สามตัวแปรผู้เปลี่ยนเกมในอุตสาหกรรมยานยนต์ปี 2561

บริการใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล วัสดุน้ำหนักเบาที่มีความแข็งแรง และโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วสำหรับยานพาหนะไฟฟ้าหรืออีวี (Electric Vehicle) เป็นแนวโน้มสำคัญที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ในปีนี้ นายสเตฟาน อิสซิ่ง ผู้อำนวยการด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกของบริษัท ไอเอฟเอส ได้นำเสนอการคาดการณ์เกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ในปี .. 2561 ไว้ดังนี้

  1. รายได้จากบริการในอุตสาหกรรมยานยนต์จะเพิ่มขึ้น 30% ในปี .. 2561

บริษัท โอเปิล ผู้ผลิตยานยนต์สัญชาติเยอรมันได้เปิดตัวบริษัทครั้งแรกเมื่อปี .. 2406 โดยเริ่มจากการเป็นผู้ผลิตจักรเย็บผ้า จากนั้นก็ได้เปลี่ยนมาผลิตรถยนต์ในปี .. 2442 ขณะที่บริษัท เปอโยต์ เจ้าของธุรกิจโรงสีข้าวโพดและได้หันมาจับธุรกิจเหล็กกล้าเป็นเวลา 8 ปีก่อนที่จะตัดสินใจเปิดตัวในฐานะผู้ผลิตรถยนต์เมื่อปี .. 2434 แม้ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์อาจดูเหมือนจะก้าวเดินไปในทิศทางอนุรักษ์นิยม แต่อุตสาหกรรมแห่งนี้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงก็จะเกิดการพลิกผันในระดับดีเอ็นเอกันเลยทีเดียว จะเห็นได้ว่าผู้นำด้านยานยนต์ในปัจจุบันต้องการแสดงให้ตลาดและคู่แข่งเห็นถึงความยืดหยุ่น ความคล่องตัว และความสามารถในการปรับตัวของตนเพื่อที่จะได้ไม่อยู่ในตำแหน่งรั้งท้ายเมื่อบรรดาคู่แข่งหันมาลงทุนในบริการใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบดิจิทัล

มาลองดูเรื่องราวของบริษัท แชฟฟ์เลอร์ กรุ๊ป (Schaeffler) ซึ่งเป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุดของโลกสำหรับลูกปืนแบริ่ง คลัตช์ อุปกรณ์แปลงแรงบิด และระบบส่งกำลัง ให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยในปี .. 2559 บริษัทสามารถจำหน่ายชิ้นส่วนยานยนต์คิดเป็นมูลค่า 10,880 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และได้เปิดตัวกลยุทธ์ด้านดิจิทัลสำหรับการดำเนินงานด้านยานยนต์ของบริษัทเพิ่มเติมด้วย และในเดือนตุลาคม .. 2560 บริษัท แชฟฟ์เลอร์ได้เข้าซื้อบริษัท autinity systems GmbH ซึ่งเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) สัญชาติเยอรมันที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านการบันทึกข้อมูลเครื่องจักรและการติดตามสภาพการทำงานของเครื่องจักรผ่านระบบดิจิทัลโดยเฉพาะ

นายคลอส โรเซนเฟลด์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (ซีอีโอ) บริษัท แชฟฟ์เลอร์ เปิดเผยกับออโต้โมทีฟ นิวส์ ( Automotive News) เกี่ยวกับการค้าของสหรัฐอเมริกาว่าสถานการณ์ที่เราได้เตรียมการไว้แล้วในตอนนี้คือ ในปี .. 2573 จำนวนรถยนต์ที่ผลิตทั่วโลกในสัดส่วน 30% จาก 120 คันจะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่แต่เพียงอย่างเดียว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับเรา เนื่องจากเรามีประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมในการเปลี่ยนแปลงกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เรามีอยู่โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยแล้ว

และไม่ได้มีเพียงบริษัท แชฟฟ์เลอร์ เท่านั้น ลูกค้ารายหนึ่งของบริษัท ไอเอฟเอส ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ยานยนต์รายใหญ่เพิ่งได้ข้อสรุปในสัญญาใหม่ที่มีความสำคัญอย่างมาก นั่นคือบริษัทแห่งนี้จะไม่ได้ทำหน้าที่เพียงแค่ผลิตและจัดหาชิ้นส่วนให้กับโออีเอ็มเท่านั้น แต่ยังต้องเก็บรวบรวมข้อมูลจากชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในบริการหลังการขายสำหรับตัวแทนจำหน่ายด้วย สิ่งนี้ครอบคลุมถึงการจัดเตรียมข้อมูลสำหรับชิ้นส่วนอะไหล่ที่อาจจำเป็นต้องใช้ในกรณีที่มีการเรียกคืน รวมถึงการกรอกข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับชิ้นส่วนอะไหล่ที่บริษัทตัวแทนตัวแทนจำหน่ายโดยตรง หากฟังดูแล้วแปลกๆ ให้ลองคิดพิจารณาอีกครั้ง กล่าวคือซัพพลายเออร์รายนี้เริ่มดำเนินการตามสัญญาใหม่ภายในระยะเวลาเพียงหนึ่งเดือนเท่านั้น ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจะสามารถทำได้ จากการผลิตเพียงแค่ชิ้นส่วนตามตารางการผลิตของลูกค้า กลายมาเป็นการบริหารจัดการชิ้นอะไหล่สำหรับโออีเอ็มครอบคลุมทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งรวมถึงการบริหารจัดการคลังสินค้า โดยทั้งหมดนี้จำเป็นต้องใช้ระบบธุรกิจที่มีการเชื่อมต่อระหว่างกัน และคลอส โรเซนเฟลด์ ยังย้ำเน้นด้วยว่า นาฬิกากำลังเดินอยู่ตลอดเวลา

จงเริ่มซะตั้งแต่วันนี้ เพราะพรุ่งนี้อาจสายเกินไป: ปัจจุบันรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต้องการชิ้นส่วนประมาณ 30,000 ชิ้น ขณะที่รถยนต์ไฟฟ้าต้องใช้ชิ้นส่วนประมาณ 10,000-12,000 ชิ้นเท่านั้น โดยประเทศสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสจะเริ่มยุติการใช้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในปี .. 2583 ซึ่งกรุงปารีสประกาศว่าจะห้ามการใช้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในปี .. 2573 ขณะที่ประเทศอินเดียต้องการให้มียานพาหนะไฟฟ้าทั้งประเทศภายในปี .. 2573 และแน่นอนว่าผู้ผลิตชิ้นส่วน เช่น ท่อไอเสีย (ที่จะไม่มีอยู่ในรถไฟฟ้าอีกต่อไป) ก็ใกล้จะสิ้นอายุขัยแล้ว ซึ่งพวกเขาต้องเริ่มนับถอยหลังกันได้แล้วหลังจากปี .. 2563, 2573 และ 2583 ทั้งยังจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงด้วย อย่างไรก็ตามอาจต้องใช้เวลาในการผสานรวมซอฟต์แวร์องค์กรเพื่อช่วยให้มั่นใจถึงความคล่องตัวและความสามารถในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ สรุปก็คือการรอไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีอีกต่อไป

2. วัสดุที่มีน้ำหนักเบากว่าเดิมและแข็งแรงยิ่งขึ้น เช่น พลาสติกชนิดเสริมแรงด้วยคาร์บอน หรือ CFRP จะเป็นกระสุนเงินนัดใหม่ของอุตสาหกรรม

จะเกิดอะไรขึ้นกับความเบาหรือความปลอดภัย และทำไมเราถึงจะมีทั้งสองสิ่งนี้รวมกันไม่ได้ล่ะ ใช่แล้ว เราทำได้แน่นอน จะเห็นได้ว่าหลายปีที่ผ่านมานี้ ผู้ผลิตรถยนต์ต่างเผชิญหน้ากับภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะพวกเขาพยายามที่จะตอบสนองความต้องการที่มีความขัดแย้งกันอยู่ ประเด็นแรกคือยานพาหนะที่มีน้ำหนักเบา (ที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง) และอีกประเด็นคือยานพาหนะที่มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น (ซึ่งขัดแย้งกันอย่างมากเพราะต้องใช้ชิ้นส่วนที่มีน้ำหนักมาก)

ในปี .. 2561 เราจะเห็นการใช้วัสดุประเภทใหม่ที่มีน้ำหนักเบาและปลอดภัยมากขึ้นที่สามารถตอบสนองความต้องการด้านกฎหมายที่เข้มงวดเกี่ยวกับยานพาหนะที่จะต้องมีความปลอดภัยยิ่งขึ้นและสามารถปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้น้อยลงด้วย จะเห็นได้ว่าวัสดุ เช่น อะลูมิเนียมและเหล็กกล้าทนแรงดึงสูง (High Tensile Steel) จะกลายเป็นมาตรฐานของตลาดในที่สุด และพลาสสติกที่มีความแข็งแรงทนทานและปลอดภัยเป็นพิเศษ ที่เรียกว่า พลาสติกชนิดเสริมแรงด้วยคาร์บอน หรือ CFRP (carbon fiber reinforced plastic) ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนประกอบหลักของรถยนต์สปอร์ตจะเริ่มถูกนำมาใช้ในรถยนต์ชนิดอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังมี แผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ลามิเนตหรือ CFRP (carbon-fiber laminate) ที่ทำจากชั้นของเส้นใยคาร์บอน (เกือบบริสุทธิ์) ที่มีความแข็งแรงอย่างมากและนำมาเชื่อมระหว่างชั้นเข้าด้วยกันด้วยวัสดุยึดติดที่มีความแข็งอย่างมาก เช่น เรซินอีพ็อกซี่

การวิจัยและพัฒนาที่เพิ่มมากขึ้นในด้าน CFRP จะทำให้ต้นทุนลดต่ำลง: วัสดุใหม่ย่อมมีราคาแพง งานศึกษาชิ้นใหม่ของโกลด์แมนแซคส์เรื่อง Cars 2025 แสดงให้เห็นว่าปัจจุบัน CFRP มีราคาแพงกว่าเหล็กกล้าปกติถึง 40 เท่าเมื่อเทียบกันที่ระดับต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องใช้ทักษะและอุปกรณ์เฉพาะทางในการผลิตด้วย แต่ขณะนี้บรรดานักพัฒนากำลังร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วยุโรปเพื่อศึกษาวิจัยวัสดุชนิดใหม่ที่เป็นพลาสติกและคาร์บอนลามิเนต ซึ่งเมื่อพิจารณาในเรื่องยานยนต์แล้วก็จะพบว่าเหล็กกล้าทนแรงดึงสูงและอะลูมิเนียมอาจมีต้นทุนลดลงอย่างมากและต้นทุนของ CFRP ก็จะลดลงด้วยเหมือนกันเมื่อมีการคิดค้นกรรมวิธีการผลิตใหม่ๆ เกิดขึ้น สิ่งที่จะไม่เปลี่ยนแปลงคือกฎระเบียบด้านการปล่อยมลพิษและความปลอดภัยที่เข้มงวด ซึ่งวัสดุเหล่านี้จะเป็นแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างชัดเจน

3. 1 ใน 4 ของรถยนต์คันใหม่จะเป็นรถไฟฟ้าภายในปี .. 2565 และจะเป็นรถไฟฟ้าทั้งหมดภายในปี .. 2570

อย่างไรก็ตาม มีความผันผวนเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ กล่าวคือยอดขายของรถไฟฟ้าในปี 2560 น้อยกว่าปี 2559 ถึง 7.7% (จากยอดขายทั่วโลกที่ 2 ล้านคัน) แนวโน้มโดยรวมที่มีต่อการรถไฟฟ้าเริ่มเป็นที่เข้าใจในวงกว้างมากขึ้นแล้วในตอนนี้ แม้กระทั่งในประเทศจีนซึ่งรัฐบาลกลางก็ได้ออกกฎหมายอย่างชัดเจนเกี่ยวกับรถไฟฟ้า แต่ก็ยังมีอุปสรรคสำคัญสองประการคือ การขาดสถานีชาร์จกระแสไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานและความจุของแบตเตอรี่

ทั้งนี้ ประเทศจีนถือเป็นผู้นำโลกด้านจำนวนของสถานีชาร์จไฟ โดยปัจจุบันมีจุดชาร์จไฟสาธารณะอยู่ประมาณ 150,000 จุดและวางแผนที่จะติดตั้งให้เพียงพอเพื่อรองรับรถไฟฟ้าจำนวน 5 ล้านคันภายในปี .. 2563 แต่ประเด็นเรื่องการขาดมาตรฐานยังคงเป็นปัญหาใหญ่สำหรับลูกค้าอยู่ โดยในบทความของ Citylab ประจำเดือนกันยายน 2560 ได้เจาะลึกถึงวิธีการที่จีนได้มอบเงินอุดหนุนให้แก่บริษัทเอกชนหลายแห่งเพื่อสร้างสถานีชาร์จ ซึ่งส่งผลให้สถานีเกือบทุกแห่งใช้รูปแบบการชำระเงินที่แตกต่างกันและอาจต้องใช้เวลาตั้งแต่หนึ่งถึงแปดชั่วโมงในการชาร์จไฟให้กับยานพาหนะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการและผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้านับสิบรายที่เปิดให้บริการอยู่นั่นเอง ซึ่งผู้บริโภครถยนต์ไฮบริดชาวจีนรายหนึ่งกล่าวว่าผมพยายามจะชาร์จไฟให้กับรถของผมตอนอยู่นอกบ้าน แต่ก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากหัวชาร์จใช้ร่วมกันไม่ได้หรือต้องซื้อบัตรเติมเงินก่อนจึงจะชาร์จไฟได้

นี่เป็นการแจ้งเตือนที่ชัดแจ้งสำหรับหน่วยงานกำกับดูแล รัฐบาล และผู้ผลิตว่าแม้แต่ในประเทศที่กำลังให้การส่งเสริมรถไฟฟ้าอย่างจริงจังก็ยังขาดระบบชาร์จไฟที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งรถไฟฟ้าอาจใช้เวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้กว่าจะบรรลุศักยภาพทางการตลาดได้สำเร็จ ในขณะที่แบตเตอรี่ก็ยังคงเป็นอีกหนึ่งปัญหา ซึ่งกำลังมีการเร่งวิจัยด้านเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนอยู่ในขณะนี้ รวมถึงเป้าหมายของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ต้องการลดต้นทุนของเซลล์เชื้อเพลิงลงให้ได้ภายในปี 2568 ก็กำลังได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ศักยภาพทางธุรกิจในการพัฒนาแบตเตอรี่ก็ยังคงเต็มไปด้วยความหวัง ซึ่งคาดว่าปัจจุบันมีมูลค่าของตลาดอยู่ที่ 240,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งยังคงมีส่วนแบ่งขนาดใหญ่และมีการแข่งขันกันอย่างหนัก แต่ยังไม่มีผู้ชนะที่ชัดเจนในตอนนี้

ดังนั้นผู้ผลิตและโออีเอ็มจึงจะต้องจับตาดูให้ดี ซึ่งข้อมูลจากรายงานของแมคคินซีย์ ประจำเดือนกรกฎาคม 2560 เกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศจีน พบว่ายอดขายของรถไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศจีนมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นโดยส่วนแบ่งการผลิตรถไฟฟ้าที่กำลังเติบโตของอุตสาหกรรมในประเทศเพิ่มขึ้นจาก 18 เปอร์เซ็นต์ในปี 2559 เป็น 23 เปอร์เซ็นต์ในปี 2560 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแบรนด์จีนกำลังเดินหน้าเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในภาครถไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้ซื้อรถยนต์ยอมรับว่าผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของจีนสามารถผลิตรถไฟฟ้าได้ในระดับที่น่าพอใจและแมคคินซีย์ยังจัดอันดับให้ประเทศจีนอยู่ในอันดับสูงสุดของดัชนียานพาหนะไฟฟ้าอีกด้วย ดังนั้นก็น่าจะได้เวลาของรถไฟฟ้าแล้ว แต่แบตเตอรี่และการชาร์จไฟที่ได้มาตรฐานยังคงเป็นปัญหาสำคัญยิ่งและเป็นอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็วตามที่อุตสาหกรรมยานยนต์คาดหวังไว้ก่อนหน้านี้

ผู้เขียน: นายสเตฟาน อิสซิ่ง

ผู้อำนวยการด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก บริษัท ไอเอฟเอส

เกี่ยวกับไอเอฟเอส

ไอเอฟเอส (IFS™) เป็นผู้พัฒนาและนำเสนอซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรเพื่อลูกค้าทั่วโลกที่ดำเนินธุรกิจด้านการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้า ตลอดจนให้การสนับสนุนด้านการดูแลสินทรัพย์ รวมถึงการดำเนินงานที่ให้ความสำคัญกับการบริการเป็นหลัก ด้วยโซลูชั่นและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญอย่างมากในอุตสาหกรรม ประกอบกับความมุ่งมั่นในการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ทำให้ไอเอฟเอสกลายเป็นผู้นำตลาดและซัพพลายเออร์ที่ได้รับการแนะนำบอกต่อมากที่สุดในภาคส่วนอุตสาหกรรมที่เรากำลังทำตลาดอยู่ ทั้งนี้ บริษัทมีพนักงาน 3,300 คนที่พร้อมให้บริการผู้ใช้ทั่วโลกที่มีจำนวนมากกว่า 1 ล้านรายผ่านเครือข่ายสำนักงานสาขาในเขตพื้นที่ต่างๆ และผ่านระบบเครือข่ายพันธมิตรที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดไปที่เว็บไซต์: IFSworld.com

ติดตามเราทาง Twitter: @ifsworld

เยี่ยมชมบล็อกของไอเอฟเอสเกี่ยวกับเทคโนโลยี นวัตกรรม และผลงานสร้างสรรค์ต่างๆ: http://blog.ifsworld.com/