ความก้าวหน้าของการเข้าถึงทางการเงินในยุคดิจิทัล: การประชุมเรื่องการเข้าถึงทางการเงินอย่างทั่วถึงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เริ่มขึ้นแล้วที่นครฮานอย ประเทศเวียดนาม

การประชุม Asia Pacific Inclusion Summit 2017 ได้จัดขึ้นที่นครฮานอย ประเทศเวียดนาม รวมพลผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) สำคัญๆ ผู้นำทางแนวคิด และมืออาชีพด้านบริการทางการเงินกว่า 450 ราย เพื่อกำหนดแผนให้การเข้าถึงทางการเงินทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ก้าวไกลยิ่งขึ้น

การประชุมนี้ได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 โดยมูลนิธิซิตี้ (Citi Foundation) ร่วมกับมูลนิธิเพื่อความร่วมมือด้านการพัฒนา (FDC – Foundation for Development Cooperation จากออสเตรเลีย) ซึ่งจับมือกับเครือข่าย The Banking with the Poor Network (BWTP) องค์กรในเอเชียของผู้ถือหุ้นไมโครไฟแนนซ์ (สถาบันการเงินชุมชนรายย่อย) เพื่อช่วยคนจนเข้าถึงแหล่งเงินหรือสินเชื่อมากขึ้น และ The Economist Group โดยเจ้าภาพงานประชุมในปีนี้คือ ธนาคารกลางเวียดนาม

ตามหัวข้อการประชุม “ความก้าวหน้าของการเข้าถึงทางการเงินอย่างทั่วถึงในยุคดิจิทัล” ผู้เข้าประชุมจะร่วมกันพิจารณาโอกาสและอุปสรรคในการเข้าถึงทางการเงินของคนเอเชียแปซิฟิกรุ่นต่อไป พร้อมทั้งร่วมแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมล่าสุดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน เพื่อกลุ่มคนที่ยังไม่เคยมีบัญชีเงินฝากในธนาคารและกลุ่มคนที่เข้าไม่ถึงแหล่งเงิน

นางมิแชล เคอร์รี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ มูลนิธิเพื่อความร่วมมือด้านการพัฒนา (FDC) เผยว่า “ผลกระทบที่ยุคดิจิทัลมีต่อการเข้าถึงทางการเงินอย่างทั่วถึงนั้น นับเป็นการปฏิรูปทางการเงินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคสมัยของเราทีเดียว” และเสริมว่า “จากการที่มีผู้เข้าร่วมประชุมมากมายในครั้งนี้ แสดงถึงความทุ่มเทให้แก่การปฏิรูปดังกล่าว ซึ่งทั้งสร้างขวัญกำลังใจและให้แรงบันดาลใจแก่ผู้พบเห็น”

นาง เหงียนถิห่ง รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศเวียดนามกล่าวถึงอนาคตของการเข้าถึงทางการเงินในวันนี้ว่า “องค์กรต่างๆในปัจจุบัน ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินรูปใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม และกำลังสร้างอนาคตของการเข้าถึงทางการเงินได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ได้สร้างความท้าทายต่อระบบการบริหารจัดการ การตรวจสอบ และความเสี่ยงของข้อมูล ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้นวัตกรรมทางการเงินรูปแบบใหม่มีความปลอดภัยสูง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่การเข้าถึงทางการเงิน”

แม้ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาจะมีความก้าวหน้าในการเข้าถึงทางการเงินอย่างทั่วถึงมากมายทั่วโลก แต่ยังคงมีผู้คนราวสองพันล้านคนที่ยังไม่เคยมีบัญชีธนาคารเลย ซึ่งเกินกว่าครึ่งของคนจำนวนดังกล่าวอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

แบรนดี้ แมคเฮล ประธานมูลนิธิซิตี้ และผู้อำนวยการความรับผิดชอบทางสังคม ของซิตี้ กล่าวว่า “วงจรการเข้าถึงทางการเงินอย่างทั่วถึง กำลังวิวัฒน์ เพื่อรวมผู้ให้บริการทางการเงิน ทั้งธนาคารและธุรกิจสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร เข้าไว้ในระบบ ไม่เพียงเท่านั้น ยังหมายรวมทางเลือกใหม่ทั้งหลาย อาทิ ผู้ให้บริการการเงินและการค้าผ่านทางโทรศัพท์มือถือและระบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น”

“สิ่งที่เราจะประชุมร่วมกันในปีนี้คือเรื่องความจำเป็นที่จะต้องวางนโยบาย เพื่อสร้างสมดุลระหว่างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ กับการเป็นหุ้นส่วนที่สร้างสรรค์ต่อกัน โดยนโยบายใหม่จะต้องช่วยผลักดันให้ประชากรที่มีรายได้น้อยเข้าถึงแหล่งเงินอย่างทั่วถึง ทั้งยังต้องคุ้มครองประชากรที่ถูกเอาเปรียบได้ง่ายเหล่านี้ด้วย”

ตลอดช่วงสองวันของการประชุม ผู้เข้าร่วมงานจะร่วมกันอภิปรายหัวข้อต่างๆ เล่ากรณีศึกษาสู่กันฟัง วิเคราะห์เทรนด์การเงินใหม่ๆ และพิจารณาโอกาสหลากหลายเพื่อผลักดันให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม โดยผู้เข้าประชุมงานซัมมิตครั้งนี้มีทั้งองค์กรสำคัญๆ เช่น ธนาคารรัฐของเวียดนามที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนยากจนในประเทศ (Vietnam Bank for Social Policies), ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (Bangko Sentral ng Pilipinas), Ford Foundation, MicroSave, Cullinan Group, Friend of Women’s World Banking, The Consultative

Group to Assist the Poor, World Bank Group, องค์การสหประชาชาติ (United Nations), Grameen Capital, ACCESS Development Services, Visa, bKash, MasterCard และมหาวิทยาลัยเยล

โดยการประชุมครั้งนี้ สื่อมวลชน สามารถรับชมคลิปการสัมภาษณ์ผู้บรรยายต่างๆ ตลอดเวลางานทั้งสองวันได้ โดยคลิกที่ลิงค์สำนักข่าวดิจิทัล (Digital News Agency – DNA) http://www.digitalnewsagency.com/stories/10665-advancing-financial-inclusion-in-a-digital-age-asia-pacific-financial-inclusion-summit-kicks-off-in-hanoi-vietnam. โดยสื่อมวลชนต้องลงชื่อและล็อกอินเข้าระบบของ DNA ก่อนจึงจะดาวน์โหลดคลิปสัมภาษณ์ได้ ส่วนอัพเดตข่าวรายละเอียดการประชุมอื่นๆ โปรดติดตาม @Citi ทางทวิตเตอร์ หรือ #FinInclusionSummit เพื่อร่วมติดตามความคืบหน้า

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเข้าเว็บไซต์ของ The Asia Pacific Financial Inclusion Summit http://www.fininclusionsummit.org/

เกี่ยวกับธนาคารกลางเวียดนาม

The State Bank of Vietnam (SBV) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงของรัฐบาลเวียดนาม – the Central Bank of the Socialist Republic of Vietnam มีวัตถุประสงค์ที่มุ่งสร้างเสถียรภาพค่าเงินเวียดนาม ดูแลให้การธนาคารและระบบของสถาบันการเงินต่างๆ ดำเนินไปอย่างปลอดภัยและราบรื่น ดูแลระบบการชำระเงินของประเทศให้มีความปลอดภัยและประสิทธิภาพ ตลอดจนเสริมสร้างพัฒนาการทางสังคมเศรษฐกิจภายใต้การนำแบบสังคมนิยม ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sbv.gov.vn

ซิตี้

ธนาคารชั้นนำของโลก ที่ให้บริการแก่ลูกค้ากว่า 200 ล้านราย ในกว่า 160 ประเทศและเขตปกครองทั่วโลก ซิตี้นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่หลากหลายให้กับลูกค้าบุคคล องค์กร ภาครัฐและสถาบันต่างๆ โดยธุรกิจหลักครอบคลุมการธนาคารและสินเชื่อเพื่อลูกค้าบุคคล (สายบุคคลธนกิจ) ธนาคารเพื่อองค์กรและการลงทุน (สายสถาบันธนกิจและวาณิชธนกิจ) ธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์ บริการธุรกรรมทางการเงินต่างๆ รวมถึงบริการบริหารความมั่งคั่ง ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.citigroup.com | ทวิตเตอร์: @Citi | ยูทูป: www.youtube.com/citi | บล็อก: http://new.citi.com | เฟซบุ๊ก: www.facebook.com/citi | ลิงก์อิน: www.linkedin.com/company/citi

มูลนิธิซิตี้

มูลนิธิซิตี้ มีบทบาทในการทำงานที่ส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของผู้มีรายได้น้อยในชุมชนทั่วโลกให้ดีขึ้น ด้วยการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงทางการเงินอย่างทั่วถึง การสร้างอาชีพสำหรับเยาวชน รวมถึงสร้างสภาพเศรษฐกิจของชุมชนที่ดีขึ้น นอกจากการให้ความช่วยเหลือแล้ว มูลนิธิซิตี้ ยังได้ใช้ความเชี่ยวชาญในฐานะสถาบันการเงินชั้นนำและความพร้อมของพนักงาน ที่สนับสนุนให้พันธกิจของบริษัทประสบความสำเร็จและขับเคลื่อนแนวคิดความเป็นผู้นำและนวัตกรรม ดูข้อมูลเพิ่มเติมของมูลนิธิฯ ที่ www.citifoundation.com

เกี่ยวกับมูลนิธิเพื่อความร่วมมือด้านการพัฒนา (The Foundation for Development Cooperation (FDC)

เป็นองค์กรอิสระจากออสเตรเลีย มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างความมั่งคั่งในประเทศกำลังพัฒนาของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยวางแนวทางที่จะช่วยบรรเทาความยากจน และส่งเสริมการเติบโตอย่างเท่าเทียม มูลนิธิบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ด้วยการให้คำนิยามภารกิจที่ชัดเจน และใช้แนวทางพัฒนาใหม่ๆ ที่ยังอยู่ในกรอบของกลไกตลาดท้องถิ่น ดึงทักษะของชุมชนนั้นๆ ออกมาใช้ ตลอดจนความรู้และทรัพยากรขององค์กรอื่นๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และภาคสถาบันวิชาการ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.fdc.org.au