นิตยสาร Amarin Baby & Kids ร่วมกับ บริษัท วีดีโอรีเสิร์ชอินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ได้ทำการวิจัยที่สุดของแม่ไทย เพื่อทราบถึงพฤติกรรม ทัศนคติ ความคาดหวัง และตัวแปรตัดสินใจต่างๆ ของคุณแม่ไทยยุค 2017
โดยได้ทำการวิจัยกับคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่ที่มีลูกในช่วงอายุ 0-3 ปี และ 3-6 ปี ที่เป็นคุณแม่ไทยที่มีศักยภาพและมีกำลังในการซื้อสูง ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญในการสื่อสารและทำการตลาดในปัจจุบัน โดยจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 3,100 ราย ในพื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมถึงหัวเมืองจังหวัดใหญ่ ได้แก่ ระยอง เชียงใหม่ อุดรธานี ขอนแก่น และสงขลา ผ่านวิธีการสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้า การทำแบบสอบถาม และการทำแบบสอบถามทางระบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ ซึ่งมีระยะเวลาในการทำวิจัยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2560
จากผลวิจัยพบ 6 หัวข้อที่สุดของแม่ไทย ได้แก่
1. ที่สุดของความกังวลเรื่องลูก
จากผลการวิจัยพบว่า คุณแม่ 97% จะมีความกังวลเรื่องลูก โดยเริ่มตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์ มีความกังวลเรื่องการกินว่าควรกินอะไรดี เพื่อให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีตามอายุครรภ์ และครบ 32 ประการ สำหรับคุณแม่ที่มีลูกวัย 0-3 ขวบ พบว่ามีความกังวลเรื่องการเลี้ยงดูลูก จะเลี้ยงดูลูกอย่างไรให้เติบโตเป็นคนดี ส่วนคุณแม่มีลูกวัย 3-6 ขวบ จะกังวลเรื่องการมีเวลาอยู่กับลูก อยากมีเวลาให้ลูกมากพอที่จะสอนให้ลูกเรียนรู้และมีความพร้อมจนช่วยเหลือตัวเองได้ในอนาคต
2. ที่สุดของความคาดหวังต่อลูก
คุณแม่มีความคาดหวังในตัวลูก อยากให้ลูกสามารถใช้ชีวิตและเอาตัวรอดได้เมื่อโตขึ้น โดยความคาดหวังจะมีเพิ่มขึ้นตามช่วงอายุของลูก เป็นความคาดหวังสะสมบนพื้นฐานความคาดหวังเดิม แต่เป็นความคาดหวังที่เป็นจริงมากขึ้น (Realistic Expectation) มีความคาดหวังว่าอยากให้ลูกมีความสามารถพิเศษเมื่อโตขึ้น
คุณแม่ที่มีลูก 0-3 ขวบ จะมีความหวังเพิ่มขึ้นมาคือ อยากให้ลูกเป็นอะไรก็ได้ตามที่เขาอยากเป็น ส่วนคุณแม่ที่มีลูก 3-6 ขวบ จะมีความคาดหวังเพิ่มขึ้นและเป็นความคาดหวังสูงสุด คือ หวังว่าลูกจะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตัวเองได้ดี โดยยังไม่ทิ้งความคาดหวังเดิม เพื่อให้ลูกรู้จักเอาตัวรอด และใช้ชีวิตในสังคมได้
3. ที่สุดของกิจกรรมที่อยากทำกับลูก
ในปัจจุบันคุณแม่ที่มีลูกวัย 0-3 ขวบ จะมีเวลาในการเลี้ยงดูลูกโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 5.6 ชั่วโมงต่อวัน และจะฝากให้ญาติผู้ใหญ่ที่อยู่ในบ้านเดียวกันเป็นคนช่วยเลี้ยงดูโดยเฉลี่ย 6.4 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนคุณแม่ที่มีลูกวัย 3-6 ขวบ จะมีเวลาในการเลี้ยงดูลูกเฉลี่ย 4.7 ชั่วโมงต่อวัน และให้ลูกอยู่กับคนอื่น เช่น คุณครูที่โรงเรียน พี่เลี้ยงและญาติเฉลี่ย 7.3 ชั่วโมงต่อวัน
ซึ่งพบว่าในวันธรรมดา กิจกรรมของคุณแม่ที่มีลูกวัย 0-3 ขวบได้ทำร่วมกันคือ การพูดคุย การเล่นกับลูกและการอ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟัง ส่วนคุณแม่ที่มีลูกวัย 3-6 ขวบ จะใช้เวลาดูทีวีหรือสื่อออนไลน์กับลูก ทำการบ้านกับลูก และเล่นกับลูก
4. ที่สุดของทักษะพิเศษของลูก
จากผลการวิจัยพบว่าคุณแม่ให้ความสำคัญกับ 5 ความสามารถพิเศษ
5. ที่สุดของตัวช่วยที่มีอิทธิพลในการเลี้ยงลูก
6. ที่สุดของสื่อที่มีอิทธิพลในการซื้อสินค้าของลูก
จากผลการวิจัยพบว่า คุณแม่ 1 คนจะเสพสื่อหลากหลายสื่อ อย่างน้อย 2 สื่อขึ้นไป แม่ไทย 93% จะไม่ตัดสินใจซื้อสินค้าที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน เพราะไม่รู้จักสินค้า ไม่เชื่อสินค้า จึงไม่พร้อมที่จะให้ลูกเสี่ยงใช้สินค้านั้นๆ และเมื่อวิเคราะห์เชิงลึกขึ้น พบว่า คุณแม่กลุ่มดังกล่าวมีโอกาสที่จะกลับมาซื้อสินค้าที่ตนเองปฏิเสธซื้อ หากได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอจาก Integrated Media มีเพียง 7% เท่านั้นที่ตัดสินใจซื้อทันที
สื่อที่คุณแม่ใช้มากที่สุดคือ สื่อโทรทัศน์ 97% ใช้ดูละคร/ซีรีส์ไทย วิเคราะห์ข่าว/ดูข่าว และดูเกมส์โชว์/ทอล์คโชว์ รองลงมาคือสื่อออนไลน์ 78% ใช้ดูข้อมูลเกี่ยวกับแม่และลูก เพื่อเอนเตอร์เทน ดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว
นอกจากนี้ยังพบว่าคอนเทนต์ที่มาแรงผ่านโซเชียลมีเดียที่คุณแม่เลือกเสพ ได้แก่
- Comparative Content เพื่อตอบสนอง Insight คุณแม่ “เลือกสิ่งดีที่สุดเพื่อลูก” ซึ่งแม่ไทยยุค 2017 ให้ความสนใจเนื้อหาที่เป็นการเปรียบเทียบสินค้า เพื่อเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูก
- Baby & Kids Safety เพราะแม่ไทยเป็นคุณแม่ขี้กังวล แม่ไทยยุค 2017 ให้ความสนใจเนื้อหาเกี่ยวกับการระมัดระวังภัยใกล้ตัวลูก เพื่อป้องกันภัยให้ลูก
- Mom psychology คอนเทนต์เชิงจิตวิทยาสอนการเลี้ยงลูก ทั้งด้วยหลักการและการยกตัวอย่างจริงเสมือน ‘ห้องเรียนพ่อแม่ออนไลน์’ ซึ่งแม่ไทยยุค 2017 ให้ความสนใจกับเรื่องราวที่เป็น ประสบการณ์ อุทาหรณ์ เนื้อหาที่เป็นข้อคิด เพื่อนำไปปรับใช้ในการเลี้ยงลูก