“น้ำ” ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของโลก ในประเทศไทยนั้นทุกชีวิตถูกหล่อเลี้ยงและมีความสัมพันธ์กับแม่น้ำหรือลำคลอง สายน้ำทำหน้าที่หล่อเลี้ยงคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจของชุมชนมาโดยตลอดทุกยุคทุกสมัยจึงเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออกระหว่างคนไทย และสายน้ำ
ในขณะเดียวกัน “ลุ่มน้ำ” ก็มีความสำคัญไม่แพ้กับน้ำ เพราะเป็นพื้นที่รองรับน้ำฝนทั้งหมด เพื่อเป็นแหล่งน้ำในการหล่อเลี้ยงทุกชีวิตของคนไทยทั้งประเทศให้ได้อยู่ดีมีสุข ฉะนั้นหลายภาคส่วนทั้งรัฐบาล และเอกชนต่างมีโครงการในการอนุรักษ์แหล่งลุ่มน้ำ เพื่อให้ประชาชนได้มีแหล่งน้ำได้ใช้อุปโภค และบริโภคอย่างสะดวกสบาย
ด้วยเหตุนี้เองกลุ่มธุรกิจ TCP ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายเครื่องดื่มภายใต้แบรนด์กระทิงแดง (เรดบูล) เรดดี้ โสมพลัส สปอนเซอร์ แมนซั่ม เพียวริคุ และซันสแนค จึงได้เห็นความสำคัญของแหล่งน้ำ ได้เปิดตัวโครงการ “TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย” มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน เพื่อสิ่งแวดล้อม และชุมชน ให้ชุมชนได้มีแหล่งน้ำไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของชุมชน สร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน โดยมีการพัฒนาแหล่งน้ำทั้งน้ำบนดิน ไปจนถึงน้ำบาดาล
ใจความสำคัญของโครงการนี้ก็คือ ธุรกิจหลักของกลุ่ม TCP เป็นกลุ่มเครื่องดื่ม เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้น้ำตรง โครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย จึงเป็นเหมือนโครงการ CSRที่ได้ตอบแทนคืนสู่สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้ชุมชนได้ในแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ได้ใช้ กลุ่ม TCP ใช้น้ำเท่าไหร่ จะตอบแทนคืนสู่ชุมชนมากกว่าเป็น 3 เท่า!
ในประเทศไทยยังคงมีสถิติในเรื่องของปัญหาการขาดแคลนน้ำของชุมชน ทางสสน.ได้มีการเปิดเผยว่าในระยะเวลา 1 ปี ประเทศไทยมีปริมาณฝนตกอยู่ที่ 754,730ล้านลูกบาษก์เมตร แต่สามารถกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้จริงได้ประมาณ 43,000ล้านลูกบาษก์เมตร หรือแค่ 5.7% ของน้ำฝนทั้งหมด ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการใช้เพียงแค่ 17% ของพื้นที่ประเทศไทยเท่านั้น
แต่ในความเป็นจริงทั่วประเทศมีความต้องการใช้น้ำมากกว่า 100,000 ล้านลูกบาษก์เมตร / ปี และยังมีหมู่บ้านมากกว่า 36,000 หมู่บ้าน ที่อยู่นอกเขตชลประทานและยังไม่มีการบริหารจัดการน้ำภายในชุมชนจึงเป็นเรื่องที่ต้องเร่งแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอนเพื่อให้เกิดความพอเพียงของปริมาณน้ำกับความต้องการใช้ในทุกพื้นที่ด้วย
สราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP เปิดเผยว่า “น้ำเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญ และเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิต อีกทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมต่างมีความต้องการใช้น้ำที่มากขึ้นทุกปี รวมถึงปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งที่มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรง และส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อประเทศของเรา
กลุ่มธุรกิจ TCP เป็นหนึ่งในองค์กรที่ใช้น้ำเป็นวัตถุดิบหลักในการดำเนินธุรกิจ จึงกำหนดให้การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำอยู่ในกรอบการทำงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร จึงเกิดโครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทยขึ้น มุ่งเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในทุกมิติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการสร้างความยั่งยืนให้กับแหล่งน้ำที่หลากหลายเพื่อการอุปโภคบริโภคของชุมชนทั้งน้ำบนดิน และน้ำใต้ดิน”
ซึ่งโครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย ได้ทำการร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญอย่างมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ดำเนินการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำปราจีน ก่อนขยายไปสู่ลุ่มน้ำอื่นๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะทำงานร่วมกับองค์กรพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรน้ำที่หลากหลายทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สถาบันวิจัยทรัพยากรน้ำใต้ดิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการสนับสนุนการศึกษาเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำใต้ดิน และส่งผลให้น้ำผิวดินมีความอุดมสมบูรณ์อีกด้วย
กลุ่ม TCP ให้ความสำคัญกับ น้ำบนดิน หรือน้ำผิวดิน โดยที่ผ่านมากลุ่มธุรกิจ TCP ได้ทำงานกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ และสสน.มาโดยตลอด ในการบริหารจัดการแหล่งน้ำบนดิน ในแถบพื้นที่จังหวัดแพร่ และปราจีนบุรีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากความสำเร็จดังกล่าวเป็นแรงผลักดันในการพัฒนาโครงการอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง จนเกิดโครงการ “TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย” ขึ้นเพื่อเป็นการต่อยอดความสำเร็จในการบริหารจัดการแหล่งน้ำบนดินให้มีความต่อเนื่อง
ทั้งนี้ในอนาคตยังสามารถขยายการบริหารจัดการ และพัฒนาทรัพยากรน้ำออกไปจนครบทั้ง 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ เพื่อความมั่นคง และยั่งยืนในระยะยาว
ส่วนน้ำใต้ดิน หรือน้ำบาดาล ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นแหล่งผลิตสินค้าของกลุ่ม TCP แต่ก็เป็นแหล่งน้ำสำคัญของคนไทย เป็นแหล่งน้ำที่ชุมชนจำนวนมากอยู่นอกเขตชลประทานพึ่งพาเพื่อการเกษตรและการอุปโภค บริโภค แต่น้ำบาดาลไม่มีการบริหารจัดการรักษาสมดุลที่ดี ทำให้หลายพื้นที่มีระดับน้ำใต้ดินลดต่ำลงมากกระทบทั้งทางด้านปริมาณ คุณภาพของน้ำใต้ดิน ไปจนถึงต้นทุนในการสูบน้ำที่สูงขึ้น กลุ่ม TCP จึงได้เข้ามาพัฒนาด้วยเช่นกัน
สราวุฒิ กล่าวเสริมว่า “ถึงแม้ว่าน้ำใต้ดินไม่ได้เป็นแหล่งน้ำในการผลิตของกลุ่มธุรกิจ TCP แต่ด้วยความห่วงใยในปัญหาทรัพยากรน้ำในทุกมิติ เราจึงให้ความสำคัญกับการเติมน้ำให้กับชั้นดินควบคู่กัน โครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย จึงได้ทำงานร่วมกับสถาบันวิจัยทรัพยากรน้ำใต้ดินมหาวิทยาลัยขอนแก่น ทำการศึกษา วิจัย รวมทั้งประเมินศักยภาพของพื้นที่เพื่อหาแนวทางในการนำน้ำคืนสู่ชั้นใต้ดิน พร้อมกับให้ความรู้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงในเรื่องน้ำบาดาลอีกด้วย”
ทั้งนี้ตามแผนงานดำเนินงาน 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2562-2666 ของโครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย และพันธมิตร ได้ใช้งบลงทุน 100 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถช่วยให้ชุมชนในลุ่มน้ำยม และลุ่มน้ำปราจีนกว่า 16,000 ครอบครัว ใน 6 จังหวัด ได้เข้าถึงแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคมากกว่า 12 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือกว่า 3 เท่าของปริมาณน้ำที่กลุ่มธุรกิจ TCP ใช้ในตลอดกระบวนการ และคาดว่าจะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับชุมชนจากการมีน้ำใช้ในการเกษตรอย่างเพียงพอ
นอกจากนี้เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ให้เกิดขึ้นกับคนทั่วไป กลุ่มธุรกิจ TCP ยังได้วางแผนจัดกิจกรรมอาสาสมัครผ่านโครงการ “TCP Spirit” ซึ่งเน้นการทำกิจกรรมร่วมกับอาสาสมัครคนรุ่นใหม่ โดยโครงการนี้ได้จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 แล้ว ปีนี้จะจัดกิจกรรมทั้งหมด 2 ครั้ง ภายใต้แนวคิด “พยาบาลลุ่มน้ำ” เพื่อพาอาสาสมัครรุ่นใหม่เกือบ 200 คน ไปเปิดประสบการณ์ เข้าใจปัญหาลุ่มน้ำ และสร้างความตระหนักรู้ รวมทั้งร่วมลงมือทำงานแก้ปัญหา โดยเริ่มครั้งแรกในเดือนสิงหาคม ที่จังหวัดน่าน และปิดท้ายโครงการในเดือนตุลาคม
ใครที่สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมของกลุ่มธุรกิจ TCP ได้ที่ www.tcp.com และ https://www.facebook.com/TCPGroupThailand