลูกค้า เป็นต้นว่า

ซิเซโด เครื่องสำอางขวัญใจสาวน้อยสาวใหญ่ เคยเปิดร้านอาหาร “ซิเซโด Parlour” ที่ตึกสำนักงานใหญ่ในย่านกินซา กรุงโตเกียว จำหน่ายขนมปังขนมเค้ก โดยทุกๆ เดือนจะมีเมนูพิเศษด้วย โดยเฉพาะ ชีสเค้ก เป็นขนมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดผู้ผลิตเครื่องสำอางชื่อดังนี้

5_b

ยาคูลท์ นมเปรี้ยวที่อยู่คู่กับคนไทยมานานหลายสิบปี เคยข้ามสายมาขายเครื่องสำอางที่ผสมจุลินทรีย์ยาคูลท์ ที่มีผลวิจัยว่าช่วยบำรุงผิวพรรณได้ด้วย สินค้าหลักได้แก่ “PARABIO AC LOTION” ของยาคูลท์ รวมทั้งครีมบำรุงผิว ครีมล้างหน้า และครีมบำรุงหน้า

6_b

โตโยต้า ผู้ผลิตรถยนต์ที่มียอดขายอันดับ 1ของโลก แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าแท้จริงแล้ว โตโยต้าเริ่มขึ้นมาจากธุรกิจผลิตเครื่องทอผ้า ก่อนที่จะผันตัวมาสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ ในปี 1946 “คิอิชิโร โทะโยะดะ” บุตรชายของซะกิชิ โทะโยะดะ ผู้ก่อตั้งบริษัทได้ให้หน่วยวิจัยของบริษัทผลิตจักรเย็บผ้าอัจฉริยะที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อระลึกถึงธุรกิจดั้งเดิมของตระกูล ก่อนจะพัฒนามาเป็นเบอร์หนึ่งในการผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่น

7_b

อายิโนะโมะโต๊ะ ผู้ผลิตเครื่องปรุงรสและขยายตัวไปสู่อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ก็มีผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของตัวเองในชื่อแบรนด์ Jino ซึ่งระบุว่ามีส่วนผสมของกรดอะมิโน ซึ่งเป็นสูตรลับเฉพาะที่อายิโนะโมะโต๊ะค้นพบในปี 1926 และพัฒนามาเป็น “ผงชูรส” เจ้าแรกของโลก ทางอายิโนะโมะโต๊ะพบว่า กรดอะมิโนนี้ยังสามารถช่วยบำรุงผิวพรรณและเป็นเครื่องสำอางชั้นยอดอีกด้วย

8_b

ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อของญี่ปุ่นเริ่มต้นจากการเป็นผู้ชำนาญในธุรกิจประเภทหนึ่ง จากนั้นจึงขยายข้ามสายพันธุ์ไปยังธุรกิจอื่นๆ ซึ่งหลายกรณีอาจแตกต่างจากธุรกิจหลักอย่างสิ้นเชิง การตลาดข้ามสายพันธุ์นี้มีทั้งที่สำเร็จและล้มเหลว แต่ทั้งหมดก็สะท้อนถึงความพยายามและความคิดสร้างสรรค์ในการต่อยอดธุรกิจของบริษัทญี่ปุ่น เพื่อให้ยืนหยัดข้ามกาลเวลา และทันกระแสเทคโนโลยีอันรวดเร็วได้

ที่มา : http://manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9590000128821