ผลการสำรวจเทรนด์การทำงานในอนาคต ตอกย้ำวิสัยทัศน์ของเลอโนโวในการเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงโดยใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ

เลอโนโว บริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีร่วมกับไอดีซี บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยข้อมูลการตลาดชั้นนำระดับโลก จัดเผยแพร่ข้อมูล IDC Infobrief ในหัวข้อ การเพิ่มประสิทธิภาพให้องค์กรในยุคเปลี่ยนถ่ายสู่ความเป็นอัจฉริยะ (Powering Intelligent Enterprise Transformation) ซึ่งเป็นการศึกษาปัจจัยพื้นฐานที่จะทำให้วิถีการทำงานของผู้คนในอีก 2-3 ปีข้างหน้าเปลี่ยนไป ซึ่งผลการศึกษาที่ได้ชี้ให้เห็นว่า การทำงานในอนาคตจะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างคนและเทคโนโลยีเพื่อให้องค์กรสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งนอกเหนือจากผลสำรวจดังกล่าวแล้ว เลอโนโวและไอดีซีมีการให้ข้อเสนอแนะสำหรับองค์กรในเอเชียแปซิฟิกเพื่อเป็นแนวทางในการรับมือและสร้างโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างราบรื่น

ภายในปี 2020 กว่าครึ่งของคนวัยทำงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเป็นกลุ่มคนในยุคมิลเลนเนียล1 ส่วนที่เหลือจะเป็นคนในยุคเจนเนอเรชั่น เอ็กซ์, เจนเนอเรชั่น วาย และเจนเนอเรชั่น ซี ซึ่งกลุ่มคนในแต่ละยุคมีความต้องการที่แตกต่างกัน ด้วยสาเหตุนี้เองหลายองค์กรในปัจจุบันจึงได้มีการเริ่มหาแนวทางในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อที่ในอนาคตพนักงานจะสามารถทำงานได้จากทุกสถานที่ ทุกเวลา ผ่านทุกอุปกรณ์ โดยมีเทคโนโลยีที่เป็นตัวขับเคลื่อนอย่าง อินเตอร์เน็ตสำหรับทุกสรรพสิ่ง (IoT) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ เทคโนโลยีโลกเสมือน (AR/VR) ซึ่งไอดีซีคาดว่าภายในปี 2021 องค์กรในเอเชียแปซิฟิกจะมีการลงทุนในด้าน ICT มากถึง 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ

วิถีการทำงานในอนาคต

รายงานจากไอดีซีชี้ให้เห็นว่า เทรนด์เทคโนโลยีที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงวิถีการทำงานของคนในปีหน้าและปีต่อๆไป ได้แก่ เทรนด์ออโตเมชั่น (automation), เทรนด์เซอร์วิสสำหรับทุกสิ่ง (XaaS), เทรนด์การสร้างและพัฒนาประสบการณ์การทำงานของพนักงานในองค์กร และเทรนด์การสร้างรายได้จากธุรกิจใหม่ที่แตกต่างไปจากธุรกิจหลักที่มีโดยสิ้นเชิง

จากรายงานของไอดีซีในหัวข้อ: การคาดการณ์เทรนด์การทำงานทั่วโลกปี 2019 (IDC FutureScape: Worldwide Future of Work 2019 Predictions) พบว่า องค์กรต่างๆกำลังหันมาลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพหรือในธุรกิจใหม่ที่มีแนวโน้มว่าจะสามารถส่งเสริมหรือสร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจหลักได้  โดยรายงานระบุว่า ภายในปี 2023 ประมาณ 30% ของกลุ่มบริษัทGlobal 2000 จะมีรายได้อย่างน้อย 20% มาจากธุรกิจสตาร์ทอัพหรือในธุรกิจใหม่ที่ได้ลงทุนไว้  โดยผ่านโมเดลคลาวด์ซอสซิ่ง (Crowdsourcing) และการรวมข้อมูลแบบ อไจล์ (agile aggregation) เพื่อหาบุคลากรและธุรกิจที่มีศักยภาพ[1]

ภาวะขาดแคลนแรงงานที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้ระบบออโตเมชั่น และกึ่งออโตเมชั่นที่ช่วยจัดการระบบ IT workflow จะเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยเป็นอย่างมากในการลดความยุ่งยากและซับซ้อนของงาน ทั้งจะช่วยให้พนักงานสามารถนำเวลาไปใช้ในการทำงานอื่นได้ ซึ่งการนำเทคโนโลยีอัจฉริยะมาใช้ในองค์กรนั้น จะช่วยให้บริษัทต่างๆสามารถปรับตัวเข้าสู่ระบบการทำงานอันชาญฉลาดในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น

แนวปฏิบัติแบบองค์รวมเพื่อการปฏิรูปที่ทำงาน

จากรายงานยังระบุว่า องค์กรต่างๆจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์แบบองค์รวมในการยกระดับเทคโนโลยีดิจิทัลของสามสิ่งสำคัญ ได้แก่ สถานที่ทำงาน(workplace) วัฒนธรรมองค์กร(workculture) และแรงงาน(workforce) เพื่อเปลี่ยนองค์กรให้เป็นองค์กรอัจฉริยะหรือ Intelligent Enterprises อย่างไรก็ตาม 60% ขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังประสบปัญหากับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในระดับองค์กร เพราะความท้าทายจากหลายด้าน เช่น ความตึงเครียดด้านการค้า, ความปลอดภัยของข้อมูลและการระบุตัวตน, การรักษาความเป็นส่วนตัว, อธิปไตยของข้อมูล, ภาษี และการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา

เลอโนโวมองว่า เทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงและกระตุ้นให้ผู้ใช้งานสามารถดึงศักยภาพที่ตนเองมีอยู่มาใช้ได้อย่างเต็มที่เป็นหัวใจสำคัญขององค์กรในการเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัล

คุณธเนศ อังคศิริสรรพ ผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคอินโดจีน บริษัท เลอโนโว (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า”การที่องค์กรจะสามารถให้บริการที่เหนือระดับแก่ลูกค้าและการสร้างคุณค่าในธุรกิจได้นั้น องค์กรจำเป็นต้องสร้างประสบการณ์การทำงานที่ดีให้แก่พนักงานก่อน ส่วนสำคัญของการสร้างองค์กรแห่งอนาคตคือการมีความเข้าใจว่าพนักงานแต่ละคนต้องการใช้งานดีไวซ์และโซลูชั่นที่ต่างกัน  การลงทุนในเทคโนโลยีเช่น Device-as-a-Service, AI และ AR กลายเป็นสิ่งสำคัญเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานที่ต้องการอุปกรณ์ที่คล่องตัว ปรับใช้งานได้ และให้การเชื่อมต่อผ่านเทคโนโลยีเสมือนได้ โดยสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาประสบการณ์ของพนักงานได้โดยการสร้างสถานที่ทำงานที่ชาญฉลาด ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”

“เทคโนโลยีในปัจจุบันกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องเพื่อพัฒนาคุณภาพ ความร่วมมือ และประสิทธิภาพของการทำงานในวิธีการที่ต่างกัน อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีเป็นเพียงตัวเริ่ม การพัฒนาเพื่อเข้าสู่องค์กรแห่งอนาคตนั้นไม่ใช่แค่การใช้ระบบออโตเมชั่นหรือการอัพเกรดไดรฟ์ แต่มีอีกหลายปัจจัยที่องค์กรต้องนำมาพิจารณา อาทิ ความแตกต่างด้านอายุของพนักงาน, กระแสนิยมในการใช้ AI, การเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการ, วินัยในองค์กร, ความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัย ดังนั้นองค์กรที่จะสามารถเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมยุค 4.0 ได้จริงจะต้องเป็นองค์กรที่มีการพัฒนาแบบองค์รวมโดยเน้นการสร้างประสบการณ์ที่เหนือระดับแบบครบวงจรทั้งจากภายนอก ภายใน และส่วนกลาง นอกจากนี้องค์กรยังต้องสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและความต้องการของลูกค้า” คุณประภัสสร เพชรแก้ว, นักวิเคราะห์อาวุโส, ไอทีเซอร์วิส, ไอดีซี ไทยแลนด์ กล่าว

สำหรับเลอโนโว องค์ประกอบสำคัญสู่การเป็นองค์กรแห่งอนาคตนั้นไม่ใช่แค่เพียงการนำเอาเทคโนโลยีใหม่มาปรับใช้ องค์กรที่เป็นอัจฉริยะควรมีวิธีหรือตัวช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้แก่พนักงานและสามารถช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายได้ สิ่งที่เลอโนโวเห็นในปัจจุบันคือองค์กรยุคใหม่เริ่มหันมาใช้บริการอย่าง เซอร์วิสสำหรับทุกสิ่ง (XaaS) มากขึ้น เนื่องจากบริการดังกล่าวมีความยืดหยุ่น สามารถเลือกรับบริการที่เหมาะสมกับขนาดองค์กร อีกทั้งมีความคุ้มค่าต่อการลงทุน ซึ่งเป็นการเสริมประสิทธิภาพให้แก่องค์กรในยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง

“เลอโนโวตระหนักดีว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของวิธีการทำงานในยุคดิจิทัลนั้นสร้างความกดดันให้แก่หลายองค์กร ตลอดปีที่ผ่านมา เลอโนโวมุ่งพัฒนานวัตกรรมด้านการบริการมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมถึง 2 เท่าเพื่อช่วยแบ่งเบาความกดดันดังกล่าวขององค์กร จากสถิติ เราพบว่าองค์กรที่หันมาใช้บริการ  Lenovo Premier Support ได้รับคะแนนความพึงพอใจจากลูกค้ามากกว่าองค์กรทั่วไป ถึงเวลาแล้วที่องค์กรต้องหันมาพิจารณาใช้บริการจากองค์กรผู้เชี่ยวชาญเพื่อเป็นตัวช่วยในการพัฒนาองค์กรให้เข้าสู่ความเป็นอัจฉริยะอย่างแท้จริง” คุณธเนศกล่าวเสริม

สำหรับข้อมูลเชิงลึกและการคาดการณ์ของเทรนด์การทำงานในอนาคตเพิ่มเติม สามารถอ่านได้ในรายงาน Powering Intelligent Enterprise Transformation ของ IDC ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2018 เป็นต้นไป

เนื้อหาเพิ่มเติม

  1. ออโตเมชั่น: ในปี 2019  25% กลุ่มงานดูแลพัฒนาและปฏิบัติการณ์ด้าน IT ขององค์กรจะเป็นระบบออโต้ และจะทำให้การทำงานของ IT มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 15% อีกทั้งจะส่งผลให้พนักงาน ITต้องเพิ่มความสามารถของตนเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของพนักงานยุคดิจิทัล
  2. XaaS: ภายในปี 2020 กว่า 90% ขององค์กรใหญ่ๆจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการให้บริการทางด้านข้อมูล อาทิ ข้อมูลดิบที่เกี่ยวกับยอดขาย, วิธีการคำนวณ, ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์, หรือคำแนะนำต่างๆ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2017 ถึงเกือบ 50% (ข้อมูลจาก IDC FutureScape: Worldwide IT Industry 2018 Predictions)
  3. สร้างประสบการณ์การที่ดีในการทำงานให้แก่พนักงาน: ภายในปี 2021 ความต้องการพนักงานที่มีศักยภาพสูงมาปฏิบัติงานจะมีความสำคัญจนทำให้  65% ขององค์กรในกลุ่ม Global 2000 จะแข่งขันกันดึงพนักงานเข้าบริษัทฯด้วยการสร้างที่ทำงานแบบ co-working และ แบบสามารถทำงานได้จากนอกสถานที่ได้(remote-work) โดยเข้าถึงข้อมูลและปฏิบัติงานได้เหมือนอยู่ในที่ทำงาน
  4. แหล่งรายได้แห่งใหม่: ภายในปี 2023 ประมาณ 30% ของกลุ่มบริษัท Global 2000 จะมีรายได้อย่างน้อย 20% มาจากธุรกิจสตาร์ทอัพหรือในธุรกิจใหม่ที่ได้ลงทุนไว้  โดยผ่านโมเดลคลาวด์ซอสซิ่ง(Crowdsourcing) และการรวมข้อมูลแบบ อไจล์ (agile aggregation) เพื่อหาบุคลากรและธุรกิจที่มีศักยภาพ[2]

[1] IDC FutureScape: Worldwide Future of Work 2019 Predictions, Doc #EMEA44255218, October 2018

[2] IDC FutureScape: Worldwide Future of Work 2019 Predictions, Doc #EMEA44255218, October 2018