เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ที่ผ่านมา นับเป็นอีกครั้งสำคัญที่ธุรกิจสื่อสารตื่นตัวอย่างมาก จากการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz เพราะการเปลี่ยนมือผู้ถือครองคลื่นครั้งนี้ จะทำให้สถานการณ์การแข่งขันของธุรกิจโทรคมนาคมเปลี่ยนไปทันที นำมาซึ่งความท้าทายของโอเปอเรเตอร์แต่ละค่าย ว่ากลยุทธ์ที่ใช้ในการตัดสินใจลงทุน เพื่อให้ได้คลื่นเพิ่มมาในครั้งนี้ จะนำมาพัฒนาต่อยอด และสร้างมิติใหม่ๆ ของการให้บริการเครือข่าย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าของตนเองได้อย่างไรบ้าง
คลื่น 1800 MHz เรียกว่ามีความสำคัญมากที่สุดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เพราะเป็นคลื่นความถี่หลักในการให้บริการ 4G ซึ่งความท้าทายที่ค่ายมือถือกำลังเผชิญ คือ วันนี้เรามาถึงจุดเดือดของสมรภูมิ 4G ที่สัญญาณครอบคลุมไปทั่วประเทศ มือถือแทบทุกรุ่นพร้อมรองรับ กลายมาเป็นเทคโนโลยีสื่อสารพื้นฐานที่คนในประเทศใช้ ดังนั้นสเตปต่อมาก็คือ จะทำอย่างไรให้เครือข่ายเดิมที่มีอยู่ เร็วขึ้น แรงขึ้น เสถียรขึ้น รองรับการใช้งานได้มากขึ้น เพราะลูกค้ายุคดิจิทัลยังให้ความสำคัญ Functional Benefit เป็นอันดับแรก ดังนั้นใครสามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีกว่าได้ ก็จะสามารถช่วงชิงพื้นที่ในใจผู้บริโภคเช่นกัน
นับคลื่น 1800 MHz ที่แต่ละค่ายมีอยู่ในมือตอนนี้ (หลังจากประมูลคลื่นครั้งล่าสุด เมื่อ 19 สิงหาคม 2561)
*ทรู ไม่เข้าร่วมประมูลครั้งนี้ ทำให้มีคลื่นเท่าเดิม จำนวน 30 MHz (15MHz x 2)
*ดีแทค เข้าร่วมประมูล ได้คลื่นมาจำนวน 10 MHz (5MHz x 2) แต่สัมปทานคลื่นที่ถืออยู่เดิมจะหมดลงในเดือนกันยายนนี้ ทำให้เหลือคลื่นเพียง 10MHz (5MHz)
*เอไอเอส เข้าร่วมประมูล ได้คลื่นมาเพิ่มจำนวน 10 MHz (5MHz x 2) ซึ่งเมื่อรวมของเดิมที่มีอยู่ 30 MHz ทำให้มีช่วงคลื่นที่ยาวต่อเนื่องกัน 40 MHz ซึ่งมากสุดในอุตสาหกรรม และเต็มประสิทธิภาพการให้บริการ 4G เพราะเป็นช่วงคลื่นเต็มบล็อกที่เรียกว่า “Super Block”
Super Block คืออะไร
อธิบายความหมายของย่านความถี่ “Super Block” แบบเข้าใจง่าย คือ คลื่นความถี่ 1800MHz ที่ยาวต่อเนื่องกันเต็มบล็อก ซึ่งปกติเทคโนโลยี LTE (4G) นั้น 1 บล็อก จะมีประสิทธิภาพสูงสุดต้องใช้คลื่น 1800 MHz จำนวน 40 MHz (20 MHz x2)
ดังนั้นเดิมเอไอเอสมีคลื่นความถี่จำนวน 30MHz (15MHz x 2) เมื่อประมูลเพิ่มมาอีก 10MHz (5MHz x 2) ทำให้เอไอเอสมีคลื่นความถี่ 1800 MHz จำนวน 40 MHz (20 MHz x 2) โดยเอไอเอส เป็นรายเดียวที่มีคลื่น 1800MHz ยาวต่อเนื่องกันเต็มบล็อก ที่เรียกว่า “Super Block”
กว้างสุดจริง พร้อมใช้จริง ไม่ต้องรอ
ข้อดีของการประมูลคลื่น 1800 MHz ของเอไอเอสครั้งนี้ คือ เมื่อคลื่นใหม่เป็นย่านความถี่ชนิดเดียวกับที่มีอยู่แล้ว จึงทำให้สามารถนำมาให้บริการได้ทันที โดยไม่ต้องติดตั้งสถานีฐาน หรืออุปกรณ์ใหม่ ซึ่งส่งผลให้สัญญาณครอบคลุมทั่วประเทศทันทีเช่นเดียวกัน โดยเครือข่าย 4G ของเอไอเอส บนช่วงคลื่น Super Block นี้ ครอบคลุมพื้นที่แล้วกว่า 98% ทุกจังหวัดทั่วประเทศ
ลงทุนครั้งใหญ่ มัดใจลูกค้าปัจจุบัน
เมื่อคลื่น 1800 MHz เป็นคลื่นหลักในการให้บริการ 4G ดังนั้นช่วงคลื่น“Super Block” ของเอไอเอสจึงเป็นจุดสูงสุดของ 4G ที่เต็มประสิทธิภาพของเทคโนโลยี โดยหลังจากที่เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ (คาดว่าช่วงเดือนตุลาคม) จะทำให้เครือข่ายทั่วไทยเร็วขึ้นถึง 15- 30% งานนี้ลูกค้าเอไอเอสรับประโยชน์กันถ้วนหน้า เพราะมือถือ 4G ทุกเครื่อง จะสามารถใช้คลื่นใหม่นี้ได้ทันที ตั้งแต่รุ่นไฮเอนสเปคแรงๆ มือถือระดับกลาง ไปจนถึงมือถือหลักพันต้นๆ เรียกว่าครั้งนี้เอไอเอสลงทุนครั้งใหญ่ เอาใจลูกค้าปัจจุบัน ให้ได้มีประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้น แบบไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม บนมือถือเครื่องเดิม
มีคลื่นมากกว่าเดิม = เพิ่มความ Flow
นอกจากเพิ่มความเร็วแล้ว การมีคลื่นเพิ่ม ก็เหมือนการขยายถนน เมื่อมีเลนมากขึ้น ก็สามารถรองรับรถได้มากขึ้น โดยรถก็เปรียบเสมือนกับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ดังนั้น “Super Block” จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีการใช้งานหนาแน่น และพร้อมรองรับพฤติกรรมการใช้งานดาต้าที่จะเพิ่มขึ้นอนาคต รวมทั้งรับการขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับใครที่จะย้ายมาใช้เอไอเอส ก็มั่นใจได้ว่าเครือข่ายพร้อมรับลูกค้าอีกเพียบ
เคลียร์ชัดๆ รวมทุกคลื่น ของแต่ละค่ายในปัจจุบัน ใครมาวิน?
นอกจากนี้ เมื่อดูในภาพรวม หลังจากการประมูลคลื่นความถี่ครั้งล่าสุด ทำให้คลื่นความถี่ในมือของแต่ละค่ายกำลังจะเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ตามภาพ
โดยเอไอเอส ก้าวขึ้นมาเป็นค่ายที่มีคลื่นในมือมากที่สุด จำนวนถึง 120 MHz (60 MHz x 2) ตามมาด้วยทรู และดีแทค ซึ่งเมื่อเอไอเอสมีคลื่นความถี่มากกว่า ก็หมายถึงมีความพร้อมและมีศักยภาพที่จะรองรับการให้บริการทั้งในปัจจุบันและต่อเนื่องไปในอนาคตด้วยเครือข่ายเร็วกว่า และดีกว่า ไม่ตกหล่น ซึ่งหลังจากสัมปทานของรายเดิมสิ้นสุดลง ในวันที่ 15 กันยายน นี้ เอไอเอสก็ประกาศว่าพร้อมที่จะให้บริการทันที
สรุป
จากความเคลื่อนไหวล่าสุดของเอไอเอส จะยิ่งทำให้การแข่งขันในสมรภูมิผู้ให้บริการเครือข่ายมีความเข้มข้นและร้อนแรงมากขึ้น โดยใครที่มีโครงสร้างพื้นฐานที่ครบครัน คือความถี่จำนวนมาก และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ก็เรียกว่าเดินหน้าคว้าชัยในศึกนี้ตั้งแต่เริ่ม เหนือสิ่งอื่นใดผู้บริโภคคือผู้ชนะอย่างแท้จริง เพราะจะสามารถใช้งานได้อย่างมั่นใจมากขึ้น ไร้ความกังวล เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย ด้วยการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบโทรคมนาคมของประเทศที่มีความแข็งแกร่ง ซึ่งในอีกด้านก็เป็นรากฐานสำคัญในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การให้บริการด้วยเทคโนโลยี 5G ที่มีประโยชน์มหาศาลต่อไป