โดย นายรอย เวจแมนส์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและการขาย บริษัท ไอเอฟเอส
มุมมองด้านวิวัฒนาการของ ไอโอที (IoT) และวิธีการที่ธุรกิจได้นำไปใช้แล้ว กำลังใช้อยู่ และมีแผนจะใช้เพื่อสร้างประโยชน์จากแนวทางนี้
แนวคิดโรงงานอัจฉริยะ (Smart Manufacturing) หรือ อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) กลายเป็นหัวข้อยอดนิยมหลังจากงานนิทรรศการระหว่างประเทศซีบิต (CeBIT) 2011 (พ.ศ.2554) แม้จะผ่านไปเพียงแค่หกปีแต่ดูเหมือนว่าสิ่งนี้จะกลายเป็นสิ่งสำคัญต่อการเติบโตของเทคโนโลยีไปแล้ว ปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่มีความเข้าใจหรืออย่างน้อยก็เริ่มรับรู้ว่า “อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิง์” หรือ ไอโอที (Internet of Things: IoT) หมายถึงอะไร แต่ในสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรม มีคำถามเกิดขึ้นว่าเราสามารถได้รับประโยชน์จากข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นและส่งผ่านโดยอุปกรณ์อัจฉริยะอย่างไรบ้าง และดูเหมือนว่าจะเป็นคำถามสำคัญที่ลูกค้าส่วนใหญ่ต้องพบเจอในตอนนี้ ผมจึงรู้สึกว่าน่าจะถึงเวลาที่เราจะต้องมาพูดคุยกันถึงวิธียกระดับขีดความสามารถด้วยสิ่งที่น่าสนใจนี้กันแล้ว
ไอโอที ในอดีต
ในช่วงหนึ่งหรือสองปีที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปพูดในงาน ไอโอที งานหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ข้อมูลจากอุปกรณ์อัจฉริยะที่ไม่เพียงเพื่อการตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบการผลิตเท่านั้น แต่ยังเป็นช่วยพิจารณาความสำเร็จของธุรกิจโดยรวมด้วยว่าได้รับผลกระทบอย่างไรเมื่อระบบการผลิตหรือกระบวนการทำงานอื่นๆ ของคุณล้มเหลว สิ่งนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการประสิทธิภาพของสินทรัพย์และการบริหารจัดการกระบวนการทางธุรกิจขององค์กรโดยตรง
ในขณะนั้น เรื่องราวที่ผมกล่าวถึงยังไม่ค่อยโดนใจผู้ฟังมากนัก มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เข้าใจ แต่ก็มีผู้เข้าร่วมฟังหลายคนที่กำลังให้ความสนใจอย่างมากกับเรื่องฐานข้อมูลในหน่วยความจำและโซลูชันข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อนำมาใช้รับมือกับการล้นหลามของข้อมูลที่คาดว่าจะเกิดจาก ไอโอที ในขณะนั้น ไอโอที มีความเสถียรอย่างมากในห้องปฏิบัติการ โดยบรรดาวิศวกรด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ได้สาธิตให้เห็นถึงการใช้งานที่มีศักยภาพเป็นอย่างยิ่ง
ไอโอที ในปัจุบัน
ปีนี้ผมได้กลับไปที่งาน ไอโอที งานเดิมและรู้สึกประหลาดใจอย่างมากที่เห็นว่าไอเอฟเอสไม่ใช่บริษัทเดียวที่มุ่งเน้นผลลัพธ์จากแนวทางนี้ จากคำ กล่าวของ “เจอร์รี่ ลี” ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์สำหรับไมโครซอฟท์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้พูดถึงการที่ไมโครซอฟท์ถูกคาดหวังจากบริษัทต่างๆ ให้สามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำการวิเคราะห์ได้ สำหรับวิทยากรท่านอื่นๆ ในงานนี้มีน่าสนใจหลายท่าน ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนจากบริษัท แบม (BAM) (ธุรกิจก่อสร้าง) บริษัท ฮอร์ติลุกซ์ (Hortilux) (ผู้สร้างระบบเรือนกระจก) และบริษัท ฟิลิปส์ (Philips) (ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์) ซึ่งทุกคนล้วนมีกรณีศึกษาทางธุรกิจที่ดีเยี่ยมจากการนำเทคโนโลยี ไอโอที ไปใช้ช่วยในการดำเนินการสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้นและมีต้นทุนที่ลดต่ำลง
อีกตัวอย่างหนึ่งของกรณีศึกษาทางธุรกิจที่น่าสนใจอย่างยิ่ง นั่นก็คือหนึ่งในลูกค้าของเราเอง แอนติซิเมกซ์ (Anticimex) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์ดักจับหนูที่มีการเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับระบบออนไลน์ ช่วยให้วิศวกรฝ่ายบริการสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและสามารถคาดการณ์เวลาที่เหมาะสมในการเปลี่ยนแบตเตอรี่ของอุปกรณ์ได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ไอโอที สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบในห้องปฏิบัติการและเมื่อองค์กรธุรกิจรายนี้นำมาปรับใช้จริงและพบว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ
นอกจากนี้ยังมีการพูดคุยกันอย่างมากเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ สำหรับอุตสาหกรรม หรือ ไอไอโอที (Industrial Internet of Things: IIoT) (กล่าวคือการผลิต) แต่ผมคิดว่าแนวทางนี้ยังครอบคลุมกรณีศึกษาทางธุรกิจด้านการควบคุมศัตรูพืช การก่อสร้าง เกษตรกรรม และการบริการที่มีการจัดการอื่นๆ ด้วยเช่นกัน แม้ว่าจะยังไม่มีการนำไปใช้ในทุกภาคส่วนอย่างเท่าเทียมกัน แต่ระบบบางส่วนก็เริ่มทำงานกันแล้ว นั่นคือมีการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์ร่วมกับระบบธุรกิจและเริ่มนำคุณค่าที่แท้จริงให้กับองค์กร
ไอโอที ในวันพรุ่งนี้
ตอนนี้องค์กรธุรกิจที่อยู่ในระดับปฏิบัติการล้วนเดินตามแนวทางของ ไอโอที และถึงเวลาแล้วที่ผู้บริหารระดับ ซี จะต้องเดินหน้าขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ให้สำเร็จ เนื่องจากแนวทางนี้สร้างประโยชน์อย่างมากในด้านการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยสิ่งที่เป็นตัวกำหนดทิศทางการเติบโตที่แท้จริง คือการนำผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ เข้ามาใช้งาน
แนวคิดของบริษัทผลิตภัณฑ์ที่กำลังเริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของตนในรูปแบบบริการ จะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย แต่การดำเนินการตามแนวคิดนี้อาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ในด้านเทคนิค คุณจะต้องเข้าใจผลิตภัณฑ์ สามารถคาดการณ์ความล้มเหลว และมั่นใจได้ว่าจะสามารถสร้างผลกำไรด้วยการนำเสนอสิ่งดังกล่าวในรูปแบบของบริการ
สำหรับด้านการเงิน คุณจะต้องปรับงบดุลอีกครั้งเนื่องจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้ทั้งหมดได้กลายเป็นสินทรัพย์ของคุณแล้ว นอกจากนี้ คุณจะต้องรายงานการปฏิบัติตามข้อกำหนดเอสแอลเอ (SLA) กับลูกค้าของคุณด้วย หากคุณไม่ใช่บริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์แต่เป็นบริษัทผู้ให้บริการ คุณจะสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับตัวชี้วัดที่สำคัญของความล้มเหลว ผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ และประสิทธิภาพของซัพพลายเออร์สำหรับชิ้นส่วนอะไหล่ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและสามารถทำตลาดได้ แต่คุณจำเป็นต้องมีมากกว่าทีมปฏิบัติการเพื่อการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด
วิธีการเข้าร่วมเป็นธุรกิจที่สามารถเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ ได้อย่างครอบคลุม
ธุรกิจที่ได้รับแรงผลักดันจากแนวคิด ไอโอที ต้องสามารถเก็บรวบรวมข้อมูล (การสื่อสารและระบบเครือข่าย) มีซอฟต์แวร์การวิเคราะห์และซอฟต์แวร์ธุรกิจเพื่อการทำงานที่สอดคล้องกันทั้งระบบ และมีบริษัทเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่มีพนักงานในองค์กรที่มีทักษะพร้อมสำหรับดำเนินการดังกล่าวด้วยตนเอง ปัจจุบันบริษัทส่วนใหญ่กำลังแสวงหาพันธมิตรเช่นเดียวกับไอเอฟเอส นับตั้งแต่เปิดตัว ไอเอฟเอส ไอโอที บิซิเนส คอนเนคเตอร์ (IFS IoT Business Connector) เราได้ขยายระบบเครือข่ายพันธมิตรของเราเพื่อให้ลูกค้ามีขีดความสามารถด้านการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมและเข้าร่วมเป็นธุรกิจที่สามารถเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ ได้อย่างครอบคลุมด้วยตนเอง โปรดเข้าไปที่หน้าเว็บ IoT Business Connector
เกี่ยวกับไอเอฟเอส
ไอเอฟเอส (IFS™) เป็นผู้นำระดับโลกด้านการพัฒนาและนำเสนอซอฟต์แวร์สำหรับการวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning หรือ ERP) การบริหารจัดการสินทรัพย์ขององค์กร (Enterprise Asset Management หรือ EAM) และ การบริหารจัดการงานบริการขององค์กร (Enterprise Service Management หรือ ESM) ทั้งนี้ ไอเอฟเอสก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2526 โดยมีส่วนช่วยสนับสนุนให้ลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายสามารถดำเนินธุรกิจได้ดีขึ้น ตลอดจนผลักดันให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน พร้อมทั้งจัดเตรียมสิ่งต่างๆ สำหรับอุตสาหกรรมเพื่อให้พร้อมรับมือกับอนาคต ไอเอฟเอส มีพนักงาน 2,800 คนที่พร้อมให้การสนับสนุนผู้ใช้ทั่วโลกมากกว่า 1 ล้านคนผ่านสำนักงานสาขาในเขตพื้นที่ต่างๆ และผ่านเครือข่ายพันธมิตรที่กำลังขยายตัวเพิ่มมากขึ้น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดไปที่เว็บไซต์: IFSworld.com
ติดตามเราทาง Twitter: @ifsworld เยี่ยมชมบล็อกของไอเอฟเอสเกี่ยวกับเทคโนโลยี นวัตกรรม และผลงานสร้างสรรค์ต่างๆ: http://blog.ifsworld.com/