กางแผน “ไทยเบฟ” Vision 2025 กับภารกิจ Total Beverage company ครองอาเซียน

นับถอยหลังสู่ปีสุดท้ายของ Vision 2020 ของไทยเบฟ เพื่อส่งต่อก้าวสำคัญสู่ Vision 2025 กับภารกิจใหญ่ในการเป็นผู้นำธุรกิจเครื่องดื่มครบวงจรในอาเซียน โชว์วิสัยทัศน์ทุกกลุ่มธุรกิจสุรา เบียร์ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์และอาหาร

เป็นธรรมเนียมที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีสำหรับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ที่จะจัดงานแถลงข่าวผลการดำเนินงานและทิศทางธุรกิจ เป็นงานใหญ่ที่จะจัดขึ้นเพียงแค่ปีละครั้ง แต่จัดเต็มด้วยการนำทัพทีมผู้บริหารในทุกกลุ่มธุรกิจ มาแสดงวิสัยทัศน์และแผนธุรกิจในปีต่อไป

ในปีนี้ยังนำโดยแม่ทัพใหญ่ ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจเบียร์ พร้อมด้วยผู้บริหารกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ทั้งสุรา เบียร์ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหาร ธีมในปีนี้คือการแสดงวิสัยทัศน์ของปี 2025 หรือ Vision 2025 เรียกว่าโจทย์ใหญ่คือการขยายตลาดให้มากขึ้น

ทิ้งทวน Vision 2020 กับการขยายตลาดสู่อาเซียน

ปีนี้ถือเป็นปีที่เข้าสู่ปีสุดท้ายของวิสัยทัศน์ 2020 ที่ไทยเบฟได้ประกาศไว้ตั้งแต่ปี 2014 ซึ่งปกติของแผนธุรกิจของกลุ่มไทยเบฟจะแบ่งเป็น 2 ช่วง นั่นคือเป็น 3 ปีติดต่อกันช่วงแรก และ 3 ปีหลัง ตอนนี้ได้บรรลุเป้าของแผนที่หนึ่งไปแล้วตั้งแต่ปี 2017 โดยที่เป้าหมายคือ Stable and Sustainable ASEAN Leader หรือการเป็นบริษัทไทยที่มีการเติบโตอย่างยั่งยืนอยู่ในภูมิภาคอาเซียน

thaibev1

จากวิสัยทัศน์ 2020 ได้กำหนดเรื่องสำคัญไว้ 5 เรื่อง โดยในช่วง 3 ปีแรกเน้นเรื่องของ Growth การเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ และ Diversity ความหลากหลายของสินค้าและตลาดซึ่งเราได้เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง และมีการขยายส่วนแบ่งทางการตลาดในประเทศไทย ขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดสำคัญ เช่น เวียดนาม และเมียนมา

และช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้เน้นในเรื่อง Brand และ Reach ซึ่งก็คือฝ่ายการตลาด และการขายให้ทำงานควบคู่กันไปอย่างใกล้ชิด เพิ่มความเข้าใจผู้บริโภค และการเข้าถึงลูกค้าของเรา ทำให้สามารถผลักดันผลประกอบการได้อย่างต่อเนื่อง และอีกเรื่องสำคัญคือ Professionalism ความเป็นมืออาชีพด้วยการพัฒนาความสามารถของบุคลากร

โดยผลประกอบการ 9 เดือน ของปี 2019 ถึงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานี้ ยอดขายรวมอยู่ที่ 205,277 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 18.2% EBITDA เพิ่มขึ้น 21.0% เป็น 36,265 ล้านบาท และ Net profit อยู่ที่ 21,894 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.1%

ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และผู้บริหารสูงสุดกลุ่มธุรกิจเบียร์ กล่าวว่า

ความภาคภูมิใจของกลุ่มไทยเบฟในปีนี้ ถือเป็นความภาคภูมิใจในระดับโลก ที่นำมาสู่ภูมิภาคอาเซียน ที่ไทยเบฟได้รับคัดเลือกให้เป็นอันดับที่ 1 ของโลก ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม และ Industry leader ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 และได้เป็นสมาชิกในกลุ่มดัชนี DJSI World ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 และกลุ่มดัชนี DJSI Emerging Markets หรือกลุ่มตลาดเกิดใหม่ เป็นปีที่ 4 โดยไทยเบฟเป็นเพียงบริษัทเดียวในประเภทอุตสาหกรรมเครื่องดื่มของอาเซียนที่ได้รับการคัดเลือก สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาความยั่งยืนขององค์กรอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการขับเคลื่อนองค์กรภายใต้วิสัยทัศน์ 2020 ที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าจากการเติบโต ที่ถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจของไทยเบฟ

บทสรุป 2020 ส่งไม้ต่อถึง 2025 เปิดประตู ASEAN+6

ฐาปนบอกว่า โดยสรุปภาพรวมในวิสัยทัศน์ 2020 ถือว่าสามารถขับเคลื่อนและประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งทำให้มีพื้นฐานที่แข็งแกร่งส่งต่อให้สามารถพัฒนาแผนธุรกิจให้เป็น Business plan ที่มองไปไกลถึง 2025 ซึ่งจะเป็นแผน 3 ปี อีก 2 แผน

เริ่มนับที่ 2020 – 2022 เป็นแผน 3 ปีแรก และ 2022 – 2025 เป็นแผน 3 ปีที่ 2 จะเห็นความเชื่อมโยงก้าวข้ามระหว่างปี 2020 ไปยัง 2025 ซึ่งในปี 2020 นี้จะทำพร้อมกันคือการปิด Budget Plan ของแผน 2020

แต่การที่จะไปถึง 2025 ได้นั้น มีเรื่องสำคัญอยู่ 2 เรื่อง คือเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิทัล และเรื่องของคน ไทยเบฟจึงวางแผนด้านไอทีไปถึงปี 2030 และกำหนดแผนพัฒนาคนไปถึงปี 2050 จะมีคนบางส่วนที่ต้องส่งเสริมเรื่องทักษะ และศักยภาพ Upskill บางส่วนต้อง Reskill ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมองให้ไกลไปถึงปี 2030 2040 และ 2050 คือการเตรียมคนให้พร้อม การมองทั้งโอกาสในด้านการตลาด และการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานให้สอดคล้องกับโลกที่จะเปลี่ยนไป

ฐาปนยังบอกอีกว่า การมองไปในตลาดที่อยู่ในปัจจุบันไม่น่าจะเพียงพอ เมื่อเรามีโอกาสและประสิทธิภาพเราจึงไม่ได้มองเพียงเรื่องของอาเซียนที่ไทยเบฟทยอยเข้าไปบุกตลาดแล้ว ซึ่งจะมีประชากรสูง 700 ล้านคน ภายในปี 2025 รวมถึงนักท่องเที่ยวอีกกว่า 120 ล้านคน เหมือนใน Vision 2020

แต่ในปี 2025 มองไปถึง ASEAN+6 ซึ่งมีประชากรรวมกันกว่าครึ่งโลก มีประเทศที่มีอัตราการโตของเศรษฐกิจสูง เช่น เมียนมา 7.4% กัมพูชา 7.2% ลาว 7.1% และเวียดนาม 6.2% กลุ่มประเทศที่เป็นที่จับตามองในปัจจุบันคือ MTV (เมียนมา ไทย และเวียดนาม)

“นอกจากนี้ยังมองไปข้างหน้าเห็นโอกาสที่น่าตื่นเต้น ผมเห็นว่าเรายังมีโอกาสจากการเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจของโลกผ่านโครงการสำคัญ เช่น Belt Road Initiative ของประเทศจีน

สุรา : รีเฟรชขวดรวงข้าว และหงส์ทอง

เมื่อแยกตามกลุ่มธุรกิจของไทยเบฟนั้น เริ่มต้นที่กลุ่มสุราที่สร้างรายได้อันดับต้นๆ ให้กับไทยแบฟ ได้สรุปเป็นไฮไลต์สำคัญ ดังนี้

ประภากร ทองเทพไพโรจน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่, ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจสุรา และผู้บริหารสูงสุด กลุ่มบริหารช่องทางการจำหน่าย
  • เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ได้เปลี่ยนขวดใหม่ให้กับสุรารวงข้าว” เพื่อเพิ่มความเป็นเอกลักษณ์ โดยเปลี่ยนมาใช้ขวดใหม่ที่มีการพิมพ์นูนคำว่า รวงข้าวลงไปบนขวด
  • ในส่วนของสุราสีหงส์ทองได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ขนาดใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
  • ในช่วงต้นปีงบประมาณที่ผ่านมาได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่มตราสินค้า Kulov (วอดก้า) ได้แก่ KULOV Red Blast RTD และ KULOV Vodka ขนาด 700 ml และในปีงบประมาณหน้า จะเปิดตัวสินค้าใหม่สู่ตลาด ได้แก่ KULOV Lemon Pop RTD และ KULOV Vodka ขนาด 1 ลิตร
  • ในส่วนตลาดเมียนมา Grand Royal มียอดขายทะลุ 10 ล้านลังในปีล่าสุด เป็นความสำเร็จจากการที่บริษัทมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการกระจายสินค้าอย่างต่อเนื่อง สำหรับตลาดสุราพรีเมียมจากสกอตแลนด์ บริษัท Inver House ได้ทำการปรับโฉมสุราซิงเกิลมอลต์ Balblair ให้มีความทันสมัยและพรีเมียมยิ่งขึ้นด้วย

เบียร์ : คิกออฟสร้างโรงงานในพม่า

• ตลาดเบียร์ในประเทศไทยมีการเติบโตต่อเนื่อง ในปีนี้ได้เฉลิมฉลองช้างครบรอบ 25 ปี เปิดตัวเบียร์ ช้าง 25 ปี โคลด์ บริว ลาเกอร์ (Chang 25th Anniversary Cold Brew Lager)” กับนวัตกรรมการกรองเบียร์โดยใช้อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 0 องศา (Sub-Zero Filtration) ซึ่งเป็นเทคนิคพิเศษที่ดึงรสชาติ และกลิ่นของมอลต์ออกมาได้อย่างเต็มที่

โฆษิต สุขสิงห์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่, ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจต่อเนื่อง และผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจเบียร์ ประเทศไทย

• เริ่มผลิตเบียร์ช้างในโรงเบียร์ Emerald Brewery ในสหภาพเมียนมา เป็นการสร้างจุดยืนที่แข็งแกร่งให้กับไทยเบฟในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทยเบฟได้ร่วมกับ F&N ในการสร้างโรงงานเพื่อผลิตเบียร์ช้างในประเทศเมียนมา ภายใต้ Emerald Brewery ของ F&N เกิดขึ้นที่เขตชุมชนเลกู เมืองย่างกุ้ง

ถือเป็นการขยายโรงงานเบียร์ช้างนอกประเทศไทยเป็นครั้งแรก หลังจากที่มีดรงงานผลิตเบียร์ในไทย 3 แห่ง ซึ่ง Emerald Brewery สามารถผลิตเบียร์ช้างได้ มีกำลังการผลิตปีละประมาณ 50 ล้านลิตร มีการบรรจุเบียร์ในบรรจุภัณฑ์เพื่อจัดจำหน่ายทั่วประเทศใน 5 รูปแบบ คือแบบขวดปริมาณ 320 มล. และ 620 มล. แบบกระป๋อง 330 มล. และ 500 มล. รวมทั้งแบบถังปริมาณ 30 ลิตร

• ไทยเบฟให้น้ำหนักกับตลาดเมียนมาเป็นพิเศษ เพราะเป็นใหญ่มีประชากร 55 ล้านคน มีการบริโภคเบียร์เฉลี่ย 9 ลิตรต่อคนต่อปี มีโอกาสเพิ่มการบริโภคอีกมาก เพราะประชากรส่วนใหญ่เป็นวัยหนุ่มสาวอายุเฉลี่ย 29 ปี

เบนเน็ตต์ เนียว กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไซง่อน เบียร์-แอลกอฮอล์-เบฟเวอเรจ คอร์ปอเรชั่น (ซาเบโก้)

• สำหรับในประเทศเวียดนามที่ไทยเบฟได้เข้าซื้อกิจการ Sabeco เมื่อเดือนธันวาคม 2017 ตอนนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทระดับสากล ทั้งนี้ Sabeco อยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร จะสามารถเสริมความแข็งแกร่งให้กับฐานธุรกิจในเวียดนาม

ไฮไลต์ของปี 2019 Sabeco ได้มีการเปลี่ยนแปลงบรรจุภัณฑ์ตั้งแต่เดือนสิงหาคม เป็นการปรับภาพลักษณ์ให้ดูทันสมัยแก่แบรนด์ Bia Saigon เป็น Rising Spirit ของ Young Progressive Vietnam มีการใช้มังกรซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเวียดนามที่กำลังเติบโตได้ถูกนำมาใช้อย่างเด่นชัดและสม่ำเสมอ โดย Bia Saigon จะกลายเป็นแบรนด์หลัก

เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ : พลิกสถานการณ์ให้มีกำไร

กลุ่มธุรกิจไม่มีแอลกอฮอล์ หรืออาจจะเรียกว่านอนแอลกอฮอล์ก็ได้ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลประกอบการติดลบ เพราะฉะนั้นภารกิจหลักคือการกอบกู้สถานการณ์ พลิกฟื้นให้มีผลกำไร

• ภาพรวมธุรกิจมีผลประกอบการดีขึ้น 42.6% จากปีต่อปี กลยุทธ์หลักคือเน้นการขายสินค้าที่มีกำไรสูงขึ้นผ่านช่องทางที่มีกำไรที่มากขึ้น อย่างกลุ่มสินค้าพรีเมียม และกลุ่มขวดแก้ว และช่องทางจำหน่ายในร้านอาหาร

เลสเตอร์ ตัน ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจเครื่องดื่มไม่มี แอลกอฮอลล์ ประเทศไทย

• ในส่วนด้านระบบจัดการมองหาวิธีการประหยัดต้นทุนที่สูงขึ้นทั่วทั้งระบบ และในส่วนของภายนอกเราเน้นเรื่องการตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลง

• ตอบโจทย์ตลาดด้วยสินค้าใหม่ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลต่ำ และไม่มีน้ำตาล ได้รับความนิยมมากขึ้นจากเทรนด์ดูแลสุขภาพของผู้บริโภค

อาหาร : เดินหน้าขยายสาขาต่อเนื่อง

นงนุช บูรณะเศรษฐกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่, ผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจอาหาร ประเทศไทย

• งบประมาณที่ผ่านมา (YTD 9 เดือน : . 61 – มิ.. 62) ผลประกอบการเป็นไปตามเป้าหมาย มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งยอดขายและกำไร โดยปัจจัยที่ขับเคลื่อนให้ธุรกิจเติบโต ได้แก่

  1. การขยายสาขาอย่างต่อเนื่องเพื่อเข้าถึงลูกค้าได้มากที่สุด ซึ่งในปีนี้กลุ่มธุรกิจอาหารเปิดสาขาใหม่ไปทั้งสิ้น 59 สาขา (.ค. 61 – .. 62)
  2. การทำการตลาดและสร้างแบรนด์อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำนวัตกรรมอาหาร ที่สร้างความแปลกใหม่ ตื่นเต้นให้กับผู้บริโภค
  3. การให้ความคุ้มค่ากับผู้บริโภค โดยคำนึงถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการที่เรามอบให้ผู้บริโภคเป็นลำดับแรกๆ
  4. การให้บริการลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัล พร้อมรองรับการขยายตัวของตลาดเดลิเวอรี่กลุ่มธุรกิจอาหารที่ตอบสนองความต้องการด้านความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภคในยุคนี้
  5. การมุ่งเน้นพัฒนาด้านต่างๆ ภายในองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และผลลัพธ์ของงานให้ดียิ่งขึ้น