ความใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมถือเป็นสิ่งที่หลายองค์กรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ในปัจจุบัน แต่การจะยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานผลิตตั้งแต่ต้นจนจบทั้งกระบวนการ โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 100% เลยนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่ใครก็ทำได้
จากประสบการณ์กว่า 40 ปีของ กลุ่มมหพันธ์ โดย คุณประกรณ์ เมฆจำเริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มหพันธ์ไฟเบอร์ซีเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือเจ้าของแบรนด์ที่เราคุ้นชื่อกันดีอย่าง เฌอร่า และ กระเบื้องหลังคาตราห้าห่วง ได้ตอกย้ำถึงความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง ด้วยการรับ “ฉลากเขียว” จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและสถาบันสิ่งแวดล้อมในกลุ่มผลิตภัณฑ์หลังคา
สำหรับในปีนี้ หลังคาไตรลอน ตราห้าห่วง รุ่นคูลซีรีส์ สีโพล่า ไวท์ ได้รับรองมาตรฐาน “ฉลากเขียว” เพียงรายเดียวในประเทศไทย ตอกย้ำการเป็นวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อทั้งช่างก่อสร้างและผู้อยู่อาศัย รวมถึงแรงงานผู้ผลิต เนื่องจากได้ผ่านการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีในขั้นตอนการผลิตจนเกิดเป็นนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตลอดทั้งวัฏจักรของผลิตภัณฑ์ เริ่มตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต ไปจนถึงมือผู้บริโภค หลังคาไตรลอน ตราห้าห่วงจึงไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 100% (Zero Waste)
ซึ่งนอกจาก ฉลากเขียว ประเทศไทยแล้ว ผลิตภัณฑ์ เฌอร่า และ ห้าห่วง ยังผ่านการรับรองมาตรฐานระดับสากลจากหลากหลายประเทศ อาทิ ฉลากคาร์บอน, LEED จากสหรัฐอเมริกา, Green label certificate (ฉลากเขียว) จากประเทศสิงคโปร์, Green Choice Philippine ฉลากสิ่งแวดล้อม จากประเทศฟิลิปปินส์, Environmental Product Declaration (EPD: ฉลากสิ่งแวดล้อมสากล) ISO 14025 และ EN 15804 รายแรกของไทยในกลุ่มผลิตภัณฑ์ เฌอร่า และรายเดียวในเอเชียสำหรับกลุ่มหลังคาห้าห่วง เป็นต้น
หลังคาไตรลอน ตราห้าห่วง รุ่นโพล่า ไวท์ ที่ได้รับรองมาตรฐาน “ฉลากเขียว” นั้น เป็นนวัตกรรมหลังคาเย็นด้วยสีกลุ่มคูลซีรีส์ ที่สามารถสะท้อนความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากถึง 80%* โดยใช้หลักการสะท้อนความร้อนที่ผิววัสดุให้มากที่สุด ทำให้ความร้อนส่วนใหญ่ถูกสะท้อนกลับโดยไม่เข้าสู่ตัวบ้าน บ้านจึงเย็นสบายโดยไม่ต้องพึ่งฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาและช่วยประหยัดพลังงาน นอกจากนี้ ยังปลอดภัยเพราะปราศจากแร่ใยหิน ทนทานด้วยด้วยสารกันเชื้อราดำ ซิลเวอร์นาโน ป้องกันการเกิดราดำได้ยาวนาน
*จากผลการทดสอบค่าการสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์ตามมาตรฐาน JIS (Japanese Industrial Standard) โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี