กรมการท่องเที่ยว จัดงานประกาศรางวัลการแข่งขันการถ่ายทำภาพยนตร์สั้นในประเทศไทย ในเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถ่ายทำในประเทศไทย ครั้งที่ 6 Thailand International Film Destination Festival 2018 : TIFDF2018 อย่างยิ่งใหญ่ กับผลงานภาพยนตร์สั้นที่นำเสนอสถานที่สวยงามในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วไทย ผ่านมุมมองของคนรุ่นใหม่ทั้งนักศึกษาต่างชาติ และนักศึกษาไทย ที่ได้มาประชันฝีมือกัน พร้อมเปิดบ้านต้อนรับ ศิลปิน ดารา และผู้กำกับภาพยนตร์ระดับโลกเข้าร่วมงาน อาทิ Wes Chatham นักแสดงอเมริกันจากภาพยนตร์เรื่อง The Hunger Games, Escape Plane 2, Justin Diemen โปรดิวเซอร์ภาพยนตร์เรื่อง Before the Fall, Batoor, The Eco-Warriors, Jonah Greenberg โปรดิวเซอร์ชาวอเมริกันจากภาพยนตร์เรื่อง Jade Worrior, One Last Dance, Dimitri Logothetis ผู้เขียนบทและผู้กำกับ Kickboxer 1-2, Pompeii, Suicide Squard, Warcalf, X-Men: Apocalypse ร่วมด้วย ปู วิทยา และ ปู สหจักร นักแสดงชาวไทยผู้มีผลงานและเป็นที่รู้จักในวงการหนังต่างประเทศ พร้อมด้วยดารานักแสดงชื่อดังของเมืองไทย อาทิ เก้า จิรายุ, ซาร่า นลิน, แก้ม เดอะสตาร์, โต๋ ศักดิ์สิทธ์, คิว วงฟลัวร์, ตูมตาม เดอะสตาร์ และนุ้ย เกศริน
นายอนันต์ วงศ์เบญจรัตน์ อธิบดีกรมการท่องเที่ยว กล่าวว่า “นับตั้งแต่ปี 2556 ที่กรมการท่องเที่ยวได้เริ่มจัดเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถ่ายทำในประเทศไทย หรือ Thailand International Film Destination Festival มีเป้าหมายที่สำคัญ คือ การเผยแพร่ศักยภาพของประเทศไทยในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และความพร้อมด้านการให้บริการถ่ายทำภาพยนตร์ในเมืองไทย ดึงดูดให้กลุ่มคนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และผู้สนใจมาถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย พร้อมกับประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวไทย โลเคชั่นต่างๆ ประเพณี วัฒนธรรม ให้ชาวต่างชาติได้รู้จัก และอยากมาสัมผัส อยากมาเยือนประเทศไทย”
“และในวันนี้ เทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถ่ายทำในประเทศไทย ครั้งที่ 6 Thailand International Film Destination Festival 2018 : TIFDF2018 ภายใต้แนวคิด Colorful Thailand – A True Sense of Thailand’s Film Destinations ได้ดำเนินมาถึงโค้งสุดท้าย โดยกิจกรรมตลอดโครงการที่ผ่านมานั้น ได้สร้างสรรค์ขึ้นอย่างมีกลยุทธ์เพื่อสร้างเครือข่ายกับบุคลากรด้านภาพยนตร์จากทั่วโลก พร้อมมอบโอกาสให้ผู้เข้าแข่งขันซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในอนาคต ได้มีโอกาสมาสัมผัสประสบการณ์จริงของการถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย และทำงานร่วมกับทีมงานไทย จนสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาเป็นเครือข่ายการทำงานร่วมกันในอนาคต โดยในกิจกรรมการประกวดภาพยนตร์สั้น ที่ถ่ายทำในประเทศไทย ได้เน้นการถ่ายทำใน 8 เขตท่องเที่ยวทั่วประเทศ โดยผู้เข้าแข่งขันจะเป็นนักศึกษาด้านภาพยนตร์จากนานาประเทศทั่วโลก สมัครเข้าร่วมการแข่งขันมากถึง 277 ทีม และผ่านการคัดเลือก จนได้ผู้ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายจำนวน 24 ทีม มาจากทั่วโลก อาทิ อังกฤษ บัลแกเรีย โปรตุเกส บราซิล อินเดีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ โดยได้รับ โจทย์การแข่งขันภายใต้แนวคิดวิถีไทย เพื่อนำเสนอการท่องเที่ยวด้วยสีสันความงดงามของสถานที่ต่างๆ ทั้งในด้านธรรมชาติ เสน่ห์ของวัฒนธรรม เอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น ความเป็นวิถีไทย ซึ่งล้วนเป็นสีสันของประเทศไทยโดยสื่อจากมุมมองต่างๆ ของผู้เข้าแข่งขัน เพื่อถ่ายทอดสู่ภาพยนตร์สั้น พร้อมกับอีก 15 ทีมนักศึกษาชาวไทยที่ผ่านการคัดเลือกจาก 36 ทีม กับโจทย์ “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่ได้ไปถ่ายทำในจังหวัดต่างๆทั่วประเทศไทย”
และยังได้มีอีกหนึ่งกิจกรรมที่คืนความสุขให้คนไทย คือ การจัดฉายภาพยนตร์ต่างประเทศที่เคยถ่ายทำในประเทศไทย (Thailand on Screen) 7 เรื่อง 7 รส ที่เปิดโอกาสให้ได้เข้าชมฟรี ในวันที่ 11 – 15 กรกฎาคมที่ผ่านมา ณ โรงภาพยนตร์พารากอนซีนีเพล็กซ์ ศูนย์การค้าสยาม พารากอน โดยภาพยนตร์ทั้ง 7 เรื่อง ล้วนเป็นภาพยนตร์ชื่อดังที่ทำให้เกิดกระแสตามรอยภาพยนตร์ ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้มาเยือนประเทศไทย ได้แก่ Kickboxer: Vengeance, Largo Winch II, Lupin the 3 rd, The 101-Year-Old Man Who Skipped Out on the Bill and Disappeared, Kickboxer: Retaliation, Will You Be There? และ ALL I SEE IS YOU ซึ่งได้รับความสนใจร่วมกิจกรรมอย่างล้นหลามเช่นทุกปี
“การประชาสัมพันธ์ถึงศักยภาพของประเทศไทยในการดึงดูดกองถ่ายภาพยนตร์จากทั่วโลกนั้น ได้ดำเนินการผ่านกลุ่มผู้สร้างภาพยนตร์รุ่นใหม่ทั้งชาวต่างชาติและชาวไทยนั้น ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ในการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของประเทศไทยที่ทรงประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก ที่ผ่านมามีทั้งทีมผู้สร้าง ผู้ผลิต กองถ่ายทำจากต่างประเทศ ทั้งภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ มิวสิควิดีโอ สารคดี เลือกใช้โลเคชั่นในเมืองไทยเป็นสถานที่ถ่ายทำ เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำของไทยในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ระดับโลก เพียบพร้อมไปด้วยบุคลากรที่มีศักยภาพ และสามารถรองรับทีมงานระดับโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถ่ายทำในประเทศไทย หรือ Thailand International Film Destination Festival จึงเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการประชาสัมพันธ์ พร้อมตอกย้ำถึงความสำเร็จของไทยในสายตาชาวโลกถึงการเป็นโลเคชั่นยอดนิยมอันดับหนึ่งในเอเชีย” นายอนันต์ กล่าวปิดท้าย
ผลรางวัลการแข่งขันถ่ายทำภาพยนตร์สั้นในประเทศไทย Thailand International Film Destination Festival 2018
ทีมนักศึกษาต่างประเทศ
- รางวัลชนะเลิศภาพยนตร์สั้นยอดเยี่ยม ทีมนักศึกษาต่างประเทศ Grand Prize
ได้แก่ ทีมจากประเทศฟิลิปปินส์ (ทีมที่ 12)
- รางวัลภาพยนตร์ดีเด่นประจำเขตภูมิภาคการท่องเที่ยว จำนวน 8 รางวัล
รางวัลภาพยนตร์ดีเด่นประจำกลุ่มภาคเหนือ (North Zone)
- Award for Outstanding Presentation of North Zone – The Lanna Cluster
ได้แก่ ทีมจากประเทศเนเธอร์แลนด์และเบลเยี่ยม (ทีมที่ 3)
- Award for Outstanding Presentation of North Zone – The Cultural World Heritage Cluster
ได้แก่ ทีมจากประเทศบราซิล (ทีมที่ 6)
รางวัลภาพยนตร์ดีเด่นประจำกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (North East Zone)
- Award for Outstanding Presentation of North East Zone – The Khong River Cluster
ได้แก่ ทีมจากประเทศเนปาล (ทีมที่ 9)
- Award for Outstanding Presentation of North East Zone– The South Eastern Cluster
ได้แก่ ทีมจากประเทศฟิลิปปินส์ (ทีมที่ 12)
รางวัลภาพยนตร์ดีเด่นประจำกลุ่มภาคใต้ (South Zone)
- Award for Outstanding Presentation of South Zone– The Royal Coast Cluster
ได้แก่ ทีมจากประเทศอังกฤษ (ทีมที่ 15)
- Award for Outstanding Presentation of South Zone– The Andaman Cluster
ได้แก่ ทีมจากสาธารณรัฐเช็ก (ทีมที่ 16)
รางวัลภาพยนตร์ดีเด่นประจำกลุ่มภาคกลาง(Middle Zone)
- Award for Outstanding Presentation of Middle Zone– The Chao Phraya River Cluster
ได้แก่ ทีมจากประเทศฟิลิปปินส์ (ทีมที่ 21)
รางวัลภาพยนตร์ดีเด่นประจำกลุ่มภาคตะวันออก(East Zone)
- Award for Outstanding Presentation of East Zone– The Active Beach Cluster
ได้แก่ ทีมจากประเทศสิงคโปร์ (ทีมที่ 24)
ทีมนักศึกษาไทย
- รางวัลชนะเลิศภาพยนตร์สั้นยอดเยี่ยม ทีมไทย Grand Prize ได้แก่ ทีมจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (ทีมที่ 9)
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ภาพยนตร์สั้นยอดเยี่ยม 1 รางวัล First runner-up
ได้แก่ ทีมจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ทีมที่ 1)
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ภาพยนตร์สั้นยอดเยี่ยม 1 รางวัล Second runner-up
ได้แก่ ทีมจากมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด (ทีมที่ 7)