MAT’s Insight แนะ 7 เทรนด์ผู้บริโภคที่นักการตลาดต้องจับตา

ในยุคสมัยที่ทฤษฎี 4Ps ส่วนผสมการตลาดของ เอ๊ดมันด์ เจอโรม แมคร์ธี (Edmund Jerome McCarthy) อันได้แก่ Product, Price, Place และ Promotion กลายเป็นเรื่องล้าหลังไปแล้ว บังอร สุวรรณมงคลกรรมการฝ่ายวิชาการและข้อมูลตลาด สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย แชร์ข้อมูล MAT’s Insight: “เทรนด์การตลาดแห่งอนาคตโดยกล่าวถึง 7 เทรนด์ผู้บริโภคที่นักการตลาดต้องจับตามอง เพื่อเป็นการ Kick off สังคมแห่งการแบ่งปันความรู้ทางการตลาด

บังอร สุวรรณมงคล กล่าวถึงเทรนการตลาดในอนาคต ว่า ปีที่ผู้บริโภคมีความเปลี่ยนแปลงมากมาย โดยจะมี 7 เทรนด์ผู้บริโภคที่นักการตลาดต้องจับตามอง คือ

1. ผู้บริโภคมีความช่างสงสัยและไม่รอไม่ทนกับสิ่งที่ไม่ใช่ ผู้บริโภคยุคใหม่จะเป็นคนช่างสงสัยอยากรู้ทุกรายละเอียดและสิ่งนี้สะท้อนในพฤติกรรมการซื้อโดยผู้บริโภคจะมีการศึกษาข้อมูลก่อนซื้อและมีการเปรียบเทียบศึกษาหรือดูรีวิวสินค้าจากคนใช้จริงเพื่อการตัดสินใจที่ดีที่สุด

โฆษณาไม่ใช่จะนำมายัดเยียดให้ผู้บริโภคเมื่อไรก็ได้อีกต่อไปแล้ว การทำเนื้อหาคอนเทนต์ที่โดนใจคือ การเข้าใจถึงต้องการและปัญหาของลูกค้า ในแต่ละกลุ่มอย่างแท้จริง และต้องสื่อสารกับพวกเขาในช่วงเวลาที่ใช่ ในสิ่งที่เขาต้องการ

2. ความคุ้มค่าใหม่ๆ ในการซื้อสินค้าและบริการผู้บริโภคยุคใหม่ต้องการใช้สินค้าและบริการต่างๆอย่างคุ้มค่ากับการจ่ายสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้และความต้องการใหม่ๆยุคปัจจุบันจึงเกิดโมเดลธุรกิจสินค้าและบริการในรูปแบบใหม่ๆมากมาย

เมื่อผู้บริโภคเปลี่ยนไป สิ่งที่นักการตลาดต้องรีบทำคือดูว่า กลุ่มเป้าหมายเราเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง เพราะบางครั้งแนวทางการทำงานในอดีต ไม่สามารถใช้ได้ในยุคปัจจุบัน ไม่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของคนรุ่นปัจจุบันแล้ว เราอาจต้องปรับโมเดลการทำงานใหม่จากเดิมโดยสิ้นเชิง เพื่อให้อยู่รอดในยุคนี้

3. ประสบการณ์สำคัญกว่าแค่สินค้าบริการ แม้สินค้าจะเหมือนกัน แต่นักการตลาดสามารถสร้างความแตกต่างได้ด้วยประสบการณ์ได้ตรงความฝันของผู้บริโภคคือ การได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับสินค้าที่เหมือนจริงที่สุด เพราะประสบการณ์ตรงเป็นการสื่อสารที่ทรงอิทธิพลที่สุด จึงเป็นแรงกระตุ้นให้มีการใช้เทคโนโลยีของโลกเสมือนจริงมากขึ้นในหลายธุรกิจ เพื่อให้ผู้บริโภคได้สัมผัสประสบการก่อนตัดสินใจ

ตัวอย่างง่ายๆ อย่างเช่นการเลือกดื่มกาแฟ เดี๋ยวเราไม่อยากได้แค่กาแฟอร่อย แต่สิ่งที่อยากได้เดี๋ยวนี้คือร้านที่บรรยากาศดี พนักงานเป็นกันเอง และจำชื่อคุณได้ด้วย นั่งก็สบาย เหล่านี้เป็นเหตุผลที่ทำให้คุณต้องจ่ายแพงกว่าเพื่อซื้อประสบการณ์ทั้งหมด ที่มากกว่าแค่สินค้านั่นเอง

4. ผู้บริโภคต้องการความง่ายแบบสุดๆๆ  อาจกล่าวได้ว่าวันนี้พวกเราก้าวจากยุค Mobile First เข้าสู่ยุคแห่งความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีที่พัฒนาเพื่อเพิ่มความง่ายให้กับทุกๆเรื่องของชีวิตแอพลิเคชั่นต่างๆในมือถือเริ่มไม่มีความหมายขณะที่การสั่งงานด้วยเสียงจะเข้ามาแทนที่

โลกไม่ได้พึ่งพาแค่โทรศัพท์มือถือหรือแท๊ปเลต แต่เทคโนโลยีจะอยู่รายล้อมรอบตัวเรา โดยใช้ร่างกายของเราเป็น interface เพราะมีความง่ายและเป็นธรรมชาติที่สุด ตอบสนองมนุษย์ที่ต้องการความง่ายขั้นสุดเสมอ ซึ่งเทรนด์นี้จะสะท้อนมาในการพัฒนาอุปกรณ์ผู้ช่วยต่างๆ เช่น อุปกรณ์Voice Command ที่มีความฉลาดมากขึ้น ไม่ใช่แค่ทำตามคำสั่งแต่จะเรียนรู้พฤติกรรมเราด้วย เพื่อทำงานให้มีประสิทธิภาพที่สุด

5. โลกแห่งการเรียนรู้ใหม่ตลอดเวลา นักการตลาดต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอเพราะสิ่งใหม่ๆที่นักการตลาดรู้ในวันนี้จะกลายเป็นเรื่องเก่าของวันพรุ่งนี้เหตุเพราะกระแสเทคโนโลยีจะมาเรื่อยๆและมาเร็ว

ความเปลี่ยนที่รวดเร็วของเทคโนโลยี่ ทำให้ทุกคนรู้สึกว่าต้องพัฒนา ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆตลอดเวลา หากคุณหยุดอยู่กับที่ความรู้ของคุณจะล้าหลังเร็วมาก แม้กระทั่งเรื่องสินค้าและบริการก็เปลี่ยนเร็วจนคนตามไม่ทัน เราจึงต้องทิ้งความรู้เดิม แล้วเรียนรู้ใหม่ตลอด

6. เทคโนโลยีล้ำแค่ไหน แต่ก็ต้องการความเป็นมนุษย์เช่นกัน แม้จะมีเทคโนโลยีในโลกการตลาดมากมายไม่ว่าจะเป็น Big Data จนถึง AI แต่การติดต่อสื่อสารกับมนุษย์เราต้องการความรู้สึกด้วย

การตลาดที่ดี คือการตลาดที่เข้าใจ ใส่ใจความต้องการของผู้บริโภค และรับรู้ความรู้สึกของพวกเขา ดังนั้น AI ในอนาคตจะมี EI Emotional Intelligence มากขึ้นด้วย เช่น การจับสีหน้าหรือภาษากายให้เห็นอารมณ์ของผู้ใช้งานหรือการแสดงออกทางอารมณ์ให้กับผู้ใช้งาน เช่น ความรัก  ความใส่ใจ ในอนาคต AI จึงจะเหมือนมนุษย์จริงๆมากยิ่งขึ้น จนเราอาจแยกมนุษย์กับ AI ไม่ออก

7. ต้องมีความรับผิดชอบ รักฉันแล้วต้องรักโลกและสังคม ต้องยอมรับว่าผู้บริโภคยุคใหม่ จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาแบบยั่งยืนมากขึ้น โดยจะเห็นได้จากกระแสการลดขยะ การลดการใช้พลาสติก และต้องการทราบที่มาของอาหารที่ทาน และรวมถึงสนใจแบรนด์หรือธุรกิจที่ห่วงใยสิ่งแวดล้อม สังคม และโลกมากขึ้น ดังนั้นแบรนด์ ต้องแสดงจุดยืนชัดเจนในด้านความยุ่งยืน ต่อผู้สังคม สิ่งแวดล้อม และคนที่เกี่ยวข้อง

กลยุทธ์นี้หลายองค์กรเริ่มนำมาใช้แล้ว เช่น ท็อปส์ เลือกใช้ถุง. สหพัฒน์ เริ่มให้สินค้าในเครือใช้แพคเกจจิ้งที่ย่อยสลายได้ ขณะที่สตาร์บัคส์ ประกาศเลิกใช้หลอดในอนาคต