คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (School of Entrepreneurship and Management – BUSEM) สนองนโยบายชาติเป็นโมเดลต้นแบบของเครื่องมือที่สำคัญ “คลัสเตอร์ (Cluster)” โดยการผนึกกำลังร่วมกันของสถาบันการศึกษา กับ ภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของSME ไทย ในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืนและเท่าเทียมกับนานาชาติ
ดร.ชญาน์นันท์ ติยะตระการชัย คณบดีคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า “คลัสเตอร์ (Cluster) นี้เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชน ที่จะมีพิธีลงนามความร่วมมือระหว่าง คณะการสร้างเจ้าของกิจการและบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (BUSEM) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ “คลัสเตอร์” ร่วมกันผนึกพลังก้าวแรกด้วยงาน “SEM-SME Synergy…ผนึกพลังของ SMEวัยรุ่นกับ SME รุ่นเก๋า” ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2560 นี้ โดยมีวัตถุประสงค์หนึ่งเดียวกันคือสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจ SME ไทยให้ก้าวทันยุค 4.0 ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านการแข่งขันและความต้องการของผู้บริโภคที่ซับซ้อนมากขึ้น มีกิจกรรมที่ครบเครื่อง เช่น การปาฐากถาพิเศษ การเสวนาที่ครบที่สุดจากกูรูแนวหน้าของไทย และบริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจแก่ SME จากทุกภาคี”
ภายในงานได้รับเกียรติจาก ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงานและปาฐกถาพิเศษเรื่อง “จุดชนวนคิด พลิกสถานการณ์สู่ SME 4.0” พร้อมทั้งเสวนาเสริมเขี้ยวเล็บให้SME ในหัวข้อการสร้างแบรนด์ การวางแผนการตลาด การมองธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ และการหาแหล่งเงินทุนที่ไม่ยากอย่างที่คิด นับว่าเป็นงานเสวนาในแวดวง SME จากกูรูตัวจริงเสียงจริงกว่า 10 ท่าน ได้แก่ คุณวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี กูรูทางการเงิน อดีตผู้อำนวยการธนาคารออมสิน คุณธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย กูรูด้าน SMEคุณกิตติพงษ์ วีระเตชะ กูรูด้านการตลาด ประธานอำนวยการ Y&R (ประเทศไทย) คุณพรเทพ การศัพท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คุณอัครนันท์ ฐิตสิริวิทย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) คุณเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม คุณพงษ์ปิติ เอกเธียรชัย ผู้อำนวยการงานส่งเสริมบริษัทจดทะเบียนและวิสาหกิจเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ดร.โกศล ทรัพย์ประเสริฐ CEO ของ H bot และคุณกิจพล ไพรไพศาลกิจ ผู้อำนวยการและนักกลยุทธ์ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย)
“โดยคาดหวังว่าการจัดงานในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายทุกหน่วยงานและที่สำคัญนักศึกษา BUSEM จะได้ความรู้จากประสบการณ์ของท่านวิทยากรและความรู้จากกูรูด้านต่างๆ อย่างมากมาย” ดร.ชญาน์นันท์ กล่าวทิ้งท้าย
ข้อมูลเกี่ยวกับคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ (School of Entrepreneurship – BUSEM)
เป็นคณะที่สร้างเจ้าของกิจการพันธุ์ใหม่หลักสูตรระดับโลกและการเรียนรู้นอกห้องเรียนจะทำให้นักศึกษาสามารถเป็นผู้ประกอบการที่ก้าวทันโลกและประสบความสำเร็จตั้งแต่วัยทีน คณะการสร้างเจ้าของกิจการและการบริหารจัดการมี Entrepreneurial Ecosystem ดังนี้
- หลักสูตรของคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ ร่วมกับ Babson College, USA มหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของโลกด้าน Entrepreneurship 24 ปีซ้อน (จัดดันดับโดย U.S. News & World Ranking) ในการออกแบบหลักสูตรทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท มีทั้งหลักสูตรไทยและนานาชาติ เป็นสาขาที่เน้น “Act-Learn-Build” กล่าวคือการเรียนรู้จากการลงมือทำจริง เพื่อสร้างความกล้า ให้สามารถแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และการมีมุมมองอย่างผู้ประกอบการตัวจริง
- ศูนย์วิจัยนานาชาติด้านผู้ประกอบการและธุรกิจครอบครัว อาทิเช่น GEM (Global Entrepreneurship Monitor) และ STEP (Successful Transgenerational Entrepreneurship Practices)
- BUSEM Center for Entrepreneurship (BCE)ศูนย์พัฒนาเจ้ากิจการโดยให้คำปรึกษาด้านการสร้างธุรกิจแก่นักศึกษา ศิษย์เก่าและบุคคลทั่วไป โดยให้บริการเพื่อการสร้างและบ่งเพาะธุรกิจอย่างครบวงจร คือตั้งแต่การช่วยสนับสนุนความคิด ช่วยแนะนำแหล่งทุนและผู้ร่วมทุน ตลอดจนให้คำปรึกษาทางธุรกิจต่างๆ ดังนั้นพันธมิตรของคณะการสร้างเจ้าธุรกิจฯจึงมีบทบาทที่สำคัญที่ให้การสนับสนุนทางด้านข้อมูล คำปรึกษาให้ธุรกิจของนักศึกษาสามารถเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
หาสนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับศูนย์พัฒนาเจ้าของกิจการ (BCE) หรือกิจกรรมต่างๆ ของคณะ BUSEMได้ที่เว็บไซต์ busem.bu.ac.th หรือโทร. 02-350-3500 ต่อ 1795, 1797