ศัพท์ต้องรู้เกี่ยวกับ “อาหาร” ยุคใหม่

Ready-to-Eat
มีชื่อเรียกอย่างย่อว่า RTE บ้างใช้คำว่า Ready Meal ขณะที่ยุคเริ่มแรกเรียกขานกันว่า Meal, Ready to Eat หรือ MRE เป็นอาหารปรุงสุกเรียบร้อยแล้ว บรรจุในซองพร้อมรับประทาน สำหรับทหารอเมริกันเวลาออกรบจับศึก แต่ครั้งนั้นรสชาติไม่ได้เรื่อง จนกระทั่งมีคนตั้งชื่อใหม่ในเชิงลบหลายชื่อ เช่น Meal Rejected by Everyone เป็นต้น แต่ทุกวันนี้กองทัพต่างๆ ก็ยังคงมีเสบียงเป็นอาหารประเภทนี้ซึ่งก็ได้รับการพัฒนารสชาติดีขึ้นมาก ซึ่งแน่นอนว่าน่ารับประทานกว่าอาหารแห้งเป็นไหนๆ

Ready-to-Cook
คือ อาหารสำเร็จรูปพร้อมปรุง โดยไม่จำเป็นต้องเสียเวลาในการเตรียมอาหาร เป็นการลดขั้นตอนกระบวนการทำอาหารให้สั้นลง เช่น กุ้งพร้อมปรุง ผ่านการแกะเปลือก หัว และทำความสะอาดเรียบร้อยแล้ว สามารถนำไปประกอบอาหารได้เลย

Ready-to-Drink
หรือที่คุ้นหูกันในนามของ RTD เป็นเครื่องดื่มบรรจุขวดยุคใหม่ที่ได้รับความนิยม เช่น ชาพร้อมดื่ม กาแฟพร้อมดื่ม เป็นต้น โดยไม่จำเป็นต้องปรุงรส หรือผ่านกระบวนการใดๆ อีก

Frozen Food
หรือ อาหารแช่แข็ง เป็นอาหารที่ผ่านกระบวนการเก็บรักษา เปลี่ยนน้ำให้เป็นน้ำแข็ง ทำให้แบคทีเรียไม่อยู่ในสภาพที่จะเติบโตได้ โดยเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ -18 ถึง -20 องศาเซลเซียส มีข้อดีคือเก็บรักษาได้นานถึง 18 เดือน แต่ข้อเสียคือรสชาติที่อาจด้อยลงไปบ้าง

Chilled Food
หรือ อาหารแช่เย็น มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า Chilled Processed Food กระบวนการเก็บรักษาอาหารที่อุณหภูมิ 8 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่า เริ่มที่อังกฤษตั้งแต่ปี 1960 ปัจจุบัน Chilled Food มีสัดส่วนถึง 10% ในอุตสาหกรรมอาหารที่อยู่ในร้านค้าปลีกของอังกฤษเลยทีเดียว

มีข้อดีคือความสดใหม่ ใกล้เคียงกับอาหารที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการแปรรูป แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน โดยระยะเวลาเก็บรักษาอยู่ที่ประมาณ 3-7 วัน

ทั้งนี้ อาหารในยุคดิจิตอลที่กำลังได้รับความนิยมในขณะนี้ คือ Ready-to-Eat แบบ Frozen Food และ Chilled Food นั่นเอง

Timeline
Ready-to-Eat แบบ Frozen food และ Chilled food
2536 S&P เปิดตัวอาหารแช่แข็งชื่อ Quick Meal

2546 Ezy’s Go วางจำหน่ายใน 7-Eleven เป็นครั้งแรก เปิดตัวแบรนด์ พรานทะเล

2548 โออิชิวางจำหน่าย Chilled Food ที่ 7-eleven

2549 เทสโก้ โลตัส จับมือกับพรานทะเล ออก Chilled Food เป็น Private Brand ชื่อ Ready Meal โดยเน้นวางในรูปแบบ โลตัส เอ็กซ์เพรส เป็นหลัก เพื่อตอบสนองต่อ Convenience Lifestyle กลางปีแบรนด์ซีพีเริ่มวางจำหน่าย จากนั้นหยิบยกเมนู เกี๊ยวกุ้งน้ำมาโปรโมตอย่างหนัก

2551 ซีพีเอฟ เปิดตัว Smart Meal แบรนด์เพื่อสุขภาพพรานทะเลเปิดตัว อาหารตามกรุ๊ปเลือด ตามด้วย คลิ๊ก Ezy’s Go หยิบยกเอาอาหารต้นตำรับมาโปรโมต S&P กลับมาทำตลาด Quick Meal อีกครั้ง หลังห่างหายไปนับสิบปี

2552 7-Eleven เปลี่ยนจุดยืนธุรกิจใหม่ จาก Convenience Store สู่ “Convenience Foods Store

Brand CP
Positioning อาหารสด สะอาด ปลอดภัย
จุดแข็ง วัตถุดิบและการผลิตที่ครบวงจร รวมถึงการมีช่องทางจำหน่ายเป็นของตัวเองรวมถึงพันธมิตรอย่าง 7-Eleven
จุดอ่อน ชื่อแบรนด์ที่ยังอาจทำให้นึกถึงอาหารสดมากกว่า RTE
กลุ่มเป้าหมาย รายได้มากกว่า 20,000 บาทต่อครัวเรือน หรือตั้งแต่ C+
ราคา (บาท) 40-60
ช่องทางจำหน่าย ซีพี เฟรชมาร์ท 20% 7-Eleven 10% โมเดิร์นเทรด 70%
สโลแกน ชีวิตที่อร่อยทุกวัน

Brand พรานทะเล
Positioning Frozen Food ที่เน้นนวัตกรรมและปลอดภัย
จุดแข็ง มีเรือประมงเป็นของตัวเองสามารถหาวัตถุดิบอาหารทะเลสดใหม่ได้ตลอดเวลา อีกทั้งมีโรงงานผลิตเป็นของตัวเองอีกด้วย
จุดอ่อน ไม่มีความโดดเด่นเท่าไหร่นักในเมนูอาหารอื่นนอกเหนือจากอาหารทะเล
กลุ่มเป้าหมาย กลุ่ม B ขึ้นไป ที่ไม่ได้มี Price Concern มากนัก
ราคา (บาท) 45-75
ช่องทางจำหน่าย โมเดิร์นเทรด พรานทะเลจานด่วน คอนวีเนียนสโตร์ และร้านทั่วไปรวมกัน 7,500 แห่ง
สโลแกน อาหารทะเลเพื่อคนรักสุขภาพ

Brand S&P
Positioning อาหารกล่องแช่แข็งที่อร่อยและมีคุณภาพ
จุดแข็ง ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของแบรนด์ร้านอาหารที่มีมานานกว่า 35 ปี
จุดอ่อน ขาดช่องทางในการจัดจำหน่ายที่ยังไม่เข้าถึงลูกค้ายุคใหม่ เช่น คอนวีเนียนสโตร์
กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนทำงานรุ่นใหม่และกลุ่มครอบครัว
ราคา (บาท) 55
ช่องทางจำหน่าย ร้าน S& ,โมเดิร์นเทรด ประมาณ 1,000 แห่ง
สโลแกน

Brand Ezy’s GO
Positioning อาหารกล่องแช่แข็งพร้อมรับประทาน 24 ชั่วโมง
จุดแข็ง มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายครบครันและสามารถจัดวางในตู้แช่เฉพาะของตัวเองได้อย่างเต็มที่โดยไม่ปะปนกับใคร เพราะมีเพียงแบรนด์เดียวใน 7-Eleven
จุดอ่อน จำหน่ายเฉพาะใน7-Eleven
กลุ่มเป้าหมาย อายุ 25-45 ปี รักความสะดวก มีไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบ ส่วนหนึ่งอาศัยอยู่คนเดียว
ราคา (บาท) 35-55
ช่องทางจำหน่าย เฉพาะที่ 7-Eleven แต่มีจำนวนมากถึง 5,000 สาขาในปี 2552 นี้
สโลแกน จับต้นตำรับมาใส่กล่อง