แมนพาวเวอร์กรุ๊ป แนะแนวทางสู่บทบาทผู้นำยุคดิจิทัล

ปัจจุบันองค์กรธุรกิจก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ส่งผลให้กระบวนการทำงานและพัฒนาศักยภาพบุคลากรและผู้นำองค์กรมีความสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงและสามารถบริหารจัดการแก้ปัญหาและลดอุปสรรค ในการดำเนินงานแบบเดิม ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทและเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้การทำงานยุคดิจิทัลที่เพิ่มการเชื่อมโยงในการติดต่อ  ความคล่องตัว  ความสะดวกสามารถทำงานได้ไม่จำกัดเวลาและสถานที่  ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการในการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วนั่นเอง  “แมนพาวเวอร์กรุ๊ป” นำเสนอแนวทางการรับมือของบทบาทการเป็นผู้นำที่ดีต้องเป็นอย่างไรในยุคดิจิทัล? รวมทั้งการประเมินยังจะช่วยให้บุคลากรตระหนักถึงศักยภาพของตนเองและทำให้บริษัทเข้าใจบุคลากรมากขึ้น

สถานการณ์ขององค์กรในปัจจุบันจำนวนมากมีปัญหาเกี่ยวกับการค้นหาและการพัฒนาผู้นำที่เหมาะสมเพื่อช่วยให้องค์กรของตนเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคดิจิทัลและพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพเพียงพอที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนผ่านจากเทคโนโลยีทรัพยากรบุคคลที่เน้นการผลักดันประสิทธิผลและกระบวนการผลิตที่ทันสมัยไปสู่ยุคแห่งข้อมูลและความรู้ความสามารถที่จะทำให้สามารถคาดการณ์และประเมินศักยภาพความเป็นผู้นำและส่งมอบประสบการณ์ที่ดีกว่าให้แก่บุคลากรตลอดเส้นทางอาชีพของพวกเขา

อย่างไรก็ตาม บทบาทของผู้นำที่ดียุคดิจิทัลมีความแตกต่างจากผู้นำที่ดีในอดีต กล่าวคือ 9 ใน 10 ของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ไม่เชื่อว่าพวกเขามีความสามารถด้านความเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนยุคดิจิทัลที่กำลังเติบโตขึ้น ผู้นำของบริษัททุกขนาดและทุกภาคส่วนต้องเป็นผู้นำในด้านที่ต่างกัน   เพื่อคว้าโอกาสในการมีส่วนร่วม  ซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม “ไรท์ แมเนจเมนท์”  บริษัทในเครือ “แมนพาวเวอร์กรุ๊ป”  ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอาชีพของแมนพาวเวอร์กรุ๊ป  นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาแบบจำลองผู้นำ P 3 (P3 Leader Model :  People, Purpose, Performance) ซึ่งมุ่งเน้นไปที่บุคลากร  วัตถุประสงค์ เป้าหมายและประสิทธิภาพการทำงาน  โดยได้ออกแบบมาเพื่อระบุและพัฒนาผู้นำที่ต้องการในโลกของการทำงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

สำหรับแบบจำลองผู้นำ P3 สามารถประเมินลักษณะการทำงานและการส่งเสริมการเป็นผู้นำประกอบด้วย 4 ประการได้แก่ การขับเคลื่อน ความสามารถในการปรับตัว ความปราดเปรื่อง และความอดทน ผู้นำต้องแสดงลักษณะดังกล่าวออกมาเพื่อให้สามารถนำพาองค์กรผ่านความไม่แน่นอนและความเปลี่ยนแปลงได้ การประเมินช่วยระบุความสามารถสามด้านที่สามารถฝึกฝนได้ ซึ่งก็คือความสามารถของผู้นำในการเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการทำงาน ความกล้าที่จะเป็นผู้นำ และความสามารถพิเศษที่แสดงออกมาอย่างอิสระ ความสามารถในแต่ละด้านจะเชื่อมโยงไปยังสมรรถนะต่าง ๆ ที่ผู้นำสามารถพัฒนาได้ การใช้การประเมินแบบ P3 จะทำให้องค์กรได้เข้าใจพฤติกรรมของผู้นำและสามารถสร้างแผนการพัฒนาที่ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับบุคลากรแต่ละประเภทได้

ทางด้าน ไรท์ แมเนจเมนท์ ร่วมมือกับ ทอมทอม (TOM TOM) ซึ่งเป็นผู้พัฒนาและผู้สร้างสรรค์เทคโนโลยีสำหรับผู้บริโภคชั้นนำระดับโลก ได้ร่วมทำการประเมินผู้นำของบริษัท โดยเป็นส่วนหนึ่งของการนำดิจิทัลมาใช้เป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจ  ซึ่งได้ทำการประเมินจากผู้จัดการ 750 คนของทอมทอมในระยะเวลา 6 เดือน ได้รับการประเมินศักยภาพความเป็นผู้นำของตนใน 35 ประเทศ การลงทุนของทอมทอมในการระบุตัวบุคลากรที่เหมาะสมคือ สิ่งที่จะช่วยให้บริษัทก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การเปลี่ยนการว่าจ้างมาเป็นการพัฒนาผู้นำที่ใช้สัญชาตญาณในการทำงานให้เป็นผู้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นหลักช่วยให้องค์กรสามารถระบุและพัฒนาผู้นำได้อย่างหลากหลาย มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าผู้คนมักจะชอบว่าจ้างบุคคลที่เหมือนกันกับตนเอง การสัมภาษณ์ที่ออกแบบอย่างมืออาชีพเสริมด้วยการประเมินที่ออกแบบเป็นอย่างดีช่วยลดอคติและเพิ่มคุณภาพในการว่าจ้าง ทำให้สามารถมองเห็นบุคคลที่มีศักยภาพได้ง่ายกว่าและช่วยให้มองหาผู้นำได้หลากหลายมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับบริษัทและบุคลากร

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าบทบาทขององค์กรเดิมจะเป็นเพียงผู้จ้าง  แต่ปัจจุบันเป็นผู้สร้าง โดย ผู้นำที่สามารถผลักดันกลยุทธ์ขององค์กร สร้างวัฒนธรรม และ สื่อสารวิสัยทัศน์รวมถึงแผนงานที่ชัดเจนแก่บุคลากรของตน  ซึ่งการพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำและบุคลากรรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกองค์กรต้องเร่งมือเพื่อรองรับการแข่งขันที่รวดเร็วขึ้น