ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เมื่อ “มิวสเปซ” หรือบริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด สตาร์ทอัพสัญชาติไทย กำลังมีบทบาทที่ก้าวหน้าสมชื่อ เมื่อกลายเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่จะคุมการสื่อสารจากนอกโลก ที่กำลังเปลี่ยนธุรกิจจากนอกโลกอย่างการสื่อสารผ่านดาวเทียมในแบบโลกอวกาศยุคเก่า (Old Space) มาเป็นยุคของโลกอวกาศยุคใหม่ หรือ (New Space)
วรายุทธ เย็นบำรุง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด คือตัวแทนของสตาร์ทอัพที่จะทำให้คนไทยเข้าใจว่า โลกที่ว่าหมุนไวแล้ว ดวงจันทร์ที่เป็นบริวารของโลกหมุนเร็วกว่าโลกถึง 10 เท่า ไม่ต่างอะไรกับเหล่าสตาร์ทอัพรายย่อย ๆ หลาย ๆ ราย ที่พร้อมจะรุกธุรกิจแบบไร้ข้อจำกัด และไม่ใช่แค่ธุรกิจที่มีอยู่บนพื้นโลก แต่สามารถมองไกลถึงการเชื่อมต่อไปยังอวกาศและดาวเทียมเหมือนตัวอย่างของมิวสเปซ ที่คนไทยควรทำความรู้จักกันให้มากขึ้น
มิวสเปซ เป็นบริษัทที่มีพันธกิจหลักว่า “ต้องการนำเทคโนโลยีอวกาศมาช่วยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยมีคนที่อยู่บนโลกเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด”
“เราโฟกัสเรื่องของธุรกิจดาวเทียม (Satellite Business) หรือการใช้เปลี่ยนวิธีเชื่อมต่อโดยใช้ดาวเทียม” วรายุทธ กล่าวในงานสัมมนา “START UP จับต้องได้ : เจาะลึกธุรกิจ สร้างสังคมแห่งสตาร์ทอัพ” จัดโดย positioningmag.com ในเครือผู้จัดการ และองค์กรพันธมิตร ณ โรงละครอักษรา คิง เพาเวอร์
เขายอมรับว่า แค่พูดเรื่องธุรกิจดาวเทียม คนก็จั่วหัวว่ายาก ยิ่งถ้าพูดไปถึงมิชชั่นที่จะไปอวกาศหรือดวงจันทร์ ยิ่งเป็นเรื่องยาก แต่สิ่งที่มิวสเปซจะทำคือการเปลี่ยนวิธีเชื่อมต่อจากการมีส่วนเข้าไปสร้างระบบใหม่
“สิ่งที่มิวสเปซทำเรียกได้ว่า cracking it เราเป็น destructor ในแวดวงของธุรกิจดาวเทียม แล้วบังเอิญพูดกันแรก ๆ ในประเทศไทย ทำให้มิวสเปซ เป็นสัญชาติไทยโดยกำเนิด แต่เราค่อนข้างจะเป็นที่รู้จักดีในเวทีระดับนานาชาติ”
วรายุทธ สรุปให้เข้าใจอย่างง่ายโดยไม่ต้องพูดถึงหลักการทำงานก็คือ การเชื่อมต่อกันในอีก 10 ปีข้างหน้า จะเป็นเรื่องของ space activity ซึ่งเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจ ซึ่งมิวสเปซทำงานร่วมกับ บริษัท บลู ออริจิน ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพอีกรายที่เป็นเจ้าของเดียวกับ amazon.com โดยส่วนของธุรกิจที่มิวสเปซเน้นจะเป็นการพัฒนาชิปที่จะติดไปกับยานพาหนะต่าง ๆ เช่น ธุรกิจสายการบิน แท็กซี่ ซึ่งเป็นเพียงส่วนเดียวของธุรกิจดาวเทียมทั้งระบบ ฯลฯ
“บทบาทของเราจะเป็นหนึ่งใน Satellite Operator ของอินโดไชน่า แต่ใช้เทคโนโลยีที่พาร์ตเนอร์กับผู้เล่นหลายราย ทั้งเรื่องโครงข่าย 5G, IOTs Smart City ซึ่งมิวสเปซประกาศอย่างเป็นทางการไปแล้วในงาน DIGITAL BIG BANG ซึ่งมี 30 บริษัทแล้วเราเป็นหนึ่งในนั้นที่โฟกัสด้านดาวเทียม และธุรกิจทางด้านอวกาศ”
วรายุทธ บอกด้วยว่าการทำงานนี้ ทำให้เขามีวาระต้องพบกับ เจฟฟ์ เบโซส์ ผู้ก่อตั้ง amazon.com และเป็นบุคคลที่ถูกจัดว่ารวยที่สุดในโลกในปัจจุบัน ประมาณไตรมาสละครั้ง เพื่อที่จะเชื่อมต่อข้อมูลกัน เพราะการทำงานของสตาร์ทอัพแต่ละรายมิชชั่นต่างกัน แต่มีส่วนที่สามารถแชร์เทคโนโลยีร่วมกันได้
ตัวอย่างการทำงานในระบบที่มิวสเปซทำอยู่ เช่น ในส่วนของ Service มิวสเปซจะใช้ทำโครงข่ายดาวเทียมร่วมกับพันธมิตรหลัก รวมทั้งพัฒนาดาวเทียมดวงใหม่ร่วมกันกับบริษัท เอสซีเอส จากลักเซมเบิร์ก ซึ่งเป็นโครงข่ายสำหรับซัพพอร์ตโครงข่าย 4G, 5G ในเขตพื้นที่ห่างไกลหรือในเมืองก็ได้ เป็นโครงข่ายที่มีสปีดเท่าไฟเบอร์สปีดยุค 5G เป็นยุคที่โครงข่ายภาคพื้นดินกับคณะอวกาศจะ converse กัน
สรุปก็คือ มิวสเปซไม่มีดาวเทียมของตัวเอง แต่ใช้วิธีนำดาวเทียมของเอสซีเอสมาให้บริการ โดยดาวเทียมที่ให้บริการจะไม่เหมือนดาวเทียมทั่วไป เพราะมีความยืดหยุ่นสูง
“เปรียบเทียบง่าย ๆ ดาวเทียมในอดีตเป็นเหมือนโทรศัพท์บ้าน ถ้าจะย้ายไม่สามารถใช้กับตำแหน่งใหม่ได้ แต่มิวสเปซกับเอสซีเอส กำลังพัฒนาดาวเทียมแบบที่คนใช้ต้องการ ย้ายตำแหน่งได้ สมมุติตลาดอยู่ที่แอฟริกา เราสามารถขยับดาวเทียมไปอยู่ในตำแหน่งนั้น โดยใช้เวลาเร็วขึ้น มีผู้เชี่ยวชาญคอยควบคุมดาวเทียม และมีการลงทุนระบบควบคุมดาวเทียมในประเทศไทย และจะมีการลงทุนระบบควบคุมดาวเทียมในประเทศเพื่อนบ้านด้วย ซึ่งเราจะประกาศให้ทราบต่อไป”
แม้การทำงานจะร่วมงานกับทีมที่อยู่ไกลถึงอเมริกา แต่การติดตั้งระบบเพื่อให้บริการ ของบริษัทส่วนใหญ่จะติดตั้งอยู่ในภูมิภาคนี้ ที่พม่าและไทย ที่หัวหิน บึงนคร ปัจจุบันมิวสเปซยังอยู่ระหว่างโครงข่ายซึ่งบริษัททำงานร่วมกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2 ราย เพื่อใช้โครงข่ายจากดาวเทียมให้บริการในพื้นที่ห่างไกลเช่นตามเกาะต่าง ๆ ในเมืองไทย แต่โดยรวมแล้วการให้บริการของมิวสเปซจะเน้นครอบคลุมพื้นที่ในกลุ่มประเทศอินโดจีน
ขณะเดียวกัน มิวสเปซก็ยังมีอีกบทบาทในอเมริกา เกี่ยวกับการพัฒนาดาวเทียมดวงใหม่ ซึ่งวรายุทธประกาศที่ดีซีไปว่า ปีนี้จะเป็นปีแรกที่จะมีการก่อตั้งมิวสเปซ ยูเอสเอขึ้น เพื่อโยงฝั่งอเมริกากับยุโรปเข้าด้วยกัน
จะเห็นว่า ธุรกิจดาวเทียม หรือธุรกิจอวกาศ เป็นธุรกิจที่มีรายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ด้วยการใช้เงินจำนวนมาก
ตามแผนงานมิวสเปซจะใช้ดาวเทียมปฏิบัติการทั้งหมด 7 ดวง ภายใต้ 4 พันธกิจ ซึ่งส่วนหนึ่งมีการประกาศตัว ตัว New Glenn โปรแกรม กับบริษัท บลู ออริจิน ที่จะใช้เงินในการพัฒนาทั้งหมด 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมิวสเปซจะเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายดาวเทียม (satellite operator) รายแรกที่ยาน New Glenn ส่งไปในตำแหน่งวงโคจรห่างจากโลกประมาณ 4 หมื่นกิโลเมตร โปรดักชั่นทั้งหมดที่เห็นเป็นมูลค่าทั้งหมดประมาณ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ
วรายุทธ กล่าว สิ่งที่มิวสเปซทำอยู่นี้ เชื่อมโยงกับธุรกิจด้านอวกาศในภาพใหญ่ของอเมริกาอีกด้วย
จากตัวเลขในปี 2017 บริษัท นอร์ทเทิร์นสกาย รีเสิร์ช รายงานว่าอเมริกามีการลงทุนในเรื่องนิวสเปซ (New Space) ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการ เรียกว่า learning knowledgeเกิดขึ้นที่นิวสเปซ ที่อเมริกาลงทุน ไปปีที่แล้วรวม 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ และที่ยุโรปก็มีการลงทุนมากกว่าเท่าตัวที่ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการลงทุนเพียง 128 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น
“ธุรกิจที่เป็นนิวสเปซ คืออะไรที่แตกต่างกับโอลด์สเปซ หรือยุคที่รัฐบาลอเมริกา หรือยุคที่นาซ่า ส่ง นีล อาร์มสตรอง ไปเหยียบดวงจันทร์” หรือยุคเก่าแค่โชว์ศักยภาพว่าทำได้ แต่นิวสเปซจะเป็นอะไรที่ทำได้และเกิดประโยชน์ต่อการใช้งานของคนบนโลกด้วย
ส่วนของการลงทุนในไทย มิวสเปซร่วมลงนามกับทรู ดิจิทัล พาร์ค เพราะเห็นไอเดียที่ทรูสนับสนุนสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ในแบบที่มิวสเปซมองหา แต่ระหว่างนั้นความเชื่อที่ว่าทรัพยากรคนเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจเทคโนโลยี ทำให้อีกด้านหนึ่งบริษัทก็ต้องมองหาคนรุ่นใหม่มาร่วมงาน ซึ่งจะต้องอายุน้อย แต่มีความหากหลาย มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่แตกต่างกัน เช่น เรื่องวิศวกรรม การเงิน กฎหมาย การขาย และรวมถึงเรื่องการสื่อสารกับคนวงกว้าง
สำหรับ 4 พันธกิจที่บริษัทกำหนดไว้นั้น เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการทดสอบ ที่จะสร้างตัวการเดินทางไปอวกาศที่เกิดขึ้น
พันธกิจแรก คือ มิชชั่นที่ 9 ที่จะทำร่วมกับบลู ออริจิน ที่รัฐเทกซัส เกิดขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม ที่มิวสเปซจะใส่ไปทั้งหมด 11 กิโล สายบนเรียกว่า Passive Payload มีอุปกรณ์ทั้งหมด 3 ชนิด อันแรกเป็น techsound รวมถึงธงชาติไทย ธงอาเซียน และ nano material ต่าง ๆ ที่นำมาพัฒนา space suites
พันธกิจที่ 2 เป็นการรวมแผนงานต่าง ๆ เข้ามาด้วยกัน เพื่อจะสร้าง Competition ให้กับสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ที่มีความคิดแปลกใหม่ เรียกว่าส่ง report น้องๆ ขึ้นไปอวกาศ และส่งกลับมา แล้วได้ certify ไว้แล้ว ตอนนี้ในอนาคตถ้ามีใครอยากจะส่งของขึ้นไปในอวกาศสามารถให้ทางด้านทีมมิวสเปซ เราเรียกทางด้านทีม special project สามารถ certify ได้ว่า material นี้ ไม่เป็นภัยกับการ Develop โปรเจกต์ขึ้นมาMaterialสุดท้ายเป็นการ 3D print titanium
พันธกิจที่ 3 คือ Student Payload เรียกว่าเป็นการเอาใจน้องๆ ที่อยู่ในมหาวิทยาลัยในเอเชีย ล่าสุดมีการเซ็น MOU กับมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นแห่งแรก แต่เป็นแห่งที่ 3-4 ในอินโดจีน เพื่อสร้างควมเข้าใจเรื่องเทคนิคที่เรียกว่าMicrogravity
Microgravity คืออะไร Micro Micron ย่อมาจาก .00000 แล้วก็ 1 เป็นภาวะไร้น้ำหนักให้ทุกคนได้คิด อะไรที่ถ้าไม่มีแรงโน้มถ่วงแล้วไม่สามารถใช้ได้ เช่น ปากกาที่เราใช้ ถ้าไม่มีแรงโน้มถ่วง หมึกก็ไม่หยดลงมา อันนี้จะมีการทดสอบเซ็นเซอร์ต่างๆ จะเห็นว่าเริ่มเป็นการทดสอบเซ็นเซอร์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์มากขึ้น มีเรื่องของตัววัดอุณหภูมิในตัวเรา เรื่องของความดันเลือดในภาวะที่เราเดินทางไปในอวกาศ Double Vacuum Hydration ต่างๆ ที่ต้องมาประกอบควบรวมในการเดินทางในอวกาศ
“เรื่องพวกนี้เกิดขึ้นและต้องให้เข้าใจ เพราะการเดินทางไปในอวกาศ ต้องทำให้ได้ง่ายขึ้น ไม่ใช่เป็นยุคนักบินอวกาศที่ต้องมีการเทรนเป็นปีๆ ต้องคัดนักบินรบขึ้นไป การที่เราส่งคนขึ้นไปใช้เวลา 3 วัน เหมือนคิดเสียว่าทุกคนไปฝึกดำน้ำพอได้ certify สามารถขึ้นได้ทุกคน”
สำหรับพันธกิจที่ 4สุดท้ายเป็นเรื่อง Space Exposure คือ การ expose ตัวเรานอกยาน อันนี้จะเกิดขึ้นด้วยในสิ้นปี 2019 มิวสเปซสามารถบรรทุกคนไปนอกโลก 100 กิโลเมตร ภายในปี 2019
สำหรับคนที่งง ๆ ว่า ทำไมอยู่ ๆ พันธกิจถึงเริ่มต้นที่มิชชั่นที่ 9 ก็ไม่ต้องสงสัยนานไป เพราะการทำงานกับพันธมิตรกับมิวสเปซ มีมานาน เช่นการทำงานกับบลู ออริจิน ในมิชชั่นที่ 8 ก็เพิ่งเกิดขึ้นก่อนหน้าก่อนสัมมนาแค่วันเดียว เป็นการนำอุปกรณ์เล็ก ๆ บางอย่างส่งขึ้นไปแล้วส่งกลับมา เป็นการค่อยพัฒนาจาก 1 เป็น 11 เป็น 100 กิโลกรัม แล้วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อทีมศึกษาพัฒนาทำให้สำเร็จทีละขั้น
ทั้งนี้ บทสรุปสำหรับสตาร์ทอัพจากวรายุทธ ซึ่งงานของเขาอาจจะดูซับซ้อน ยาก หลายสิ่ง แต่ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอะไรจะสำเร็จขึ้นมาได้ สำหรับเขาเชื่อว่า หลักการที่ต้องคิดให้ได้คือ ต้องคิดให้ต่าง ทำให้เร็ว และคิดเป็นขั้นเป็นตอน และที่สำคัญที่สุดคือต้องทำงานเป็นทีม.