มาดูกัน ! ที่มาของชื่อ 7 แบรนด์ดังระดับโลก

บางแบรนด์ใช้ชื่อตามเจ้าของ, บางแบรนด์มาจากนิยายหรือภาพยนตร์ และบางแบรนด์ก็มาจากที่มาดั้งเดิมของสินค้า นี่คือที่มาของ “ชื่อ” 7 แบรนด์ดังที่เราคุ้นเคยกันดี

Gatorade

Gatorade was developed for the Florida Gators.
Ekkamai Chaikanta / Shutterstock.com

ครื่องดื่มเกลือแร่สำหรับผู้เล่นกีฬา เป็นผลผลิตของทีมแพทย์จากมหาวิทยาลัยฟลอริดา ที่เริ่มต้นพัฒนาเครื่องดื่มชนิดนี้ให้กับทีมอเมริกันฟุตบอลของมหาวิทยาลัยดื่มระหว่างเล่นกีฬาโดยเฉพาะ ซึ่งชื่อ Gatorade ก็มาจากคำว่า Gators ในชื่อทีม “Florida Gators football” ที่มีตัวตะโข่ง (Alligator หรือ Gator) เป็นสัญลักษณ์นั่นเอง

Blue Ribbon Sports

Thomson Reuters

เป็นบริษัทจัดจำหน่ายรองเท้า Onitsuka Tiger จากประเทศญี่ปุ่นในสหรัฐฯ ต่อมาบริษัทจึงเริ่มต้นผลิตสินค้าของตัวเองเพื่อจำหน่ายบ้าง และเลือกใช้ยี่ห้อสินค้าว่า NIKE ตามชื่อของ ไนกี เทพีบุคคลาธิษฐานแห่งชัยชนะ ในเทพปกรณัมกรีก

Ashley Lutz/Business Insider

ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน JCPenney คือชื่อของ “เจมส์ แคช เพนนี” ผู้ก่อตั้งห้างสรรพสินค้าเครือใหญ่แห่งสหรัฐอเมริกานั่นเอง

PANERA BREAD

Thomson Reuters

ร้านเบเกอรีที่มีสาขาถึง 2,000 แห่ง เลือกผสมคำจากสองภาษาคือ PAN ที่แปลว่าขนมปังในภาษาสเปน และ ERA ที่ชื่อช่วงเวลาในภาษาลาติน จนออกมาเป็น PANERA ที่หมายถึงช่วงเวลาแห่งขนมปัง

SOYLENT

Dylan Love

เป็นเครื่องดื่มสำหรับบริโภคทดแทนอาหาร เพื่อการควบคุมน้ำหนัก มีส่วนประกอบของ ถั่วเหลือง, เลซิทิน และสารให้ความหวานซูคราโลส ซึ่งสำหรับชื่อ SOYLENT นั้น ว่ากันว่ามาจากนิยายไซไฟเรื่อง Make Room! Make Room! ที่เล่าเรื่องโลกอนาคต ซึ่งมีปัญหาอาหารขาดแคลน และในเนื้อเรื่องมีอาหารซึ่งเรียกว่า SOYLENT ที่มีลักษณะคล้ายๆ กับผลิตภัณฑ์ของ SOYLENT อยู่ด้วย แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนอเมริกันน่าจะคุ้นชื่อของ SOYLENT จากฉบับภาพยนตร์ของ Make Room! Make Room! ที่ชื่อว่า Soylent Green (มี ชาร์ลตัน เฮสตัน แสดงนำ) มากกว่า ที่ผู้สร้างเปลี่ยนให้อาหาร SOYLENT ผลิตมาจากศพของมนุษย์

Gab

People pass by the GAP clothing retail store in Manhattan, New YorkThomson Reuters

แบรนด์เสื้อผ้าสำหรับวัยรุ่น ที่จำหน่ายให้กันอเมริกันชน และคนทั่วโลกมารุ่นแล้วรุ่นเล่า โดย ดอริส ฟิชเชอร์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทเป็นผู้ตั้งชื่อ Gab จากคำว่า Generation gap หรือ “ช่องว่างระหว่างวัย” ที่เป็นกระแสของสังคมในยุค 60s ซึ่งคนรุ่น “Baby boomers” เริ่มโตเป็นวัยรุ่น และมีแนวโน้มท้าทายต่อต้านคนรุ่นก่อน

คำว่า Starbucks

Thomson Reuters

ที่เป็นชื่อของร้านขายกาแฟชื่อดังที่มีสาขาทั่วโลก เป็นชื่อตัวละครในนิยายคลาสสิก Moby-Dick ของ เฮอแมน เมลวิลล์ ที่เป็นต้นเรือผู้ที่มีความฉลาดหลักแหลม โดยตอนแรกผู้ร่วมก่อตั้ง Starbucks เคยเกือบใช้ชื่อ “เพควอด” ที่เป็นชื่อเรือใน Moby-Dick มาเป็นชื่อร้านอยู่เหมือนกัน แต่สุดท้ายก็มาลงตัวที่ Starbucks เพราะคิดว่าตัวอักษร “St” ดูทรงพลังดี

ที่มา : https://www.businessinsider.com.au/what-popular-brand-names-really-mean-2016-12