แคเธอรีน เฉิน รองประธานอาวุโสและกรรมการบริหารฝ่ายองค์กร บริษัท หัวเว่ย ได้กล่าวเปิดในงานประชุม “Better World Summit 2020” โดยระบุว่าหน่วยงานกำกับดูแลด้านโทรคมนาคมในหลายประเทศ จำเป็นต้องทำงานร่วมกัน เพื่อร่วมกันเผชิญหน้ากับความท้าทายที่เกิดขึ้นหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงการสร้างอนาคตที่เท่าเทียมและเข้าถึงได้อย่างทั่วถึงแก่ทุกฝ่าย
ทั้งนี้ วิทยากรท่านอื่นๆ ที่เข้าร่วมงานประชุม ได้แก่ ตัวแทนจากสหภาพโทรคมนาคมโลกในภาควิทยุสื่อสาร (ITU-R) สมาคมด้านการกำหนดดูแลมาตรฐานการสื่อสารบนอุปกรณ์มือถือ (GSMA) สมาคมด้านการแข่งขันในภาคโทรคมนาคมสหภาพยุโรป (ECTA) กระทรวงการสื่อสารและเทคโนโลยีดิจิทัลของแอฟริกาใต้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย สถาบันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศจีน (CAICT) สมาคมอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตของประเทศเยอรมนี (ECO) และ ADL
วิทยากรเหล่านี้ได้ถ่ายทอดประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในช่วงการระบาดของโควิด-19 ให้ผู้เข้าร่วมประชุมออนไลน์หลายพันคนจากกว่า 80 ประเทศ เพื่อตอกย้ำว่านโยบายอุตสาหกรรมดิจิทัลสามารถส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศได้อย่างชัดเจน
อนาคตที่ดีกว่าสำหรับทุกฝ่าย จำเป็นต้องพึ่งการทำงานร่วมกัน
ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีสารสนเทศได้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้ชีวิตและการทำงานของผู้คนสะดวกสบายขึ้นเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโควิด-19 เผยให้เห็นว่าการพัฒนาของโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลยังไม่เท่าทันกับการพัฒนาด้านเทคโนโลยี โดยสหภาพโทรคมนาคมโลก (ITU) ระบุว่ากว่าครึ่งของประชากรโลกยังไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตหรือเทคโนโลยีดิจิทัลอื่นๆ ได้ ในขณะที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ เริ่มชะลอตัว ภาครัฐของหลายประเทศก็วิตกกังวลมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงเรื่องกลยุทธ์การฟื้นฟูของภาคเศรษฐกิจ ทั้งนี้ มิสเฉินได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า “เรามองเห็นถึงอนาคตที่มีการเชื่อมต่อถึงกัน ความอัจฉริยะ และนวัตกรรม แต่เหนือสิ่งอื่นใด เราต้องมั่นใจว่านี่จะเป็นอนาคตที่ครอบคลุม ยั่งยืน และดีกว่าสำหรับทุกฝ่าย ซึ่งเกิดขึ้นได้ด้วยการทำงานร่วมกันของทุกคน”
ความสร้างสรรค์และพลังใจที่จำเป็นแก่การฟื้นฟูเศรษฐกิจ
ในขณะที่หลายประเทศในหลายภูมิภาคเริ่มประสบความสำเร็จในการใช้มาตรการควบคุมการติดเชื้อเพื่อชะลอการแพร่กระจายของโควิด-19 กิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจของภาคธุรกิจในหลายประเทศเริ่มกลับคืนสู่สภาพปกติ โดยภาครัฐในหลายๆ ประเทศได้เปิดตัวแผนกระตุ้นศรษฐกิจหลากหลายรูปแบบ และ ICT ก็ถือเป็นกุญแจสำคัญในแผนเหล่านี้ โดยในประเทศจีน แผนโครงสร้างพื้นฐานใหม่ได้วางงบประมาณไว้กว่าหนึ่งล้านล้านหยวน เพื่อลงทุนด้าน 5G โดยเฉพาะ ในอีกห้าปีข้างหน้า ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศจีนเติบโตได้ถึง 15.2 ล้านล้านหยวนและช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวเร็วขึ้น นอกจากนี้ สหภาพยุโรป (EU) ยังประกาศโครงการลงทุนมูลค่ากว่า 1.1 ล้านล้านยูโรเพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจอีกด้วย
มิสเฉินกล่าวว่า “เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ เราจำเป็นต้องออกแบบในแนวดิ่งจากบนสู่ล่าง พร้อมความสร้างสรรค์และพลังใจในการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลควบคู่กับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพจะนำมาซึ่งประโยชน์แห่งเทคโนโลยีด้านดิจิทัลสู่ทุกอุตสาหกรรม ทั้งยังช่วยเสริมศักยภาพของอุตสาหกรรมนั้นๆ และฟื้นฟูการเติบโตอีกด้วย”
เพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความหวังด้วยการใช้ประโยชน์จาก ICT สู่อนาคตที่ยั่งยืน
ข้อมูลอ้างอิงจากรายงานของธนาคารโลกฉบับล่าสุดระบุว่า ช่องว่างระหว่างเศรษฐกิจแบบดิจิทัลระดับโลกที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วกับปัญหาการขาดทักษะด้านดิจิทัล กำลังขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งมิสเฉินกล่าวถึงประเด็นนี้ว่า “หัวเว่ยยังคงยืนหยัดดำเนินโครงการสำคัญอย่าง “เมล็ดพันธุ์แห่งอนาคต – Seeds for the Future” ซึ่งเปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2551 และได้รับการออกแบบเพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถด้าน ICT ในประเทศต่างๆ ที่ผ่านมา โปรแกรมนี้ได้มอบประโยชน์แก่นักศึกษามากกว่า 30,000 คนจากมหาวิทยาลัยกว่า 400 แห่งใน 108 ประเทศและภูมิภาค เนื่องด้วยสภาวะการระบาดของโควิด-19 เรากำลังพัฒนาโปรแกรมนี้สู่รูปแบบออนไลน์และเปิดกว้างให้แก่นักศึกษาที่มีความสามารถโดดเด่นมากกว่าที่เคย ซึ่งเมื่อภาคอุตสาหกรรมต่างๆ มีจำนวนบุคลากรด้าน ICT และนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้มากขึ้น กลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านั้นก็จะเป็นผู้ขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนวาระ พ.ศ. 2579 (ค.ศ.2030) จากสหประชาชาติ โดยเฉพาะเป้าหมายที่เกี่ยวข้องการลดปัญหาภาวะโลกร้อน
นอกจากนี้ วิทยากรท่านอื่นๆ ยังแสดงความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาสู่โลกที่ดีขึ้นในอนาคต ภายในงานประชุมครั้งนี้อีกด้วย
เจ้าหน้าที่อาวุโสจากองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ รวมถึงสหภาพโทรคมนาคมโลก (ITU), สมาคมด้านการกำกับดูแลมาตรฐานการสื่อสารบนอุปกรณ์มือถือ (GSMA) และสมาคมด้านการแข่งขันในภาคโทรคมนาคมสหภาพยุโรป (ECTA) ได้กล่าวถึงการสร้างมาตรฐานด้าน ICT ในระดับโลกให้เป็นแบบแผนเดียวกัน การส่งเสริมเศรษฐกิจแบบดิจิทัล การเร่งการครอบคลุมและเท่าเทียมทางดิจิทัล รวมทั้งการปรับตัวรับฐานความปกติใหม่ในด้านเศรษฐกิจ (new economic normals)
กลุ่มหน่วยงานกำกับดูแลในระดับชาติระดับชาติที่เข้าร่วมการประชุมได้ให้ความสำคัญและยกกรณีตัวอย่าง โดยกลุ่มหน่วยงานที่กำกับดูแลจากประเทศแอฟริกาใต้ ไทย จีน และเยอรมนี รวมถึงคณะผู้บริหารจากหลายสมาคมอุตสาหกรรมได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับความพยายามและความคิดริเริ่มด้านนโยบายในปัจจุบัน ซึ่งพวกเขากำลังปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลและการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในหลายอุตสาหกรรม
นักวิเคราะห์อาวุโสจำนวนมากที่เข้าร่วมงานประชุมยังได้อธิบายถึงผลกระทบภายนอกด้านอื่นๆ ซึ่งเกิดจากเศรษฐกิจแบบดิจิทัลจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจได้อย่างไร
งานประชุม “Better World Summit” ได้รับการถ่ายทอดสดเป็นภาษาจีน, อังกฤษ, สเปน, ฝรั่งเศส, รัสเซีย, เกาหลี, ญี่ปุ่น และอารบิก สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาคลิก ที่นี่
Related