เนร่าเผยผลศึกษา “ความเสี่ยงจากการประมูลคลื่นความถี่ทำให้ประเทศไทยประสบกับการใช้งานดาต้าที่ช้า”

ฮานส์ อีลเล (Hans-Martin Ihle) ที่ปรึกษาอาวุโสประจำสำนักงานเนร่า (NERA) ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลกที่เชี่ยวชาญและวิเคราะห์ พร้อมทั้งออกแบบการประมูลคลื่นความถี่ทั่วโลกทั้ง เอเชียแปซิฟิก ยุโรป อเมริกา และแอฟริกา เปิดเผยผลการศึกษาต่อมุมมองในการประมูลคลื่นความถี่1800MHz และ 900MHz ของประเทศไทยที่จะจัดขึ้นในปี 2561 โดยจัดทำรายงาน (Whitepaper) ในหัวข้อ“ความเสี่ยงจากการประมูลคลื่นความถี่ทำให้ประเทศไทยประสบกับการใช้งานดาต้าที่ช้า” พร้อมทั้งพูดคุยให้รายละเอียดต่อประเด็นต่างๆ จากมุมมองผู้เชี่ยวชาญระดับโลก

ข้อมูลสรุปจากการวิเคราะห์จาก บจ.เนร่า (www.nera.com)

“ความเสี่ยงจากการประมูลคลื่นความถี่ทำให้ประเทศไทยประสบกับการใช้งานดาต้าที่ช้า”

โดย ฮานส์ อีลเล ที่ปรึกษาอาวุโส

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (“กสทช.”) กำลังเตรียมการเปิดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz และ 1800 MHz ในปี 2561 ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ที่ดีแทคใช้ในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G และ 4G ภายใต้สัญญาสัมปทานกับ กสท ซึ่งจะหมดสัมปทานในปี2561 ซึ่งไม่มีการต่อสัมปทานและนำคลื่นความถี่มาประมูล ทั้งนี้ ถ้าดีแทคต้องชนะการประมูลถ้าต้องการที่จะนำคลื่นความถี่ดังกล่าวไม่ว่าจะทั้งหมดหรือบางส่วนมาใช้งานต่อ

การออกแบบการประมูลในชั้นแรกของ กสทช. มีข้อเสนอซึ่งผู้เขียนคิดว่าอาจทำให้เกิดข้อโต้เถียงสองประการ เนื่องจากข้อเสนอดังกล่าวไม่สนับสนุนกระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่ที่มีประสิทธิภาพ

  • กรณีที่มีผู้เข้าร่วมประมูลน้อยราย จะไม่นำคลื่นความถี่บางคลื่นเข้ามาประมูล (ที่เรียกว่ากฎ N-1) และ
  • กำหนดราคาตั้งต้นที่สูงเป็นพิเศษ โดยอาศัยราคาจากการประมูลในปี 2558

ข้อกำหนดในการประมูลนี้มีขึ้นเพื่อให้ได้เงินจากการประมูลสูงสุด แต่อย่างไรก็ดี การกำหนดเช่นนี้อาจทำให้เกิดผลที่ไม่พึงประสงค์ กล่าวคือ ได้เงินจากการประมูลน้อยลง มีคลื่นความถี่ที่ไม่สามารถประมูลได้ ตลาดที่ไม่มีประสิทธิภาพ และผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องแบกรับภาระทางการเงิน ซึ่งลดแรงจูงใจในการลงทุนและแข่งขันกันในการให้บริการข้อมูลผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ในยุคต่อไป

งานเอกสารนี้ ผู้เขียนประสงค์จะแสดงให้เห็นว่าการบังคับใช้กฎเกณฑ์ดังกล่าวอาจทำให้ประเทศไทยต้องประสบกับช่องทางการการใช้งานดาต้าที่เชื่องช้า เป็นการจำกัดขอบเขตในการเติบโตของเศรษฐกิจในอนาคต และส่งผลกระทบต่อวิสัยทัศน์ของรัฐบาลในการก้าวสู่ยุคประเทศไทย 4.0 และทำให้ประชาชน ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และธุรกิจได้รับความผลเสียหาย

ประเทศไทยยังไม่ได้มีการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่สำหรับ 4G และยังตามหลังเศรษฐกิจประเทศตะวันตกและอีกหลายประเทศในเอเชียในการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่เพื่อตอบสนองต่อความต้องการการใช้งานการใช้ดาต้าที่เพิ่มขึ้น ผลที่ไม่ได้ตั้งใจของกฎ N-1 คือ อาจจะทำให้มีช่องว่างนี้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากจะเป็นผลให้คลื่นความถี่อย่างน้อย 10% ไม่ได้ถูกนำมาใช้งานในตลาด

ราคาตั้งต้นการประมูลที่สูงอาจไม่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการเข้าร่วมประมูล และนำไปสูงผลลัพธ์ที่เป็นผลเสียต่อผู้ใช้บริการชาวไทย เมื่อเร็ว ๆ นี้ผู้เขียนได้มีทำการศึกษาสำหรับ GSMA ในหัวข้อเกี่ยวกับการกำหนดราคาคลื่นความถี่ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างค่าคลื่นความถี่ที่สูง คุณภาพโครงข่ายที่ต่ำลง และค่าบริการที่สูงขึ้น ความเคลื่อนไหวในตลาดของประเทศไทยสอดคล้องกับความสัมพันธ์เช่นว่านี้

  • ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีค่าคลื่นความถี่สูงที่สุดในโลก
  • ผู้ใช้บริการชาวไทยได้จ่ายค่าใช้บริการดาต้าสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่แพงกว่าประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียหลายๆ ประเทศ
  • ข้อมูลจาก OpenSignal แสดงให้เห็นว่าความเร็วและคุณภาพของโครงข่าย 4G ในไทยล้าหลังกว่าประเทศในระดับเดียวกัน

จากการประมาณการอย่างระมัดระวังและมีเหตุผลแสดงให้เห็นว่า การลดราคาตั้งต้นในการประมูลที่จะมาถึงนี้สามารถนำไปสู่การลดราคาค่าบริการดาต้าสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งคิดเป็นประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับอย่างน้อย 3,643 บาทต่อประชากรหนึ่งคน ภายในระยะเวลา15 ปีของใบอนุญาต

รายงานฉบับนี้แนะนำให้ยกเลิกการใช้กฎ N-1 และตั้งราคาตั้งต้นการประมูลที่สมเหตุสมผล ซึ่งในที่สุดแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคชาวไทยและเศรษฐกิจองค์รวม

ในการประมูลในอนาคต กสทช. ควรพิจารณา แบ่งย่อยช่วงคลื่นความถี่มาประมูล ให้มากกว่าการประมูลจำนวนมากต่อใบอนุญาต โดยยังสามารถนำมารวมเป็นช่วงคลื่นที่ติดกันได้ วิธีการนี้ได้รับการนำมาใช้งานโดยหลายองค์กรกำกับดูแลทั่วโลก ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้ผู้ให้บริการมีความยืดหยุ่นสูงสุดในการกำหนดเป้าหมายจำนวนคลื่นความถี่ที่ตนเองต้องการและเพิ่มการแข่งขันในการประมูลของช่วงความถี่ที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีผู้เข้าร่วมประมูลน้อยราย