ไอซีเว็กซ์ผู้สร้างสรรค์ธุรกิจเทรดแฟร์ และเอ็กซ์ซิบิชั่นมืออาชีพในภูมิภาคอาเซียน ชี้กลุ่มสินค้าอุปโภค และบริโภค หรือ FMCG (Fast Moving Consumer Goods) ในประเทศเมียนมา โดยเฉพาะกลุ่มตลาดอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม และอาหาร เติบโตต่อเนื่อง เดินหน้าจัดงานเมียนมา ฟู้ดเบฟ 2017 (Myanmar FoodBev 2017) และเมียนมา รีเทล ซอสซิ่ง เอ็กซ์โป 2017 (Myanmar Retail Sourcing Expo 2017) หลังจากได้รับกระแสตอบรับดีเยี่ยม ดึงดูดนักลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศแข่งขันเข้มข้น หนุนร้านค้าปลีก (Retailer) โมเดิร์นเทรด (Modern Trade) ขยายตัวสูง ตอบรับเทรนด์ ไลฟสไตล์ชาวเมียนมายุคใหม่ นิยมเปิดกว้างรับแบรนด์ต่างประเทศ กล้าลอง เชื่อ และนิยมบริโภคในตราสินค้าไทย พร้อมปัจจัยบวกนโยบายรัฐส่งเสริมการเข้าลงทุนของชาวต่างชาติ และกระตุ้นการท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ สร้างโอกาส และส่วนแบ่งโอกาสทางการตลาดให้กับนักลงทุนไทย เพื่อพัฒนา และต่อยอดธุรกิจ รวมถึงแจ้งเกิดเอสเอ็มหน้าใหม่ต่อเนื่อง
จากการปรับนโยบายที่ส่งเสริมด้านการค้า และการลงทุนในแง่มุมต่างๆ ของประเทศเมียนมา ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลชุดใหม่ NDL ที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนของชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ สร้างโอกาส และดึงดูดกลุ่มอุตสาหกรรมหลากหลาย ส่งผลให้การเติบโตของจีดีพีสูงถึงร้อยละ 7.5 และคาดการณ์ที่จะโตต่อเนื่องถึงร้อยละ 8.0 ในปี 2018 นับเป็นสัญญาณบวกที่บ่งบอกถึงสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งถ้าวิเคราะห์ลงลึกถึงโอกาส และแนวโน้มความต้องการของสินค้าที่เป็นดาวรุ่งของชาวเมียนมา จะเห็นได้ว่าเป็นโอกาสที่ดีของนักลงทุน และผู้ประกอบการไทยที่ได้เปรียบกว่าประเทศอื่นๆ เป็นอย่างมาก โดย นายผกายเนติ์ เล่งอี้ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง กล่าวว่า “ผู้บริโภคชาวเมียนมามีความต้องการสินค้า และบริการหลากหลายสูง เป็นผลจากกำลังซื้อที่เพิ่มสูงขึ้น สรรหาสินค้าที่ตรงความต้องการมากขึ้น และเน้นเรื่องคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มประชากรวัยหนุ่มสาวที่เข้าสู่ช่วงวัยทำงาน มีการใช้จ่าย สินค้าฟุ่มเฟือย และสินค้าไลฟสไตล์จำนวนมาก ซึ่งเกือบครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายเป็นค่าอาหาร และของอุปโภค และบริโภคอื่นๆ ทำให้ธุรกิจสาขาบริการประเภทอาหาร และเครื่องดื่มขยายตัวสูงถึงร้อยละ 15 แต่ด้วยหลายปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดที่ชาวเมียนมายังไม่สามารถผลิตปัจจัยสี่ได้เพียงพอกับความต้องการในประเทศ ผนวกกับอิทธิพลการเปิดรับสิ่งใหม่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต และไลฟสไตล์ชาวเมียนมาอย่างรวดเร็ว ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นดาวรุ่งมาแรงในปัจจุบัน คือ กลุ่มสินค้าอุปโภค และบริโภค หรือ FMCG : Fast Moving Consumer Goods โดยเฉพาะกลุ่มตลาดอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม และอาหาร ที่เติบโตต่อเนื่อง ดึงดูดนักลงทุนทั้งในประเทศ และต่างชาติแข่งขันเข้มข้น ล่าสุดเผยถึงข้อมูลภาพรวมตลาดสินค้าเครื่องดื่มที่น่าสนใจกว่าร้อยละ 80 ของเครื่องดื่มในประเทศเมียนมา นิยมนำเข้าจากประเทศไทย เนื่องด้วยชาวเมียนมาชื่นชอบในรสชาติ และนิยมบริโภคแบรนด์สินค้า และบริการจากประเทศไทย เพราะคุณภาพมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง รวมถึงมีพรมแดนติดต่อกับเมียนมาที่ยาวที่สุด ทำให้ได้เปรียบทั้งในเชิงยุทธศาสตร์ในด้านการขนส่ง และด้านโอกาสของนักลงทุน และนักธุรกิจไทยที่มีความสนใจเข้าไป
นำเสนอสินค้าใหม่ๆ ได้อย่างสะดวกขึ้น ซึ่งถ้ามองด้านความหลากหลายของตลาดอาหาร และเครื่องดื่มนี้ นับเป็นตลาดที่เปิดกว้างเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในปัจจุบันกับกระแสนิยมเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้น และความต้องการน้ำดื่มที่สะอาดยังเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญอยู่ ทำให้ยังมีโอกาสในส่วนแบ่งการตลาดอยู่อีกมาก ส่งผลหนุนถึงธุรกิจร้านค้าปลีก (Retailer) โมเดิร์นเทรด (Modern Trade) ขยายตัวสูงตามอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะร้านค้าอย่างซุปเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ทที่รวมสินค้าอุปโภคบริโภคหลากหลายชนิด และหลากหลายแบรนด์ ทั้งสินค้าท้องถิ่น และนำเข้าจากต่างประเทศ ผู้บริโภคเริ่มให้ความสำคัญกับคุณภาพ และความสะดวกสบายในการซื้อสินค้าจากห้างสรรพสินค้ามากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกต่างๆ และเอสเอ็มอีสามารถหาช่องทางการตลาดได้อย่างหลากหลาย อาทิ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ และร้านค้าปลีกสินค้า เป็นต้น อีกทั้งทางรัฐบาลเมียนมาสนับสนุนการลงทุนภาคส่วนนี้จากต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนา และถ่ายโอนความรู้ทางด้านเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมทางอาหาร แก่ประเทศเมียนมาด้วย นับเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าจับตามมอง และน่าลงทุนเป็นอย่างมาก”
ด้านมุมมองของนาย เนย์ ริน นายกสมาคมผู้ประกอบการร้านอาหารประเทศเมียนมา (Myanmar Restaurant Association) กล่าวว่า “ด้วยพฤติกรรม และเทรนด์การใช้ชีวิตของชาวเมียนมาที่เปลี่ยนแปลงแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมด้านการช็อปปิ้งที่ซูเปอร์มาร์เก็ตมากขึ้น แทนการไปตลาดสด และการนิยมออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน รวมถึงค่านิยมไปร้านคาเฟ่ และบาร์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใครๆ ก็สามารถเข้าถึงได้ เพื่อไปแฮงค์เอ้าท์กับกลุ่มเพื่อน และเกิดเป็นคอมมูนิตี้ต่างๆ และด้วยอิทธิพลของเทคโนโลยี และอินเตอร์เน็ต สร้างการเข้าถึงข้อมูลที่ง่าย และรวดเร็วมากขึ้น เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลถึงการตัดสินใจการเลือกเข้าร้านต่างๆ หรือเลือกจะบริโภค และไม่บริโภคอะไร ส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของการขยายตัวขอ
แบรนด์กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม ต่างต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคให้มากที่สุด ดังนั้นระบบการบริหารจัดการต่างๆ ทั้งด้านลอจิสติกส์ ด้านมาตรฐานความปลอดภัย และไอที โซลูชั่นส์ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะผลักดันให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ กล่าวคือ ต้องรู้จักปรับ และเปลี่ยนรูปแบบ ให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่ และกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นเรื่องหลักของแบรนด์ต่างประเทศที่จะเข้ามาในประเทศเมียนมาต้องพิจารณา”
ด้านมุมมองการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค นาย ตูเรน เนียง กรรมการผู้จัดการ บริษัท นีลสัน เอ็มเอ็มอาร์ดี (ประเทศเมียนมา) จำกัด กล่าวว่า “กลุ่มอุตสาหกรรมร้านค้าปลีกเติบโตสูงต่อเนื่อง โดยมีจำนวนร้านค้ากว่า 300,000 ร้าน ทั่วประเทศเมียนมา และมากกว่า 80% เป็นร้านค้าปลีกสมัยใหม่หรือโมเดิร์นเทรดกระจายอยู่ตามหัวเมืองหลัก อย่างย่างกุ้ง และมัณฑะเลย์ ประกอบกับการสำรวจกลุ่มผู้บริโภค และการบริโภคสื่อต่างๆ ของ Nielsen MMRD พบว่าชาวเมียนมาส่วนใหญ่ยังคงจับจ่ายใช้สอยของกินของใช้ที่ตลาด และที่ร้านขายของชำ ขณะเดียวกันพบว่าร้านค้าประเภทโมเดิร์นเทรดก็ดึงดูดมากเช่นเดียวกัน เห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนห้างสรรพสินค้าขึ้นในแต่ละปี ส่งผลให้ร้านค้าปลีกย่อยต่างต้องปรับตัวมีให้ความหลากหลาย ของสินค้าเพิ่มขึ้น เพื่อเข้าสู่ยุคร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เช่น การเพิ่มของกลุ่มสินค้าประเภทความงาม กลุ่มยา กลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และมือถือ เป็นต้น เพื่อรองรับความต้องการมากขึ้น อย่างไรก็ตามเนื่องด้วยข้อจำกัดด้านการดำเนินธุรกิจการค้า (Trading) ในเมียนมา การจะนำสินค้าเข้าสู่ตลาดเมียนมาได้จะต้องหาตัวแทนจำหน่าย (Sole Agent) หาผู้จัดจำหน่าย (Distributor) และการใช้ตัวแทนในการดำเนินธุรกิจที่เป็นชาวเมียนมาเป็น Nominee แทน แต่อย่างไรก็ตามทางรัฐบาลยังคงส่งเสริม และต้อนรับนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาลุงทุนในเมียนมาต่อเนื่อง พร้อมเร่งให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน นับเป็นสัญญานที่ดีในอนาคตที่ต้องจับตามอง”
ด้านนายอาจิณเวท วงศ์ทอง ผู้จัดการฝ่ายโครงการ บริษัท ไอซีเว็กซ์ กล่าวว่า “ในฐานะผู้สร้างสรรค์ธุรกิจเทรดแฟร์ และเอ็กซ์ซิบิชั่นมืออาชีพในภูมิภาคอาเซียน ได้เข้ามาบุกตลาดเมียนมาเป็นระยะเวลากว่า 4 ปีแล้ว ต้องบอกว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้ประกอบการไทยจะเข้ามาลงทุนในประเทศเมียนมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร และร้านค้าปลีก ซึ่งเป็น 2 กลุ่มที่มีการเติบโตสูงต่อเนื่อง ล่าสุดเดินหน้าจัดงานเมียนมา ฟู้ดเบฟ 2017 ครั้งที่ 4 (Myanmar FoodBev 2017 #4) งานแสดงสินค้าอาหาร และเครื่องดื่มสำเร็จรูป วัตถุดิบ เครื่องปรุง และอุปกรณ์ต่างๆ จากหลากหลายแบรนด์ทั่วโลกที่ครบวงจรมากที่สุด สำหรับผู้นำเข้าสินค้า ตัวแทนจำหน่าย ร้านอาหาร คาเฟ่ ซูเปอร์มาร์เก็ต ธุรกิจประเภทแคเทอริ่ง สอดคล้องกับสถานการณ์การนำเข้าอาหารสำเร็จรูปที่มีมูลค่าสูงถึง 10.991 พันล้านดอลล่าสหรัฐ หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตอยู่ที่ 15% ต่อปี และงานเมียนมา รีเทล ซอสซิ่ง เอ็กซ์โป 2017 ครั้งที่ 2 (Myanmar Retail Sourcing Expo 2017 #2) งานแสดงสินค้าเพื่อผู้ประกอบการร้านค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า และโมเดิร์นเทรดยุคใหม่ โดยนำเสนอเรื่องของเทคโนโลยี และโซลูชั่นส์ สำหรับกลุ่มค้าปลีกต่างๆ อาทิ การออกแบบร้านค้า การตกแต่ง การวางระบบเทคโนโลยีต่างๆ ภายในร้าน ไม่ว่าจะเป็นการบริหารเงิน การจ่ายเงิน ซอฟแวร์ต่างๆ และบาร์โค้ด การบริหารจัดการเรื่องสินค้า และสต็อกของต่าง รวมถึงเรื่องลอจิสติกส์การจัดเก็บขนส่ง และการจำหน่ายสินค้าที่ครบวงจรมากที่สุด หลังจากได้รับกระแสตอบรับดีเยี่ยมจากปีที่ผ่านมา เหมาะสำหรับนักธุกิจที่อยู่ในวงการอาหาร เครื่องดื่ม และรีเทลที่กำลังจะขยายตัวในเมียนมา โดยเป็นการพ่วง 2 งานที่มีความเกี่ยวข้องกันได้ลงตัว ทำให้ผู้เข้าร่วมงานทั้งในแง่มุมของผู้จัดแสดงสินค้า (Exhibitor) และผู้เข้าชมงาน (Visitor) ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเป้าจำนวนคนเข้าชมกว่า 4,000 คน กว่า 90% เป็นชาวเมียนมาร์ และอีก 10% เป็นนักธุรกิจจากทั้งเอเชีย และยุโรป อาทิ ประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย เวียดนาม เยอรมัน ฝรั่งเศส จีน ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ศรีลังกา จีน และไต้หวัน เป็นต้น และจากกว่า 100 แบรนด์ และบริษัทจากต่างประเทศทั่วโลก ที่เข้าร่วมเป็นผู้ออกบูธในงานนี้”
“ส่วนไฮไลท์ของงานเมียนมา ฟู้ดเบฟ 2017ได้จัดแข่งขันการทำค็อกเทลโดยบาเทนเดอร์มืออาชีพ และโชว์การทำข้าวกล่อง โดยสมาคมร้านอาหารเมียนมา เนื่องด้วยปัจจุบันการเติบโตทางเศรษฐกิจ ประกอบกับวิถีชีวิตที่เร่งรีบ ทำให้หลายๆ คนนิยม นำอาหารมาจากบ้าน สั่งอาหารดิลิเวอร์รี่จากร้านอาหาร คนไม่นิยมกินข้าวข้างนอก เพราะจราจรติดไม่ได้สะดวกสบายเหมือนประเทศไทย จึงเป็นโอกาสในการจัดการแข่งขัน เพื่อให้แนวทาง และผลักดันอาหารข้าวกล่องในเมียนมามีคุณภาพมากขึ้น ส่วนงานเมียนมา รีเทล ซอสซิ่ง เอ็กซ์โป 2017 มีการจัดสัมมนาโดยสมาคมค้าปลีกประเทศเมียนมาในหัวข้อ “Towards Retail Stores Excellence” เพื่อผลักดัน และยกระดับ ให้ความรู้ นักธุรกิจค้าปลีกในอุตสาหกรรมต่างๆ ในรูปแบบของงานเสวนา โดยมีผู้เข้าร่วมระดับท็อปของประเทศ อาทิ เจ้าของบริษัท ซิตี้มาร์ต ร้านค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเมียนมา ผู้อำนวยการฝ่ายรีเทล แบงค์กิ้ง ของธนาคารเอยาวดี (AYA bank) รวมถึงรองประธานของสมาคมเมียนมา Economic Association และตัวแทนจากสมาคมค้าปลีก ดำเนินรายการโดยกรรมการผู้จัดการบริษัท นีลสัน ประเทศเมียนมา ร่วมแชร์ข้อมูล และประสบการณ์เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้เข้าร่วมงานครบทุกความต้องการทำธุรกิจ สู่การเชื่อมโยงแพลตฟอร์ม และต่อยอดโอกาสทางธุรกิจระหว่างประเทศได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่วันที่ 17 ถึง 19 สิงหาคมนี้ ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา”
เกี่ยวกับบริษัท ไอซีเว็กซ์ จำกัด
บริษัท ไอซีเว็กซ์ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญการจัดงานแฟร์ และเอ็กซิบิชั่นทุกรูปแบบ (Professional Exhibition Organizer) เพื่อรองรับตลาดภาคธุรกิจ สู่ธุรกิจในรูปแบบการตลาดผสานความคิดสร้างสรรค์แบบครบวงจร (Creative Marketing Solutions) หนึ่งในเครือธุรกิจสร้างสรรค์ ภายใต้บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) ปัจจุบัน มีเทรดแฟร์ประจำที่ครอบคลุมกลุ่มอุตสาหกรรมทั้งหมด 4 งานหลักในประเทศเมียนมา และประเทศกัมพูชา คือ งานบิวด์ แอนด์ เดคคอว์ (Build and Decor) งานเทรดแฟร์ด้านวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้าง งานฟู้ดเบฟ (FoodBev) งานเทรดแฟร์ด้านอาหาร และเครื่องดื่ม งานเทรดแฟร์ด้านอาหาร และเครื่องดื่มนานาชาติ งานรีเทล ซอสซิ่ง เอ็กซ์โป (Retail Sourcing Expo) งานเทรดแฟร์ด้านสินค้า สำหรับผู้ประกอบการร้านค้าปลีก และห้างสรรพสินค้า เป็นเจ้าแรกที่ริเริ่มเข้าไปปูทาง และเปิดตลาดทางธุรกิจใหม่ๆ