เปิดที่มาโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อย โรงไฟฟ้าราชบุรี ถือหุ้น 25% ร่วม เกาหลี-ลาว

จากเหตุการณ์เขื่อน เซเปียน-เซน้ำน้อย ตั้งอยู่แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เกิดเขื่อนแตก จนส่งผลให้น้ำท่วมบ้านเรือนชาวบ้านเป็นจำนวนมาก

เชื่อนแห่งนี้ ดำเนิการโดย บริษัท ไฟฟ้า เซเปียน-เซน้ำน้อย จำกัด ซึ่งเป็นการร่วมทุนของบริษัทข้ามชาติ 4 แห่ง เกาหลี-ไทย-ลาว ดังนี้

  • บริษัท SK Engineering and Construction จำกัด ถือหุ้น 26%
  • บริษัท Korea Western Power จำกัด ถือหุ้น 25%
  • บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 25%
  • Lao Holding State Enterprise ถือหุ้น 24%

โครงการนี้ ส่วนหนึ่งใช้เงินลงทุนจากเงินกู้ มูลค่า 22,000 ล้านบาท จากสถาบันการเงินไทยชั้นนำ 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารธนชาต

โดยมีกำลังการผลิตติดตั้ง 410 เมกะวัตต์ ซึ่งกระแสไฟฟ้า 370 เมกะวัตต์ จะผลิตกระแสไฟฟ้าจำหน่าย 1,860 กิกะวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ซึ่งจะจำหน่ายให้กับ กฟผ. โดยมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเป็นระยะเวลา 27 ปี ส่วนกำลังการผลิตที่เหลือจะผลิตไฟฟ้าจำหน่ายรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าภายใน สปป. ลาว

ทั้งนี้โครงการ อยู่ระหว่างก่อสร้าง คืบหน้า 90% กำหนดเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในปี 2562

เปิดสาเหตุเขื่อนแตก

ทางด้าน บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งว่า เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม เชื่อนดินย่อยกั้นช่องเขาส่วน D (Saddle Dam D) ขนาดสันเชื่อนกว้าง 8 เมตร ยาว 770 เมตร สูง 16 เมตร ซึงสร้างขึ้นเพื่อเสริมการกั้นน้ำรอบอ่างเก็บน้ำเซน้ำน้อย เกิดทรุดตัวลง ส่งผลให้สันเชื่อนดินย่อยเกิดรอยร้าว น้ำได้ไหลออกไปสู่พื้นที่ท้ายน้ำและลงสู่ลำน้ำเซเปียนที่อยู่ห่างพื้นที่เขื่อนประมาณ 5 กิโลเมตร

โดยเหตุที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากพายุฝนตกต่อเนื่องทำให้มีปริมาณน้ำจำนวนมากไหลเข้าสู่พื้นที่กักเก็บน้ำของโครงการ

ขณะนี้ บริษัทไฟฟ้า เซเปียน-เซน้ำน้อยและหน่วยงานเกี่ยข้องได้อพยพประชากรที่อาศัยในบริเวณโดยรอบ ไปยังสถานที่พักพิงชั่วคราวแล้ว.