ภารกิจลับ“จับผิด”คุณภาพสัญญาณเบื้องหลังความสำเร็จAISครองแชมป์เครือข่ายเร็วที่สุดในไทย 4 ปีรวด


Ookla Speedtest จัดอันดับให้ AIS เป็นอันดับ 1 เครือข่ายมือถือที่เร็วที่สุดในไทยพร้อมครองอันดับ 1 เครือข่ายมือถือที่เร็วที่สุดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยวัดจากผู้ใช้มือถือในไทย ที่ร่วมกดทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ต ผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่น SpeedTest มากกว่า 7 ล้านครั้งในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2018 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ AIS ครองผู้นำอันดับ 1 เครือข่ายมือถือที่เร็วที่สุดในไทย ถึง 4 ปีซ้อน ตั้งแต่ ปี 2015 – 2018

ที่ผ่านมา AIS ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายมาโดยตลอด ซึ่งหนึ่งในจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญของการให้บริการเครือข่าย ก็คือการตรวจสอบและรักษาคุณภาพเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพ เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานของลูกค้าอยู่เสมอ โดยภารกิจและหน้าที่ของทีมวิศวกรของ AIS นั้นไม่เพียงแต่มีทีมวางแผนพัฒนาเครือข่าย, ทีม Operation ที่ทำงานอย่างแข็งขัน เพื่อให้ลูกค้าใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังมี “ทีมควบคุมคุณภาพเครือข่าย (Network Quality Management หรือ NQM) ทำหน้าที่จับผิดคุณภาพสัญญาณ หรือ พูดง่ายๆ ว่า “มาจับผิดการทำงานของทีมวิศวกรด้วยกันเอง”

ทีม NQM ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพเครือข่าย ด้วยการ Walk Test

ความท้าทายในขั้นตอนการทำงานของทีม NQM อย่างแรกคือ การออกภาคสนาม ที่จะต้องสวมบทเป็นลูกค้าเดินตรวจสอบวัดคุณภาพเครือข่ายในพื้นที่จริงที่ลูกค้าใช้งานทุกวันทั่วประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการใช้งานหนาแน่น เช่น BTS, MRT, ARL, ท่าเรือ, ห้างสรรพสินค้า, มหาวิทยาลัย และผับบาร์ต่างๆ พร้อมแบกอุปกรณ์ทดสอบและสมาร์ทดีไวซ์ตั้งแต่ระดับ Hi-end ไปจนถึง Feature Phone มาทดลองการใช้งานเครือข่ายผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ที่ลูกค้านิยม เช่น การเล่นเฟซบุ๊ก ไลน์ ดูสตรีมมิ่งวิดีโอผ่านยูทูบ หรือใช้งานแอปพลิเคชั่นต่างๆ บนรถไฟฟ้าในชั่วโมงเร่งด่วน

สมาร์ทดีไวซ์ที่ใช้สำหรับทดสอบคุณภาพเครือข่าย

ทีม NQM ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพเครือข่าย ด้วยการ Drive Test

รวมถึงยังมีวิธีการ Drive Test ขับรถขนอุปกรณ์ทดสอบหลากหลายรูปแบบ และมือถือหลากสเปคหลายสิบเครื่อง ใส่ซิมทุกเครือข่าย ออกตระเวนทดสอบคุณภาพเครือข่าย ไปตามถนนสายหลัก และตรอกซอยต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อทดสอบเทคโนโลยีเครือข่าย ก่อนนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบว่าลูกค้าจะมีประสบการณ์การใช้งานแบบใด และคาดหวังการบริการไปในทิศทางใด พร้อมชี้เป้าว่าบริการไหนและพื้นที่ใดต้องปรับปรุง พร้อมส่งต่อข้อมูลเหล่านี้ไปยังทีมวิศวกรอีกที

คุณวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนเทคนิคทั่วประเทศ AIS

นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวถึงความสำคัญและขั้นตอนในการพัฒนาเครือข่ายว่า

“เมื่อได้รับเคสปัญหาจากทีม NQM ก็เป็นหน้าที่ต่อของทีมวิศวกรที่จะต้องหาโซลูชันมาแก้ไขปัญหา จากนี้จึงเป็นโอกาสและความท้าทายที่ทีมวิศวกรจะได้คิดค้นและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อแก้ไขและพัฒนาเครือข่ายร่วมกันอย่างยั่งยืน ซึ่งหลายครั้งเราเป็นเครือข่ายแรกและเครือข่ายเดียวที่มีการ Customized Network ขึ้นมาเองให้แมตช์กับปัญหานั้นๆ กล้าลองผิดลองถูกก่อนใครเสมอ และสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรมเทเลคอม รวมถึงเป็นต้นแบบให้โอเปอร์เรเตอร์อื่นได้นำนวัตกรรมสื่อสารของเราไปประยุกต์ใช้ต่ออีกด้วย

ยกตัวอย่างเคสปัญหาที่เจอ ที่เราได้คิดค้นโซลูชันขึ้นเอง เพื่อแก้ปัญหาด้านการใช้งานเครือข่ายให้ลูกค้า ก็มีความท้าทายในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันไป ซึ่งเราดีไซน์ระบบเสาส่งสัญญาณขึ้นมาเอง และต้องคิดค้นและปรับปรุงเพื่อพื้นที่นั้นๆโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นการยิงสัญญาณให้ครอบคลุมการใช้งานในคอนโดมิเนียม เราเข้าไปคุยกับผู้ประกอบการอสังหาฯ เพื่อทำงานร่วมกันในการติดตั้งเสาส่งสัญญาณในจุดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด, เราติดตั้งเสาส่งสัญญาณที่หันทิศทางออกไปยังทะเลที่มีเส้นทางการเดินเรือและเส้นทางท่องเที่ยวตามเกาะต่างๆ โดยจ้างเรือประมง เรือเฟอร์รี่เดินเรือออกทะเลไปเพื่อทดสอบสัญญาณ หรือแม้แต่บริเวณเรือข้ามฟากแม่น้ำเจ้าพระยา ที่พบปัญหาการใช้งานว่าไปถึงกลางแม่น้ำแล้วสัญญาณเน็ตต่ำ เราก็หาวิธีแก้ไขจนสำเร็จและลูกค้าสามารถใช้งานเครือข่ายได้อย่างครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย

อีกหนึ่งตัวอย่างก็คือ ในงานอีเวนท์ที่จะมีกลุ่มลูกค้าของเอไอเอสและผู้ใช้งานเครือข่ายอื่นๆ เข้าไปรวมตัวกันอย่างหนาแน่น เช่น งานคอนเสิร์ตและงานรับปริญญา เราก็จะส่งทีมวิศวกรเข้าไปดูแลเครือข่ายและซัพพอร์ตสัญญาณ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของลูกค้าให้ลื่นไหลที่สุด”

“เนื่องจากพฤติกรรมของลูกค้ายุคนี้ คาดหวังกับการใช้งานเครือข่ายที่เร็วและเต็มประสิทธิภาพที่สุด เราจึงเห็นรูปแบบการใช้งานแอปฯ Speedtest ที่เป็นเสมือนเครื่องมือหนึ่งที่ลูกค้าใช้ในการวัดผลคุณภาพเครือข่ายที่เขาได้รับ ไม่ว่าจะใช้เพื่อตรวจสอบความเร็วในการใช้งาน, ตรวจสอบว่าความเร็วที่ได้เป็นไปตามแพ็กเกจหรือไม่, ตรวจสอบว่าในพื้นที่ที่อยู่นั้นมีสัญญาณที่ดีหรือไม่ เป็นต้น พฤติกรรมของผู้บริโภคเหล่านี้ ถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตรวจสอบคุณภาพสัญญาณของทางเอไอเอส และเป็นฟีดแบ็กจากลูกค้าเพื่อให้เราได้ปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น” คุณวศิษฐ์กล่าวทิ้งท้าย

และนี่คือเรื่องเล่าจาก “คนเบื้องหลัง” ที่เป็นฟันเฟืองสำคัญในการพัฒนาเครือข่าย AIS ซึ่งปฎิเสธไม่ได้เลยว่า สิ่งที่เป็นโจทย์ยากกว่าการพัฒนาเครือข่ายของพวกเขา ก็คือ “การรักษาคุณภาพเครือข่ายให้ดีที่สุด” ยิ่งปัจจุบันผู้บริโภคเอง มีเครื่องมือในการกดทดสอบความเร็วเครือข่ายได้ด้วยตัวเองจากสมาร์ทโฟนในมือ และคาดหวังผลที่ได้รับ นั่นแปลว่า ทั้งทีมวิศวกร ทีม NQM และทีมเบื้องหลัง จะต้องสร้างมาตรฐานการตรวจสอบและควบคุมประสิทธิภาพเครือข่ายให้ดีที่สุดในทุกๆ วินาที โดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ซึ่งการได้รางวัลอันดับ 1 เครือข่ายมือถือที่เร็วที่สุดในไทย 4 ปีซ้อนจาก Ookla Speedtest องค์กรทดสอบความเร็วเน็ตอันดับ 1 ของโลก จึงเป็นการยืนยันผลลัพธ์ของการทำงานที่คิดและทำเพื่อลูกค้าอย่างไม่หยุดยั้ง

http://www.ais.co.th/fastestnetwork/

https://www.speedtest.net/awards/thailand/