SACICT Smart Craft เพิ่มพูนทักษะ พัฒนาศักยภาพ เพื่องานหัตถกรรมอันเข้มแข็งและยั่งยืน

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT จัดงานแถลงข่าวโครงการ SACICT Smart Craft โครงการที่จัดขึ้น เพื่อพัฒนาทักษะและศักยภาพเชิงลึก ให้กับผู้ประกอบการงานด้าน ศิลปหัตถกรรมเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งยั่งยืน สามารถแข่งขันในตลาดและพัฒนาไปสู่การแลกเปลี่ยน องค์ความรู้ในระดับนานาชาติ

นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ กล่าวว่า “ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)  ได้ดำเนินการด้านการพัฒนาศักยภาพของผู้ผลิตงานหัตถกรรม
ในหลายๆด้านอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งในการดำเนินงานในระยะต่อไป SACICT ได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ประจำปีงบประมาณ 2560 – 2563  คือ การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ ตลอด จนการเชื่อมโยงเครือข่ายหน่วยงานและ Value Chain หรือห่วงโซ่มูลค่า จึงเป็นที่มาของ โครงการ SACICT Smart Craft  โดย ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)  จะจัดการอบรมขึ้นสำหรับสมาชิก ของ SACICT โดยเฉพาะ ซึ่งปัจจุบันเรามีสมาชิกกว่า 2,400 คน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จัดอบรม 3 กลุ่ม งานหัตถกรรม ได้แก่ กลุ่มงานจักสาน กลุ่มงานเซรามิก และ กลุ่มพัฒนาตราสินค้า ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องเฉพาะ และมีแง่มุมที่แตกต่างจากสินค้าทั่วไป SACICT จึงจำเป็นต้องมีการคัดสรรวิทยากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้างครอบคลุมให้ได้ในทุกมิติ โดยกลุ่มงานจักสาน กลุ่มงานเซรามิกอบรมวันที่ 19-20 สิงหาคม 2560 ศึกษาดูงานและเปลี่ยนองค์ความรู้ ณ กลุ่มศูนย์ส่งเสริมฝีมือจักสานไม้ไผ่พนัสนิคม จังหวัด ชลบุรี และบ้านดินมอญ เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี กลุ่มพัฒนาตราสินค้า อบรมวันที่ 9-10 กันยายน 2560 ณ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดย วิทยากรและผู้ประกอบการงานหัตถกรรมชั้นนำที่ประสบความสำเร็จจากโครงการในปีที่ผ่านมา

SACICT ในฐานะหน่วยงานที่มีพันธกิจหลักในการพัฒนาผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรมแบบองค์รวมใน ทุกๆ ด้าน ทั้งในด้านคุณภาพ มาตรฐานรวมถึงการส่งเสริมภาพลักษณ์ ส่งเสริมสนับสนุนด้านการตลาดทั้งใน และต่างประเทศ และอีกหนึ่งพันธกิจที่สำคัญยิ่งคือ การพัฒนาฝึกอบรมบริหารจัดการบุคลากรซึ่งเป็นหัวใจ สำคัญที่จะทำให้ผู้ประกอบการงานหัตถกรรมสามารถนำความรู้จากการพัฒนาอบรม ไปต่อยอดกับธุรกิจของ ตนเอง อันจะเกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นรากฐานอันเข้มแข็งที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจไทยในอนาคต          

และก้าวต่อไป SACICT ก็ยังคงมุ่งมั่นสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ช่างและชุมชน ผู้ผลิตและผู้ประกอบ การงานหัตถศิลป์ ทั้งในด้านการพัฒนาทักษะฝีมือ เทคนิคเชิงช่าง การใช้วัสดุและแนวทางการออกแบบใหม่ๆ รวมถึงการสร้างโอกาสในระดับนานาชาติทั้งในด้านการสร้างเครือข่ายและเปลี่ยนองค์ความรู้และการต่อยอดเชิงพาณิชย์ ซึ่งตั้งเป้าในการส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวในยอดจำหน่ายผ่านช่องทางต่างๆของ SACICT ไม่ว่าจะเป็นการจัดงานแสดงสินค้า การเข้าร่วมงานทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการจำหน่ายผ่านจุด จำหน่ายทั้งที่องค์กร และสนามบินสุวรรณภูมิ และภูเก็ต
ซึ่งมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ต่อปี อีกทั้งการ พัฒนาบุคลากรด้านงานศิลปหัตถกรรมภายใต้ SACICT Smart Craft” นางอัมพวัน กล่าว

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการเสวนาพิเศษ หัวข้อ “SACICT Smart Craft ” ต่อยอดความคิด เพื่อ ธุรกิจหัตถกรรมไทยที่ยั่งยืน โดยมีวิทยากรคือ คุณอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่าง ประเทศ  “คุณดลชัย บุณยะรัตเวช” ประธานกรรมการ บริษัท เดนท์สุ วัน (กรุงเทพฯ) จำกัด “คุณทศพล ศุภ เมธีกูลวัฒน์” ผู้จัดการทั่วไป บริษัท New Arriva จำกัด “คุณฐาณิญา เจนธุระกิจ” เจ้าของ บริษัทฑีฐาณิญา  จำกัด แบรนด์ THANIYA “คุณยุพิน ผูกพานิช” เจ้าของกิจการผ้าฝ้ายออร์แกนิกส์ แบรนด์ Kotton Komfort และแบรนด์ Fabric Art โดยมี ผศ.ดร.ศศิประภา พันธนาเสวี และคุณศรัยฉัตร จีระแพทย์ เป็นผู้ดำเนินการ เสวนาโครงการ SACICT Smart Craft จัดโดย ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) สมาชิกของ SACICT สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่
โทร.0-3536-7054 ต่อ 1384 Call Center 1289