ดิจิทัลเทรนด์กับโอกาสครั้งสำคัญของอุตสาหกรรมการพิมพ์

บทความประชาสัมพันธ์ โดย นายสมมาตร บุณยะสุนานนท์ รองประธาน บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด

ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา การใช้กระดาษเพื่อผลิตงานพิมพ์มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ระดับบุคคล องค์กรธุรกิจ ไปจนถึงระดับอุตสาหกรรม  เพราะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเข้าถึงสื่อที่เปลี่ยนแปลงไป “กระดาษ” ไม่ใช้ตัวเลือกเดียว สำหรับการคัดลอก พิมพ์ ส่งต่อเพื่อการสื่อสารไปยังบุคคลอื่นอีกต่อไป แพลตฟอร์มการทำงานได้เปลี่ยนแปลงไปสู่โลกดิจิทัลมากขึ้น รูปแบบการทำงานถูกปฏิวัติไปอยู่บนโลกออนไลน์เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการติดต่อให้ลดน้อยลง ซึ่งสอดคล้องกับรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ ของกระทรวงอุตสาหกรรมที่คาดการณ์แนวโน้มมูลค่าการส่งออกในปี 2559 อยู่ที่ประมาณ 64 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งลดลงร้อยละ 17.92 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน โดยสิ่งพิมพ์ประเภทโบรชัวร์ แผ่นปลิว  ภาพพิมพ์ และภาพถ่าย มีการส่งออกลดลงทั้งปริมาณ และมูลค่า ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความนิยมของผู้บริโภคที่ได้เปลี่ยนไปให้ความสนใจสื่อดิจิทัลมากขึ้น

กอรปกับนโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Digital Economy) ที่เป็นอีกแรงผลักดัน ซึ่งจะส่งผลให้รูปแบบการ ติดต่อสื่อสาร การผลิต การดําเนินธุรกิจ การอุปโภคบริโภค ตลอดจนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเดิมสู่การทํากิจกรรมผ่านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมากขึ้น เศรษฐกิจจะถูกสร้างด้วยระบบดิจิทัลอย่างครบวงจร และวิธีการทําธุรกิจของผู้ประกอบการจะมีการปรับเปลี่ยนจากการแข่งขันเชิงราคา ไปสู่การแข่งขันเชิงการสร้างคุณค่าของสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคพอใจสูงสุด ทำให้ธุรกิจสิ่งพิมพ์ต้องปรับตัวไปสู่ธุรกิจสิ่งพิมพ์สร้างสรรค์ที่ผสมผสานสิ่งพิมพ์และเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าด้วยกัน

ที่ผ่านมา บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ตระหนักถึงแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จึงได้มีการปรับรูปแบบธุรกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์เทรนด์ของโลกธุรกิจในปัจจุบัน มีการเพิ่มสัดส่วนทางธุรกิจในเรื่องของโซลูชั่นการบริหารจัดการเอกสาร แทนการนำเสนอเพียงศักยภาพเครื่องมัลติฟังก์ชั่นหรือเครื่องพิมพ์ดิจิทัลอย่างเดียว อาทิ Business Process Services, Xerox Office Services,ApeosWare Management Suite 2 Platform และอีกหลายๆ บริการที่ทางฟูจิ ซีร็อกซ์ได้นำเสนอให้กับลูกค้าไปควบคู่กับการทำธุรกิจจำหน่ายเครื่องพิมพ์ที่เป็นรูปแบบการทำธุรกิจเดิม โดยโซลูชั่นเหล่านี้ล้วนเกิดจากการพัฒนาศักยภาพและความเชี่ยวชาญที่ฟูจิ ซีร็อกซ์มีอยู่ เพื่อให้สามารถช่วยลดความซับซ้อนของขั้นตอนการทำงานของธุรกิจในยุคดิจิทัล และจัดการเอกสารผสานรวมเข้ากับโครงสร้างพื้นฐานเดิมขององค์กรได้อย่างสะดวกง่ายดาย รวมทั้งช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพด้านต้นทุน และความสามารถในการผลิตที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ธุรกิจขนาดกลางและย่อมรวมถึงองค์กรขนาดใหญ่ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและปรับขั้นตอนการทำงานให้เป็นระบบอัตโนมัติ

ซึ่งโซลูชั่นต่างๆ เหล่านี้ล้วนรองรับการใช้งานแบบโมบิลิตี้ที่ทุกองค์กรต้องการ และสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับงานพิมพ์ได้อย่างเห็นผลโดยไม่จำเป็นต้องทุ่มเทเงินทุนอย่างมากไปกับเทคโนโลยีและบุคลากร พร้อมทั้งช่วยเพิ่มประสบการณ์ของผู้ใช้อย่างครอบคลุมผ่านอุปกรณ์มัลติฟังก์ชั่น สมาร์ทโฟน ไปจนถึงพีซี พร้อมๆ กับเพิ่มขีดความสามารถด้านการผลิตและผลักดันให้เกิดรายได้เพิ่มมากขึ้น องค์กรสามารถปรับขั้นตอนการทำงานของตนให้เป็นระบบอัตโนมัติได้ด้วยการเชื่อมต่อระบบเข้ากับบริการคลาวด์ และอุปกรณ์ต่างๆ ของพนักงานเพื่อให้การดำเนินงานมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ด้วยการสื่อสารและสามารถสั่งงานผ่านเทคโนโลยี ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ และตอบโจทย์การบริหารจัดการเอกสารกระดาษที่หลายองค์กรพยายามที่จะลดปริมาณการใช้ และขั้นตอนซ้ำซ้อนให้น้อยลงได้อย่างดี

“วิสัยทัศน์เหล่านี้ถือเป็นแนวทางที่ธุรกิจในอุตสาหกรรมการพิมพ์จำเป็นต้องปรับตัว เพื่อให้สามารถเติบโตต่อไปได้ในยุคที่สิ่งพิมพ์ถูกลดความต้องการลง และความต้องการบริการเอาท์ซอร์สซิ่งกำลังเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้น เพราะเป็นต้นทุนที่ควบคุมได้ สะดวก และรวดเร็ว ด้วยบริการจากมืออาชีพ ทำให้ธุรกิจไม่ต้องสูญเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบ บุคลากร จึงช่วยทำให้ธุรกิจของลูกค้าสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และพร้อมที่จะแข่งขันกับคู่แข่งในยุคดิจิทัลนี้อีกด้วย”