ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมครั้งสำคัญ ในหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศอังกฤษ นับตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าจอร์จที่สี่ (King George IV) ที่คาบเกี่ยวระหว่างยุคจอร์เจียนและยุควิคตอเรียน จุดเริ่มต้นของยุค “รีเจนซี่” (Regency Era) ยุคทองทางศิลปวัฒนธรรม สุนทรียนิยมที่รุ่งเรืองเบ่งบานขึ้น ที่ต่อมาได้กลายเป็นอีกหนึ่งยุคสมัย อันรุ่มรวยไปด้วยบริบททางอารยธรรมที่โดดเด่นหลากหลายแขนง ความน่าสนใจของยุคนี้ คือ ประตูสู่ยุคใหม่ (Modern Age) ที่หล่อหลอมความสง่างามแบบยุคคลาสสิกและความทันสมัยเข้าไว้ด้วยกัน อย่างลงตัว ทำให้ยุครีเจนซี่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นทั้งในเรื่อง งานสถาปัตยกรรม ศิลปวัฒนธรรม ประติมากรรม วรรณกรรม แฟชั่น ดนตรี ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยผลงานการรังค์สรรค์อย่างงดงามอันเกิดจากความปราดเปรื่องของเหล่าบรรดานักปราชญ์ชื่อก้องโลกมากมาย ตลอดจนวัฒนธรรมการอยู่อาศัยแบบชนชั้นสูงในลอนดอนที่เป็นภาพฝันของคนทั่วโลก
สถาปัตยกรรมแห่งยุค “รีเจนซี่” มีสิ่งปลูกสร้างทางงานสถาปัตยกรรมสำคัญมากมายที่มีความโดดเด่นและวิจิตรตระการตา ลุ่มลึกไปด้วยเสน่ห์ของความคลาสสิกในแบบฉบับของผู้ดีอังกฤษอันสะท้อนถึงความเฟื่องฟูแห่งยุคสมัยนั้น อาทิ พระราชวังบัคคิงแฮม (Buckingham Palace) ใจกลางกรุงลอนดอน ปัจจุบัน ยังเป็นสถานที่รองรับการจัดงานสำคัญทางราชการอังกฤษ รีเจนท์ สตรีท (Regent Street) ถนนสายสำคัญอันงดงาม ที่ตอนนี้กลายเป็นแหล่งช้อปปิ้งอันเลื่องชื่อ และ เธียร์เตอร์ รอยัล เฮย์มาร์เก็ต (Theatre Royal Haymarket) โรงละครสไตล์คลาสสิก หรูหราโดดเด่นด้วยเสาสีขาวแบบคอรินเทียนขนาดใหญ่ ชมหน้ามุขสร้างขึ้นจากหินโบราณ หน้าต่างมีลักษณะโค้งมนได้สัดส่วน และยังเปิดโชว์การแสดงจนถึงทุกวันนี้ สถานที่สำคัญทั้งหมดนี้ ยังคงตั้งเด่นเป็นสง่าจนถึงปัจจุบัน โดยได้รับการออกแบบต่อเติมให้ยิ่งใหญ่ อลังการขึ้น จากสถาปนิกชื่อดัง “จอห์น แนช” (John Nash) ผู้ได้รับการขนานนามให้เป็นบิดาแห่งสถาปัตยกรรมรีเจนซี่
การรังสรรค์สถาปัตยกรรมสิ่งปลูกสร้างในยุคนี้ เน้นความหรูหราตามอารยธรรมชนชั้นสูงในอังกฤษแต่ยังคงไว้ซึ่งกลิ่นอายความอบอุ่นและสง่างาม ซึ่งสังเกตได้จากการออกแบบและตกแต่งแบบเรียบหรูในโทนสีขาวตัดกับองค์ประกอบสีดำ ใช้หน้าต่างบานสูงเปิดรับแสงอรุณยามเช้า ประตูรูปทรงโค้งมน (Archway) แสดงถึงความโอ่โถง เพิ่มความโดดเด่นสง่างามของตัวอาคารโดยไล่ระดับ ฟาสาด(Facade) ให้สลับซับซ้อนอ่อนช้อยทรงวิจิตร รังสรรค์การตกแต่งชวนหลงใหลด้วยงานงานฝีมือเหล็ก อันประณีตคุณภาพสูงคงทนถาวร สะท้อนความอลังการและความวิจิตรบรรจงของเส้นสายสไตล์รีเจนซี่ และรูปทรงที่โค้งมนสวยงาม ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในราชวงศ์กลุ่มชนชั้นสูง การออกแบบในยุคแห่งความรุ่มรวยมั่งคั่งนั้น ให้ความสำคัญกับโครงสร้างตัวอาคารที่มีความแข็งแรง ทนทาน อลังการ ในทุกตารางนิ้ว สถาปัตยกรรมอันงดงามของยุครีเจนซี่นี้ จึงเป็นศิลปะที่สวยสง่าเหนือกาลเวลา รวมถึง เฟอร์นิเจอร์ของประดับตกแต่งบ้าน นิยมผลิตด้วยไม้มะฮอกกานีเพชรน้ำงามแห่งธรรมชาติ มีเอกลักษณ์ของผิวไม้ที่ละเอียดพร้อมลายไม้ชัดเจนเฉดสีแดงสวยชวนสัมผัส สร้างสรรค์ให้มีรูปทรงที่หรูหราแสดงความรุ่งเรืองมั่งคั่งตามสไตล์อังกฤษ
และอีกหนึ่งศิลปะขั้นสูงอันวิจิตรบรรจง ที่ได้รับกระแสความนิยมอย่างมาก จนกลายเป็นไอคอนิกพีซแห่งยุครีเจนซี่ คือ เครื่องเคลือบพอร์ซเลน ภาชนะถ้วยชาม แจกัน (เซรามิกคุณภาพสูง) หรือปัจจุบัน รู้จักกันดีในแบรนด์ “Jasperware” (แจสเปอร์แวร์) ผลิตโดยบริษัท “Wedgwood” (เว็ดจ์วูด) โดดเด่นด้วยพื้นผิวแมทท์ด้าน โทนสีฟ้าพาสเทลดูสบายตาและลวดลายนูนสีขาวมีมิติที่เกิดจากงานคราฟท์ประณีตบรรจง โดยภาชนะเหล่านี้ ได้รับความนิยมอย่างสูงในเหล่าราชวงศ์ของอังกฤษจนได้รับพระราชทานอนุญาตให้ใช้ชื่อว่า Queen’s Ware ซึ่งต่อมาเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายทั่วทั้งในยุโรปจวบจนถึงปัจจุบัน ที่นำมาประดับตกแต่งภายในบ้านเป็นของสะสมชิ้นสำคัญที่ทรงคุณค่า
นอกจากนี้ ด้านดนตรี เพลงของ สามคีตกวีนักปราชญ์ผู้มีอัจฉริยภาพทางดนตรีจากยุคคลาสสิก ยังคงโด่งดัง ตราตรึงถึงยุครีเจนซี่ทั้ง “โวล์ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ต” (Wolfgang Amadeus Mozart) หรือ โมสาร์ต ต้นตำรับผลงานเพลงกว่า 600 เพลงที่มีชีวิตชีวา “ฟรานซ์ โจเซฟ ไฮเดิน” (Franz Joseph Haydn) บิดาแห่งซิมโฟนีและ สติงควอเต็ท และยังมี “ลุดวิก แวน บีโธเฟน” (Ludwig Van Beethoven) ผู้เป็นอัจฉริยะด้านดนตรีสร้างสรรค์เพลงสุดคลาสสิกมาอย่างกึกก้อง สำหรับเสื้อผ้าสไตล์การแต่งกายในสมัยนั้นมีความงดงามตามอัตลักษณ์ชนชั้นสูง ได้รับอิทธิพลการแต่งกายจากกรีกโบราณ เป็นดั่งจุดเริ่มต้นของแฟชั่นล้ำสมัยของราชวงศ์และเหล่าขุนนางในสมัยนั้น
ความเฟื่องฟูของยุคได้จุดประกายศาสตร์แห่งงานเขียนเลื่องชื่อ จากศิลปินที่โลกจารึก “เจน ออสเตน” (Jane Austen) นักเขียนวรรณกรรมแนวรักโรแมนติกสะท้อนสังคมชาวอังกฤษ เจ้าของนวนิยายชื่อก้องโลก Pride and Prejudice, Emma, Sense and Sensibility ผลงานชิ้นโบว์แดงที่เป็นต้นแบบให้นักประพันธ์หลายท่าน ด้วยชั้นเชิงการเขียนแบบมีเอกลักษณ์สะท้อนภาพ ความจริงผ่านความสนุกสนานของตัวละคร ส่งผลให้งานเขียนของเธอถูกถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์และละครอย่างต่อเนื่องเปรียบเสมือนมรดกตกทอดมานานกว่า 200 ปี
จากความงดงามในอดีตถูกถ่ายทอดสู่ปัจจุบัน ผ่านการรังสรรค์สถาปัตยกรรมทรงคุณค่าด้วยโครงการแฟล็กชิพระดับซูเปอร์ลักซ์ชัวรี่บนที่ดินผืนงาม “บ้านแสนสิริ พัฒนาการ” ที่ได้แรงบันดาลใจจากความงดงามวิจิตรบรรจงในแบบฉบับอัตลักษณ์ดั้งเดิมของยุครีเจนซี่ในอังกฤษ บ้านโทนสีขาวสลับองค์ประกอบสีดำ ให้ความรู้สึกสุขุม ทรงสง่างาม
ความประทับใจแรกเริ่มจาก ซุ้มทางเข้าโครงการ งานฝีมือเหล็กอันประณีต สะท้อนความอลังการและความวิจิตรบรรจงของเส้นสายสไตล์รีเจนซี่ พร้อมภูมิทัศน์วิจิตรตระการตาที่งดงาม ถนนที่ทอดยาวเข้าสู่ภายในโครงการเรียงรายไปด้วยพรรณไม้นานาชนิดนำสายตามุ่งไปสู่อาคารสโมสรหรือคลับเฮาส์ ซึ่งได้รับการออกแบบให้เปรียบเสมือนผลงานศิลปะชิ้นเอกที่ตั้งเด่นเป็นสง่าฟาสาดหรูไล่ระดับแบบคลาสสิก เพิ่มเสน่ห์ชวนหลงใหลของงานเหล็ก อันอ่อนช้อย โดดเด่นด้วยการใช้สีสันขาวดำตัดกันอย่างเรียบง่าย สะอาดตาแต่ลุ่มลึกไปด้วยเสน่ห์ของความคลาสสิกในแบบฉบับของผู้ดีอังกฤษ
เหนือระดับด้วยสุนทรียะแห่งการใช้ชีวิต จิบชายามบ่าย ทอดสายตาหาความสุขสงบ ด้วยพื้นที่คลับเฮาส์ขนาดใหญ่ ที่โอบล้อมที่รื่นรมย์ไปกับธรรมชาติ ภายในได้แรงบันดาลใจจากประติมากรรมล้ำค่าเหนือกาลเวลา ประยุกต์ผลงานศิลปะชั้นสูงจากจากศิลปะเครื่องเคลือบ Jasperware ให้เข้าบรรยากาศ ใช้โทนสีฟ้าพาสเทลดูสบายตา โอ่อ่ากับประตูรูปทรงโค้งมนประณีต
ทุกรายละเอียดแฝงด้วยความใส่ใจ รวมถึง หน้าต่าง บานประตู ที่เพิ่มความพิเศษของงานเหล็กรูปทรงสวยสะดุดตา ด้วยลวดลายเอกลักษณ์เฉพาะของแสนสิริ สอดคล้องกับกระจกบานใส ตัดกับเอเลเม้นท์สีดำ ทอดสายตาเห็นความงามของสวยสวยสไตล์อังกฤษได้อย่างชัดเจน บ้านแสนสิริ พัฒนาการ แฟล็กชิพระดับซูเปอร์ลักซ์ชัวรี่ ที่เปรียบเสมือนดั่งมรดกอันล้ำค่าเหนือกาลเวลา หล่อหลอมขนบดั้งเดิมของยุครีเจนซี่ได้อย่างผสมผสานลงตัว