- ยอดขายอาหารทั้งหมดผ่านกลุ่มร้านค้าปลีกต่างๆ คาดว่าจะมีมูลค่าสูงสุดถึง 1.45 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี พ.ศ. 2563
- ภาษีเครื่องดื่มน้ำตาล จะนำไปสู่การเป็นพันธมิตร ระหว่างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ กับสถาบันการศึกษา
- ผู้บริโภคเปลี่ยนจากการค้าปลีกแบบดั้งเดิม ไปสู่การซื้อขายแบบดิจิทัล
อ๊อกฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป (โอบีจี) บริษัทวิจัยและที่ปรึกษาระดับโลก เปิดเผยถึง ออกกฎหมายใหม่เกี่ยวกับการค้าปลีกควบคู่ไปกับพัฒนาการในด้านพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค จะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจในภาคการค้าปลีกของประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม
มาตรการด้านภาษีใหม่ ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่กลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา เจาะจงไปที่ เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้คนไทยบริโภคน้ำตาลน้อยลงเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น เช่นเดียวกับเร่งกระตุ้นให้ผู้ผลิตลดปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ของพวกเขา
ทั้งนี้ จะมีการคิดภาษีร้อยละ 20-30 ของราคาขายปลีกสำหรับเครื่องดื่มหวานที่มีน้ำตาล รวมทั้งคิดภาษีสุราที่ร้อยละ 45 ตามมูลค่าของเครื่องดื่ม นอกเหนือจากภาษีร้อยละ 50 ตามระดับแอลกอฮอล์ โดยระดับการคิดภาษีจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นในช่วงหกปี
การจัดเก็บภาษีแบบใหม่อาจนำไปสู่การเป็นพันธมิตรระหว่างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ กับสถาบันการศึกษา
ในขณะที่ภาษี ซึ่งคาดว่าจะมีผลกระทบสำคัญต่อกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในอุตสาหกรรมกลุ่มสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวเร็ว (FMCG) และการขายในระยะสั้น แต่ในระยะยาวมาตรการด้านภาษีอาจจะนำไปสู่การเชื่อมโยงกับนักวิจัยด้านอาหารมากขึ้น
ด้วยภาษีที่เพิ่มขึ้นนี้ ผู้ผลิตสินค้าจำเป็นต้องผลิตผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากน้ำตาลและผู้ค้าปลีกจะต้องส่งเสริมสินค้าเหล่านี้ให้เป็นทางเลือกแทนกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมสูง ซึ่งในอนาคตจะกลายเป็นสินค้าที่ราคาแพงขึ้น
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค รสนิยม และมาตรการด้านกฎระเบียบจะเป็นแรงผลักดันในการกระชับภาคการศึกษา ภาครัฐ และภาคอุตสาหกรรมการค้าปลีก เข้าหากันมากขึ้น เอกพล พงษ์สถาพร กรรมการผู้จัดการ บริษัททิปโก้ฟู้ดส์ด้านการผลิตและส่งออกผลไม้กระป๋องและเครื่องดื่ม กล่าว
“นวัตกรรมต้องพึ่งพาอาศัยการสร้างพันธมิตร เราต้องทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยและห้องทดลอง” เขากล่าวกับโอบีจี “ห้องแล็บของมหาวิทยาลัยในปัจจุบันกำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจบางอย่าง แต่รัฐบาลจำเป็นต้องเข้ามาช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างพันธมิตรนี้ เราต้องการให้มหาวิทยาลัยคิดเชิงพาณิชย์มากขึ้นเพื่อประโยชน์ต่อผู้บริโภคและชีวิตของผู้คน”
ผู้บริโภคชาวไทยเปลี่ยนไปซื้อของทางออนไลน์
นอกจากการออกกฎระเบียบใหม่แล้ว การเปลี่ยนแปลงวิธีการซื้อสินค้าของผู้บริโภคก็มีผลต่อรูปแบบการค้าปลีก
ความนิยมของผู้บริโภคกำลังเปลี่ยนจากการค้าปลีกแบบดั้งเดิมที่จำหน่ายผ่านเคาน์เตอร์ ไปสู่การซื้อขายแบบดิจิทัล ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่กลุ่มสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวเร็วจำเป็นต้องตามติด
คาดว่าร้อยละ 10 ของครัวเรือนไทยจะใช้ช่องทางช้อปปิ้งออนไลน์ในปี พ.ศ. 2560 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 จากปีที่ผ่านมา โดยความนิยมในรูปแบบของการค้าปลีกนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและการบริการออนไลน์ดีขึ้น
แม้ว่ายอดขายผ่านช่องทางออนไลน์จะมีสัดส่วนเพียงเล็กน้อยในยอดขายโดยรวมของธุรกิจค้าปลีก แต่สมาคมผู้ค้าปลีกแห่งประเทศไทยคาดการณ์ว่าการเติบโตในระยะสั้นจะอยู่ที่ร้อยละ 15-20 ต่อปีเทียบกับการเติบโตโดยเฉลี่ยที่ร้อยละ 3-5 ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาของการบริโภคค้าปลีกโดยรวม ขณะเดียวกัน ผู้ค้าปลีกจำนวนมากกำลังลงทุนอย่างเต็มที่ในด้านดิจิตัล และมองไปทางระยะยาว
กิจกรรมล่าสุดในกลุ่มร้านขายของชำออนไลน์ดูเหมือนว่าจะช่วยกระตุ้นเทรนด์ดังกล่าวนี้
กลุ่มธุรกิจค้าปลีกอาหารไทยได้รับการยกย่องว่ามีศักยภาพในการแข่งสูงมาโดยตลอด” ปาสคาล บิลโลว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด กล่าวกับโอบีจี “แนวโน้มนี้จะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ โดยจะมีผู้ค้าขายทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (อีคอมเมิร์ซ) รายใหญ่ เช่น JD.com ซึ่งร่วมกับกลุ่มเซ็นทรัลและรายอื่นๆ เข้าสู่ตลาด”
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นสวนกับการลดลงสี่เดือน
ผลการสำรวจความคิดเห็นรายเดือนของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคได้กลับมาฟื้นตัวขึ้นในเดือนสิงหาคม ซึ่งนับเป็นบรรยากาศที่น่าพอใจสำหรับการลงทุนดังกล่าว
ขณะที่ดัชนีต่ำกว่า 100 แสดงถึงแนวโน้มที่ทรุดลง และดัชนีมากกว่า 100 หมายถึงแนวโน้มการฟื้นตัว – ทั้งนี้ ดัชนีได้ชี้ว่าความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 74.5 เพิ่มขึ้นจาก 73.9 ในเดือนกรกฎาคม แม้ว่าตัวเลขดัชนียังคงต่ำกว่าระดับที่เป็นบวก ตัวเลขของเดือนสิงหาคมกลับเพิ่มขึ้นสวนกระแสหลังจากที่ลดลงเป็นเวลาสี่เดือน
ปี 2563 ยอดขายอาหารผ่านร้านค้าปลีกโตถึง 1.45 แสนล้านเหรียญ
ข้อมูลจากอินไซต์ รีเทล เอเชีย ระบุว่า แม้จะมีการเริ่มต้นที่ช้าสำหรับภาคธุรกิจส่วนนี้ ประกอบเศรษฐกิจโดยรวมที่ชะลอตัวในต้นปีนี้ การเติบโตของตลาดร้านขายของชำคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอัตราการเติบโตประจำปีอยู่ที่ร้อยละ 7 ในช่วงปี พ.ศ. 2558-2563 โดยยอดขายอาหารทั้งหมดผ่านกลุ่มร้านค้าปลีกต่างๆ คาดว่าจะมีมูลค่าสูงสุดถึง 1.45 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี พ.ศ. 2563 โดยเพิ่มขึ้นจาก 7.3 หมื่นล้านเหรียญในปี พ.ศ. 2558