กระทรวงกลาโหมเชิญชวนคนไทยร่วมเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 13

กระทรวงกลาโหมเดินหน้าตามนโยบายรัฐบาลในวาระที่ประเทศไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ในปี ๒๕๖๒ เตรียมความพร้อมทุกด้านในการเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ ๑๓ และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ ๖ ชูประเด็นความมั่นคงแบบ 3S เข้าสู่เวทีเจรจา โดยเน้นความร่วมมือที่ยั่งยืน บูรณาการขับเคลื่อน และสนับสนุนกิจกรรมคาบเกี่ยว ๓ เสาหลักเชื่อมโยงภูมิภาค เพื่อพัฒนาความอยู่ดีกินดีของประชาชนอาเซียนให้เท่าเทียมกัน พร้อมทั้งชวนเชิญบุคลากรของกระทรวงกลาโหมและประชาชนมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าภาพที่ดี

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มุ่งสานต่อนโยบายรัฐบาลในการดูแลและเตรียมความพร้อมทุกด้านในการเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ASEAN Defence Ministers’ Meeting) หรือ ADMM ครั้งที่ ๑๓ และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา (ASEAN Defence Ministers’ Meeting-Plus) หรือ ADMM-Plus ครั้งที่ ๖ ในวาระที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน ครั้งที่ ๓๔ ในปีนี้

ในด้านการเตรียมความพร้อม พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงกลาโหมเร่งให้ความรู้ความเข้าใจทั้งแก่กำลังพลของกระทรวงฯ และประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับความสำคัญของการประชุม ADMM และ ADMM-Plus ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงในภูมิภาค ผ่านกลไกการหารือและความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงระดับสูงของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนและนอกภูมิภาคอย่างโปร่งใสและเปิดเผย

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้กล่าวถึง ประเด็นสำคัญที่จะผลักดันเป็นวาระการประชุมในทั้งสองเวที โดยกระทรวงกลาโหมได้กำหนดประเด็นด้านความมั่นคงในรูปแบบของ-3S-คือ ๑) Sustainable-Security – เสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงที่ยั่งยืน) Strengthening-Consolidating and-Optimising-Defence-Cooperation – เสริมสร้างความเข้มแข็ง บูรณาการขับเคลื่อน และเพิ่มประสิทธิภาพความร่วมมือด้านความมั่นคงไปข้างหน้าร่วมกัน และ ) Supporting-Cross-Pillar Activities – สนับสนุนกิจกรรมคาบเกี่ยวระหว่าง ๓ เสาความร่วมมือและส่งเสริมความเชื่อมโยงในภูมิภาค ในการพัฒนาความอยู่ดีกินดีของประชาชนอาเซียนให้เท่าเทียมกัน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายที่นายกรัฐมนตรีต้องการสร้างประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และมองไปสู่อนาคต โดยมีความสมดุลในทั้ง ๓ เสาความร่วมมือ ภายใต้แนวคิด ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน-(Advancing-Partnership-for-Sustainability)”

สันติภาพและความไว้วางใจระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนก็เป็นพื้นฐานสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณชายแดน ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางทะเล ฝ่ายการทหารของอาเซียนมีบทบาทในการสนับสนุนการบริหารจัดการชายแดนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปีนี้จะมีการเพิ่มประเด็นการแก้ไขปัญหาการทำประมงอย่างผิดกฎหมาย นอกจากนี้ ยังเตรียมการดำเนินการเกี่ยวกับกิจกรรมที่สำคัญ อาทิ ศูนย์แพทย์อาเซียน การฝึกร่วมทางฝ่ายอำนวยการด้านการรักษาสันติภาพ และการต่อต้านการก่อการร้าย ทั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือด้านความมั่นคงอย่างยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียนร่วมกัน

ในปีนี้ การประชุม ADMM –และ-ADMM-Plus จะมีการประชุมรวม ๔ ช่วงเวลา เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตั้งแต่ระดับคณะทำงาน ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ระดับปลัดกระทรวง และระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งจะมีกำหนดการเริ่มจาก () การประชุม ADSOM WG และ ADSOM–Plus WG จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๑ มีนาคม ๒๕๖๒ ณ จังหวัดภูเก็ต () การประชุม ADSOM และ ADSOM–Plus จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๒ ณ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ () การประชุม ADMM ครั้งที่ 13 จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๐ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๒ กรุงเทพฯ และสุดท้าย () การประชุม ADMM Retreat และ ADMM-Plus ครั้งที่ ๖ จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๖๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ณ กรุงเทพฯ

กระทรวงกลาโหมจึงขอเชิญชวนประชาชนชาวไทยร่วมกันเป็นเจ้าภาพที่ดี เพื่อต้อนรับตัวแทนประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศคู่เจรจา ตลอดปี ๒๕๖๒

#ADMM2019Th #เจ้าภาพADMM2019Th

เกี่ยวกับกระทรวงกลาโหม

กระทรวงกลาโหม ได้รับการสถาปนาขึ้นในวันที่ ๘ เมษายน ๒๔๓๐ เป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่นคงของประเทศนับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทรวงกลาโหมมีสำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และกองทัพไทยประกอบด้วย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เป็นหน่วยงานในสังกัด กระทรวงฯ มีหน้าที่ปกป้องสถาบันของชาติ และสร้างความผาสุกให้กับประชาชน ด้วยการพัฒนากองทัพให้มีศักยภาพ เพื่อดำรงไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มขีดความสามารถควบคู่การยึดมั่นอยู่ในระเบียบวินัย มุ่งเน้นสนับสนุนการรักษาผลประโยชน์ของชาติ และการพัฒนาประเทศเพื่อความมั่นคงอย่างยั่งยืน

เกี่ยวกับการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา